นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่....
ด้วยภาระกิจที่ต้องมารับผิดชอบในโครงการชุมชน ของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เดิมงานโครงการชุมชนลงงานสิบสามชุมชน ที่มีความหลากหลาย เป็นตั้งแต่ชุมชนถูกไล่รื้อ เช่น ชุมชนคลองสองสามัคคี ชุมชนศิริภาพ ชุมชนศิริสุข ชุมชนคลองสว่าน ชุมชนหลักหก เป็นกลุ่มที่บุกรุกกรมชลประทาน สำหรับชุมชนที่บุกรุกพื้นที่ของเอกชน ได้แก่ชุมชนกระทิงแดง ชุมชนเชียงชุ่น เป็นต้น ชุมชนพื้นทีเช่าของเอกชน คือ ชุมชนป้ายเหลือง ชุมชนที่ร่วมงานกับสถาบันพัฒนาชุมชน(พอช) ได้แก่ชุมชนเข่งปลาทู ชุมชนเทศบาลรังสิตสร้างสรรค์ ชุมชนโชคดี เป็นต้น
งานชุมชน ช่วงนี้เป็นการทำงานที่ยาก เพราะความที่เขาอพยพย้ายถิ่นกันมาจนไม่มีบ้านดั่งเดิมที่อยู่ในชนบทอยู่เลย ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนที่จะทำงานหาเลี้ยงคนในครอบครัว ความรู้ก็ไม่มี อาชีพที่ดีที่สุดคือการใช้แรงงานเพื่อแลกเงิน ทั้งงานเก็บขยะที่นำมาขายเพื่อมาเลี้ยงชีพ เพราะไม่ต้องมีบัตรประชาชนมายืนยัน ไม่ต้องผลการเรียนว่าเรียนจบอะไร มีแต่เพียงแรง ความอดทน ความขยัน และไม่ต้องลงทุนด้วยการใช้เงินแต่ใช้แรงที่มี ชุมชนที่ต้องรับผิดชอบเป็นชุมชนขนาดเล็กที่บุกรุก บุกรุกอยู่มาอย่างยาวนาน 30 ปีแล้ว เจ้าของยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ในช่วงนี้จึงอาศัยอยู่กันไป เมื่อเจ้าของจะใช้พวกเราก็ต้องไป มันไม่ใช้ที่ดินของเรา พวกเราแค่อาศัยอยู่แต่น้ำ ไฟฟ้า แพงมาก เพราะไม่มีเลขที่บ้าน ไม่มีทะเบียนบ้าน คนจนอย่างเราจะใช้ก็ต้องแพงกว่าคนอื่นที่เขามีพร้อม สิ่งที่พวกเราต้องจ่ายภาษีทางอ้อมให้กับคนที่เขาพร้อม แต่เราก็ต้องทนเพราะไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า ถูกเอารัดเอาเปรียบเวลาไม่มีเงินก็ต้องกู้อาบังบ้าง กู้เซลล์ที่มาปล่อยเงินกู้บ้าง ก็เราไม่หลักประกันให้เขายึด พวกเราก็ต้องอยู่ในภาวะจำยอม อาหารการกินมีครบทุกมื้อลูกหลานก็ได้กินก็บุญแล้วจริงๆ คนจนอย่างพวกฉันมีสิทธิเลือกได้หรือ!!!! ต่อรองได้ด้วยหรือ....อย่างไรก็ต้องเป็นนักสู้ชีวิต จนว่าดินจะกลบหน้าฉัน...
