banner
ศุกร์ ที่ 28 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2561 แก้ไข admin

เด็กเร่ร่อนขอทาน...ไม่ใช่เด็กค้าประเวณี/ไม่ใช่เด็กค้ามนุษย์

 

นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          ครูครับ ผมเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ  (DSI)  สำนักงานการค้ามนุษย์มนุษย์  ผมต้องการพบทางครู  (ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก)  กับครูมุ้ย (โครงการบ้านเด็กเร่ร่อน บ้านครูมุ้ย)   ผมลงไปสอบถามซักถามประวัติกลุ่มแม่และเด็ก  ที่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี  จำนวน 4 ครอบครัว เด็ก 6 คน  เขารู้จักครูจิ๋วกับครูมุ้ย   ว่าครูทั้งสองคนทำงานช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้อยู่

          ผมขอนัดพบคุณครูทั้งสองคน  เอาวันที่ครูว่าง  เป็นวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2561  ช่วงบ่าย พบกันที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กนะค่ะ  เพราะครูเองสัปดาห์นี้งานเต็มทุกวันเลยคะ   อย่างนั้นเอาวันศุกร์ก็ได้  นัดสถานที่ ที่มูลนิธิฯของครูก็ได้ครับ

          เป็นทีมงานของ DSI ต้องการคุยรายละเอียด  เรื่องเด็กที่ออกมาขอทานเป็นเด็กนักเรียนจำนวน 3 คน  ที่รู้จักครูจิ๋วกับครูมุ้ยเป็นอย่างดี  แถมอ้างเอ๋ยชื่ออย่างรู้จัก   ซึ่งทั้งสามคน สองครอบครัว ครูเองก็ช่วยกันมาทุกเรื่อง   ครั้งนี้ตั้งใจจะอยู่เฉยๆๆ  แต่ก็อดไม่ได้ที่จะต้องพาไปรับยาวัณโรคตามที่คุณหมอนัด   ต้องทำหนังสือขออนุญาตกันวุ่นวานไปหมด   แต่เพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กก็ต้องทำ....มันคือบทเรียนแห่งการแก้ไขปัญหา  

          เมื่อทีมงานของ DSI มาพบ มาพร้อมกันทั้ง 4 คน   ซึ่งทางครู 2 ครู ก็ได้เตรียมการเสนองานที่ครูทำ ให้ทีมงานได้รับรู้




          ได้อธิบายงานที่กลุ่มเป้าหมายในการช่วยเหลือ คือ

(1)กลุ่มเด็กเร่ร่อนไทย ในขณะนี้เป็นกลุ่มวัยรุ่น  ส่วนมากกลุ่มนี้เป็นเด็กที่ออกมาจากครอบครัวแล้วหมกตัวอยู่ในร้านเกม  บางคนก็เคยอยู่ในสถานสงเคราะห์ของเอกชนและ สถานสงเคราะห์ของหน่วยงานภาครัฐ

(2)กลุ่มเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ในขณะนี้ที่เจอ ออกมาเร่ร่อนตามลำพังถูกจับมากขึ้นเรื่อยๆ ครอบครัวหาไม่เจอเมื่อถูกจับ  จึงร้องขอความช่วยเหลือมายังครูทั้ง 2 คน เป็นส่วนใหญ่

(3)กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว โดยเฉพาะลูกของครอบครัวเหล่านี้ ทางโครงการประสานนำเด็กเข้าเรียนมาตั้งแต่ ปี 2555 จนถึงปัจจุบันกว่า 115 คน  ซึ่งได้ขยายผลจากโรงเรียนวัดมหาวงษ์  โรงเรียนโยธินบูรณะ   โรงเรียนวัดด่านสำโรง   โรงเรียนมัธยมวัดด่าน  โรงเรียนวัดพิชัย  โรงเรียนคลองสุเหร่า  โรงเรียนวัดดิสหงสาราม  ศูนย์เด็กเล็กบ่อนไก่  กว่า 100 คน  ที่ยังเรียนหนังสืออยู่

สำหรับเด็กในชุมชนเปรมฤทัย  ถือได้ว่า เป็นชุมชนที่มีคนต่างด้าวอาศัยอยู่ 2,000-3,000 คน (ประมาณ 500-700 ครอบครัว)  จำนวนหนึ่งเข้าเมืองผิดกฎหมาย กันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย แล้ว  ซึ่งมีคนไทยประมาณ 1,700 คน และเจ้าของบ้านเช่า ห้องเช่า ส่วนมากมีเจ้าของเป็นคนไทยทั้งหมด




มีโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 9 โรงงานที่ตั้งล้อมชุมชน ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา  ทีท่าเรือขึ้นทราย จำนวน 5 ท่า  ซึ่งมีรถสิบล้อที่วิ่งขนทรายตลอดเวลา  ทำให้มีฝุ่นละอองจำนวนมาก   ส่งผลกระทบกับสุขภาพคนในชุมชนเรื่องปอด 

มีโรงเหล็กที่ต้องใช้แรงงานเถื่อนจำนวนมาก เพราะต้องขนเหล็กขึ้นตลอดวัน-ตลอดคืน  คนงานจึงสลับกันทำงาน

โรงสีข้าวจำนวน 2 โรง  คนงานที่เป็นผู้ชายที่แข็งแรง แบกข้าวสาร โรงสีทั้งสองแห่งที่ตั้งอยู่ใจกลางชุมชนแห่งนี้ไม่ต้องการคนงานที่ถูกกฎหมายทั้งหมด  คนงานที่มาทำจึงใช้เพียงแรงเท่านั้น  มีแรงแบกก็เข้ามาทำงาน  เรื่องอื่นทางโรงสีบอกอย่างชัดเจน เกิดอุบัติเหตุอะไร เจ็บป่วยแค่ไหน  เป็นความรับผิดชอบของคนงานแต่ละคน   จึงเป็นเหตุที่ต้องใช้คนที่แข็งแรงเท่านั้น 

คนงานที่มาอยู่ในชุมชนเปรมฤทัย อยู่กันมานาน  จำนวนกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ เป็นครอบครัวที่เข้ามาอยู่อย่างผิดกฎหมาย   ไม่มีหลักประกันในด้านสุขภาพกันทั้งครอบครัว  เวลาเจ็บป่วยจึงเป็นหนักมาก  ไม่มีเงินขึ้นทะเบียนแรงงาน  เพราะต้องใช้เงินจำนวนมาก  ไม่มีเอกสารอะไรแสดงความเป็นตัวตนของคนงาน




กลุ่มเด็กในชุมชนเปรมฤทัยที่เป็นชาวกัมพูชาขอแยก ออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน

-เด็กที่เกิดในประเทศไทย ไม่ได้ซื้อหลักประกัน  ไม่มีใบเกิด   พ่อแม่ไม่มีเอกสารใดๆ  เด็กจึงอยู่ในประเทศแบบผิดกฎหมาย

-เด็กที่เกิดในประเทศไทย  ได้เข้าเรียน ซื้อประกันในโรงเรียน  เป็นประกันอุบัติเหตุเท่านั้น

-เด็กอายุมากกว่า 7 ปี ไม่มีหลักประกันสุขภาพเลย

-เด็กที่เกิดในประเทศกัมพูชา ไม่มีเอกสาร ไม่มีบัตรประกันสุขภาพ ไม่ได้เข้าเรียน

สำหรับในชุมชนเปรมฤทัยครูทั้งสองคนต้องการให้เป็นชุมชนต้นแบบในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กเร่ร่อนต่างด้าวอย่างเป็นระบบ

1.เด็กที่เข้าเรียนอย่างต่อเนื่องปัจจุบันอยู่ในระบบโรงเรียนวัดมหาวงษ์ กับโรงเรียนโยธินกว่า 60 กว่าคน  มีจำนวน 9 คน ที่เรียนการศึกษานอกระบบ  ค

2.ทำงานกับครอบครัวเด็กทั้งสิ้นจำนวน 32 ครอบครัว  เพื่อต้องการให้หางานอื่นทดแทนการพาลูกออกไปขอทาน  ในขณะนี้เหลือเพียง 7 ครอบครัวที่ยังพาลูกออกไปเป็นครั้งคราว

3.ติดตามกระบวนการช่วยเหลือในกระบวนการยุติธรรม  ในกรณีที่แม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวถูกจับ “กรณีค้ามนุษย์”   กฎหมายจะพรากความเป็นครอบครัวของเด็กทันที  การคืนมาเป็นครอบครัวอีกครั้งต้องใช้เอกสาร เรื่องใบเกิด  คำสั่งอัยการสั่งไม่ฟ้อง ผลตรวจ DNA

