ห้องเรียน ข้างถนน วิจัยเชิงคุณภาพ(ตอนที่ 3)
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ครูคะกลุ่มพวกเราเป็นนักศึกษาปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยากลงพื้นที่และขอสัมภาษณ์ กรณีศึกษา เพื่อเป็นตัวอย่างในการเรียนวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นวิชาหนึ่งในการเรียน
กลุ่มของพวกเราได้พยายามโทรหาทั้งหน่วยงายภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ทุกหน่วยงานแนะนำมาที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มีอยู่องค์กรหนึ่งแนะนำชื่อ ครูจิ๋ว งานครูข้างถนนมาเลย แต่พยายามประสานงานกับครูโดยตรงไม่ได้ เพราะครูไม่อยู่มูลนิธิฯส่วนใหญ่อยู่พื้นที่กับงานประชุมเสียมากกว่า
จึงตัดสินใจโทรเข้าหาสำนักงานของมูลนิธิฯ เริ่มที่จะนำสิ่งของมาให้ แล้วขอสัมภาษณ์เด็กที่เคยเร่ร่อนมาก่อนสักหนึ่งกรณี เจ้าหน้าที่พูดชัดเจนว่าไม่อนุญาตในการให้สัมภาษณ์เด็ก ถ้าเป็นกรณีนี้ขอให้ลงพื้นที่กับครูจิ๋วดีกว่า และให้เบอร์โทรศัพท์โดยตรง
ทางคณะของพวกเราจึงประสานงานกับครูจิ๋ว ครูบอกว่าก่อนจะลงพื้นที่ ขอให้มีการพูดคุยและรู้เรื่อง งานของครูข้างถนน ซึ่งมาร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ที่ขอสัมภาษณ์ถึงกระบวนการทำงาน และการสื่อสาร การขับเคลื่อนงานของเด็กเร่ร่อนอย่างต่อเนื่องชัดเจน และเป็นรูปธรรม ซึ่งขอสัมภาษณ์อัดเป็นวีดีโอเสนองานสัมมนา จำนวน 45 นาที จึงนัดพูดคุยให้ในวันพุธ แต่มีสองคณะนะ
คณะของพวกเรามีสี่คน พอดูข้อมูลจากครูจิ๋วแนะนำ โครงการครูข้างถนน คณะของเราขอลงพื้นที่ภาคสนามด้วย อยากลงไปพบครอบครัวของเด็กที่ใต้ทางด่วน ว่ากว่าครูจิ๋วจะได้มีโอกาสทำงานกับพวกเขาได้ใช้เวลากว่ารวมสองปี ไม่ง่ายเลยที่เขาจะให้เข้าถึงตัวเขาได้ โดยเฉพาะประวัติของครอบครัว แล้วพวกเขาเองก็เลือกที่ใช้ใต้ทางด่วนเป็นที่หลับนอน แล้วยังเผื่อแผ่จิตใจโอบอ้อมอารีไปยังเด็กเร่ร่อนวัยรุ่นกลุ่มอื่นๆอีก
เมื่อถึงวันนัด พวกเราคณะนักศึกษา ได้เดินทางกันมาถึงก่อนเวลา แต่พยายามทำตัวไม่ให้ตื่นเต้น แต่งตัวแบบสบาย เตรียมอาหารแห้งพร้อมขนมมาให้ครอบครัวนี้จำนวนหนึ่ง แต่ในใจก็นึกว่าเขาจะพูดคุยกับพวกเราไหม พวกเราเป็นนักศึกษาเป็นนักธุรกิจไม่เคยลงงานภาคสนามเลย ว่างตัวไม่ถูกว่าจะทำอย่างไร
