กรณีที่ร้องขอให้ช่วยเหลือ ปี 61... สถานการณ์เด็กเร่ร่อนวัยรุ่น
นางสาวทองพูล บัวศรี
การทำงานของครูข้างถนน นอกจากการลงพื้นที่อย่างสม่ำเสมอแล้ว เรื่องประชาชนขอความช่วยเกี่ยวข้องกับเด็กเร่ร่อน ซึ่งในขณะนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่
(1) กลุ่มแรก คือครอบครัวขอทานต่างด้าว ที่ลูกอายุประมาณ 9-14 ปี ถูกจับเฉพาะเด็กคนเดียว แม่หาลูกไม่เจอ ใช้เวลาตามหาว่าลูกอยู่ที่สถานแรกรับหรือสถานสงเคราะห์ นานกว่าสองเดือนกว่าจะพบเจอ บางครอบครัวยังหาไม่เจอเพราะถูกส่งไปอยู่ที่ ศูนย์ฝึกและอบรมบ้านเด็กหญิงปรานี และบางครอบครัวเด็กที่โยน กันไปมาระหว่างสถานสงเคราะห์เด็กก็หาไม่เจอ
(2) กลุ่มที่สอง คือแม่และเด็กที่เป็นกลุ่มขอทาน ทั้งเด็กกัมพูชา ขายดอกไม้ เด็กปากีสถานที่
ออกมาขายดอกไม้ กลุ่มแทนซีเนีย ที่ขอประกันตัวออกไป ต้องการให้เด็กได้เรียนหนังสือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ เพราะแม่เด็กที่เป็นชาวแทนซีเนียเริ่มเข้าสู่กระบวนการขายบริการทางเพศ เพื่อหาเงินมาดูแลครอบครัว ก่อนที่จะมีโอกาสไปประเทศที่สาม เด็กบางคนก็ออกมาขอเงิน
(3) กลุ่มที่ สาม คือกรณีของเด็กไทยที่เริ่มเป็นวัยรุ่นช่วงอายุตั้ง 9 ปีขึ้นไป ที่ออกมาใช้ชีวิตภายนอกคำว่า "บ้าน" บางกลุ่มก็บอกว่า ใต้ทางด่วน ที่เขาอยู่กับเพื่อน คือ "บ้านของพวกเขา" เมื่อโรงเรียนและโรงเรียนไม่ใช่คำตอบ "โรงที่เก็บขยะของคนที่พูดไม่ได้ก็คือ บ้าน" สถานที่สิงสถิตในช่วงตอนเย็นของกลุ่มวัยรุ่นที่หลากหลาย "บนหัวสะพานซังฮี้ ก็คือบ้าน" แล้วทุกคนที่เห็นเขาด้วยสายตา บอกว่าเด็กเหล่านี้สร้างปัญหา สร้างความปวดหัวให้พวกเขา งานนี้หลายคนจึงร้องขอความช่วยเหลือมายังโครงการครูข้างถนน ของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
-เรื่องร้องขอความช่วยเหลือ เป็นเรื่องต่อเนื่องจากเด็กเร่ร่อนและครอบครัวเร่ร่อนใต้ทางด่วน ว่ามีเด็กเร่ร่อนมาเพิ่มอีก 2 คน มาจากสี่แยกคลองเตยขายดอกไม้มาก่อน มานอนที่ใต้ทางด่วน แต่ในขณะนี้ได้ไปรวมตัวกันอยู่ที่บ้านริมคลองกว่า 9 คน สิ่งที่โครงการได้ดำเนินการ คือนัดกลุ่มแลกเปลี่ยนที่ไม่ให้เด็กกลุ่มนี้ไปลักทรัพย์ หรือปล้นนักท่องเที่ยว สิ่งที่ผิดกฎหมายคือเองยาเสพติด เด็กทุกคนที่มีสิทธิอาศัยบนถนนได้ แต่อย่าทำอะไรที่ผิดกฎหมาย เด็กจะต้องอยู่ภายใต้ การคุ้มครอง แต่เด็กก็ไม่มีสิทธิไปละเมิด หรือเอาสิ่งของของผู้อื่นเด็ดขาด ครูข้างถนนยังลงพื้นที่อาทิตย์ละ 3 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ
-เรื่องที่ สอง ที่ร้องขอความช่วยเหลือ จากนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ว่ามีเด็กเร่ร่อนชายจำนวน 3 คน ใช้ชีวิตที่ท่าเรือคลองเตย ได้มีการประสานงานกลับไปยังผู้แจ้ง จึงทราบรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นว่า เด็กทั้งสามคนเคยเรียนหนังสือมาก่อน แต่ต้องช่วยยายขายของ ขายดอกไม้ ขายพวงมาลัย ตลอดจนการขายขนม ตามสี่แยก ทั้งช่วงเช้า และช่วงตอนเย็น มีหลายหน่วยงานคือเอาเด็กเข้าไปไว้ตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ แต่ยายก็ไปรับมาว่าดูแลได้ เด็กมีอายุ 9 -11 ปี เรียงกันเลย เด็กทั้งสามคนค่อนข้างตัวเล็กผอม เสื้อผ้าของเด็กไม่ได้รับการดูแล แล้วแต่เด็กจะใส่เป็นส่วนใหญ่ ทางโครงการครูข้างถนน จึงประสานงานไปยัง มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล ทางโครงการครูข้างถนน ซึ่งได้รับรู้ว่าเด็กสองคนในสามคนทาง มูลนิธิฯได้รับเด็กเข้าไปดูแลแล้ว เพราะได้รับเรื่องร้องขอความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน และเป็นพื้นที่ที่ทางมูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคลดำเนินการอยู่ การทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนหน่วยงานต่างๆในกรุงเทพมหานคร มีการแบ่งพื้นที่การลงทำงานช่วยเหลือ คุ้มครอง ฟื้นฟู และพัฒนาให้เด็กได้และครอบครัวเร่ร่อนได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
-เรื่องที่สาม ได้รับเรื่องร้องขอให้ช่วย คือพ่อกับแม่เป็นชาวเนปาล ที่อพยพเข้าอยู่ในประเทศไทยนานแล้ว พี่น้องคนอื่นแปลงสัญชาติ เหลือแต่ครอบครัวนี้พร้อมกับน้องชายอีกคน ที่ออกจากครอบครัวเดิม ออกมาเร่รอนตั้งแต่อายุ 10 กว่าปี ใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ตอนนี้ครอบครัวนี้ถูกจับส่งเข้าเรือนจำทั้งพ่อและแม่ มีลูกทั้งหมด จำนวน 5 คน คนโตอายุ 13 ปี เรียนหนังสือ ไล่เรียงอายุมา 13,11,9,7 คนเล็กเพิ่งคลอดได้อาทิตย์เดียว เด็กทั้งหมดฝากเคนเลี้ยงไว้ที่ชุมชนโค้งรถไฟยมราช แม่เด็กเคยเอาลูกทั้ง 5 คน ออกขอเงินที่ ซอยนานา สิ่งที่ทางโครงการครูข้างถนน ลงไปดำเนินการ คือ ลงไปเยี่ยมเด็กที่ฝากยายเตี้ย เลี้ยง ซึ่งครอบครัวยายเตี้ยก็มีหลานอีก 7 คน และเลี้ยงเด็กอีก 5 คน รวมเป็นเด็ก 12 คน ผู้ใหญ่อีก 4 คน จึงใช้วิธีการประสานงานกับทีมงานบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพ ในการสนับสนุน ให้เด็กอยู่ด้วยกัน เน้นเป็นเรื่องข้าวสารจำนวนเดือนละ 30 กิโลกรัม อาหารแห้งได้แก่ มาม่า ปลากระป๋อง วุ้นเส้น เส้นหมี่ เป็นต้น เครื่องครัว(อุปกรณ์ในการประกอบอาหาร)ตามที่มี นมกล่องเพื่อเลี้ยงเด็ก ปัจจุบันทางบ้านพักฯได้ส่งเด็กสามคน เข้ารับบริการที่สถานสงเคราะห์ เพราะคนเลี้ยงเกิดป่วย ดูแลเด็กไม่ได้ ส่วนอีกคนอยู่กับยายเตี้ยได้เรียนหนังสือ รอทางพ่อแม่ของเด็กจะหาเอกสารแสดงตัวได้ ทางโครงการครูข้างถนน ก็ยังลงไปพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ
-เรื่องที่สี่ เป็นกลุ่มเด็กที่เคยให้ความช่วยเหลือ แม่ของเด็กอยากรับไปดูแลเอง เด็กถูกกวาดจับที่ชุมชนกีบหมู ในคดียาเสพติด เมื่อประมาณเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา มีการกลวาดล้างยาเสพติดที่ชุมชนกีบหมู จับกลุ่มที่ส่งยาทั้งหมดจำนวน 19 คน พบเด็กที่อายุ 11-15 ปี จำนวน 4 คน นอกนั้นเป็นผู้ใหญ่ ได้รับการประกันตัว ส่วนเด็ก 4 คน ทางครอบครัวโทรประสานให้ทางโครงการครูข้างถนน ช่วยดำเนินการขอประกันตัวเด็ก จึงเข้าไปประชุมปรึกษาหารือกัน ถึงข้อดี ข้อเสีย ในการประกันตัว ถึงแม้เด็กจะสัญญาว่าเมื่อประกันตัวออกมาครั้งนี้จะไม่ออกจากบ้านไปนอนร้านเกม แต่ทั้งหมดก็ทำตามสัญญาไม่ได้ แม่และครอบครัวก็เอาไม่อยู่ ให้กลับเข้าไปเรียนหนังสือเด็กก็เรียนไม่ได้ จึงตกลงคำนวณผลเสียมากกว่าผลดี เด็กทั้ง 4 คน อยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กเยาวชนกรุงเทพมหานคร อย่างน้อยสุดเด็กทั้งสี่คน ได้เรียนหนังสือต่อทั้งการฝึกอาชีพและเรียนทักษะชีวิตอื่นๆ เพราะทั้งครูและครอบครัวไม่สามารถหรือขจัดสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายให้เด็กได้เพราะเป็นแหล่งการขายยา จึงจำเป็นต้องให้เด็กออกจากพื้นที่ไปก่อน ครอบครัวได้ไปเยี่ยมลูกเดือนละครั้ง ในขณะนี้อยู่ในสถานพินิจฯมาแล้ว 5 เดือน กำลับสืบเสาะ และรอการตัดสิน
-เรื่องที่ห้า เป็นกลุ่มเด็กเร่ร่อน ที่ออกจากโรงเรียนกลางคัน จำนวน 4 คน อายุ 9-13 ปี ไปอาศัยกับคนใบ้ที่มีสองคนพี่น้อง ออกเก็บขยะตามซอยต่างๆที่หลังวัดลาดพร้าว ทางโครงการครูข้างถนน ได้ลงพื้นที่ทั้งหมดกว่า 5 ครั้งด้วย แต่เด็กทั้ง 4 คน มีครอบครัว แต่ไม่อยากเรียนหนังสือ แม่ได้นำตัวเด็กไปยังสถานแรกรับเพราะมีคนไปแจ้งความที่สถานีตำรวจมาแล้ว 3 ครั้ง ทางครอบครัวเองก็ไม่สามารถจัดการอะไรได้ แต่ที่สำคัญคือเด็กต้องการใช้ชีวิตอิสระ แต่ก็ต้องพึ่งพาเงินของแม่เป็นค่าอาหารการกิน บางคืนเด็กทั้งหมดก็กลับเข้าไปนอนบ้าน แต่เป็นสัปดาห์เหมือนกันที่เด็กก็นอนอยู่ที่หลังวัด โกดังเก็บขยะ พร้อมจักรยานคู่ใจ เรื่องการลักขโมยก็ไม่มี เรื่องยาเสพติดก็ยังไม่มีเพราะทางพระสงฆ์ที่วัดลาดพร้าว คอยดูแลอยู่บางครั้งพระสงฆ์จะเรียกใช้งานเก็บกวาด เก็บโต๊ะเก้าอี้ เพราะวัดมีงานศพทุกวัน ทางโครงการได้คุยกับแม่ของเด็กทุกคนจึงใช้วิธีการเฝ้าระวังไม่ให้เด็กไปเกี่ยวข้องกับยา ทางแม่ได้พยายามให้เงินเป็นค่าอาหารให้ลูก เน้นให้พระช่วยดูแล ซึ่งทางโครงการเองก็ได้ลงไปพูดคุยกับร้านค้า ทุกร้านเห็นด้วยและเฝ้าระวังโดยคนในชุมชนด้วยกันเอง แต่มีการลงพื้นที่เป็นระยะเพื่อให้รู้ความเคลื่อนไหวของเด็กทั้ง 4 คน ได้รับเรื่องร้องขอ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561
