อายุ 15 ปี ได้เป็นหัวหน้าครอบครัว
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ครูคะ ทางคุณบังเซ็นต์ รองประธานกรรมการชุมชนคลองส้มป่อย ขอความอนุเคราะห์ มาอีกหนึ่งกรณีคะครู กรณีศึกษานี้ลำบากจริง จริง หอบน้องๆอีกสองคนมาอาศัยมะอยู่ (มะ หมายถึง น้องสาวของยาย ซึ่งยายแท้ๆ ก็ไม่ได้อยู่แล้วในชุมชน มะให้มาอาศัยนอนที่บ้านพักในชุมชน รวมทั้งสิ้นที่มาอาศัยอยู่ จำนวน 12 คน)
เขาประสานงานส่งรายชื่อมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2564 สำหรับครูเองก็เร่งแต่รายชื่อของเด็กรับทุนการศึกษา รับรู้ว่ามีกรณีขอความช่วยเหลือเรื่องจ่ายค่าเทอมเท่านั้น ยังไม่มีโอกาสคุยกับเด็กและบุคคลที่ใกล้ชิดกับเด็ก
พร้อมกับในช่วงวันที่ 23 มีนาคม 2565 ครูเองเป็นโควิด-19 และครูเองก็เร่งส่งอีกเอกสารเรื่องทุนการศึกษา “ทุนสานฝันการศึกษาเพื่อน้อง” ปีการศึกษา 2564 รุ่น 2 พร้อมทั้ง แบบคัดกรอเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤติทางการศึกษา ของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ในช่วงขณะนั้นคณะกรรมการคัดกรองดูเอกสาร ตีกลับเอกสารจำนวนอีก 5 ชุด ที่ต้องมีลายเซ็นของผู้ปกครอง ในบัตรประชาชน/ในสำเนาทะเบียนบ้าน ซึ่งทุกอย่างพร้อมกับ ที่ครูต้องลงไปพบกับครอบครัว 5 ครอบครัว ทำเอกสารให้เสร็จจึงมีการประสานงานกับครอบครัวเด็กทั้งหมด นัดพบกัน
เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 นัดไว้เวลา 10.00 น. สำหรับ 5 ครอบครัว ที่ต้องมาแก้ไขเอกสาร ใช้เวลาอย่างน้อย ครอบครัวละ 30 นาที ครูเปลี่ยนโต๊ะทำงานมาใช้ ที่บ้านมนังคศิลา กว่า 3 ชั่วโมง คุณบังเซ็นตพร้อมคุณหนิง ที่เป็นกรรมการชุมชนคลองส้มป่อย พาน้องซอ (นามสมมุติ) กับน้องซา (นามสมมติ) มาพบครู ซึ่งพี่สาวครูมองเห็บใบหน้าไม่ชัด เพราะคลุมผม แต่นั่งไล่ซักประวัติด้วยว่า พ่อกับแม่เคยเป็นคนที่ทำมาหากิน ส่งลุกเรียนโรงเรียนเอกชน มีรายได้พอสมควร และที่สำคัญ คือ ให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาของลูก
เสียงของพี่สาว ที่มีความเป็นผู้ใหญ่มาก กว่าอายุที่เด็กสาวคนนี้ คือแค่ 15 ปีเท่านั้น เล่าแบบกึ่งขอความเห็นใจกับครู แต่ด้วยความแกร่ง ความเด็ดเดียวของผู้เป็นพี่ ที่ต้องทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ให้น้องต่างพ่อ(พ่อคนปัจจุบัน) เป็นเพียงพ่อเลี้ยง ที่เลี้ยงแม่ด้วยลำแข้ง ไม่ถูกใจใช้ความรุนแรงกับแม่ เขียวช้ำไปหมด แต่ด้วยชุดที่แม่สวมใส่อยู่ มันปกปิดรอยแม่ของแม่
ครูซักต่อว่าความรุนแรงเหล่านี้มาถึงลูก ลูก ด้วยไหม คำตอบ คือมีลูกหลงมาลงที่น้องคนที่สอง และคนที่สามบ้าง เป็นครั้งคราว ครั้งสุดท้ายนี้ หนูทนไม่ไหวคะครู จึงหอบหิ้วน้องทั้งสองคน หนีจากแม่มาอาศัยอยู่กับมะ ที่ชุมชนคลองส้มป่อย
อาศัยนอนที่บ้านมะ มีที่นอนไม่ต้องไปนอนข้างถนน ซึ่งก็ต้องอัดกันถึง 12 คน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับพ่อ/แม่ ตอนนี้ติดยาไอซ์ แบบเต็มตัวเลยคะ เขาไม่สนใจว่าลูกทั้งสามคน อยู่ดีมีสุขอย่างไรเลย ไม่ถามไม่ตาม ปล่อยเลยคะ
ครูถามต่อมีเหตุ/แรงจูงใจอะไร ที่เธอต้องลุกมาทำบทบาทหัวหน้าครอบครัว
หนูกลัวคะ เวลาที่พ่อเลี้ยงเมายา/แม่เมายา เขาทะเลาะกัน กลัวน้องคนเล็กตายคะ เคยถูกลูกหลง รักษากันเป็นเดือน พอน้องหายก็เลยหอบหิ้วกันมา เอกสาร/ทะเบียนบ้านไม่ได้เอามาด้วย จึงทำอะไรไม่ได้
เธอไปคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียนรักษาราชวิตร เกี่ยวกับการเรียนของน้องมาหรือ !!!!!!!!!
