banner
อังคาร ที่ 21 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2564 แก้ไข admin

การบริหารจัดการ เด็กที่ติดโควิด-19(เด็กเร่ร่อน/เด็กลูกกรรมก่อสร้าง ตอนที่ 3 ) การระบาดกระจายไปแคมป์งานก่อสร้างอื่นๆ

 

นางสาวทองพูล   บัวศรี(ครูจิ๋ว)

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          การควบคุมให้อยู่ในพื้นที่ หลักสี่  ไม่ได้เป็นไปตามที่หน่วยงานภาครัฐกำหนด  เพราะได้มีการเคลื่อนย้ายคนงานก่อสร้างที่เป็นกลุ่มคนต่างด้าว  โดยเฉพาะชาวพม่า  ที่เคลื่อนตัวได้เร็วมาก   โดยการหลบหนีออกในช่วงกลางคืนแล้วไปอาศัยอยู่กับญาติในแคมป์งานอื่นๆ

          เริ่มจากแคมป์งานก่อสร้างที่บริเวณพระโขนง   มีคนงานอยู่ประมาณ 300 คน มีทั้งคนไทยและต่างจังหวัด  แล้วมีคนงานก่อสร้าง ได้ย้ายเข้าไปอาศัยอยู่ด้วย จึงติดกันทั้งแคมป์คนงาน  ทำให้เกิดการตระหนกตกใจ กันอย่างมาก  โดยเฉพาะคนช้นกลางในกรุงเทพมหานคร  มีการตีข่าว ติดตามคนงานก่อสร้าง แต่เพียงสาธารณสุขที่ลงไปตรวจ แล้วก็เจอกันทั้งแคมป์คนงาน   การส่งตัวเข้าโรงพยาบาลในการรักษา  แทบไม่มีเลย  เริ่มมีคนงานก่อสร้างที่ติดโควิด-19 เชื้อลงปอด  แล้วเกิดการตาย  แต่ข้อมูลถูกปกปิด   สำหรับญาติคือการช๊อคที่เสียคนในครอบครัวแบบไม่มีการลา ไม่มีการกล่าวคำ อโหสิกรรม  เดินทางด้วยตัวคนเดียว  ไม่มีคนส่งร่าง  ญาติได้แต่ยืนมอง   เพราะทุกอย่างต้องมีเฉพาะคนที่จัดการศพเท่านั้น    คนป่วยเหมือนตัวอันตรายปิดมิดชิดถุงใส่ศพเริ่มใช้การบริจาค  แม้แต่คนจัดการศพ  หลายคนก็หันมาบริจาค

          การแพร่ระบาดเริ่มออกเป็นข่าวที่โหมกระหน่ำ  ว่าคนงานก่อสร้างเป็นผู้นำเชื้อโรคไปแพร่ระบาด  การสื่อสารแบบนี้ ช่างโหดร้าย เพราะทุกอย่างตกไปอยู่ที่ คนงานก่อสร้าง  การจะต่อสู้กับโรคร้ายแรงแบบนี้ไม่ให้เครื่องมือ/อาวุธอะไรเลย   

          สำหรับโครงการครูข้างถนน/โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนวิกฤติครั้งนี้ คือโอกาสของทีมงานของครูพร้อมในการทำงาน  สิ่งที่ทีมงานดำเนินการ

          (1) ครูโทรประสานงานกับทีม กัลยาณมิตร หลากหลายกลุ่ม  สำหรับ การระดมทุนหาสิ่งของจำนวนมาก จุดถุงยังชีพ สำรองไว้ทันที  เพราะสถานการณ์แบบนี้  คนที่อยู่ในแคมป์งาน แล้วติดโควิด-19 ด้วย จะถูกโดดเดียวทันที่  ให้แยกที่ที่นอน  ที่ทำอาหาร ถ้าติดทั้งครอบครัวก็ยังดีที่ไปรักษากันทั้งครอบครัว