          4.เรื่องการดูแลสุขภาพ  โดยใช้พื้นที่ชุมชนเปรมฤทัยเป็นพื้นที่ทดลองในการจัดระบบสุขภาพ ในกรณีที่เด็กไม่มีเอกสารแต่มาอยู่ในประเทศ  จึงมี โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อกระตุ้นการเข้าถึงบริการและสร้างการมีส่วนร่วมของวัยรุ่นกลุ่มเปราะบาง  ดำเนินการโดยกรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข  ได้ดำเนินการดังนี้




          - มีการลงทำประวัติครอบครัวเด็ก  ที่ชุมชนเปรมฤทัยจำนวน  52 ครอบครัว เด็ก 71 คน  เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2561 

          -มีการตรวจร่างกายเด็กขั้นพื้นฐาน เพื่อการคัดกรอง ว่าเด็กที่มีความเกี่ยวข้องกับ วัณโรค  มีประมาณ 8 ครอบครัว  เด็กที่มีความเสี่ยงจำนวน  27  คน

          -เมื่อกุมภาพันธ์  2561  จึงมีการตรวจเทสหาวัณโรคก่อน จากจำนวน 4 ครอบครัว เด็ก 13 คน  เน้นที่แม่เป็น  แล้วไม่ได้รักษาต่อเนื่องหรือ บางคนรักษาต่อเนื่อง แต่มีลูกในครอบครัวเป็น  จึงต้องดูอาการทั้งหมด และการเฝ้าระวังอย่างน้อย จำนวน 2 ปี  โดยการใช้แม่เหล็กฝังไปที่แขน ตรงต้นแขน  ยาหลอดนี้ต้องอยู่กับเด็กไปอย่างต่อเนื่องจำนวน 7 วัน  แล้วไปให้ที่โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์อ่าน  แค่การอ่านก็ต้องเสียคนละ 500 บาท  งบประมาณครั้งนี้ ค่าเทศค่าอ่าน  ได้เบิกกับงบประมาณงานวิจัยโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อกระตุ้นการเข้าถึงบริการและสร้างการมีส่วนร่วมของวัยรุ่นกลุ่มเปราะบาง  กว่าเกือบแสนบาท 

          -เดือนมีนาคม 2561  มีจำนวนเด็ก 4 คนที่ต้องกินยาต่อเนื่อง พร้อมกับ  ต้องหาคุณหมอ ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี   ตรวจทุก 3 เดือน และดูแลคนที่ใกล้ชิดอยู่ในครอบครัวเดียวกันด้วยการเฝ้าระวัง   พบคุณหมอเพื่อรับยาและการตรวจอย่างต่อเนื่อง ตั้งมิถุนายน ,กันยายน และพฤศจิกายน  2561 และต่อด้วยเดือนมกราคม 2562  เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด



          -เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561  เด็กหญิงหย๋งเอย  เกิดต้องมีการผ่าตัดไส้ติ่งแบบกะทันหัน   ค่าใช้จ่ายสูงมาก  สูงกว่าที่ครอบครัวเหล่านี้จะจ่ายได้  ทั้งครูจิ๋วและครูมุ้ย ต่างออกค่าใช้จ่ายไป คนละ 3,000 กว่าบาท   เป็นการป่วยที่ฉุกเฉินมาก  ทางโรงพยาบาลต่างก็ไม่ยอม เน้นแต่เรื่องต้องจ่ายเท่านแม่เด็กมีปัญหาเรื่องการ สื่อสารกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล

          5.การติดตามกระบวนการยุติธรรม  เมื่อแม่ของเด็กลูกจับ  ตอนนี้ยังอยู่ 7 ครอบครัว ที่ออกมาขอทาน  เมื่อมีการกวาดจับก็ถูกจำอย่างสม่ำเสมอ  การใช้กฎหมายแต่ละฉบับ ไม่เหมือนกัน  เป็นเรื่องความพึ่งพอใจของผู้ใช้กฎหมายจะใช้กฎหมายสำหรับแม่กับเด็กกลุ่มนี้  

ทางสำนักค้ามนุษย์ ในกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)