ใช่คะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบอกว่า มีเงินจ่ายค่าเทอมที่ค้างอยู่......เด็กก็ย้ายออกได้.......
ถ้าหนู เลยเอาเรื่องไปปรึกษา คณะกรรมการชุมชน .....อยากให้น้องได้เรียน.....มีหน่วยงานไหนบ้าง..ที่ช่วยเหลือ.....
เมื่อฟังเรื่องราว ที่เล่นเอาครูน้ำคลอเบ้ากันไปเลย จึงหันมาปรึกษาครูซิ้มและคุณบังเซ็นต์ ต่อ โดยแบ่งกันทำหน้าที่
1.ครูซิ้ม/กับผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 นำเด็กไปโรงเรียน เพื่อไปสอบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พร้อมจ่ายค่าเทอมที่ค้างอยู่ จำนวน 6,400 บาท สำหรับ 2 เทอมการศึกษา เพื่อให้ได้ใบ ปพ. ของเด็กมาเพื่อนำเข้าโรงเรียนใหม่
2.คุณบังเซ็นต์ พร้อมพี่หนิง ช่วยพาเด็กไปสำนักงานเขต เพื่อของคัดชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนของพ่อ/แม่ เพื่อไปประกอบการขอย้ายจากโรงเรียน ดำเนินการก่อนวันจันทร์
3.เมื่อได้เอกสารแล้ว ขอฝากทางคุณบังเซนต์/คุณหนิง ไปฝากเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดพญายัง
4.เรื่องชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน/กระเป๋า/รองเท้า ชุดพละ เดี๋ยวทางครูหากระบวนการจัดสรรให้อีกครั้ง เป็นการแบ่งงานกันทำเพื่อให้เด็กได้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาให้ได้มากที่สุด
เมื่อวันที่ 25 เมษายน ครูซิ้ม/ผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม ไปถึงโรงเรียนรักษาราชวิตร กันตั้งแต่ แปดโมงครึ่ง พร้อมเด็กแต่งตัวเรียบร้อย ชุดคลุมแบบมุสลิมทั้งหมด
เริ่มต้นที่ผู้อำนวยการโรงเรียน มีการนั่งคุยกับครูซิ้มพร้อมถึงเด็ก ถึงเหตุผลที่เด็กจะย้ายโรงเรียน ครูเองก็รู้สภาพชีวิต/ของครอบครัวอยู่ประมาณหนึ่ง
ครูซิ้มเริ่มคุย และดำเนินการสอบของคนน้อง ทันที การอ่าน/การเขียน จึงล่าช้ามาก เดิมกะว่าทุกอย่างจะเสร็จก่อนเที่ยง เลยต้องใช้เวลาทั้งวัน มีการสอบทั้งหมด 8 วิชาด้วยกัน
สำหรับคนพี่ น้องซอ ครูซิ้มคุยต่อเรื่องการเรียน เพราะเคย ม.1 แค่เทอมเดียว จึงมีการเสียสละไม่เรียนต้องการดูแลน้อง อีก 2 คน ตอนนี้ต้องมาทำงานแบบเต็มตัว เพื่อเป็นค่านมกับค่าแพมเพิสของน้อง คน 10 เดือน
หันมาคุยต่อเรื่องการเรียน น้องซอ จบ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนรักษาราชวิตร แต่ได้ทำใบจบเอกสารหาย แล้วยังไม่ได้ทำอะไร.....
ครูซิ้มก็ถามท่านผู้อำนวยการโรงเรียนทำอย่างไรดีคะ
ผู้อำนวยการโรงเรียน บอกครูซิ้มว่า ต้องมีใบแจ้งความ เพื่อเป็นหลักฐานในการออกใบสำเร็จการศึกษา
ครูซิ้มไม่รอช้า พาพี่คนโต น้องซอ ไปสถานีตำรวจทันที ขอใบแจ้งความ ที่สถานีตำรวจเจริญกรุง
ปล่อยให้น้องซา กับผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม ทำข้อสอบให้เสร็จ
จนถึงเวลาบ่ายสาม ทุกอย่างก็เสร็จเรียบร้อย แต่เอกสารการย้าย/กับเอกสารการจบการศึกษา ขอใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ถึงจะส่งมาที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
กว่าจะเสร็จ/ช่วยเด็กได้ตามสิทธิ์ที่เด็กควรจะได้รับ งบประมาณ และถุงยังชีพก็ต้องเข้าไปประคองให้เด็ก ได้รับโอกาส อุปสรรค์ระหว่างทางยังมีอีกจำนวนมาก การทำงานจึงต้องละเอียดรอบคอบ แล้วใช้เครือข่ายภาคี เพื่อให้เด็กได้มีที่ยืนบนสังคม และคงต้องยาว เมื่อหัวหน้าครอบครัวเพียงแค่ 15 ปี ที่ต้องดูแลน้องอีก 2 คน เรื่องจริงยิ่งกว่านิยาย