banner
จันทร์ ที่ 13 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2564 แก้ไข admin

การบริหารจัดการ เด็กที่ติดโควิด-19(เด็กเร่ร่อน/เด็กลูกกรรมก่อสร้าง ตอนที่ 2 )


 นางสาวทองพูล   บัวศรี(ครูจิ๋ว)

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          ครู เด็กของครูติดโควิด-19 กันจำนวนมากใช่ไหม 

          ใช่เลยค่ะ  มีทั้งเด็กเร่ร่อนไทยชั่วคราว/เด็กเร่ร่อนต่างด้าว 

          แต่ตอนี้กำลังลาม มาถึงเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง

          ครูเล็ก  ตระโกนมาถามครูว่า  ครูได้เข้าไปในไซด์งานลูกกรรมกรก่อสร้าง ที่บ้านพักคนงานก่อสร้าง ของอิตาเลี่ยนไทย หลักสี่หรือเปล่า    เป็นช่วงที่ทีมงานของครูกำลังสาละวนกันอยู่กับ การจัดถุงยังชีพ ให้กับกลุ่มเด็กเร่รอนไทยชั่วคราว (ชุมชนเพรชบุรีตัดใหม่ /กับชุมชนโค้งรถไฟยมราช)

          ครูตอบครูเล็ก  ....หน่วยงานเขาไม่ให้ครูเข้าไปบ้านพักคนงานก่อสร้างที่หลักสี่  (เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 ) มีคนงานก่อสร้าง ของบริษัทอิตาเลี่ยนไทย จำนวน 198 คน  เป็นที่ฮือฮากันมาก 

          แต่สำหรับครู  คิดตลอดเวลา  คือการบริหารจัดการเรื่องเด็ก เอากันอย่าง/อาหารการกินเป็นอย่างไร  แต่ทุกอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบอกว่าจัดการได้  แต่สำหรับครูไม่แน่ใจเลย   เพราะข่าวที่ออกมา เป็นช่วงวันศุกร์  ตอนบ่าย  แล้วจะจัดการอย่างไร)  เรื่องใหญ่มาก  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างหยุดทำงานกัน  เรื่องแบบนี้มีให้เห็นกันมาตลอด  แล้วก็จะโทษไปที่คนงานก่อสร้าง  เป็นคนอันตราย เป็นกลุ่มที่แพร่เชื้อ  (หาแพะรับบาปแทน)

          เป็นดังคาด ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์..ที่ 15-16 พฤษภาคม 2564   ครูอยู่บ้านต่างจังหวัด  โทรศัพท์ดังตลอดเวลา  เพื่อขอถามความคิดเห็นว่าจะจัดการอย่างไร     สำหรับครูคือต้องเห็นหน้างานกันก่อน  แต่ครูเองก็ไม่เคยได้เข้าไปยังบ้านพักคนงาน  ด้วยผู้จัดการโครงการฯบอกเพียงว่าไม่มีเด็ก  ไม่อนุญาตให้หน่วยงานไหนๆ เข้าไปบ้านพักคนงานเด็ดขาด     

          ด้วยมีชุมชนที่อยู่ล้อมรอบบ้านพักคนงานก่อสร้างจำนวนกว่า 20 ชุมชน และบ้านพักของหน่วยงานราชการอีกหลายสิบแห่ง เกิดอาการผวาเป็นอย่างมาก  เมื่อคนงานก่อสร้างเหล่านี้ เดินออกจากแคมป์บ้านพักไปหาซื้อข้าวสาร/อาหารแห้ง รวมถึงน้ำดื่ม  เพื่อประทังชีวิตกันก่อน  เพราะมีการปิดทาง เข้า-ออก  แต่ไม่มีอาหารการกินหรืออะไรให้เลย ในช่วงสามวัน  แล้วจะอยู่กันอย่างไร  จึงเกิดการโกลาหลเป็นอย่างมาก  มีเรื่องร้องเรียน พร้อมกับนักข่าว ทำข่าวคาดการณ์กัน