รูปร่างสูง แต่หลังเริ่มค่อมแล้ว ผมเกือบเป็นสีขาวทั้งหัว ชอบใส่คอกระเช้า นุ่งผ้าถุง เวลาเดิน เดินเร็วมาก ด้วยอายุเข้า 71 ปีแล้ว แต่ยังแข็งแรงอยู่อาชีพของแก่หรือ คือการเก็บขยะขาย มีรถซาเล้งที่ได้รับมาจาก องค์กรศาสนาคริสต์ที่ซื้อให้ประมาณ 5 คัน 5 ครอบครัวที่ยังเก็บขยะขาย เก็บทุกอย่างที่ขายเป็นเงินได้ คุณยายที่ไม่ยอมแพ้ในโชคชะตา คือ คุณยายบุญส่ง ปิ่นแก้ว คุณยายแก่มีพี่น้อง 11 คน ที่อยพยกันมาจากจังหวัดสุพรรณบุรี บางคนก็ตายไปแล้ว 3 คน บางคนก็มีเงินทองไปซื้อบ้านจัดสรรอยู่เขาสบายไปแล้ว ทุนเขา ลูกเขาดี ช่วยกันเก็บเงิน ช่วยกันทำงาน ที่ชุมชนนี้เป็นพื้นที่บุกรุกอยู่กันมากว่า 30 ปีแล้ว ที่ดินนี้มีเจ้าของนะฉันแค่อาศัยเป็นที่ซุกหัวนอนจริงๆ
ตัวคุณยายมีลูก 3 คน แยกย้ายกันอยู่ แต่ละคนของฉันไม่เคยสนใจเรียนเลย ในขณะนี้ลูกชายคนเล็กเพิ่งกลับมา ทำงานเป็นยามเฝ้าของที่เมืองทอง รายได้ก็แทบไม่พอเพราะต้องดูค่าใช้จ่ายในบ้าน ฉันเองเก็บขยะไปขายได้ตอนนี้ สองวันได้เงินมาแค่ 170 บาทเท่านั้น ลูกสะใภ้ฉันไม่มีรายได้ ไม่ใครรับไปทำงานด้วยเพราะไม่มีเอกสาร มีตัวตนยืนอยู่ในชุมชน มีหลานสามคน เป็นคู่แฝดผู้หญิง 1 คู่ แล้วน้องชายของแฝดอีกหนึ่ง ครบเกณฑ์เข้าเรียนแล้วยังไม่ได้เรียนเลยเพราะยังไม่มีค่าแรกเข้ากว่า สองพันกว่าบาท รายจ่ายทุกวัน เจ้าแฝดไปโรงเรียนจะมีเงินเป็นค่าอาหารวันละ 20 บาท สองคน 40 บาท บางวันที่มีเงินก็จะได้ไปโรงเรียนบางวันไม่มีก็วิ่งอยู่ในชุมชน ในแต่ละวันมีข้าวไข่ดาวกินก็บุญแล้วจริง กับ ห้าชีวิตที่ต้องดิ้นร้น ฉันไม่ได้ดิ้นร้นเพื่อตัวฉันเอง ฉันห่วงมากคือหลานทั้งสามคนต้องได้เรียนหนังสือ เพื่อมีความรู้แล้วหางานทำที่ดีได้
เมื่อปีที่แล้วหลานเปิดเรียน เรียนที่โรงเรียนคลองเกลือ ไม่ค่าคอมพิวเตอร์กับค่าชุดยุวกาชาด ไปกู้เงินเขามาจำนวนกว่า สองพันบาท ในปีนี้ดอกเบี้ยกลายเป็นต้นกว่าสี่พันบาท เก็บทุกวันวันละ 180 บาท ตอนนี้ยายขายขยะได้เพียงสองวัน 170 บาทเท่านั้น ยายจะเอาที่ไหนให้เขา ยายเครียดจนนอนไม่ได้กลัวเขาจะท่ทำร้ายหลานของยาย ไปไหนก็ต้องเอาไปด้วย กลุ้มมาก กลุ้มจริง ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเป็นหนี้แล้วเครียด เมื่อเดือนที่แล้วเจ้าหนี้ขับรถมอเตอร์กวนรถยายที่เก็บขยะ ถีบจนหมดแรง แล้วด้วยความกลัว ยายก็รีบลงจากรถถีบ ด้วยความรีบร้อนมาก