ทุกคนเก็บอาการอย่างมาก เพราะให้ขณะที่เรียนงานวิจัยเชิงคุณภาพก็แค่นั่งสัมภาษณ์คนแล้วก็จบ แล้วก็เสร็จเอาข้อมูลไปให้อาจารย์ประจำรายวิชาก็จบ คิดครั้งแรก
พอมาพบครูจิ๋วในพื้นที่ วันนี้ครูแต่งตัวได้รองเท้าหุ้มส้น ใส่เสื้อเป็นชุดเรียบร้อยมีสูทอีกตัว แต่พอครูพบพวกเราครูถอดสูทออก แล้วบอกว่าวันนี้มีประชุมเรื่อง การจดทะเบียนการเกิดเด็กทุกคนในประเทศ เพื่อเป็นตัวอย่างในการทำงาน เพราะครูสู้เรื่องเหล่านี้มาหลายปีแล้ว ถึงครูไม่ได้ไปเสนอแนะนโยบาย ที่เป็นนโยบายในปัจจุบัน สิ่งหนึ่งที่เห็นคือการนำปฏิบัติให้เป็นจริง ความจริงในภาคสนามไม่เคยเป็นจริงตามนโยบาย
ถามคนทำงานก็ต้องหาแนวทางให้กรณีศึกษา โดยเฉพาะเด็กได้รับประโยชน์สูงสุด เพราะเด็กจะเป็นตัวแปรสำคัญ เมื่ออายุครบเกณฑ์เข้าเรียน เด็กได้มีโอกาสเข้าเรียน เห็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
เมื่อออกเดินก้าวเท้าเข้าสู่รางรถไฟ เสียงพี่คนหนึ่งบอกว่าตอนเด็ก เด็ก ฝันอยากมาเดินทางรถไฟจนอายุ ห้าสิบกว่าเพิ่งจะได้มาเดิน ฝันเป็นจริง แต่ทำไหมรางรถไฟที่นี้สกปรกแบบนี้ จึงชี้ให้เห็นว่า บ้านเรือนที่ปลูกข้างรางรถไฟ ทิ้งทั้งน้ำเสียที่ล้างสิ่งของมีกลิ่นคาว เศษอาหารทั้งเศษไก่ ปีกไก่ เศษหมู เศษผัก รวมทั้งอุจจาระ ปัสสาวะ ก็ลงที่รางรถไฟ รวมไปถึงเศษถุงพลาสติก เศษข้าวที่บูดแล้ว รางรถไฟแทบจะเป็นที่ทิ้งขยะตลอดที่เดิน
รางรถไฟก็ยังเป็นสถานที่เล่น ของเด็กอยู่ดี
หมอนรถไฟ เขาว่างไว้ห่างมาก ในแต่ละก้าวที่ก้าว ดูเหมือนจะก้าวแบบยาว พวกเราสูงอายุ ก้าวพลาด แต่ถ้าก้าวตามหมอนที่ว่างไว้อย่างนี้ มาหยุดยืนได้ประมาณสิบกว่าก้าวก็เล่นเอาเหนื่อยหอบกันเลย แต่ดูเหมือนครูจิ๋วหิ้วของก็หนักแต่เดินสบายมาก
ครูจึงหันไปบอกว่าเดินทุกอาทิตย์ มาทุกอาทิตย์ แต่แรกก็เหนื่อยเหมือนกัน แต่ปัจจุบัน เดินมาจนชินไปแล้ว
หลังจากนั้นพวกเราลงจากหมอนรถไฟ ก้าวเท้าลุยไปที่กองขยะเต็มไปหมด มองแล้วมันเหมาะที่จะเป็นกองขยะมากกว่าจะเป็นที่อยู่ของคน ระหว่างมีน้ำขัง เจ้าของที่พักเอา ก้อนหินใหญ่มากวางเป็นทางเดินกว่า 15 ก้อน มีทั้งก้อนเล็กและก้อนใหญ่ แต่ถ้าก้าวพลาดมีหวังที่จะลงโคลนทันที ทุกคนที่เดินลงมาเดินแบบต้องมีสมาธิ ไม่อย่างได้เอาโคลนไปฝากที่บ้านแน่นอน
