หลักสูตรสอนเด็ก....โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่
ผู้จัดการโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ด้วยทางโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ได้รับนักศึกษาฝึกงานเมื่อปี 2561 มาจำนวน 2 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ได้จัดทำ “คู่มือปฏิบัติงานการเรียนรู้ ลูกกรรมก่อสร้าง” เป็นหลักสูตร ในการเสริมทักษะชีวิตกับเด็กจำนวน 4 หน่วยงาน โดยมีนางสาวบุษรินทร์ คำแหง กับนางสาวนิตยา กาบจันทร์
ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ได้ร่วมกับทางโครงการจิตอาสา และบริษัท Toy ได้มา ทำกิจกรรมกับโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ เน้นการสร้างสื่อ เพื่อเป็นสื่อที่ลงไปทำกิจกรรมกับเด็ก ช่วงอายุ 1-7 ปี ตามหน่วยงานการเรียนที่ทางน้องทั้งสองคน ได้ประยุกต์ มาจากหลักสูตรที่ทาง ดร.สุชาติ ลี้ตระกูล ได้จัดหลักสูตรไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ขอบคุณทุกคน
สำหรับการประยุกต์เนื้อหาหลักสูตร ประกอบไปด้วย
หน่วยการเรียนที่ 1 การส่งเสริมความปลอดภัยส่วนตน เช่น บันได อ่างอาบน้ำ ห้องน้ำ ประตู หน้าต่าง ปลั๊กไฟ การระวังเข้า-ออก การเลือกของเล่นที่ปลอดภัย การเลือกสถานที่เล่นที่ปลอดภัย การเล่นซ่อนแอบ อันตรายจากพืชและสัตว์และการปฐมพยาบาล
หน่วยการเรียนที่ 2 การรักษาอนามัย เช่น การรู้จักอวัยวะต่างๆร่างกาย การรักษาความสะอาดของร่างกาย การล้างมือ การแปรงฟัน การดื่มน้ำ
หน่วยการเรียนที่ 3 ลักษณะของโรคที่ควรรู้จักบางโรค เช่น ฟันผุ ไข้หวัด ท้องเสีย วัณโรค อีสุกอีใส มือเท้าปาก ตาแดง ผิวหนัง
หน่วยการเรียนที่ 4 การรักษาความสะอาดเกี่ยวกับที่พักอาศัย เช่น การทิ้งขยะ ความสะอาดบริเวณที่อาบน้ำ ห้องส้วมและบริเวณรอบๆที่พัก
ซึ่งน้องทั้งสองคน ได้สร้างคู่มือปฏิบัติงานการเรียนรู้ ลูกกรรมกรก่อสร้าง ลงไปปฏิบัติจำเป็นต้องมีสื่อที่ทำให้แม่และเด็ก สนใจ ตลอดจนเป็นสิ่งที่จับต้องได้
เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2561 ได้มีทีมงานจิตอาสาสมัคร ที่จะมาสร้างสื่อต่อยอดจากคู่มือปฏิบัติงานการเรียนรู้ ลูกกรรมกรก่อสร้าง โดยเฉพาะในหน่วยงานเรียนที่ 2 ต้องการขยายออกไปถึงเรื่องอาหารที่ต้องกิน
ทางคณะจิตอาสา กับทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน
1.ลงพื้นที่พูดคุยเรื่องสื่อที่ต้องการเพื่อให้ โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ทีมงานลงไปสอนกับเด็กเพื่อต้องการถามเด็กถึงความต้องการ จำนวน 2 ครั้ง 2 พื้นที่ด้วยกัน
2.ทางโครงการฯจิตอาสาสมัครสร้างสื่อ ได้นำความเป็นจริงจากงานภาคสนาม ไปยังบริษัทที่ผลิตสื่อ คือบริษัท toy แปลน ซึ่งมีผู้ออกแบบสื่อจำนวนกว่า 9 คน มาร่วมฟังด้วย
3.ทางโครงการฯจิตอาสาสมัครสร้างสื่อ พร้อมทีมงาน กลับมาพูดคุยกับทางโรงเรียนเด็กก่อสร้าง อีกครั้ง พร้อมกับไอเดียที่จะผลิตสื่อ ซึ่งทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ได้ขยายไปยัง ตั้งแต่การตื่นนอนของเด็กลูกกรรมก่อสร้างมีผลต่อการพัฒนากายของเด็ก การพัฒนาทางด้านจิตใจเรื่องเพลงหรือการเคาะไม้ตามจังหวะ เรื่องอาหารของเด็ก ผลไม้ที่เป็นคุณค่าสำหรับเด็กที่มีความจำเป็น ตลอดจนการเคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น