          ความวุ่นวายทวีความรุนแรง คนงานก่อสร้างเหล่านั้นถูกประนามเปรียบเสมือนเชื้อโรคร้าย  ขาดกระบวนการจัดการ  คนงานก่อสร้างจึงกลายเป็นจำเลยต่อสังคม  กลายเป็นบุคคลที่น่ารังกียจ  การกระพือข่าวแบบนี้ บริษัทก่อสร้าง คือการเอาตัวรอด  ขาดความรับผิดชอบ

          ในช่วงนั้น ครูมอบให้ครูซิ้ม (เจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ประสานงาน  ตลอดจนคุยกับผู้บิหารของบริษัทอินตาเลี่ยนไทย จำกัด  ในเรื่องกระบวนการช่วยเหลือแบบเร่งด่วน  พร้อมที่ประสานงานกับนายช่างใหญ่เจ้าของโครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลจุฬาภรณ์  ที่กำลังดำเนินการ  ตลอดจนต้องดูรายละเอียดเกี่ยวกับงาน ที่พักของคนงานก่อสร้างที่ ต้องแบ่งออกไป 3 กลุ่มใหญ่

          -กลุ่มที่ติดเชื้อโควิด-19  จำนวน 198  คน ที่เป็นทั้งคนไทยและคนพม่า  ต้องรีบส่งคนเหล่านั้นเข้าโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เร็วที่สุด  ในกลุ่มนี้ มีกลุ่มแม่และเด็กกว่า 50 คน  งานนี้เร่งให้ส่งตัว  เพื่อเป็นการสกัดเชื้อไม่ให้ลงปอดเร็วที่สุด  โดยเฉพาะกลุ่มเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน

          -กลุ่มที่สอง คือกลุ่มที่สัมผัสเสี่ยงสูง  คือกลุ่ม ที่ต้องกักตัวอยู่ในแคมป์ ห้ามเข้า-ห้ามออก กว่าจำนวน 600 คน แบ่งออกเป็นตามห้องพักคนงานก่อสร้าง  ที่สามี หรือ เมียกับลูกติด  หลายคนชอบถามว่าทำไหมติดกับคนยากจน /กลุ่มที่ด้อยโอกาส บอกได้คำเดียวว่า  กลุ่มเหล่านี้สุขภาพที่พักอาศัยก็ไม่พออยู่แล้ว  เมื่อติดจึงมีการระบาดอย่างเร็วมาก เพราะกั้นแค่สังกะสีเท่านั้น   ตึกที่พักหลังไหนติดโควิด-19ก็ระบาดกันทั้งตึกที่พักไปเลย

          -กลุ่มที่ สาม กลุ่มที่ไม่ติด กลุ่มนี้ต้องย้ายออกมาอาศัยที่ใต้ตึก ที่สร้างโรงพยาบาล  และมีคนก่อสร้างบางส่วนที่พากันหนี อยพยไปตามที่ต่างๆ  ที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง  ส่วนมากเป็นคนงานก่อสร้างที่ไม่มีเอกสารใดใด ติดตัว  แล้วกลัวความผิด เหมารถกันเองไปตามที่ต่างๆ   อีกสักสิบกว่าวันคนงานก่อสร้างเหล่านี้ติดพร้อมทั้งเป็นผู้แพร่ระบาดจำนวน  โดยเฉพาะกลุ่มคนงานก่อสร้างขอแงบริษัทอินตาเลี่ยนไทย


          สำหรับการจัดการในช่วงเช้าของวันจันทร์ที่  17 พฤษภาคม 2564  ครูกับครูซิ้ม พร้อมผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม   สิ่งที่ต้องทำแบบเร่งด่วน คือ ทำอย่างไรก็ได้  ห่สิ่งของที่คนงานก่อสร้างต้องการใช้แบบเร่งด่วน

          1.น้ำดื่มจำนวน 100 แพ๊ค   นำเข้าไปงานที่แคมป์คนงานก่อสร้างก่อสร้าง  จึงนำของทั้งหมดไปให้ที่ประตู 2  ซึ่งจัดเป็นสถาที่รับสิ่งของที่บริจาคมา  พร้อมจัดเป็นหน่วยที่ต้องส่งของแบบเร่งด่วนที่สุด  คือใช้รถกะบะของบริษัท พร้อมคนงานทำหน้าที่ธุรการ ใส่ชุด PPE  นำส่งของไปให้คนงานก่อสร้างที่อยู่ในแคมป์

