100 ครอบครัว กับ บริษัท บีคัมเวลท์ จำกัด
เมื่อได้รับการติดต่อว่าทางบริษัท บีคัมเวลท์ จำกัด เพื่อมีความประสงค์ช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิด ด้วยการมอบทุนทรัพย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ผู้ปกครองติดเชื้อโควิด-19 ได้รับผลกระทบไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรและประกอบอาชีพได้ ทางทีมงานโครงการครูข้างถนน/โครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ต้องคิดหนักมาก เพราะนั้นหมายถึงการลงชุมชน ซึ่งบางชุมชนก็นยังมีการติดโควิด-19 อยู่ จึงให้ทางทีมงานเช็คทุกชุมชน ซึ่งมีการบริหารจัดการ พร้อมกับจัดการตัวเองทั้งทีม เพื่อให้รอดจากโควิด-19 และทำงานต่อได้ ทางทีมงานขอเข้าร่วมโครงการบริจาค “ภาพสะท้อนในตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย ” 100 ครอบครัว กับบริษัท บีคัมเวลท์ จำกัด มีเวลาทำงานประมาณ สอง อาทิตย์ ทีมงาน 3 คน ไหวไหม
(1) เริ่มตั้งแต่เอารายชื่อ ครอบครัว ทุกชุมชนที่ทำงานอยู่ เน้นครอบครัวที่ติดโควิด-19 ก่อนเป็นอันดับ มีทั้งหมดกว่า 375 ครอบครัว ซึ่งมีครอบครัวต่างด้าวด้วย ตัดครอบครัวต่างด้าวออกก่อน
(2) ทีมงานทั้ง 3 คน มาพิจารณาด้วยกันที่ละครอบครัว ว่าทำไหมครอบครัวถึงได้ ได้ด้วยเหตุผลอะไร ให้กลับไปดู วัตถุประสงค์ของ บริษัทบีคัมเวลท์ จำกัด ในการทำกิจกรรมร่วมกัน คือ คัดเลือกครอบครัวผู้เดือดร้อนจากสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 100 ครอบครัว เพื่อรับเงินบริจาคช่วยเหลือครอบครัวละ 2,000 บาท
(3) ทำรายชื่อใหม่ พร้อมกับนัดที่ละครอบครัว แล้วประเมินอีกครั้งค่ะ ว่าครอบครัวเหล่านี้ ควรที่จะได้รับเงิน ครอบครัวละ 2,000 บาท แล้วลงมอบให้เลย ซึ่งแต่ละครอบครัวกล่าวคำขอบคุณ บางครอบครัวบอกว่า สามเดือนแล้วที่ไม่มีติดกระเป๋ากันเลย เป็นครั้งแรกที่มีเงิน /บางครอบครัวก็บอกว่าค้างค่าเช่าบ้านมากว่า 3 เดือน ขอเอาไปผ่อนส่งก่อน ก่อนที่จะถูกไล่ออกไปนอนข้างถนน/ บางครอบครัวทางทีมงานของครูพยายามโน้มน้าวให้ซื้อมือถือ เพื่อเป็นอุปกรณ์การเรียนของเด็กที่เรียนออนไลน์ เพราะคิดว่าเด็กบางครอบครัวต้องได้เรียนต่อเนื่อง
(4) ลงดำเนินการ ระหว่างหน้างาน มีครอบครัวที่ต้องพิจารณาว่าเดือดร้อนจริง จริง และบางครอบครัวก็หายวับไปกับโควิด-19 คือย้ายกลับไปต่างจังหวัด หรือบางครอบครัวก็ย้ยไปเรื่อยๆ เพราะกลัวโควิด-19 ในชุมชน บางครอบครัวก็อ้อนวอน/ร้องไห้ นำตาหมดกับไปหลายปี๊ป สำหรับครูก็ต้องใจแข็งแกร่งเกินการเก็บอารมณ์ แต่งานทุกอย่างก็ต้องเสร็จมีเวลาตามกำหนด
จากการทำงานโครงครูข้างถนน/โครงการงโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ได้ดำเนินการดังนี้
ตารางการช่วยเหลือ ครอบครัว
วัน/เดือน/ปี |
ชื่อชุมชน |
จำนวน ครอบครัว |
จำนวนเด็ก |
15 กันยายน 2564 |
ชุมชนหลังวัดหลักสี่ |
2 |
6 |
