banner
พฤหัสบดี ที่ 8 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2561 แก้ไข admin

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยังยืน ..ของคนเร่ร่อน/เด็กเร่ร่อน

 

นางสาวทองพูล   บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          ด้วยข่าวตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว เรื่อง ตำรวจจับคนไร้บ้าน/คนเร่ร่อน ด้วยความรุนแรง  กลายเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในการทำงานของผู้บังคับใช้กฎหมายแบบย่อยยับ   จึงก็เป็นจริงดังคนที่สังคมคีย์บอด ได้เล่า ได้กล่าวถึง   ในฐานะของคนทำงานภาคสนาม 

          มีโอกาสได้เข้าถึงข้อมูลของคนไร้บ้าน คนเร่ร่อน คนขอทาน  ซึ่งตัวเลขในเชิงวิชาการลดลง แต่สภาพความเป็นจริงเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสำหรับกรณีศึกษาก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว  ยิ่งแก้เหมือนยิ่งวนกลับไปใช้ชีวิตแบบดั่งเดิม  มีตัวคอยฉุรั้นให้กลับเป็นคนที่ใช้ชีวิตบนถนนอยู่ร่ำไป   ด้วยหลายสาเหตุด้วยกัน

          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยเหลือคนบนถนน  โดยเฉพาะการจัดระเบียบสังคม  ยังเป็นนโยบายที่เด่นมาก   แต่คนบนถนนกลับได้ประโยชน์น้อยมาก  คนทำงานก็สุ่มเสี่ยงกับการถูกทำร้าย  ไม่ได้เอาความจริงใจสร้างความไว้วางใจในการแก้ไขปัญหา    ถูกจับส่งเข้ารับการคุ้มครอง เป็นวาทกรรมที่สวยหรู  แต่คนไร้บ้าน/คนเร่ร่อน  ไม่ต้องการ   เขาอยากเข้าถึงสวัสดิการของรัฐเหมือนคนทั่วไปแต่เขาสมัครใจที่อยากนอนบนถนน  ที่มีท้องฟ้ากว้างใหญ่ไพศาลเป็นมุ้ง  การจัดหาที่นอนให้กลุ่มคนเหล่านี้ 

-ต้องมีความสบายแบบ เข้า-ออก ได้ ตลอดเวลา   มีกติกาได้แต่ไม่ใช่กติกาที่เข้มงวดเกินไป  เหมือนหน่วยงานต่างๆที่เข้าระเบียบเข้ามาจัดการ

-พูดคุยด้วยท่าทีที่เป็นมิตร  เข้าใจ รับฟังความทุกข์หรือคำปรึกษาได้ตลอดเวลา   ไม่ใช่ใช้อำนาจในฐานะพนักงานของรัฐ 

-เมื่อเจ็บป่วยได้รับการดูแล ด้วยความเอาใจใส่

-อาหารที่จัดให้มีคุณค่า มีพอกับจำนวนคนที่เข้าไปรับบริการ 

-ที่นอน ที่อาบน้ำเพียงพอ  รับได้ตลอดเวลา    สำคัญสุดคือทีมงานที่ทำงานต้องเข้าใจ เข้าถึง  พร้อมที่จะเป็นเพื่อนกับเขาตลอดเวลา

สำหรับครูจิ๋ว ที่ทำงานภาคสนาม ไม่ได้เห็นด้วยกับวิธีการ จัดระเบียบสังคม   ถึงแม้จะเป็น "ผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคนขอทาน"   ก็ตาม   เพราะครูเองใช้วิธีการติดตามเป็นรายกรณี  เข้าไปแก้ไขปัญหาเชิงครอบครัว เชิงชุมชน   หาวิธีการพูดคุยกับกรณีศึกษา  อย่างเข้าออกเขาใจ   และการทำงานต่อเนื่องจนกว่ากรณีศึกษาจะช่วยเหลือตัวเองได้    โดยจะยกตัวอย่างในการดำเนินการในแต่ละครอบครัว