-เรื่องที่หก เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 ผู้แจ้งไปซื้อผลไม้ที่ตลาดสี่มุมเมือง พบเด็กไทยอายุ 13 ปี รู้จากพ่อค้า แม่ค้า ว่ามีเด็กผู้ชายร่างกายผอม ตัวสูง ผิวขาว ขาขนยาว ร่างกายแข็งแรง รับจ้างเข็นผลไม้อยู่ในตลาด แม่ค้าเล่าให้ฟังว่า พ่อแม่ของเด็กตายจากการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิต เด็กอยู่กับน้าที่ต่างจังหวัด แต่เด็กคิดถึงพ่อแม่มากจึงมาตามที่ตลาดสี่มุมเมือง สุดท้ายเด็กก็มาอาศัยอยู่รับจ้างคนที่มาซื้อผลไม้ เด็กไม่ได้เรียนหนังสือคำบอกเล่า เมื่อลงพื้นที่กว่า 4 ครั้ง จึ่งรู้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อพ่อแม่ของเด็กเสีย เด็กไปอยู่กับน้าที่สระบุรี เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (แต่ออกกลางคัน เมื่อขึ้น ป. 4 ) จึงออกมาอยู่สี่มุมเมือง น้ามาพากลับไปหลายครั้งแล้ว แต่เด็กยืนยันที่อยากใช้ชีวิต อยากเก็บเงิน อยากทำ น้าก็มาเยี่ยมช่วงเสาร์-อาทิตย์ เป็นประจำ แต่เด็กไม่ยอมกลับบ้านน้า แต่นอนตามแผงร้านผลไม้ ย้ายไปเรื่อยๆ ยามและเจ้าของตลาดให้ช่วยดูแลไม่ให้เด็กเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับร้านสนุ๊กเกอร์ ร้านเกม เด็กขยันมาก มีเงินเก็บจำนวนหนึ่งซึ่งฝากน้าไว้ และฝากธนาคาร ทางโครงการครูข้างถนน ได้ลงไปเยี่ยมเป็นครั้งคราว และพูดคุยกับน้าของเด็กเป็นประจำ
-เรื่องที่เจ็ด เมื่อกลางคืนวันที่ 30 มีนาคม 2561 เวลา ห้าทุ่มกว่า คุณก้อยเป็นเพื่อนกับเจ้าของร้านเกม ที่หลักสี่ โดยทางโครงการครูข้างถนน ได้ลงไปทำความเข้าใจกับร้านเกมบริเวณหลักสี่ว่า มีเด็กเร่ร่อนหรือเด็กที่ติดเกมมาเล่นเกมประจำช่วยโทรแจ้งมายังมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ตอนเช้าจึงประสานงานกับครูเอก ให้ลงพื้นที่ไปรับเด็กก่อน พูดคุยกับเด็ก ด้วยหลายแนวทางตั้งแต่
(1)ประสานงานกับทางบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานครว่าไม่สะดวก ต้องการให้ทางโครงการครูข้างถนน นำเด็กไปส่งที่สถานแรกรับบ้านภูมิเวท (พูดคุยกับเด็ก เด็กน้อยอายุ 13 ปีร่างกายอ้วนท่วม สะอาด หน้าตาหมดจด คิ้วที่หนารับกับปากที่บาง หวานเหมือนตาของสาวน้อย แต่เป็นเด็กผู้ชายที่โชกโชน ในการใช้ชีวิตนอกบ้านมาตลอด
(2) เด็กก็ยังนั่งเงียบตลอดเวลา พร้อมกับวิ่งหนีตลอดเวลา สายตาของเด็กน้อยสอดส่ายหาทาง ความบังเอิญและความโชคดีของครูเอก ที่โทรประสานงานกับตำรวจทุ่งสองห้อง เป็นสายตรวจซึ่งผ่านมาตรวจที่หน้าร้านสะดวกซื้อ เด็กจึงมองหน้าครูเอกขอความช่วยเหลือ มาทราบข้อมูลภายหลัง
(3) ทางเลือกสุดท้าย คือมากับครูเอก มาพักชั่วคราวที่บ้านสร้างสรรค์เด็กของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ครูได้โทรประสานงานกับครูที่ดูแลเด็กในบ้านไว้แล้ว เด็กเลือกที่จะมากับครูเอก ครูเอกจึงพามากินข้าวเช้าที่บ้านอุปถัมภ์เด็ก กันเรียบร้อย จึงพาซ้อนมอเตอร์ไซด์ไปส่งที่บ้านสร้างสรรค์เด็ก
