banner
อังคาร ที่ 4 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2564 แก้ไข admin

โควิด-19 เด็กเร่ร่อน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ตอนที่ 7 กลุ่มผู้หญิงบนถนนสุขุมวิท )

 

นางสาวทองพูล   บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          การทำงานครั้งนี้  โดยเฉพาะกลุ่มคนบนท้องถนนสุขุมวิท/ถนนจรัสสนิทวงศ์ จนถึง ถนนลาดพร้าว   มีความหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย  ครูกับทีมจะสังเกตตลอดเวลา ทำไมมีคนมาอาศัยอยู่บนท้องถนนสุขุมวิทมากกว่าปกติที่พวกครูลงภาคสนามแล้วได้พบเจอเป็นประจำ

          ทีมของพวกเราได้พบกลุ่มเป้าหมายที่เปราะบางอีกกลุ่ม  คือกลุ่มผู้หญิงที่ใช้ถนน เป็นสถานที่ทำมาหากิน 

          เริ่มตั้งแต่ ซอยนานา  จะมีกลุ่มผู้หญิงที่รวมกลุ่มกันประมาณ 6 คน ที่อยู่ใต้สถานีรถไฟฟ้านานา  โดยมีผู้หญิง ที่ขายบริการทางเพศ   แล้วก็ยังบอกว่า  ขายได้บ้าง/ขายไม่ได้บ้าง  มีบางวันต้องขอเงินพวกรถตุ๊ก ตุ๊ก  แลกกับนอนกับคนเหล่านั้น เพื่อซื้ออาหาร   แต่วันไหนที่ครูเอาขอลงมาแบ่งปันกัน ก็จะอยู่ได้ถึง 3-5 วัน

          ในช่วงกลางวัน/กลางคืน ก็หลบเข้าไปนอนในซอยนานา  ซึ่งมีที่นอนหลบสายตาของผู้คนได้  โดยอาศัยกล่องกระดาษแข็งเป็นที่ปูนอนตรงทางเดิน  ตั้งแต่เกิดโควิด-19  นักท่องเที่ยวหายไปจากซอยนานา  แต่ก็ยังมีนักท่องเที่ยวที่ค้างอยู่  ขายบริการได้บ้างไม่ได้บ้าง   แต่พวกฉันต้องกินทุกสามมื้อ  ตอนนี้ไม่มีใครมีห้องเช่า  เพราะรายได้ในแต่ละวันไม่พอค่าเช่าบ้าน  พวกฉันใช้ซอกซอยที่พอหลบได้เป็นบ้านชั่วคราว 
 

          สำหรับเรื่องอาบน้ำ ใช้สอง-สาม อาบน้ำครั้งหนึ่ง  โดยใช้รถเมล์ สาย 62  ไปลงที่อนุสาวรีย์  เสียค่าอาบน้ำครั้งละ 20 บาท พร้อมกับซักเสื้อผ้าได้ประมาณ 6-8 ตัว   แล้วนั่งรถเมล์ย้อนกลับมาลง  ที่สวนสิริกิต์  ตากผ้าจนแห้งเก็บใส่กระเป๋า มาอยู่ที่ซอยนานาต่อ  สำหรับการถ่ายอุจจาระ/ปัสสาวะ มีปัญหาอย่างมาก ก็ใช้วิธีถ่ายลงถุง  แล้วเอาไปทิ้งที่ถุงขยะ  พวกฉันจะมีปัญหากับคนกวาดถนน  พวกเรารู้ทั้งรู้ว่ามันเป็นปัญหา  แต่จะทำอย่างไร

          ผู้หญิงที่อยู่หน้าปากซอย สุขุมวิท 11 ผู้หญิงเหล่านี้ มีปัญหาสุขภาพจิต  เดินอย่างเรื่อยเปื่อย  เดินไปทั่ว  อยากนอนที่ตรงไหนก็จะนอน  จะเป็นผู้หญิงที่อ้วน พร้อมปล่อยตัว  กลิ่นตัวชัดเจนสำหรับการไม่ดูแลสุขภาพเลย ผมยาวมากและเป็นสังกะตัง  มีเห่าด้วย  ชอบนั่งพูดคุย  กลุ่มนี้ในช่วงกลางคืนจะไปอาศัยเกาะกลางถนนสุขุมวิทนอน  มีอยู่ประมาณ 4 คน

          เมื่อเห็นรถกะบะ ของทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  จะออกมาเปิดเผยตัว รับถุงยังชีพที่ประกอบไปด้วย นม/ขนม/น้ำเปล่า/มาม่าคัพ/มาม่าซอง/ยาแก้ปวดหัว(ยาพาราเซ็ตตามอล บางครั้งก็มียาฟ้าทลายโจร)ผ้าขนหนูผืนเล็กๆ   พร้อมกับขอยาสระผม/สบู่/แปรงสีฟัน ยาสีฟันเป็นครั้งคราว
 