  

ครอบครัวนางใจ (นามสมมติ)  เป็นครอบครัวเร่ร่อนมาตั้งแต่อายุ 13 ปี  เคยมีสามีมาแล้ว 2 คน มีลูกที่โตมาแล้ว 3 คน  สองคนเร่ร่อนไปอยู่ตามที่ต่างๆกับภรรยาที่เป็นเด็กเร่ร่อนด้วยกัน  ลูกอีก 1 คน เป็นผู้ชาย อยู่สถานสงเคราะห์ เพราะเด็กอยากเรียนหนังสือ 

แต่นางใจมีสามีใหม่ เป็นคนไทย ที่ใช้ชีวิตเร่ร่อนเหมือนกันอาศัยนอนตามใต้สะพานจนมาเจอกัน มีลูกอีก 2 คน  มาใช้ชีวิตในสภาพไม่มีบ้านมานานแล้ว 10 ปี  ในครั้งนี้ที่มาพบกับครอบครัวนี้ ใช้ชีวิตเร่ร่อนเป็นต่อมอมากกว่า 5 ปีแล้ว  เท่ากับชีวิตลูกลูกคนโตโดยตรง   ลูกคนเล็กเพิ่งอายุได้ 10 เดือน ตัวขาวเหมือนพ่อ  ยิ่งโตยิ่งลูกพ่อขนานแท้ทีเดียวเลย

ครูกว่าจะทำงานกับครอบครัวนี้เร่ร่อน/ไร้บ้าน ครอบครัวนี้ได้ใช้เวลาปีกว่า กว่าเขาจะเปิดใจรับการพูดคุยกับครูได้   แต่ครอบครัวนี้ยังจุนเจือช่วยเหลือให้อาหารให้ข้าวกับเด็กเร่ร่อนอีก 9 คน  ถึงแม้จะเป็นลูกด้วยก็ตาม  เหมือนครอบครัวใหญ่ที่ต้องดิ้นร้น  ดูแลทุกคนให้พอมีกินมีอยู่พอควร




ครั้งแรกที่ครูตามเด็กเข้าไปในช่วงปลายปี 2559  มาพบเด็กเร่ร่อนที่ทำให้ครูได้รู้จักใต้ต่อมอทางด่วน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560  ได้มีโอกาสพูดคุยถามหาเด็ก ในเดือนมิถุนายน  2560  ตั้งบัดนั้นเป็นต้นมาลงพื้นที่ อาทิตย์ละวัน แบบมีอาหารแห้ง ข้าวสาร มาม่า วุ้นเส้น  ปลากระป๋อง  นำไปแบ่งปันให้ชีวิตอยู่รอด ทั้งสร้างความคุ้นเคย ความไว้วางใจ ความจริงใจต่อกันทั้งครูและกรณีศึกษา  จนแม่ใจกับครอบครัวและเด็กๆทุกคนคุ้นเคยให้ความเป็นกันเอง  แต่ความในใจของแม่อุ้มที่ต้องการความช่วยเหลือก็ยังไม่เอ่ยจากปากแม่ใจเลย   ในขณะนั้นแม่ใจกำลังท้องอยู่   กระบวนการของครูเตรียมการไว้หลายรอบด้วย  สุดท้ายแม่ใจเป็นคนที่ต้องบอกสิ่งที่ต้องการ