เมื่อถึงบ้านบ้านสร้างสรรค์เด็ก เด็กน้อยก็วิ่งเล่นล้อมบ้านอย่างสนุกสนานมาก แต่ด้วยภาวะของเด็กที่ทั้งภาวะทางอารมณ์เล่นด้วยความโกธร เด็กมีความเร่าร้อนด้วยภาวะอารมณ์ที่ไม่นิ่งเลย เล่นกับเพื่อนคนไหนเป็นอันต้องเกิดการวิวาทตามมา สุดท้ายมีครูหนึ่งคนที่ต้องเฝ้าหรือเรียกกันว่าเอาไปเก็บ เก็บเด็กไว้กับครูไปไหนเอาไปด้วย เพราะปล่อยไปภาวะวงแตกจะเกิดขึ้น
ครูซิ้มกับครูเอกต้องช่วยลงพื้นที่ตามหาแม่ของเด็ก และประวัติความเป็นมา จึงรู้ว่าแม่ของเด็กที่เคยเป็นเด็กถูกกระทำมาก่อน ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานหนึ่งส่งให้เรียน ส่งให้มาทำงาน แต่ความใจร้อนกับภาวะทางด้านจิตใจของแม่ก็ออกจากหน่วยงาน ไปแต่งงานหลังเรียนจบหวังว่าจะมีครอบครัวมาทดแทนสิ่งที่ลูกผู้หญิงทุกคนปรารถนาความเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์ มันเพียงแค่ความฝันเท่านั้น เมื่อลูกโตก็ต้องหอบหิ้วลูกน้อยมาพึ่งชายคาของหน่วยงานอีกครั้ง แต่ความใจร้อนของแม่ก็ต้องระหกระเหินอีกครั้ง แม่หางานทำไปเรื่อยๆจนได้งานขายอาหารสัตว์มีที่พักเช่าบ้านเป็นเรื่องราว จึงไปรับลูกน้อยด้วยความทิฐิกันแรงกล้าของแม่ นำลูกมาเรียนแค่เดือนเดียวตั้งแต่นั้นมาเด็กน้อยก็ท่องเที่ยวตามความฝันตามจินตนาการตั้งแต่รังสิตไปถึงปากเกร็ด เข้า-ออก ร้านเกมทุกร้าน รู้จักหมด นอนที่หน้าปากซอย คิวมอเตอร์ไซด์รู้จักเป็นอย่างดี เพราะได้นั่งรถฟรีเป็นประจำ ในวันนั้นต้องการไปเอากับแม่ เมื่อใดที่แม่ไม่ให้เงิน เด็กน้อยมีวิธีการเดินแก้ผ้าเรียกร้องความสนใจ จนแม่ทนไม่ได้ต้องให้เงิน เมื่อได้เงินแล้วก็จะไม่กลับบ้านมาเป็นสัปดาห์
จะมาก็ต่อเมื่อมีผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ นำมาส่ง นับเป็นสิบครั้งที่ตำรวจนำไปส่งที่บ้านเช่า จนแม่ยื่นคำขาดว่า ถ้ามีอีกครั้งแม่ไม่ให้เข้าบ้าน แม่ไม่รักแล้ว จะไปไหนก็ไป เด็กน้อยกลัวจริงๆ ตอนที่ครูซิ้มกับครูเอกจะพากันไปเยี่ยมบ้าน จึงต้องเปลี่ยนกระบวนรับแม่ของเด็กไปนอนกับลูกที่บ้านสร้างสรรค์เด็ก เมื่อแม่ลูกเจอกันเหมือนแค่คนรู้จักกันเท่านั้น อาการโอบกอดครูเองก็ไม่ได้เห็นเหมือนแม่ลูกคู่อื่น แม่เด็กเองได้เจอครูเก่าที่เคยทำงานหน่วยงานที่แม่เคยอยู่มาก่อน วางแผนร่วมกันว่าจะส่งเด็กน้อยไปยังโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์/ราชประชานุเคราะห์ สิ่งที่ร่วมกันวางแผนไว้
เด็กน้อยมีบุญแต่กรรมมาบัง เมื่อครูที่ต้องเข้าเวร และเป็นช่วงสงกรานต์ ดูแลเด็กน้อยไม่ได้ด้วยเหตุผลว่าเด็กไม่นิ่ง กลัวที่สุดคือการตกน้ำ เด็กเองก็อยากแต่จะเล่นน้ำที่ล้อมรอบบ้าน ครูจึงต้องขอส่งไปคุ้มครองที่บ้านภูมิเวทตั้งแต่ 6 เมษายน จนถึง 10 พฤษภาคม 2561 เมื่อวันไปรับ ทางโครงการที่ได้คุยกันไว้ต้องมีการตรวจไอคิว ตรวจสุขภาพอีกมากมายหลายเรื่อง ทางเลือกของเด็กน้อยริบรี่ลงไปเลย