          ครั้งนี้นายช่างลงมารับเอง  พร้อมทั้งการพูดคุยเรื่องการส่งเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างออกไปรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้เร็วที่สุด  ซึ่งทางครูเพิ่งได้บทเรียนในการประสานงานเรื่องการรักษาเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  กับทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์    นำมาใช้กับเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างได้เป็นอย่างดี

          เมื่อมีการสอบถาม พูดคุยกัน จึงรู้ว่ามีบริษัทก่อสร้างขนาดเล็กที่รับเหมาช่วงต่อ อีกกว่า 12 บริษัท ที่มีเด็กติดมากับครอบครัวจำนวนกว่า 50 คน  งานนี้ลงมาถึงเด็ก เด็ก ที่อยู่ในแคมป์งาน   ครูเองก็บ่นตลอดเวลา ปิดข้อมูลกันอยู่ได้  ทำไหมไม่รีบหาทางแก้ไข

          2.ทีมงานของครูรีบมาระดมสิ่งของที่อยู่จัดชุดถุงยังชีพจำนวน 60 ชุด เร่งนำเข้าไปให้ครอบครัวที่มีเด็กก่อน เมื่อจัดทำเป็นอาหาร  พร้อมประสานงานกับทางโทรทัศน์ไทพีบีเอส  เรื่องนำข้าวกล่องไปให้ผู้ที่สัมผัส  และยังอยู่ที่แคมป์คนงานก่อสร้าง ก่อนเลย  


          ทุกอย่างต้องรีบจัดการพร้อมกับเร่ง/กระตุ้น ให้ผู้บริหารของบริษัทก่อสร้าง(ที่เป็นผู้รับเหมา  เข้ามาดูแลคนงานก่อสร้างของตนเอง  สุดท้ายที่เจอ คือผู้รับเหมาหนีเอาตัวรอด กลับต่างจังหวัด  ทิ้งคนงานเหล่านี้กระจายตัวกันไปที่ต่างๆ  )แบบนี้ สุดท้ายติดกันทั้งกรุงเทพมหานคร  แบบกระจายเชื้อ

          3.ทางครูก็เตรียมระดมสิ่งของโดยเฉพาะกลุ่มคนงานก่อสร้าง ที่ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างรับผิดชอบ กว่า 20 แหล่งก่อสร้างด้วย   พร้อมกับนโยบายของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กห้ามลงพื้นที่  แต่เปลี่ยนกระบวนการทำงาน  คือ ให้จัดหาถุงยังชีพ แต่ทางผู้รับเหมา/หรือโฟร์แมน  หรือเจ้าของโครงการให้มารับถุงยังชีพที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

          งานนี้ครูเลยต้องปรับกระบวนการทำงาน และหาถุงยังชีพจำนวนมาก

          พร้อมกับคนงานก่อสร้างก็เริ่มติด ล่ามไปถึงเด็ก เด็ก  โดยเฉพาะที่แหล่งก่อสร้างที่หลักหก/ พื้นที่ 14ไร่ /และสถานที่ ช่อง11  ของบริษัทอินตาเลี่ยนไทย


          สิ่งที่ต้องดำเนินการของบริษัทก่อสร้าง เริ่มมีการ ย้ายคนงานก่อสร้างแล้วแบ่งแถวที่พัก เป็สถาที่กักตัว  พร้อมร้องของถุงยังชีพ  เพื่อให้งานก่อสร้างเหล่านั้นดำเนินการอยู่

          และทางบริษัทอินตาเลี่ยนไทยเอง  ได้เอาที่พักทั้งหมด ที่ 9 ไร่ เป็น สถานที่พักคอย(กักตัวอีก 14 วัน ที่หลังออกมาจากโรงพยาบาลแล้ว   ซึ่งบางครอบครัวก็มีเด็กมาด้วย )   การจัดการเป็นกรณีที่คนงานก่อสร้างมีประกันสังคม และเป็นคนงานของบริษัทโดยตรง

          แต่กรณีที่เป็นผู้รับเหมาช่วง  งานนี้ถูกปล่อย ไม่ได้รับการดูแล

          ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่จึงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

          “กับทุกคนต้องรอดปลอดภัยไปด้วยกัน”