15 กันยายน 2564 |
ชุมชนประชาอุทิศเสือใหญ่ |
10 |
24 |
17 กันยายน 2564 |
ชุมชนร้อยป่า |
16 |
31 |
17 กันยายน 2564 |
ครอบครัวเร่ร่อนบางนา |
1 |
1 |
20 กันยายน 2564 |
ชุมชนคลองส้มป่อย |
17 |
37 |
21 กันยายน 2564 |
ชุมชนโค้งรถไฟยมราช |
38 |
77 |
22 กันยายน 2564 |
ชุมชนหลังอาคารสงเคราะห์ |
4 |
11 |
22 กันยายน 2564 |
ครอบครัวโบ๊เบ้มหานาค |
1 |
7 |
22 กันยายน 2564 |
ชุมชนเพชรบุรีตัดใหม่ ซอย 7 |
13 |
31 |
รวม |
|
102 |
225 |
สภาพครอบครัว ในแต่ละชุมชน
-ครอบครัวในชุมชนหลังวัดหลักสี่ จำนวน 2 ครอบครัว โดยมีนางสาวพรรณี สังขโบสถ์ เป็นคนดูเด็กจำนวน 6 คน เดิมยังไม่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ก็เผชิญกับการไม่มีรายได้เลี้ยงดูเด็ก มาพบกับสถานการณ์โควิด-19 เด็กต้องออกมาช่วย ยาย/ย่า เริ่มตั้งแต่ขุดดินหาไส้เดือน นำไส้เดือนไปตกปลา ได้ปลามา นำไปตากแห้ง เมื่อปลาแห้ง นำไปทอด ใส่ถุง ให้กลุ่มเด็กที่โต จำนวน 3 คนสลับกันไปขายตามชุมชน ถุงละ 20 บาท นำเงินไปซื้อ ข้าวสาร/อาหารแห้ง มาเลี้ยงกันในครอบครัว
ทั้ง 2 ครอบครัว เมื่อมาพบกับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกที่ 3 ทำให้การเรียนออนไลน์ของหลานเจอปัญหา เด็กไม่ได้เรียน เพราะมีมือถือที่สามารถใช้เรียนออนไลน์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ทางโครงการฯพิจารณาถึงความสำคัญทางการศึกษา จึงมอบเงินจากทางโครงการ “ภาพสะท้อนในดวงตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย” เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว และซื้อมือถือสำหรับในการเรียนของเด็กจำนวน 1 เครื่อง
-ชุมชนประชาอุทิศเสือใหญ่ เป็นชุมชนที่อยู่ในซอย รัชดาภิเษก 26 มีจำนวนที่ทางโครงการฯได้ช่วยเหลือ จำนวน 10 ครอบครัว มีเด็กจำนวน 24 คน โดยมีกลุ่มคนผู้สูงอายุและเด็ก ซึ่งไม่มีบ้านเลขที่ เป็นเพียงบ้านเช่า อยู่กลางซอยประมาณสัก 50 ครอบครัว โดยในแต่ละบ้านจะเป็นที่เก็บขยะอิเลคทรอนิค
ผู้สูงอายุเหล่านี้จะนั่งแกะ/ปอกเปลือกทองเหลือง/ทองแดง ขาย กิโลกรัมละ 100 บาท เมื่อเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 ได้มีการติดโควิด-19 กันทั้งชุมชน มีการหยุดการออกจากชุมชน พร้อมทั้งไม่มีการซื่อ-ขาย ขยะกันเลย เป็นเวลากว่า 2 เดือน ทั้งเด็กและผู้สูงอายุ ขาดรายได้ค้างค่าเช่าบ้าน ขาดแคลนอาหาร ทางโครงการฯได้มอบชุดถุงยังชีพไปจำนวน 70 ชุด พร้อมยาพารา/ฟ้าทะลายโจร เพื่อประคองให้ทุกครอบครัวอยู่กัน ทางโครงการฯจึงพิจารณามอบเงินจากโครงการ “ภาพสะท้อนในดวงตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย”
-ชุมชนร้อยป่า เป็นชุมชนที่ชาวมุสลิม อาศัยอยู่ และเกิดการระบาดโควิด-19 ทั้งชุมชน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมา ในขณะนี้มีอีกหนึ่งครอบครัวที่ภรรยาของอาสาสมัคร ยังอยู่ในห้อง ICU ซึ่งเชื้อโควิด-19 ลงปอด ในปัจจุบันทางโรงพยาบาลได้มีการเจาะคอ เพื่อรักษาตามอาการ