          เสียงผู้หญิงบางคนก็จะบอกว่ารอดตายได้อีก สาม-ห้าวัน   เวลาได้ขอเหล่านี้ จะต้องรักษาเป็นอย่างดี ซ่อนเอาไว้ในกระเป๋าที่ได้แจกมา  ใส่อยู่ในถุงพลาสติคอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อไม่ให้ตกเป็นสายตาของคนเร่ร่อน/คนไร้บ้านด้วยกัน  ส่วนมากเป็นกลุ่มคนเมา  เป็นผู้ชายที่นอนเกลือนกลิ้ง  หมดสภาพ  แต่ชอบเป็นนักเลงข่มขู่ ผู้หญิงที่มาใช้ชีวิตบนท้องถนน

          กลุ่มผู้หญิงสี่แยกอโศก  อาศัยอยู่เกาะกลางถนน  ทีมของครูจะพบผู้สูงอายุประมาณ 80 กว่าปี  จะมานั่ง/นอน ที่เกาะกลางถนน  เดิมอยู่ในชุมชนคลองเตย ล๊อค 6  ออกตามลูกหลานมาขายพวงมาลัย  เมื่อไรไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้านก็จะออกมาเป็นครั้งคราว  รู้ทั้งรู้ว่าควันรถมันเป็นพิษ  แต่จะให้ทำอย่างไร  ต้องหาเงินเป็นค่าเช่าบ้านให้ได้   เมื่อได้เงินจะเอาไปผ่อนเจ้าของบ้านเช่า  ครั้ง 100-300  บาท  เอาเป็นที่ซุกหัวนอน  เพราะมีลูกหลานหลายคน

          หลานชาย/หลานสะใภ้ ก็จะขายพวงมาลัย เช็คกระจก  แต่ต้องคอยหลบเทศกิจกับตำรวจท้องที  โดยเฉพาะ ตำรวจ สน.ทองหล่อ ทั้งจับ/ปรับ  คนจนที่ไม่มีปากมีเสียง  แต่ได้เงินแบบเต็มๆ  เวลาเมื่อเห็นมอเตอร์ไซด์  ทุกคนก็วิ่งสุดปลายเท้ากันเลย   สำหรับยายก็จะนอนหลบ เอากระดาษกล่องสีน้ำตาลคลุมหัว คลุมขาไม่ให้เห็น   ยายก็รอดมาได้ทุกครั้ง

          มีลูกสาวอีกคน จะไปนั่งหลบในตลาดอโศก  เพื่อนั่งร้อยพวงมาลัย  เพื่อให้หลานเล็กๆ ออกมาในช่วงกลางคืน เกาะรถขายพวงมาลัย  โดยเฉพาะช่วงสิ้นเดือนต้องรีบหาเงิน 


 

          กลุ่มผู้หญิง หน้าวัดธาตุทอง   จะมีผู้หญิงจำนวน 4 คน ที่นั่งประจำ  ทุกคนมีปัญหาสุขภาพจิตหมด   ครูเองได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงแล้ว แต่เมื่อทีมครูลงพื้นที่อีกกี่ครั้งก็ยังพบ  ผู้หญิงที่ต้องได้รับการศึกษา

          คนที่ หนึ่ง เป็นผู้หญิงช่วงอายุ 40 กว่าปี ที่สุขภาพโดยทั่วไปที่ต้องได้รับดูแล รักษา  ได้กินยาครบ โอกาสดีขึ้น และมีความปลอดภัยจากกลุ่มคนไร้บ้านผู้ชาย  โดยเฉพาะเรื่องทางเพศ

          คนที่ สอง  อายุช่วง 50 กว่าปี  สภาพร่างกาย เนื้อตัวมีแผลขึ้นตามร่างกาย  ผมขาวโพนเลย แต่งการด้วยเสื้อลายดอก นุ่งผ้าถุง  พบกี่ครั้งก็ชุดเดิม  พูดคุยด้วยสิ่งที่ได้รับกลับมา  คือคำอวยพร  ขอให้เจริญ  เจริญ  รวย รวย ไม่จน  ไม่เจ็บ    แล้วก็จะลงมือรื้อถุงยังชีพทันที