          มีบางครอบครัวที่แม่กับพ่อติด แล้วเด็กต้องอยู่ห้องพักคนเดียวเท่านั้น  อย่างนี้พ่อกับแม่จะกังวลแบบสุด สุด  ตัวเองก็ป่วย รอคิวที่จะไปรักษาที่โรงพยาบาล  พ่อเองก็กลัวความเป็นอยู่ขอครอบครัว  คือต้องรักษาตัว 14 วัน ในโรงพยาบาล  เมื่อรักษาหายต้องกลับมากักตัว  ที่แคมป์คนงานจัดไว้ให้อีก 14 วัน  รวมเป็น 28 วัน  ครอบครัวไม่มีรายได้อะไรเลย   ทั้งครอบครัวเดือดร้อนกันอย่างมาก


          (2) สำหรับเด็กบางครอบครัวโทรประสานกับครู เรื่อง หาที่รักษา หน่วยงานของโรงพยาบาลสนาม และโรงพยาบาลที่รักษาเฉพาะทางโดยตรง   เพราะเริ่มมีเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง เริ่มติดกันจำนวนมาก  เช่น

          -แคมป์คนงานที่หลักหก  ติดจำนวน 50 คนที่เป็นผู้ใหญ่   ที่ทางบริษัทแยกให้อยู่เฉพาะ  เพื่อรอรถโรงพยาบาลมารับไปรักษาตามสิทธิประกันสังคม  มีเด็กอยู่จำนวน 2 ราย ที่ติดเด็กต้องรักษาทันท่วงที   ครูประสานส่งต่อไปโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  แต่ด้วยไม่ใช่เด็กในพื้นที่ ปทุมวัน  เลยต้องใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน  เริ่มตรวจใหม่ทุกอย่าง  เลยกลายเป็นต้องเริ่มใหม่ทั้งครอบครัว  กว่าจะลุ้นกันก็แทบใจหายว่าทางโรงพยาบาลจะรับใหม่ สุดท้ายก็รับ

          สำหรับการตรวจของคนงานก่อสร้าง  ได้ใช้สิทธิประกันสังคม ตรวจที่ สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น  โดยคนงานก่อสร้างในบริษัทอินตาเลี่ยน จำกัด ในแคมป์งานต่างๆ ก็ต้องตรวจ  โดยทางแคมป์ทุกแคมป์งานต้องตรวจ  โดยทางผู้รับเหมาก่อสร้างต้องดำเนินการ 



          -แคมป์ 14 ไร่ ของบริษัทอิตาเลียนไทย  จำกัด ที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าจาก บางซื่อถึงรังสิต  คนงานก่อสร้างทุกคนต้องตรวจ  รวมถึงผู้ที่เข้ามาอาศัยในแคมป์งานด้วย คือ เด็กและผู้สูงอายุ ผลออกมาติดกว่า 70 คน  ที่ต้องรอไปรักษาที่โรงพยาบาล  เด็กมีติดจากคนในครอบครัวด้วย 3 คน   ทางบริษทให้ไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลเวชการุญ  ที่รักษาตัวตามสิทธิประกันสังคม  ทั้งคนงานที่เป็นคนไทย/คนงานต่างด้าว (กัมพูชา กับพม่า  เป็นงานก่อสร้าง ตาม MOU ของบริษัทกับแรงงานที่นำเข้าทำงานก่อสร้าง )

          สำหรับแคมป์นี้คนงานก่อสร้างที่ไม่ได้ติดมีการกระจายตัวไปอยู่ตามแคมป์งานอื่น  เป็นความหวังดี  แต่ประสงค์ร้าย เพื่อให้มีงานทำ และมีรายได้ดูแลคนในครอบครัว  สิ่งที่เกิดขึ้น  คือการกระจายโควิด-19  กันทุกแคมป์คนงานกันเลย  และคนที่ย้ายไปใหม่ได้นำเชื้อโควิด-19 ไปด้วย  ถึงแม้จะมีการตรวจแล้วก็ตาม  เป็นการขัดคำสั่งของภาครัฐบาล (พรก.ฉุกเฉิน  ห้ามีการเคลื่อนย้ายเด็ดขาด )