1.แม่ต้องการมุ้งไว้กลางในช่วงกลางคืน เพราะยุงเยอะมากจริง  มีเด็กด้วยคือน้องปอ ในช่วงนั้น  กลุ่มเด็กเร่ร่อนวัยรุ่น ทั้งหลายกลางคืนจะเดินจากซอยสุขุมวิท 1 ถึง สุขุมวิท 21  เดินกันทั้งคืน  จะกลับเข้ามาใต้ทางด่วนก็ตีห้า  บางคนก็มาหกโมงเช้า  แล้วนอนยาว  กลุ่มเด็กโตไม่ต้องการอะไรเป็นภาระ   สำหรับนางใจพร้อมครอบครัวจัดสถานที่นอนเหมือนเป็นบ้านอย่างชัดเจน   ครูได้เพื่อนซื้อมุ้งมาให้  จึงแบ่งปันครั้งละ 1 ผืน  เพราะผืนหนึ่งใช้ได้ประมาณ 4-6 เดือน  เป็นการเริ่มไว้วางใจ 


  

2.สิ่งของที่แบ่งปันเพื่อให้ทั้งครอบครัวแม่ใจกับเด็กๆเร่ร่อนวัยรุ่นอยู่ได้ก็คือ ข้าวสารอาหารแห้ง ทั้งหลายที่จะช่วยประทังให้มีชีวิตรอดร่วมกันได้   สิ่งหนึ่งที่เห็นตลอดคือการแบ่งปันของแม่ใจ เอื้ออาทรให้กับเด็กเร่ร่อน ครอบครัวเร่ร่อนทั้งไทยและต่างด้าว  บางครั้งก็ต้องควักกระเป๋าตัวเองเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วย   ซื้อยาให้ทุกคนบรรเทาแค่หาย   ไม่ได้หายขาดไปจากโรคที่เป็น  แม่ใจชอบบอกว่าให้มีชีวิตอยู่รอดไปแต่ละวันก็บุญแล้วครู    แต่ครูกลับบอกและย้ำเตือนว่าทุกชีวิตมีค่าแล้วแต่การใช้ชีวิตของแต่ละคนมากกว่า   ทำตัวให้ดีขึ้นมีงานทำ ขยัน ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ชีวิตก็ดี   ถึงพวกเราทุกคนใช้ที่ใต้ทางด่วนเป็นบ้าน  ทุกคนก็มีสิทธิเหมือนกัน

3.เมื่อแม่ใจท้องโตขึ้นทุกวัน  ไม่ได้ฝาก เพราะกลัวเรื่องบัตรประชาชน ครูเองก็เฝ้ามองอยู่ห่างๆ ไม่พูดแบบพร่ำเผื่อ   เพราะทุกสิ่งต้องออกมาจากความต้องการของกรณีศึกษา  เพราะมันคือความต้องการ   การทำงานของครูก็ต้องมีหลักยึดเหมือนกัน   บางครั้งด้วยความปรารถนาดีจัดการทุกเรื่อง  แต่พวกเขาไม่ใส่ใจ  สิ่งที่ให้ก็ไม่มีค่า  แต่ครูจะเน้นไปเรื่องความปลอดภัยกับเรื่องเอกสารใบเกิดของเด็ก  ถ้าแม่ไม่มีบัตรประชาชน  ทางโรงพยาบาลจะถือว่าเป็นเด็กต่างด้าว ย้ำเตือนอยู่เสมอ  อีกสิ่งคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการคลอดลูก  ยิ่งไม่มีเอกสารโรงพยาบาลให้คลอดแต่ค่าใช้สูงเป็นหลักหมื่น  ลองปรึกษากันดูระหว่างสามี-ภรรยา ว่ามีเงินไหม.... สิ่งเหล่านี้ครูจะทิ้งท้ายก่อนกลับทุกครั้งเมื่อลงไปเยี่ยม

จนสุดท้ายแม่ใจเป็นคนเอ่ยปากเองที่อยากทำบัตรประชาชน  ซึ่งแม่ใจก็รู้ดีว่าต้องเอาญาติพี่น้องทั้งหมดมายืนยัน  แต่ครูพาแม่ใจไปสำนักงานเขตปทุมวัน  ที่เขารู้จักครูจิ๋วเป็นอย่างดี  เพราะไปตามใบเกิดของเด็กบ่อยมาก


