ช่วยเหลือกรณีศึกษา...ให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ด้วยโครงการครูข้างถนน จะต้องลงสำรวจพื้นที่ บนท้องถนนหลายสายด้วยกัน ตั้งแต่โรคโควิด-19 มาทั้งสี่ระลอก สำหรับตัวครูเองถูกสั่งห้ามลงพื้นที่ ด้วยทุกคนเป็นห่วงครูที่มีโอกาสติดโควิด-19 มากกว่าชาวบ้านเขา
สำหรับครูเองก็อดเป็นห่วงกรณีศึกษาของครูที่ดูแลไม่ได้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ทีมงานของครู ทั้ง 3 คน ได้สำรวจคนไร้บ้าน/เด็กเร่ร่อน/ครอบครัวเร่ร่อน ในเรื่อของการฉีดวัคซีน โดยต้องการให้มีการรวมกลุ่ม ณ สถานที่ใด/สถานที่หนึ่ง แต่กลุ่มคนบนท้องถนน เส้นถนนสุขุมวิท ส่วนมากไม่อยู่เป็นกลุ่ม อาศัยแบบรายเดียว
แต่สิ่งที่น่าสนใจของครู คือ มีแม่และเด็กที่ออกมาอยู่บนท้องถนน ที่หน้าซอย สุขุมวิท 19 หน้าห้างโรบินสัน อยู่เยื้องกับห้างเทอร์มินอล 21 โดยแม่ลูกคู่นี้ มีเสื่อปูอย่างดี ลูกชายวัย 10 ปี นอนทำการบ้าน ใช้มือถือที่มีอยู่เข้าเรียนออนไลน์กับเพื่อนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ครูสงสัยว่าทำไหม แม่ลูกคู้นี้จึงมาใช้ชีวิตแบบนี้ (อาจคาดเดาว่าตกงาน ไม่มีงานทำถูกไล่ออกมาจากบ้านเช่า)
แม่นอนที่ไหน.....ตอนกลางคืนจะไปนอนที่ซอยสุขุมวิท 11 (เพราะมีแหล่งก่อสร้างที่สร้างไม่เสร็จ หลบเข้าไปนอนได้ ตอนนี้ไม่มีใครเฝ้า
กลางวันจะพาลูกมาทำการบ้าน ที่หน้าซอย 19 พื้นที่กว้าง โล่ง อากาศถ่ายเท
คำถามครู ทำไหมออกมาใช้ชีวิตแบบนี้
แม่เด็กตอบ....ฉันติดค้างคาเช่าบ้านพักมากว่า 8 เดือน รวมเป็นเงิน เกือบแปดพันบาท ฉันไม่มีจึงพาลูกมาใช้ชีวิตแบบนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 กว่า 5 เดือนแล้ว ใช้ถนนเป็นที่ทำมาหากินและเป็นที่นอนด้วย
แม่เด็กก็เริ่มเล่าฟัง เดิมเป็นหมอนวด มีรายได้และได้ทิป จากการนวด พอที่จะจ่ายค่าเช่าบ้าน มีเงินให้ลูกได้ไปโรงเรียน น้องเรียนได้เกรด 4 ทุกวิชา เมื่อเจอโควิด ครั้งแรก เมื่อปลายตุลาคม 2562
พอถึงต้นปี 2563 ทุกอย่างที่เคยทำโดยเฉพาะร้านนวด ถูกปิดแบบไม่มีกำหนด ฉันก็เปลี่ยนมาเป็นหมอดู แต่ก็ยังวนเวียนกับสถานที่สปา มีลูกค้าที่เป็นคนไทย/ชาวต่างชาติบ้าง พอเลี้ยงลูกได้บ้าง โดยมีฝรั่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับลูกชาย เดือนหนึ่งหลายพันบาท
แต่พอมาปลายปี 2563 ทุกอย่างที่เคยได้ พอเลี้ยงตัวเองกับลูก ทุกอย่างพังทลายไปเลย รัฐสั่งปิดทุกอย่าง สั่งให้ทำงานที่บ้าน ฉันเลยกลายเป็นคนที่ไม่มีบ้าน แม้แต่บ้านเช่าก็อยู่ไม่ได้ไมมีเงินจ่าย ฉันหาเงินยากมาก นักท่องเที่ยวรีบกลับประเทศตัวเอง จะมีชาวต่างชาติที่ทำงานในไทย ทุกคนก็ไม่มีใครกล้าออกจากคอมโดมิเนียม ทุกอย่างสั่งผ่านแอฟกันหมด ไม่มีใครมาเดินถนนสุขุมวิท ยิ่งกว่าป้าช้าอีก เงียบสงบสยมความเคลื่อนไหวของคนจะเดินบนถนนสุขุมวิท แต่คนอย่างพวกฉันก็อดตายได้เหมือนกัน
