banner
อังคาร ที่ 25 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2564 แก้ไข admin

โควิด-19 รอบ 3 กับแหล่งก่อสร้าง (ตอนที่ 1)

 

นางสาวทองพูล   บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          เมื่อวันศุกร์ ที่ 14 พฤษภาคม 2564  คนงานก่อสร้างตกเป็นข่าวใหญ่โตอย่างมาก ด้วยมีคนงานก่อสร้างของ บริษัทอิตาเลี่ยนไทย (แคมป์คนงานที่อยู่ หลักสี่)  กำลังก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงภรณ์(ส่วนขยายจากโรงพยาบาล)  ติดโควิด-19  โรคระบาดอย่างรวดเร็ว  

          สิ่งที่พบ คือวันเสาร์-อาทิตย์ ไม่ได้มีน่วยงานไหน พร้อมกับทางคนงานก่อสร้างถึงถูกสั่งกักตัวแต่ไม่สามารถอยู่ในแคมป์คนงานอยู่ได้  ด้วยเพราะไม่มีอาหารการกิน/น้ำดื่มก็ไม่มี   แต่มีนักข่าวเข้าไปทำงาน บริเวณในชุมชน  คนก็กลัวเลยกับแพร่ขยายการระบาดโควิด-19 

          สำหรับครู คือ ผู้สื่อข่าว ตามติดกับครู แบบอยู่ไม่สุข  พร้อมกับครูต้องประสานงานกับทีมงานที่ต้องช่วยคนงานก่อสร้าง แคมป์ของบริษัทอิตาเลี่ยนไทย(หลักสี่)


          กระบวนการช่วยเหลือในเช้าวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม  2564 

1.ครูนั่งคอยทีมงานเลย  พร้อมกับสิ่งที่คนงานก่อสร้างต้องการ ด้วยครูซิ้มได้ประสานงานกับคุณสมนึก (พ่อบ้านของ อิตาเลี่ยนไทย  ด้วยความต้องการเร่งด่วน

          1. น้ำดื่ม ที่จะส่งเข้าไปสู่ในบ้านพักของคนงานก่อสร้างจำนวน  100  แพ๊ค

          2. นมจำนวน 60 ลัง  ที่ให้กลุ่มแม่และเด็กที่ถูกกักตัว  และเพิ่งจะได้ข้อมูลว่ามีเด็กอยู่ในแคมป์  คนงานเหล่านนี้เป็นบริษัทผู้รับเหมา  แต่อาศัยอยู่ในบ้านพักบริเวณเดียวกัน  (ในช่วงวันจันทร์ มีจำนวน 13 คน กับแม่ เท่านั้น

          ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่  ลงนำไปมอบให้ ในช่วงเช้าทันที่  ทางนายช่างได้นำสิ่งของไปให้กลุ่มคนในแคมป์ทันที่

          2.ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ในช่วง สิบเอ็ดโมง  ได้นัดกับอาสาสมัคร คุณหนิง  ของคนงานก่อสร้างส่วนมาเป็นผู้รับเหมา  ก่อสร้างหมู่บ้านแกรน คาแนล (ใกล้บริเวณหลักหก)  มีคนงานก่อสร้างจำนวนมาก  แต่สำหรับครู มีเด็กอยู่ด้วยกันกว่า 40 คน  งานนี้ครูเน้นให้เอานมและถุงยังชีพ ทั้งหมด  28 ชุด ว่างไว้บนแคร่ไม้  แล้วให้อาสาสมัครเป็นคนดำเนินการ  

          รถโรงเรียนได้อยู่แค่ หน้าแคมป์เท่านั้น                  

          เด็ก เด็ก จำนวนมากกว่าที่ลงทะเบียนไว้  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 10 กว่า ปี ที่มาหิ้วหอบลังนม  แล้วทุกคนก็บอกว่าเอาไปไหว/แบกไหว/หนูยังไหวอยู่   ด้วยความอยากได้แต่เป็นสิทธิของเด็กแต่ละคน  คนละ 2 ลัง  เต็มที่เลยเด็ก เด็ก

          3.ประสานงานกับพ่อบ้าน บริษัทอิตาเลี่ยนไทย(ดอนเมือง)มีเด็กทั้งสิ้นจำนวน 46 คน (มีเด็กเล็กที่อยู่ในแคมป์งาน  แต่ทางโครงการฯได้นำไปเพียง 90 กล่อง  และส่งเรื่องนมกันหน้าแคมป์ก่อสร้าง  เพราะทุกอย่าง ห้าม-ออก โดยเด็ดขาด  ปฏิบัติตามคำสั่งทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กและคำสั่งของบรัทที่ติดประกาศหน้า บ้านพัก

          ตามประสาครูที่ชอบสังเกตการณ์ตลอดมีอะไรที่แปลกใหม่  ชอบมาค่ะสเปรย์ทางเข้า-ออก ของบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง  คือ เครื่องพ่นแอลกฮอล์ทั้งตัว  ตั้งหัวจนถึง เท้า  ใช้แอลกฮอล์พ่นใส่  สะอาดมากและเย็นด้วย  แต่ถ้าใครแพ้ รับรองได้เลยคันทั้งตัว




          4.วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม  2564  ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนจัดสรรถุงยังชีพก่อนจำนวน 50 ชุด ไปมอบให้กับกลุ่มแม่และเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง ที่ยังกักตัวอยู่ในแคมป์คนงานก่อสร้างก่อน  ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลออกมา  พร้อมทั้งครูประสานงานส่งต่อให้คำแนะนำ  ในฐานะที่มีประสบการณ์ในการส่งเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพราะติดโควิด-19