          -แคมป์คนงานช่อง11  ติดกับพระรามเก้า  เป็นแคมป์ที่เป็นที่ดินขอบริษัทอินตาเลี่ยนไทย จำกัด  มีคนงานพร้อมเด็กติดกัน 400 กว่าคน  แต่ทางบริษัทรับผิดชอบหมด  ด้วยเป็นคนงานของบริษัทโดยตรง  แต่ยังต้องการข้าวสาร/อาหารแห้ง  สำหรับครอบครัวที่เสี่ยง

          (1)  คนป่วยทั้งหมดส่งต่อไปยังโรงพยาบาลเวชเพชร ที่พระราม 2 ด้วย ทางบริษัทมีประกันสังคมกับโรงพยาบาลโดยตรง   จึงส่งต่อในการกักตัว  พร้อมการรักษาพยาบาล  แต่สุดท้ายที่แคมป์นี้มีการเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก    ระยะเวลาการรักษาตัวอยู่ระหว่าง 14-21 วัน ที่ต้องดูแลในโรงพยาบาล

          (2)  สำหรับกลุ่มเสี่ยงสูง ทางบริษัทต้องมีการดูแลอาหารและยา   ทางบริษัทได้ประสานงานกับทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนนำชุดยังชีพ พร้อมยาฟ้าทะลายโจรมาส่วน แบ่งปัน   หน้ากากอนามัยที่ต้องใช้จำนวนมาก


          (3) การแบ่งตึก สำหรับกลุ่มที่กลับมาจากโรงพยาบาล โดยใช้ตึกอีกจำนวน 4 หลัง ในการให้คนที่กลับมาจากการรักษาตัวที่โรงพยาบาล มากักตัวอีก 14 วัน  สำหรับกลุ่มนี้ที่ต้องการอาหาร พร้อมถุงยังชีพจำนวนมาก  ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ได้จัดถุงยังชีพ พร้อมหน้ากากอนามัยให้กับกลุ่มที่ต้องกักตัว   มีการใช้ผ้าเต็นท์สีฟ้า พร้อมตาข่ายจัดแบ่งอย่างชัดเจน

          (4) มีบางครอบครัวที่มีการแยกเด็ก กับครอบครัว ไว้ตั้งแต่แรก  บางครอบครัวก็เพิ่งที่จะได้พบกัน มองตากันแบบห่างๆ  แต่ห่วงใยกันตลอด  เด็กเองก็ต้องตรวจกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง  เพื่อความแน่ใจว่าไม่ได้ติด

          -แคมป์คนงานก่อสร้างที่จังหวัดชลบุรีของ บริษัทฯ  ที่ย้ายครอบครัวที่ไม่ติดไปทำงาน กลายว่าเป็นครอบครัวนำเชื้อโควิด-19 จากกรุงเทพมหานคร ไปแพร่กระจาย  ทางสาธารณสุขต้องลงไปตรวจอย่างเข็มงวดอีกครั้ง 

          -แคมป์คนงานก่อสร้างที่ทางบริษัทฯต้องสั่งมาทบทวนกระบวนการช่วยเหลืออีกครั้ง   แต่สำหรับบริษัทรับเหมาก่อสร้าง อีกจำนวนหนึ่งมีการกระจายตัวไปบริษัทอื่นๆ  ตลอดจนบริษัทเหล่านั้นก็ไม่มีมาตรการเข็มงวดเรื่องโรคโควิด-19

          จึงมีการระบาดตามแหล่งก่อสร้างจำนวนมาก

          งานนี้เป็นบทเรียน  ของโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่