4.ทางโครงการฯจิตอาสาสมัครสร้างสื่อ เปิดรับสมัครอาสาสมัครจากผู้ที่ต้องการมาสร้างสื่อ จำนวน 20 คน พร้อมกับทีมงานของบริษัท Toy และทางบริษัทจ่ายค่าอุปกรณ์ทุกอย่าง โดยมีการแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม โดยคำนึงถึงความต้องการ และนักวิชาการประจำบริษัทมาออกแบของเล่นที่จะมาเสริมกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก
ทางบริษัทพร้อมอาสาสมัครได้ลงมือสร้างสื่อ จำนวน 5 ชิ้น และทำอย่างต่อเนื่องถึง 7 วัน โดยใช้เวลาวัน เสาร์-อาทิตย์ ด้วยความทุ่มเทของจิตอาสาสมัคร และทีมงาน งานทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วง
5.เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2561 ทั้งทีมงานจิตอาสาสมัครสร้างสื่อ พร้อมทีมงานบริษัท ส่งมอบอุปกรณ์ให้กับทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่
สื่อที่สร้างสรรค์ด้วยหัวใจของจิตอาสาสมัคร พร้อมมาอธิบายถึงไอเดีย และความเป็นมา เป็นไปของสื่อแต่ละชิ้น
สื่อชิ้นที่ 1 คือนาฬิกา ชีวิตของเด็กแต่ละทั้ง กลางวันและกลางคืน สิ่งที่ทีมงานสื่อออกมา ต้องบอกว่าความตั้งใจของจิตอาสาสมัคร ตั้งแต่การใช้อุปกรณ์ที่เป็นไม้ ของจริง เน้นแต่ละช่วงเวลามีความสำคัญกับเด็กอย่างมาก โดยการใช้สัญลักษณ์ ตั้งแต่การตื่นนอน แปรงฟัน อาบน้ำ จนถึงการเข้านอนอีกครั้ง
สื่อชิ้นที่ 2 เรื่องรถดนตรี ซึ่งต้องบอกว่าเจ๋งมาก ได้ทั้งการเก็บของเด็กอย่างเป็นหมวดหมู่ ตลอดจนการใช้สื่อตั้งแต่การใช้กีตาร์ไม้ มีกล่องชุดที่เด็กเล่นได้
สื่อชิ้นที่ 3 มีรถอีกคัน ที่ซ่อนปิงปองเอาไว้ที่รถเคลื่อนที่ พร้อมทั้งของเล่นที่มีสีสันสวยงาม เป็นการดึงดูดให้เด็กๆอยากเล่น อยากจับ
สื่อชิ้นที่ 4 เรื่องผลไม้ ที่เด็กๆควรที่จะกิน ทีมงานอธิบายถึงสีสันที่ใช้ จนถึงการเรียกร้องให้เด็กอยากได้กินหรือชิม ถึงรสชาติของที่เป็นจริง ทั้งฝรั่ง ส้ม ในสภาพความเป็นจริงผลไม้เหล่านี้ราคาไม่แพง เพราะครอบครัวหาซื้อมาให้เด็กๆ ได้ เป็นอีกหนึ่งเทคนิค หรือแม้การใช้นิทานเสริมให้ร่างกายแข็งแรง
สื่อชิ้นที่ 5 เรื่องผักชนิดต่าง แต่ทำเป็นอุปกรณ์ของเล่นที่จำลองว่าเป็นหม้อต้มผัก แล้วมีผักชนิดต่างๆที่ต้ม แล้วตักใส่จานสีต่างๆ ที่มีสีหลากสี สวยงาม
การต่อยอดขยายผล จากคู่มือมาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้จริง โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่นำอุปกรณ์เหล่านี้ลงไปทำกิจกรรมในพื้นที่ด้วยกัน 7 พื้นที่
สำหรับคนทำงานเป็นสื่อสร้างสรรค์ที่เด็กๆได้สัมผัส ของจริง เพราะของเล่นเหล่านี้มีราคาแพงมาก แต่ถ้าทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่มีจิตอาสาสมัครมาทำงาน ก็จะเป็นประโยชน์กับเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างต่อไป
ขอบคุณทุกท่านที่ให้โอกาสแก่เด็ก ....