          คนที่สาม เป็นสาวอายุประมาณ 20 ปีกว่า  จะพูดและบ่นตลอดเวลาว่า ฉันมันจน ฉันมันจน  ต้องอดทน  ต้องอดทน  คุยอะไรด้วยไม่ได้เลย  เมื่อครูยืนถุงยังชีพให้  สาวคนนี้จะกินนมก่อนทุกครั้ง แล้วบอกว่าอร่อยจัง  อร่อยจัง  เสียงดังจากปากสาวน้อย  ขอบคุณ ขอบคุณ  เสียงดัง มาก  จนทุกคนที่ยืนมอง ก็โค้งศรีษะ ก้มหัวให้ครู   ครูจะยกมือไหว้ลากระโดดขึ้นรถ  นำสิ่งของไปแบ่งปันต่อ


 

          กลุ่มผู้หญิง  ใต้สถานีรถไฟฟ้าปุณณ์วิถี   มีอยู่ประมาณ 4 คน ที่นั่งเรียง กันอยู่ด้วยมีแก้วของร้านสะดวกซื้อตั้งอยู่ด้านหน้า   แต่เวลาที่รถกะระจะจอด หาที่จอดยากมาก  ครูต้องใช้วิธีการหิ้มแล้วดินย้อนกลับมา  เริ่มต้นด้วย

          คุณยาย ที่ชอบนุ่งผ้าถุง  รายนี้พูดคุยกันรู้เลย  มาออกมาจากชุมชนอ่อนนุช มีหลานสามคน ที่กำลังกิน กำลังนอน ลูกๆ มันเอาเด็กมาให้ฉัน  ฉันก็เลี้ยงตามประสาที่มี  ซึ่งมีคนยืนยันกับครูว่าเป็นเรื่องจริง ว่ามีเด็กๆอยู่  เป็นร้าค้าที่ขายผลไม้  เพราะยายร้องขอถุงยังชีพอีก 2 ถุง  เพื่อให้หลานได้มีอาหารการกิน   ครูเลยบอกว่ามอบเป็นข้าวสารดีไหม  หิ้วไว้ไหม  ยายบอกทันทีเดี๋ยวให้มอเตอร์ไซด์ไปส่ง   ถ้าครูมา  ครั้งหน้าฉันจะพาไปเยี่ยมบ้านของฉันที่มันพุผัง ใช้พลาสติดแปะไว้

          คุณป้า มีอาการป่วยเป็นทุกโรค ตั้งแต่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต  โรคเกาต์(ปวดตามข้อทุกข้อ เวลาปวด ร้องลั่นดังมากในช่วงเวลากลางคืน  วินมอเตอร์ไซด์ได้พยายามประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  วันนี้ก็ 10 วันแล้ว ยังไม่มีหน่วยงารัฐมารับไปเลย)  แล้วก็มีโรคหัวใจด้วย  โรคอ้วนที่ขยับตัวไม่ได้  นั่งเป็นเวลานานแต่ก็ยังปวดเพราะนั่งทับเส้นของตัวเอง

          มีผู้หญิงที่นั่งป้ายรถเมล์จะเจอทุกครั้งที่ลงพื้นที่  กรณีนี้มีอาสาสมัครเอาเสื้อผ้ามาให้  แต่ช่วงกลางคืนกรณีนี้จะเข้าไปนอนในบ้าน  เช้าก็จะมานั่งคอยที่ป้ายรถเมล์   มีคนขับรถมอเตอร์ไซด์บอกว่าคนนี้ สามีเป็นคนทำงานบริษัท แต่ภรรยามีปัญหาที่สุขภาพจิต  ชอบมานั่งที่ป้ายรถเมล์ นั่งเหมอลอย จนเย็นก็จะกลับเข้าบ้าน  สามีบอกว่าได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล  เป็นคนที่เงียบขรึมมาก  ไม่พูดจากับใคร    ครูถามว่ารับถุงยังชีพไหม  เขาจะพยักหน้าตลอด  แล้วก็รื้อทันที่


 

          กลุ่มผู้หญิงที่สถานีรถไฟฟ้าลาซาล  จำนวน 3 คน  แต่มีอยู่รายหนึ่งที่มีอาการรุนแรง จะพูดตลอดเวลา  แต่เมื่อเขาได้ถุงยังชีพแล้ว  เขาจะวิ่งไปตามเพื่อนๆ  ให้มารับ  เสียงจะเอะอะโวยวาย  อาศัยนอนที่ใต้ทางด่วน ตรงเกาะกลางของถนน

          การทำงานครั้งนี้ของทีมโครงการครูข้างถนน  โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ได้เรียนรู้ชีวิต ของคนเป็นจำนวนมาก  แต่ในขณะเดี๋ยวกันก็ต้องปรับการทำงาน  ปรับใจพร้อมทัศนคติกับกรณีศึกษา  หากลวิธีในการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่ล่าช้า  ด้วยกฎระเบียบมากมาย

          ขอบคุณผู้หญิงทุกคน ที่ให้เป็นกรณีศึกษา  ขอบคุณ ขอบคุณ