            ที่อยากเข้ามาหารือและเพื่อหาทางออกสำหรับกลุ่มเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  ด้วยองค์กร Desting Rescue  มูลนิธิเดสทินี่ เรสคิว  เป็นองค์กรการกุศลที่ได้รับการสนับสนุน องค์กร เดสทีนี เรสคิว อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศออสตเลีย ให้ความช่วยเหลือแก่เด็กด้อยโอกาส ผ่านสองโครงการหลัก คือ  บ้านพักเด็กกำพร้า และทุนการศึกษา  เขาเน้นการป้องกันให้เด็กไม่เข้าสู่กระบวนการค้าประเวณี และค้ามนุษย์  สำนักงานอยู่ที่เชียงราย

          โดยองค์กรนี้ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปพูดคุยกับกลุ่มเด็กที่ออกมาขอทาน ที่พื้นที่อโศก  มีการพาเด็กๆๆไปกิน KFC  เพื่อหาข้อมูล เด็กเหล่านี้ก็บอกว่า ถูกบังคับให้ขอทาน  คืนละ 500  บาท เด็กไม่ได้กินอะไรเลย


          องค์กรนี้ ได้ข้อมูลเพียงเท่านี้ จึงทำหนังสือร้องเรียนพร้อมกับมีรูปถ่ายของเด็กแต่ละคน  และสิ่งที่องค์กรนี้ลงไปดำเนินการ   จึงส่งเรื่องร้องเรียนไปยัง  DSI  ทางหน่วยงาน DSI เองก็บอกว่าไปนั่งเฝ้า และสืบหาประวัติเด็กเหล่านี้ ที่ละคน  และตามหาที่อยู่ของเด็กด้วย  แต่ยังไม่ได้เข้าไปที่พักของเด็ก

          เมื่อเจ้าหน้าที่ DSI ได้ข้อมูลมาระดับหนึ่ง จึงประสานงานกับทีมของบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพ  ศูนย์ปฏิบัติการขอทานกรุงเทพมหานคร  ดำเนินการขอสรรพ กำลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ไล่จับกลุ่มแม่และเด็ก 4 ครอบครัว เด็ก 9 คน

          เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน  2561   และมีการแยกแม่แยกลูกในการดำเนินคดี   โดยมีเด็กที่ออกมาตามลำพัง  จำนวน 3 คน  คือ ด.ญ.เดือน  (ไปคนเดียว  แต่มีความจริงมีเด็กหญิง.....อีกคนหนึ่งที่วิ่งขึ้นรถไฟฟ้ากลับไปก่อน )    เด็กหญิง ดำ   (ทางโครงการไม่รู้จัก)   เด็กหญิงพวน  เป็นพี่น้องกับเด็กหญิงดำ  (เด็กหญิงพวน มีอายุ 18 ปี มีครอบครัวแล้ว)   ทั้งสามคนส่งเข้าบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร

          กรณีของเด็กหญิง เดือน  เป็นที่กตัญญูมาก หาเงินที่ได้มาจากขอทาน เลี้ยงยายกับน้องอีกสองคนที่กำลังเรียน  ยายของเดือนเองก็โดนจับมาแล้วหลายรอบมาก   เวลาสิ้นเดือนแต่ละครั้ง  ต้องจ่ายทั้งค่าเช่าบ้าน  ค่าอาหาร  หรือเวลาที่ยายต้องกลับไป ปอยเปต  เด็กทั้งสามคนจะถูกทิ้งให้อยู่กันเองตามลำพัง  เดือนจะออกจากบ้านไปขอทาน  เพื่อให้ได้เงินมาซื้ออาหาร มาเลี้ยงน้อง  หรือบางครั้งก็จะมาเอาข้าวของที่บ้านครูมุ้ย  จนกว่ายายจะกลับมา

          สำหรับเดือน กับ พื้นที่อโศก  เดือนจะมีความคุ้นชินเป็นอย่างมาก  เพราะต้องแต่เด็กจะออกมาบนพื้นที่แห่งนี้  และเด็กเองก็ไม่ได้ออกมาเพราะต้องการค้าประเวณีหรือค้ามนุษย์ ตามที่หน่วยงานหนึ่งกล่าวอ้างมา    เมื่อ เดือนโดนจับมาที่บ้านพักเด็กและครอบครัวพร้อมด้วย ดำ และพวน   ดำกับพวน จึงมากันหลาบหนีออกจากบ้านพักเด็กและครอบครัว    สำหรับเดือนได้กลับไปเรียนต่อ เพราะช่วงนั้นขาดเรียนมากกว่าสออาทิตย์แล้ว   เพราะครูมาตามด้วยเหตุผลมีการสอบระหว่างภาคการเรียน   จึงได้เข้าสอบเหมือนเพื่อนในโรงเรียนต่อไป