          -เด็กและแม่ที่ตรวจการคัดกรองวาติดแล้ว  ต้องส่งตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาลเร็วที่ ภายใน 3 วัน  เพราะเชื้อยังไม่ลงปอด  โอกาสหายมีสูง  และหายอย่างรวดเร็ว  สังเกตการณ์มาจากกลุ่มที่รักษาตัวจากโรงพยาบาลสมุทรสาคร  และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  ใช้เวลา 11-14  วัน  เด็กหายเป็นปกติ

          -ในช่วงตอนบ่ายเวลา 15.00 น.  ทางเจ้าหน้าที่อิตาเลี่ยนไทย (ดอนเมือง) ไปตรวจตามสิทธิประกันสังคม ที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น  ว่ามีคนงานก่อสร้าง ต้องถูกกักตัว เพราะติดโควิด-19  จำนวน  30 คน   ต้องการชุดถุงยังชีพ  จำนวน 30 ชุด  ครูแถมนมไปด้วยอีกคคนละ 1 ลัง ทันที  ครูปรับแผนอีกครั้ง ลงไปมอบให้ในเย็นนี้เลย  ทีมน่ารักมากสู้กันยิบตา  ทั้ง ทั้ง ที่เหนื่อยและร้อน แบบสุด สุด มาแล้ว

          5.วันพุธ  ครูให้ครูซิ้มประสานงานกับแคมป์ก่อสร้างของบริษัทแลนด์แอนเฮาส์  อยู่ที่สุขาภิบาล 5  มีเด็กกว่า 40 คน  ตั้งแต่เล็กจนถึงอายุ 13 ปี  แต่ครั้งนี้มีกล่องมหัศจรย์ในการเรียนรู้ ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา นำมาให้ 100 กล่อง ครูนำลงพื้นที่ทันทีจำนวน 50 กล่อง

          -เด็กจะได้รับกล่องการเรียนรู้ของเด็กตามช่วงอายุ  พร้อมนมกล่องอีกจำนวน 2 ลัง  แม่ แม่ตื่นเต้นกว่าเด็กอีก  แต่ที่สำคัญไม่ว่านม/กล่องการเรียนรู้ บอกว่าทั้งหมดที่แม่ถือ/ แม่แบก/ แม่ทูนหัว  เป็นของหนูทั้งหมด

          6.ในวันพฤหัสที่ผ่านมา  ทางครูซิ้มกับผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม นำถุงยังชีพ จำนวน 20 ชุด  มอบให้กับคนงานก่อสร้างที่ถูกกักตัว ที่บริษัทอิตาเลี่ยนไทย(หลักหกใต้) ทั้งถุงยังชีพและนมตนละ 1 ลัง (มีจำนวน 36 กล่อง  รสหวานพร้อมมีกลิ่นนำผลไม้ชวนกินมาก)

          มอบทั้งครอบครัวถุงยังชีพ จำนวนข้าวสาร 15 กิโลกรัม พร้อมมาม่า 2 ลัง  เป็นทุนให้เด็กเร่ร่อนต่างด้าว สามคน 1 ครอบครัว ที่หลังตลาดใหม่ยิ่งเจริญ   (พ่อกับแม่ไปตรวจโควิด-19)  เป็นทุนทางอาหารเอาไว้ก่อน  อย่างน้อยก็มีข้าวกินก่อน

          สำหรับครูเอง ออกรายการสถานีโทรทัศน์  ใช้ไลน์คุยกัน กับไทยพีบีเอส  ในการจัดการดูแลเด็กในแคมปานก่อสร้าง  พร้อมทั้งสถานการณืโดยเร่งด่วน  หยุดการแพร่กระจายระบาดให้ได้  แล้วหยุดให้เร็วที่สุด  ตามข้อเสนอของครู  ดังนี้

 

          กระบวนการจัดการที่มีเด็ก สำหรับข้อเสนอของครู

1.กลุ่มที่แม่กับเด็ก ไม่แยกจากกัน รักษาด้วยกัน และเน้นรักษาตัวในโรงพยาบาล เพื่อรับยา ในขณะนี้ มีกว่า 30 ครอบครัว เมื่อรักษาหายแล้ว กระบวนการจัดการดูแล กักตัวอีก 14 วัน ค่อยกว่ากันใหม่ ปัจจุบัน เริ่มมีแม่และเด็กที่หายจากโควิด-19  กลับเข้าสู่ชุมชน  แต่ต้องกักตัวในชุมชนห้ามออกเด็ดขาด

2.กลุ่มทีผ่านการคัดกรอง ว่าติดแล้ว แต่ยังกักอยู่ในแคมป์ ต้องรีบส่งตัวเข้ารักษาทึ่โรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ยังค้างอยู่กว่า หลายสิบครอบครัว และที่สำคัญห้ามเคลื่อนย้ายเด็ดขาด

3.กลุ่มที่มีเด็กอยู่ในครอบครัว กว่า 115 ครอบครัว ที่ต้องดูแลถุงยังชีพ 3 วัน ต่อหนึ่งครอบครัว ส่งอย่างต่อเนื่องอีก 4 สัปดาห์

           “ทุกคนต้องรอดปลอดภัย เด็กต้องอิ่ม โดยไม่อด ตามสิทธิขั้นพื้นฐาน”