ในความรู้สึกคนที่หาทางออกสำหรับเด็ก สงสารเด็กน้อยที่ถูกโยนไป โยนมา สุดท้ายต้องทำเรื่องไปยังบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร ให้ส่งตัวเข้ารับการดูแลของสถานแรกรับอีกครั้งเพราะด้วยเหตุผล คือการรักษาสภาวะจิตใจของเด็ก การวัดไอคิวของเด็ก การใช้ความรุนแรงของเด็ก การบังคับผู้อื่นเรื่องเพศ แค่ปัญหาของตัวเด็กเองก็ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่วนแม่เองก็ต้องรักษาด้วยเหมือนกัน
เด็กน้อยที่ไม่ได้ทำปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองเป็นผู้สร้าง แต่มันคือผลผลิตจากครอบครัว สังคม และภาวะของเลี้ยงดูไม่เหมาะสม ความรักที่ไม่ได้รักสิ่งที่ทำให้เกิดมา มันคือผลผลิตของยึดใครสักคนเป็นหลักในชีวิต ทุกอย่างจึงเกิดขึ้นกับเด็กน้อย
เรื่องที่แปด ได้รับเรื่องร้องขอความช่วยเหลือว่า มีเด็กหญิงและเด็กชาย กว่า 15 คน ช่วงอายุตั้งแต่ 11-15 ปี ทุกเย็นมาจะมารวมกลุ่มที่ตื้นสะพานซังฮี้ ฝั่งพระนคร ส่งเสียงดังมาก ชาวบ้านบริเวณนั้นในช่วงกลางคืนนอนกันไม่ได้ เพราะเด็ก เด็ก ส่งเสียงดังมาก มีทั้งอาการเมายา มั่วเพศ และกลุ่มที่นั่งคุยกันธรรมดา
การลงพื้นที่ด้วยกัน 3 ครั้ง การเดินสำรวจตั้งแต่ปลายสะพานซักอี้ ฝั่งศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งเป็นชุมชนที่ติดกับริมแม่น้ำเจ้าพระยา คุยกับชาวบ้านว่าโอกาสที่จะถูกย้ายมีสูงมากเพราะทางการกำลังดำเนินการสร้างเขื่อนติดริมขอบแม่น้ำเป็นทางยาว
ครูจึงเดินรอดสะพานอีกฝั่งเด็ก เดินผ่านกลุ่มเด็ก เด็ก ทีนั่งกันที่หัวสะพานกว่า 20 คน มากกว่าที่คนแจ้ง สังเกตเด็กที่รวมกลุ่มทั้งเครื่องแต่งการของเด็กผู้หญิงที่เขาสิทธิจะสั้น กางเกงขาสั้น สั้นกว่าปกติด้วยสั้นเสมอขอบกางเกงใน เสื้อที่ใส่ก็แค่เอวลอยจากเอวประมาณหรือสูงกว่าขอบกางเกงประมาณ 3-4 นิ้ว แฟชั่นกำลังฮิตของเด็กสมัยนี้เสื้อผ้าน้อยชิ้น คอเสื้อก็แค่กว้างมองเห็นเนินอกของเด็กน้อย เด็กผู้ชายก็แค่ใส่เสื้อกางเกงขาสั่น เสื้อคอกลม แต่มีสัญลักษณ์แห่งความท้าทายฮอร์โมนทางเพศเท่านั้น ทุกคนไม่ได้สนใจคนที่เดินผ่านไป-เดินผ่านมา
เมื่อได้ข้อมูลจากการสำรวจ และคลิปผู้แจ้ง ครูเองได้นำข้อมูลทั้งหมดคุยกับบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร โดยด่วนว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะเกินความสามารถของโครงการครูข้างถนน แต่ยินดีที่จะเป็นกระบวนการหนึ่งในการเก็บข้อมูลและศึกษา พร้อมถึงการศึกษาประวัติเด็กและประวัติครอบครัวของเด็กในการทำงานด้วยกัน
จากการทำงานของโครงการครูข้างถนน ในช่วงแรกของ ปี 2561 เป็นปรากฎการณ์ที่ชัดเจนคือกลุ่มเด็กเร่ร่อนวัยรุ่น ซึ่งกำลังเป็นความท้าทายของคนทำงานด้านนี้ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนพัฒนาเอกชน ว่าจะหาแนวทางช่วยเหลือและการทำงานกับเด็กกลุ่มอย่างไร