ขึ้นบันไดที่พักที่เป็นต่อมอ มีบันไดที่พาดไว้จำนวนหกขั้น แต่ต้องใช้วิ่งเหมือนต่ายราวบันไดลิงขึ้น ต้องน้อมตัวตามบันได มืออีกข้างต้องจับบันไดขึ้น เมื่อขึ้นไปแล้วเห็นครูถอดรองเท้า เพราะเจ้าของบ้านเอาเสื่อมาปู เป็นที่นั่ง ทีโซฟาที่พังแล้วว่างไว้เป็นวงกลมจำนวนสามตัว เหมือนเป็นห้องรับแขก
คณะของพวกเรา ได้สัมภาษณ์แม่อุ้มอายุ 33 ปี มีลูกเล็ก จึงเขาตอบเสียงดังฟังชัด เขาเลือกในการที่จะมาอาศัยอยู่ที่นี้ ว่า เขาต้องการที่จะลดค่าใช้จ่าย เพราะสามีทำงานคนเดียวเป็นยามวันละ 450 บาท เลี้ยงคนในครอบครัวกว่า 7 คน เงินที่ได้มาแค่พอเป็นอาหารเลี้ยงคน
ต้องเสียค่าต่อไฟฟ้ามาที่พักตอนนี้ แค่ไฟดวงเดียว ทางเจ้าของบ้านคิดเดือนละ 800 บาท ซึ่งเป็นรายจ่ายแน่นอน
ค่าน้ำที่ใช้กิน ใช้อาบ ขวดใหญ่ ขวดละ 10 บาท แล้วต้องออกไปกรอกหิ้วมาใช้ ไม่อย่างนั้น น้องแป้งจะอาบน้ำที่ไม่สะอาด เพราะเพิ่งเกิดมายังไม่มีภูมิต้านทานโรค
ค่าอาบน้ำสำหรับสามีและลูกน้องปอ ต้องเสียเดือนละ 200 บาท เจ้าของห้องที่คุณกรและน้องปอไปใช้ เขาคิดคนละ 100 บาท แล้วหิ้วน้ำมาตามที่มีแรง ให้แม่อุ้มอีกหนึ่งถัง การอาบน้ำก็แค่วันละหนึ่งครั้งเท่านั้น ทุกคนต้องประหยัด ไม่มีอะไรฟรีในพื้นที่แห่งนี้ เสียเงินทุกอย่าง แม้แต่จะอุจจาระยังต้องเสียเงิน
พวกเราก็ซักต่อว่าจะอยู่ตรงพื้นที่อีกนานแค่ไหน แม่อุ้มตอบว่าคงนาน เพราะต้องประหยัดเงินที่ได้มา และที่สำคัญ ต้องการดูแลลูกชายคนโตอีกสองคน เพราะถ้าเช่าบ้านเดือนละ 3,000 บาท ค่าน้ำค่าไฟ ต่างหาก แล้วที่นอนก็นอนได้เพียงสี่คนพ่อแม่ลูกอีกสองคน แล้วคนอื่นๆจะเข้าไปอยู่อย่างไร เพราะลูกชายคนโตสองคนก็อยากให้เขานอนตรงที่ฉันมองเห็น ถึงจะมีลูกสะใภ้อีกสองคนก็ช่างเถอะ เพราะว่ากลางคืนเห็นเขานอนกันอยู่ก็อุ่นใจ มั่นใจว่าลูกไม่ต้องกลัวว่าไปทำความผิด ฉันกลัวที่สุดคือลูกถูกจับ
ใครจะว่าอย่างไรก็ช่างเขาเถอะ ความเป็นแม่ของฉัน ฉันก็ทำตามที่ฉันทำได้ ให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน ไปไหน กินข้าวกันแล้วหรือยัง เห็นว่าจะอยู่ไม่ถูกจับไป ความเป็นแม่ก็โล่งใจไปส่วนหนึ่งแล้ว