ทางโครงการฯได้ดำเนินการมอบเงินตามโครงการ “ภาพสะท้อนในดวงตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย” จำนวน 16 ครอบครัว เด็ก 31 คน ได้มีการแบ่งปันชุดถุงยังชีพให้กับเด็กทุกคน ทุกครอบครัวติดโควิด-19 ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในช่วงที่ติดขาดแคลนข้าวสารอาหารแห้ง เพราะทางหน่วยงานให้เพียงข้าวกล่อง และการไม่มีงานทำของครอบครัวเด็กส่งผลให้พ่อ/แม่เด็กตกงาน เพราะส่วนมากเป็นแรงงานนอกระบบ
-ครอบครัวเร่ร่อนบางนา จำนวน 1 ครอบครัว 1 คน ด้วยทางโครงการครูข้าถนน ลงไปสำรวจพื้นที่ เพื่อต้องการให้คนเร่ร่อน/เด็กเร่ร่อนรับวัคซีน ได้พบกับครอบครัวนี้ พากันไปเร่ร่อนที่ถนนสุขุมวิท 19 ใช้ชีวิตบนถนนมาตั้งแต่เดือนมีนาคม เป็นต้นมา เนื่องมาจากการค้างค่าเช่าบ้านไม่ได้จ่าย ใช้การขอทานหารายได้ เด็กเองก็ไม่เรียนออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ทางแม่ได้ไปรับหนังสือเรียนขอลูก
เมื่อต้นเดือนกันยายน ทางโครงการครูข้างถนน ติดตามว่าแม่พาเด็กไปอยู่ไหน ไปอาศัยปั้มแก๊สสยามราชอยู่ โดยมีแม่ค้าข้าวแกงให้ช่วยงานและให้นอนที่ร้าน จนกลางเดือนเจ้าของร้านติดโควิด-19 มาอาศัยนอนที่ข้างถนน หน้าร้านข้าวแกง ทางโครงการจึงพิจารณามอบเงินตามโครงการ “ภาพสะท้อนในดวงตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย” ให้เด็กนำเงินไปซื้อมือถือในการเรียนออนไลน์และติดตามงานที่ค้าง กับครูประจำชั้น
-ชุมชนคลองส้มป่อย ทางโครงการฯ ได้ดำเนินการช่วยเหลือ พร้อมมอบเงินสงเคราะห์รายครอบครัวตาม โครงการ “ภาพสะท้อนในดวงตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย” จำนวน 17 ครอบครัว เด็ก 37 คน ซึ่งในชุมชนแห่งนี้ติดโควิด-19 ทั้งชุมชน มีบางครอบครัวที่ไม่หนัก ใช้การรักษาตัวที่บ้าน และมีเด็กบางส่วนที่ออกไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม ที่โรงเรียนวิทยาลัยสารพัด และทางกรรมการได้ทำโครงการแบ่งปันอิ่มท้อง เป็นเวลา 1 เดือน คนในชุมชนจึงมีข้าวกล่อง อย่างน้อย 2 มื้อ รับประทาน
แต่สิ่งที่พบคือพ่อ/แม่ของเด็ก ค้างค่าบำรุงการศึกศึกษา ที่โรงเรียนของลูก กว่า 12 ครอบครัว เด็กบางคนไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์กับห้องเรียนได้เพราะไม่ได้จ่ายค่าบำรุงการศึกษาลูก จึงไม่มีเวลาเรียน ที่เด็กได้เข้าเรียน ในขณะนี้ได้ดำเนินการช่วยเหลือได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น