          สำหรับสี่ครอบครัว  มีลูกที่ติดตามมาด้วยอีก 6 คน  ครอบครัวนางใจ มีลูก 1 คน  ครอบครัวนางสำลี  มีลูก 1 คน  เพิ่งจะออกจากสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ได้แค่ประมาณ 1 เดือนกว่าเท่านั้น แล้วถูกจับเข้ามาอีก  อีกสองครอบครัว  ครอบครัวนางซาน มีลูกสาว 2 คน  และครอบครัวนางเทศ ขุด  มีลูก 2 คน  ที่อยู่ในวัยเรียน และเป็นกรณีศึกษาของครู




            ครอบครัวนางเทศ ขุด  ที่มีลูกอยู่สองคน  ลูกคนโต เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  คนเล็ก เรียนชั้นอนุบาล  ด้วยลูกคนเล็กเป็นวัณโรคด้วย  และเป็นเด็กครูทั้งสองคนส่งเรียน  จ่ายค่ารักษาพยาบาลเรื่องไส้ติ่ง  ค่ารักษาพยาบาลวัณโรค  พร้อมทั้งค่าเดินทางกลับประเทศกว่า 4,000 บาท  มาแล้วสองครั้ง

         

          เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน  2561  ต้องพาลูก ของนางเทส ขุด  ต้องพาเด็กทั้งสามคนที่เป็นลูกของนาง   อีก1 คน อยู่ข้างนอกกับพี่ชายที่ดูแล  สำหรับสองคนอยู่กับแม่ในสถานคุ้มครองฯ   ครูเองต้องทำหนังสือรับตัวไปให้คุณหมอตรวจ รักษาอย่างต่อเนื่อง   ซึ่งเด็กทั้งสามคนเล่นกันอย่างสนุกสนานมาก แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องจากกัน  เด็กทั้งสามยืนร้องไห้  ครูเองก็ได้แต่ยืนมอง แบบเศร้าๆๆๆ  แต่กฎหมายก็คือกฎหมาย                 

          กระบวนการทำงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง นนทบุรี   คือ ต้องรอผลการตรวจ DNA ก่อน ถึงจะดำเนินการช่วยเหลือเด็กได้   แต่ครั้งนี้การทำงานตามระเบียบที่กำหนด  ส่งผลกระทบต่อกลุ่มเด็กเหล่านี้

(1)   ข้อมูลที่หน่วยงาน องค์กร  ที่ให้ข้อมูลกับ  DSI ให้ไม่ครบ ไม่รอบด้าน   จึงเกิดการ

กระบวนการกวาดล้างเกิดขึ้น  ซึ่งข้อกล่าวหาของแม่และเด็กเหล่านี้ คือ ข้อหาค้าประเวณี/ค้ามนุษย์  แต่เมื่อทราบข้อเท็จจริง  เพียงแค่มาขอทานชั่วคราวเท่านั้น 

          (2)เด็กทั้งสองคน ครอบครัวของนางเทศ ขุด  สูญเสียการเรียนของเด็ก   ซึ่งเด็กทั้งสองคน  ควรที่จะมีโอกาสเรียนต่อ  ทำให้เด็กอาจจะต้องเรียนซ้ำชั้นเรียนของเขาเอง  เพราะขาดเรียนมาแล้วกว่า ห้าสัปดาห์  กว่า 25 วัน    งานนี้ ทำตามระเบียบที่กำหนดแต่ละเมิดสิทธิทางการศึกษาของเด็ก  เด็กเสียโอกาสทางการศึกษา  และเสียเวลาที่ต้องมาซ้ำชั้นกับเพื่อน  กระบวนการเพื่อสร้างที่ยืนให้เด็ก  เลยกลายเป็นการตอกย้ำว่าทำไม่ได้

            (3) การได้ข้อมูลมาไม่รอบคอบ   กลายว่าจะช่วยเด็ก  กลายเป็นให้เด็กได้รับการคุ้มครองแต่เสียโอกาสเพราะคำว่า เด็กน่าจะเข้าวงจรค้าประเวณี/ค้ามนุษย์    

          กลายเป็นคุ้มครองหรือละเมิดด้วยกฎหมาย....



สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55