รู้ไหมยายหาล้มหน้ายายไปกระแทกกับพื้นถนน หัวเข่าลงไปเต็มที่ปวดหัวเข่ามาก เจ้าหนี้ลงจากรถแล้วเข้ามาอุ้มยาย ยังบอกเขายังมีน้ำใจที่อุ้มยาย ถ้าเป็นคนอื่นเขาคงกระทืบยายตายแน่นอน ยายมีหรือเก็บเงินได้เมื่อไรยายใช้เขาคืนแน่นอน เพราะยายไปเอาเขามาจริงๆ ช่วงที่เขาให้เราเพราะเอาไปให้โรงเรียนไม่อย่างนั้นหลานยายก็ไม่ได้เรียน เป็นความหวังเดียวในชีวิตของยาย เมื่อยายตายไปหลานจะได้มีความรู้ช่วยเหลือตัวเองได้ อย่าฝากความหวังไว้กับพ่อแม่มันเลย ....ความหวังของยายอยู่ที่หลานได้เรียน แก่พูดซ้ำแล้วซ้ำอีก
ชีวิตประจำวันของยายหรือ อยากรู้ไปทำไม คนจนอย่างยายจะมีอะไรมากเหล่า ตื่นขึ้นมาประมาณตีห้า หุงข้าวทิ้งไว้ให้หลานก็ออกเดินไปที่รถซาเล้งจอดไว้ที่หลังชุมชนเชียงชุ่น เดินผ่าฝูงหมาพอเดินผ่านมันก็เห่าหอนตามหลังยายไป ชาวบ้านก็จะรู้ว่ายายส่งออกหาขยะแล้ว ยายจึงเป็นสัญลักษณ์ในการปลุกชาวบ้านทั้งสองชุมชน ยายถีบซาเล้งไปตามหมู่บ้านประชาชื่น ได้อะไรก็เก็บหมด แล้วค่อยมาแยกอีกครั้งในช่วงสายๆ ประมาณเก้าถึงสิบโมงเข้ามากินข้าว ซื้อกำกับมาเพื่อหลานตอนเย็นด้วย พอกินข้าเสร็จนอนพักสักชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ก็จะออกไปแยกขยะ จัดให้เป็นกองๆ เช่น ขวดพลาสติดขุ่น ขายได้ 2 บาท ขวดพลาสติดใส ขายได้ 10 บาท แก้ว ขวดแก้ว กิโล 10 บาท เหล็กแต่ก่อนได้ 17 บาทตอนนี้เหลือ 2 บาท กระดาษลังทั่วไป 7 บาท กระดาษหนังสือพิมพ์ ได้ 1.50 บาท ราคาขยะตอนนี้มันลดลงมามาก แต่ละวันกว่าจะได้เงินมาดูแลคนในครอบครัวเหนื่อยมากๆ ประมาณ สี่โมงเย็นก็เอาของที่เก็บมาไปขายที่รับซื้อของเก่า กลับมาห้าโมงเย็นที่บ้านรอหลานกลับมากินข้าวเย็น พอหกโมงเย็นก็เอาหลานสองคนที่เป็นแฝดนั่งรถซาเล้งไปด้วย เพราะปล่อยหลานไว้กลัวเพราะแม่ก็จะออกจากบ้าน พ่อก็ยังไม่กลับเพราะเป็นย่าม ส่วนหลานชายกินข้าวแล้วก็ให้วิ่งเล่นในชุมชนรอกว่ายายจะกลับมาเกือบสามทุ่มหรือสี่ทุ่ม อย่างนี้ทุกวัน บางวันหลานกลับมาก็หลับการบ้านก็ไม่ได้ทำ แล้วจะทำอย่างไรถ้าไม่ออกไปหาขยะอีกรอบก็อย่าหวังว่าจะมีกิน ยายก็สู้ขอยายแบบนี้ เพราะยายมีแรงเท่านั้น