  

เมื่อทำตามขั้นตอน ระเบียบของการมีบัตรอีกครั้ง จนสามารถถ่ายบัตรประชาชนอีกครั้ง  สังเกตเห็นแม่ใจถือบัตรไว้ตลอดเวลา แล้วก็บอกขอบคุณแล้ว ขอบคุณอีก   แม่ใจจึงเล่ามาทุกหน่วยงานที่ลงพื้นที่ไปพบ ขณะที่พาลูกมาขอทาน  ได้แต่เพียงบอกว่าให้ไปทำประชาชน  ครูรู้ไหมว่าความกลัว มันมี   ถ้าครูไม่พามาวันนี้ ก็คงไม่กล้ามาทำหรอก กลัวทุกคนที่เป็นราชการ    ตั้งแต่ครอบครัวหนูเจอครูก็ทั้งสอนและพาไปทำให้   ครูทำด้วยใจจริงๆๆ แล้วก็มีเพพียงครูเท่านั้นที่ช่วย  หน่วยงานต่างๆมาถ่ายรูปที่บ้านหลายหน่วยงานแล้วก็หายทั้งนั้น 

ขั้นตอนนี้ครอบครัวแม่ใจกับเด็กๆ เริ่มไว้วางใจครู  เพราะพร้อมที่จะไปไหนกับครู  ไม่กลัวครูว่าครูจะเอาพวกเขาไปส่งสถานสงเคราะห์   งานเหล่านี้เชื่อใจกันค่ะ...

4.เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561  ทั้งสามี-เด็ก(น้องเดฟ น้องอาท) ต่างโทรกันกระหน่ำหาครูกันลั่นไปหมด  เพราะแม่ใจคลอดน้องแป้ง  เพราะอุปกรณ์ของเด็กอ่อนไม่มีเลย  แต่ครูได้เตรียมการไว้พอสมควร  ค่าคลอดที่นกเหนือจากบัตร 30 บาท  แล้วคลอดกรณีฉุกเฉิน เพราะไม่ได้มรการฝากครรภ์ก่อน  ทางทีมงานโรงพยาบาลตำรวจมีการประสานงานกับครูเรื่องการขอความอนุเคราะห์ กว่าสองพันกว่าบาท  น้องแป้งที่เกิดมาสมบูรณ์ครบทุกอย่าง

5.เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561  ทางทีมงานของสามัญชนคนไทย ลงมาถ่ายทำพร้อมกับพูดคุยกับครอบครัวของแม่ใจ  ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทางทีมงานได้มอบเงิน 3,000  บาท  ครูได้จัดการในการซื้อหม้อหุงข้าว  กระติกน้ำ  เพื่ออำนวยความในการดูแลเด็กอ่อน  และในการหุงหาอาหารเลี้ยงคนในครอบครัวและเด็กเร่ร่อนที่มาอาศัยอยู่ด้วย  อีกประการหนึ่งคือการทำอาหารกินกันเองเมื่อมีวัตถุดิบพร้อม


  

6.เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ได้พาเด็กหญิง วิชญชยากร  ธนะวงศ์ (น้องปอ)  พาไปประสานงานเรื่องเข้าเรียนที่ โรงเรียนวัดดิสหงราม(วัดมักกะสัน)  เรียนชั้นอนุบาล 1 พร้อมทั้งเสื้อผ้า ชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนของเด็ก  เด็กมีความสุขในการเรียนพร้อมตั้งใจเป็นอย่างมาก  แต่บางคืนแม่ของเด็กก็ยังออกไปเร่ร่อนขอทานเป็นครั้งคราว  คืนละประมาณหนึ่ง-สองชั่วโมง  เพื่อนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัว

แม่ใจเองก็เคยถูกจับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งผู้บังคับใช้กฎหมาย และหน่วยงานที่ดูแล   แต่ละครั้ง ก็พยายามใช้ความน่าสงสารและการดำรงครอบครัว  ร่วมถึงการศึกษาของลูกเป็นการต่อรอง  และทุกหน่วยงานก็มีการคาดโทษ

7.เมื่อวันที่  19 ตุลาคม 2561  แม่ใจถูกจับในข้อกล่าวหาว่า "ครอบครองยาเสพติดเพื่อเสพ"  แม่กับลูกต้องพรากจากกัน ในเวลาที่ช่วงคือ แต่ บทเรียนครั้งนี้ เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ของความเป็นแม่ เมื่อลูกกำลังกินนมแม่อยู่ น้องแป้งไปเคย ได้กินผงหรือนมขวดเลย  ไม่เคยอยู่กับใคร นอกจากอกแม่ที่แสนอบอุ่น   งานนี้ทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องวิ่งหาเงินตัวเป็นเกลียว ในการขอประกันตัวชั้นศาล   ในการสืบสวนหาข้อเท็จจริงของผู้รักษากฎหมาย  ในการจะหาผลงานก็ต้องผลงานเหล่านี้กับกลุ่มคนที่ไม่มีบ้าน/ไร้บ้าน/คนเร่ร่อน  เพราะคนเหล่านี้ก็เคยรับใช้หรือบางคนก็เป็นสายดูแล บอกเบาะแสให้กับผู้รักษากฎหมาย  เข้าทำนองเอาโจรจับโจร

  

แต่กลุ่มคนเหล่านี้โอกาสที่จะก้าวพลาดทางกฎหมายมีตลอดเวลา เพราะท้องมันหิว การหยิบฉวย อาหารหรือของมีค่าที่จะแลกเป็นเงินซื้ออาหารมาเลี้ยงตนเองเพื่อความอยู่รอด  ความบันเทิงใจของคนเหล่านี้คือการอาศัย กิน-นอน เล่น ในร้านเกม

การเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ  มันเป็นไปได้ยากอย่างสุดมือถึงเลยทีเดียว ด้วยเพราะว่า  รัฐจะมองคนเหล่านี้เพียงแค่จับ แล้วส่งสถานสงเคราะห์ของรัฐเท่านั้น   ซึ่งกระบวนการอื่น หรือการติดตามช่วยเหลือทำน้อยมาก

แต่สำหรับโครงการครูข้างถนน  ให้ความสำคัญในการติดตามกรณีศึกษาระยะยาว  ช่วยให้พวกเขาเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานของพวกเขาที่ควรได้รับเป็นขั้นต่ำ  ซึ่งคน คนหนึ่งควรได้รับ

บทความที่ทำงานกับครอบครัวแม่ใจมาอย่างต่อเนื่อง

(1)บ้าน .....ของคนเร่ร่อน/ เด็กเร่ร่อน    เผยแพร่เมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม 2560

(2)คนไทยต้องมีบัตร... ใช่ไหม   เผยแพร่เมื่อ วันที่ 25 ธันวาคม  2560

(3)คนด้อยโอกาสช่วยกันเอง     เผยแพร่เมื่อ วันที่ 8  กุมภาพันธ์  2561

(4)ห้องเรียน ข้างถนน วิจัยเชิงคุณภาพ(ตอนที่ 3) เผยแพรเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2561

(5)น้ำตาตกที่.....โรงพัก   เผยแพร่เมื่อวันที่ 30  ตุลาคม  2561 

การทำงานอย่างต่อเนื่อง ติดตามอย่างต่อเนื่อง  คือการช่วยครอบครัวเร่ร่อน/ไร้บ้าน  ให้เข้าถึงสวัสดิการของรัฐ  เป็นกระบวนการทำงานเชิงรุก และเชิงลึก  ใช้ความเข้าใจ เข้าถึง ให้โอกาสกับคนด้อยโอกาส ไดมีที่ยืน  คือการพัฒนาที่ยั่งยืน