-ชุมชนโค้งรถไฟยมราช ทางโครงการฯ ได้ดำเนินการช่วยเหลือ พร้อมมอบเงินสงเคราะห์ รายครอบครัว ตามโครงการ “ภาพสะท้อนในดวงตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย” จำนวน 38 ครอบครัวเด็ก 77 คน แต่ยังมีครอบครัวอีกจำนวนหนึ่งที่ย้ายชั่วคราว เพราะชุมชนแห่งนี้ติดโควิด 3 ครั้งแล้ว และคนในชุมชนได้วัคซีนแค่เข็มแรกเท่านั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็ก จะมีเด็กจำนวน 27 คน ที่ลงไปขายดอกจำปี/ดอกจำปา บนถนน และกำลังเป็นเรื่องร้องเรียนกันอยู่ที่สำนักงานปลัด / บ้านพักเด็กและครอบครัว กรุงเทพมหานคร กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องเด็กเหล่านี้ถูกบังคับให้มีการค้าแรงงานเด็กและค้ามนุษย์ แต่ความจริง คือครอบครัวเด็กเหลานี้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19
-ชุมชนหลังอาคารสงเคราะห์ ทางโครงการฯได้ดำดำเนินการช่วยเหลือ พร้อมมอบเงินสงเคราะห์ รายครอบครัว ตามโครงการ “ภาพสะท้อนในดวงตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย” จำนวนเด็ก 4 ครอบครัว เด็ก 11 คน เด็กทั้งหมด ขายดอกจำ/ดอกจำปา ที่สี่แยกโค้งรถไฟยมราช และ ทั้งหมดติดโควิด-19 มีจำนวน 1 ครอบครัว และผู้ใหญ่ 1 คน ที่ออกจากชุมชนไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสนาม อีก 3 ครอบครัวรักษาที่บ้าน เพราะมีการแยกห้องนอน ทางโรงพยาบาลรามาธิบดี ส่งอาหารพร้อม ยาและผลไม้ ทั้ง 3 มื้อ มีการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ทางกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ได้ช่วยเหลือ/และบริการรถนำเด็กจำนวน 3 คน พร้อมพ่อ ไปตรวจคัดกรองที่ ศูนย์พักคอยเกียกกาย สิ่งที่พบ คือพ่อ/แม่ ของตกงานไม่มีรายได้ดูแลเด็กเลย
-ครอบครัวโบ๊เบ๊มหานาค มีจำนวน 1 ครอบครัว เด็กจำนวน 7 คน และติดโควิด-19 เน้นในการรักษาทางเลือก เน้นในการอยู่บ้านไม่ออกจากชุมชน ในช่วงเดือนมิถุนายน จนถึงเดือนสิงหาคม ที่ทางครอบครัวขาดรายได้ ออกไปรับจ้างไม่ได้ เพราะมีการระบาดที่ตลาดโบ๊เบ๊ ครอบครัวนี้จึงได้รับผลกระทบ ทางโครงการฯ จึงดำเนินการช่วยเหลือ ตามโครงการ “ภาพสะท้อนในดวงตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย” พร้อมมอบถุงยังชีพ จำนวน 6 ชุดให้กับครอบครัวนี้ด้วย
-ชุมชนเพชรบุรีตัดใหม่ ซอย 5,7 ทางโครงการฯได้ดำดำเนินการช่วยเหลือ พร้อมมอบเงินสงเคราะห์ รายครอบครัว ตามโครงการ “ภาพสะท้อนในดวงตา ที่ไม่อาจนิ่งดูดาย” จำนวน 13 ครอบครัว เด็ก 31 คน ด้วยงบประมาณหมด ยังมี อีก 5 ครอบครัว ที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่ไม่สามารถดำเนินการช่วยเหลือได้
ชุมชนแห่งนี้ติดโควิด-19 ทั้งชุมชน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมา ครอบครัวทุกครอบครัวได้รับเงินสงเคราะห์ ทุกครอบครัวติดโควิด -19 มีจำนวน 1 ครอบครัวที่เสียแม่อายุ 78 ปีที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงเสียชีวิต
มีครอบครัว หนึ่ง ไปรับการฉีดวัคซีนมา ผู้สูงอายุกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
มีอีก หนึ่งครอบครัว แม่เด็กที่ป่วยเป็นปัญหาสุขภาพจิต ได้หายออกจากชุมชน คุณยายต้องเลี้ยงหลาน 3 คน