แล้วแม่กับลูกคิดอย่างไร จึงออกจากบ้านเช่า ครั้งแรกที่ออกมา ลูกก็เริ่มเรียนออนไลน์ อาศัยที่สปาอยู่ไปก่อน จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ของปีนี้ คำสั่งปิดงานทุกอย่าง ปิดหมดเจ้าของสปาก็รีบบินกลับประเทศ แคนาดา ความช่วยเหลือที่เคยได้รับ ทุกอย่างไม่มี แม่ลูกจะย้อนไปที่เช่าที่เก่าก็ไม่ได้เพราะค้างค่าเช่าอยู่
จนมาพบทีมงานของครู ครูมีคำถามหนึ่งที่ฉันตอบไม่ได้ อยากให้ครูช่วยอะไร เพราะปัญหาฉันกับลูกมีหลายเรื่อง อธิบายไม่ถูก ครูมอบถุงยังชีพพร้อมนม/ขนม แล้วก็ก็รีบไป
สิ่งที่ครูได้ช่วยฉันมีมากมายจริง จริง เริ่มต้นจาก
(1) หลังจากที่พบครูแล้ว มีน้องคนไทยที่ทำข่าวให้กับประเทศจีน ลงมาสัมภาษณ์พร้อมติดตามชีวิตของ ฉันกับลูก เมื่อถ่ายทำเสร็จ มอบเงินให้ฉัน จำนวน 4,000 บาท พร้อมซื้อชุดนักเรียน/รองเท้า/กระเป๋า อีกส่วนหนึ่ง สำหรับเงินฉันเอาไปจ่ายค่าเช่าบ้านที่ค้างอยู่
แต่ในช่วงเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา ถนนสุขุมวิทไม่มีใครกล้าเดินกันเลย เพราะทุกคนกลัวการติดโควิด-19 ฉันลูกก็เช่นกัน อพยพย้ายกันมาอยู่ที่ปั้มน้ำมัน มาศัยเจ้านายที่เป็นร้านอาหาร รับจ้างล้านจาน/ชาม แล้วกลางคืนใชห้องพักเป็นที่นอน
สำหรับการเรียนของลูก ครั้งนี้ไม่ได้เรียนกันเลย เพราะมือถือพัง จึงไปรับแค่เอกสารมาอ่าน เข้าเรียนห้องชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไม่ได้
(2) มีรายการโทรทัศน์ ต้องการครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ครูจึงให้ไปพบกับครอบครัวนี้ สัมภาษณ์ถึงการตัดสินใจในการใช้ชีวิตบนท้องถนน จนมาอาศัยที่นอน กับร้านค้าในช่วงกลางคืน ในรายการข่าวไทยพีบีเอส มีเจ้าของบ้านเช่าจำนวน 5 คน มาเยี่ยมถึงที่พักของแม่ลูก ที่ปั้มสยามราช เป็นที่ต่อรถไป กรุงเทพ –พัทยา ในช่วงนั้นไม่มีคน
แม่ลูกปฏิเสธไป ด้วยแต่ละบ้านเช่าอยู่ไกลมาก เช่น ศาลายา นครปฐม/ มีบ้านเช่าที่เยาวราช / ที่บ้านเช่าที่ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี/ มีบ้านเอื้ออาทร ที่เจ้าของยินดีให้ไปอยู่ที่บางพลี สมุทรปราการ/และล่าสุดให้ไปอยู่ที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร แต่ละทีไกลมาก ไม่เอื้อกับลูกที่ต้องเรียน ด้วยห่วงการเรียนของลูก ถึงแม้ที่พักจะให้ฟรี แต่ต้องเสียค่าน้ำ-ค่าไฟ เอง และแต่คนก็ไม่บอกสัญญาแน่ชัดว่าให้อยู่กี่เดือน /กี่ปี ไล่ออกเมื่อไรก็ได้
แม่จึงปฎิเสธทุกราย ขอใช้ชีวิตอยู่แบบนี้ก่อน