ตอนนี้หลานสองคนพอกลับมาจากโรงเรียน ครูที่โรงเรียนให้พ่อนำเด็กไปส่งเพื่อสอนพิเศาให้โดยไม่เก็บเงิน แล้วยายก็ไม่มีให้หรอก แต่เขาหลานของยายให้อ่านหนังสืออกมาขึ้น ยายก็ดีใจนะ ขอบคุณที่ครูจากมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กมาปลดหนี้ให้ยาย ไม่อย่างนั้นยายหนักกว่านี้อีก ยายสัญญาจะไม่เป็นหนี้ใครอีกแล้ว ยายกลัวเอามากๆเลย เรื่องการปลดหนี้ไม่ใช่เงินของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ทางมูลนิธิฯเป็นเพียงตัวเชื่อมประสาน กลุ่มคนที่ปลดหนี้คือเพื่อพๆของคุณ ทิพย์ สุดา ลงมาเยี่ยมพร้อมทั้งปลดหนี้ให้ ที่ทุกคนให้คืออยากให้หลานของยายบุญส่งได้เรียนหนังสือ ยายจะได้มีแรงกายแรงใจในการทำงาน แต่พวกเราทุกคนพูดว่ายายควรที่จะได้พักแล้วในช่วงอายุอย่างนี้ ยายบอกว่าถ้ายายไม่หาแล้วจะเอาอะไรกิน ยายทำงานไปก่อนเพื่อหลาน ถามยายต่อว่ามีบัตรประชาชนไหมมีแต่มันหายไปแล้ว ขึ้นทะเบียนผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพ มันยุ่งยากเสียเวลาทำมาหากิน แต่ถ้ายายทำจะเดือนละแปดร้อยบาทมาช่วยเป็นค่าอาหารได้บ้างนะ ถ้าครูพายายไปทำยายก็จะทำ ยายเคยไปแล้วหลายครั้งมาก คนที่ทำบัตรเขาไม่เคยสนใจยายเลย ยายเสียดายค่ารถ เสียดายเวลา ฟังยายสะท้อนแล้วมันก็เป็นจริงอย่างที่ยายพูดจริงๆ
สำหรับบ้านของยายมันพังหมดแล้วตั้งแต่ปลายปี 2554 ตรงกลางมันพัง ยายมาอาศัยอยู่บ้านคนเก่าที่เขาออกจากชุมชนไปแล้ว พื้นไม่มันติดกับพื้นดินเลยนะ ฝนตกมามันก็แชะไปหมดนอนกันไม่ได้ แต่ยายก็ไม่มีเงินตอนนี้ก็หาไม้เก่ามากองๆ คนจนจะมีบ้านเป็นที่คลุมหัวกะลานอนมันไม่ง่ายหรอกนะ มันเป็นเงินไปหมด ทุกอย่างคือเงินเท่านั้น ยายก็ต้องนอนแบบนี้ไปก่อน จนกว่าจะมีใครเขาสงสารช่วยยายก็เอานะ อย่างน้อยสุดหลานยายได้นอนที่ดีกว่า ไม่ใช่นอนดมขยะ นอนอยู่ติดกับดิน ยายก็เป็นโรคหอบหื่น เวลาไม่มีเงินแล้วป่วยขึ้นมา คนแก่ในชุมชนก็รวมเงินไปซื้ยาพ่นให้ยาย พักสักวันสองวันพอมีแรงก็ต้องทำ คนจนไม่มีทางเลือกหรอก..
เวลาที่ครูเข้าไปในชุมชน เห็นแต่ยายบุญส่งทำงานตลอด จะมานั่งคุยไม่มี อยากคุยอยากพูดคุยต้องลงไปนั่งคุยขณะที่ยายทำงานไปด้วย ด้วยแรงกายในขณะที่ยายอายุ 71 ปี สำหรับครูก็เป็นนักสู้จริงๆ เป็นนักสู้ชีวิตนี้เพื่อหลานสามคน เป็นยิ่งที่น่ายกย่อง ยายบุญส่งไม่ได้เพื่อตัวเอง แต่ทำเพื่อความหวังว่าหลานทั้งสามจะได้เรียนหนังสือมีงานทำที่เลี้ยงตัวเองได้ในอนาคต น้ำหล่อเลี้ยงชีวิตคุณยายบุญส่ง ทั้งหมดคือหลานได้เรียน..... เป็นภาพสะท้อนที่เป็นจริงในสังคมกรุงเทพที่ยังมีคนเหล่านี้ที่เป็นนักสู้ชีวิต....เพื่อหลาน.