(3) เมื่อมีรายการสิงค์โปร์ (คนประสานงานพร้อมนักข่าวเป็นคนไทยทั้งหมด ) ถูกระบุให้มาสัมภาษณ์ในการทำงานของครูจิ๋ว และขอสัมภาษณ์กรณีศึกษาขอครูอย่างน้อย 2 กรณี ด้วยเวลามีเพียงไม่กี่ชั่วโมง และครูเอง ก็ต้องรีบจัดการกรณีศึกษาอื่น ในเรื่องการเรียนที่ติด “ร” ติด “0” ครูจึงให้สัมภาษณ์กรณีศึกษา แม่กับลูกคู่นี้ แต่เขาถ่ายทำกัน 2 วัน เฉพาะที่เขาอยากถาม พร้อมการตัดต่อ
จนเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เผยแพร่ที่ประเทศสิงค์โปร์ มีชาวสิงค์โปร์ติดต่อผ่านไลน์ของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ชื่อว่า คุณKen Ho ว่าต้องการให้ความช่วยเหลือ ได้ติดต่อมาทางไลน์ แต่ไม่มีใครตอบ
ทางคุณ Ken Ho ได้ติดต่อมาทาง มูลนิธิชุมชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งใหม่ แต่เป็นชาวต่างชาติที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ มีเครือข่ายที่ประเทศสิงค์โปร์ โดยมีคนไทย ชื่อคุณเกร ประสานงานมา แล้วครูได้พาไปลงเยี่ยมกรณีศึกษา ที่แม่ลูกคู่นี้พักอยู่
สำหรับครูแนวทางช่วยเหลือ คือ ต้องการที่พัก เพราะทุกคนต้องมีบ้าน บ้านจะเป็นแบบไหน ก็ต้องเป็นบ้าน ครูไม่ต้องการให้แม่ลูกคู่นี้ ใช้ชีวิตแบบนี้ สุดท้ายก็จะเป็นคนไร้บ้าน ชินกับถนน นอนที่ไหนก็ได้ ครูแจ้งความจำนงกับคนประสานงาน
อีกเรื่องมือถือของเด็กที่ใช้เรียนออนไลน์ ขอแบบมือสอง ของคนอื่นเขา แต่แรมของมือถือใช้เรียนได้ เติมเน็ตให้เป็นรายเดือน พอกับเวลาที่เด็กเรียน
เมื่อครูได้คุยกับคุณเกร ความคิดเห็นของในแนวทางช่วยเหลือเห็นสอดคล้องด้วยกัน พร้อมทั้งการดูที่หลับนอน ที่ไม่ได้เหมาะสมเลย ทางทีมงานมูลนิธิชุมชนกรุงเทพ ได้มีแนวทางดังนี้
(1) ทางมูลนิธิชุมชนกรุงเทพ ได้เช่าที่พักให้เป็นเวลา 1 ปี โดยทางมูลนิธิฯเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และเป็นคู่สัญญาเช่า แต่แม่เด็กและเด็ก จ่ายค่าน้ำ/ค่าไฟฟ้าเอง เพื่อให้สองแม่ลูกมีที่พักที่ปลอดภัย และมีบ้านเป็นที่พักอาศัย
(2) ทางมูลนิธิฯได้นำโทรศัพท์มือถือ มือ2 มาให้เด็กพร้อมจัดการเรืองค่าเน็ตในการเรียนออนไลน์ ให้ตลอด 1 ปี
(3) ทางประธานมูลนิธิฯ ได้มอบที่นอนใหม่ให้กับครอบครัว เพราะตอนที่เช่าบ้านมีเฉพาะ ห้องนอนเปล่าๆ จึงจัดที่นอนพร้อมพัดลมให้ กลายเป็นบ้านหลังใหม่ของแม่และเด็ก
ในการทำงานถุงแม้โครงการครูข้างถนน จะลงไปพบและเจอ ที่ถ้ามีหน่วยงานไหน ช่วยเหลือกรณีศึกษาได้มากที่สุด เป็นประโยชน์กับกรณีศึกษามากที่สุด สำหรับครูให้กรณีศึกษารับสิ่งนั้นเพื่อให้เขาสามารถเข้าถึงบุคคล/หน่วยงานที่ต้องการให้ความช่วยเหลือ
สำหรับกรณีศึกษาครั้งนี้เป็นประโยชน์กับสองแม่ลูกจริง จริง ขอบคุณมาก หน้าที่ของโครงการครูข้างถนน ได้ทำบทบาทของการสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น