คำถามต่อ แล้ววางแผนอนาคตลูก (น้องปอ) ตอนนี้น้องปออายุ 6 ปี ไว้อย่างในฐานะของพวกเราก็คือแม่คนทุกคน เสียงแม่อุ้มเครือๆ นิดหน่อยว่าต้องการให้น้องได้เรียนหนังสือ ตอนนี้ก็รอว่าครูจิ๋วจะพาไปสมัครเรียนเมื่อไร ครอบครัวของฉัน ได้ครูเขาช่วยอย่างมาก ตั้งแต่ พาไปทำบัตรประชาชน ค่าคลอดลูก อุปกรณ์เด็กอ่อน อาหารการเงินของแต่ละสัปดาห์ อุปกรณ์กระติกน้ำ หม้อข้าว แล้วยังมีค่ารักษาพยาบาล ฉันใช้ชีวิตครอบครัวเร่ร่อนมาหลายปี ก็เพิ่งเห็นครูจิ๋วที่ช่วยครอบครัวฉันอย่างจริงใจอย่างมาก อะไรที่พอช่วยได้ครูเขาจะช่วยทันที แต่อะไรที่ช่วยไม่ได้ ก็จะบอกว่าช่วยไม่ได้หรือประสานงานกับหน่วยงานอื่นจ๊ะ
ในแต่ละวันทำอะไรบ้าง แม่อุ้มบอกว่า ตื่นนอนก็จะรีบไปกดน้ำมาก่อน ก่อนน้องแป้งตื่น อย่างน้อยก็ต้องห้าถัง เอาไว้อาบลูกคนเล็ก หุงข้าว คนอื่นๆก็เพียงแค่ล้างหน้าเท่านั้น ส่วนเด็กคนไหนอยากอาบน้ำก็ต้องไปเสียเงินเอาเอง น้องปอจะพยายามให้ตื่นพร้อมพ่อไปอาบน้ำกับพ่อ ตัวเองก็จะหุงข้าวกับข้าวเท่าที่มีส่วนมากก็จะต้มยำปลากระป๋องใส่มาม่ากินเป็นข้าวเช้า ก่อนสามีไปทำงานเป็นยาม
เมื่อเสร็จแล้วงานทุกอย่างก็จัดการอาบน้ำให้นมน้องแป้ง แล้วก็นอนหลับ เพราะด้วยเหตุในช่วงกลางคืนน้องแป้งไม่ค่อยหลับจะตื่นกันอีกครั้งก็ช่วงสองหรือบ่ายสาม เตรียมหุงข้าวอีกรอบ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องหุง วันนั้นก็ไม่ต้องกิน เด็กคนนั้นหาเงินมาได้ก็จะแบ่งปัน งานที่ทำรับจ้างทั่วไป ขอเงิน นักท่องเที่ยวกลางวันก็มี ทั้งเด็กและแม่อุ้มต่างพึงพอใจในชีวิตที่เป็นเช่นนี้
แม่อุ้มพูดต่อว่าชีวิตเป็นอย่างนี้มาหลายปีแล้ว บางหน่วยงานมาถ่ายรูป มาเอาเอกสารแล้วก็หายไปเลยไม่เห็นมีใครสักหน่วยงานหนึ่งที่ลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ช่วยเหลือจริง เห็นมีแต่ครูจิ๋ว เอาอาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็น หิ้วนา ขนม มาให้เด็กอย่างสม่ำเสมอ
คณะนักศึกษาใช้เวลากับครอบครัวนี้ 3 ชั่วโมง ให้บทเรียนอย่างมาก เมื่อมานั่งคุยกันกับครูจิ๋ว สิ่งที่ต้องทำประเด็นแรก
(1)ขอบคุณทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เป็นประการแรก และขอบคุณครูจิ๋ว ที่ทำให้พวกเราทุกคน ได้รู้จักงานวิจัยเชิงคุณภาพอย่างแท้จริง เพราะเราโทรไปประสานหน่วยไหน ไม่ให้พวกเราได้ลงไปสัมภาษณ์หรือพูดคุย ของจริงอย่างนี้ บางหน่วยงานกระแทกโทรศัพท์ใส่ด้วยซ้ำ
(2)ขอบคุณข้อมูลต่างๆที่ได้มีการแลกเปลี่ยนการพูดคุย เพราะเป็นข้อมูลที่เป็นจริง เป็นของจริง และได้ลงพื้นที่จริง จริง ไม่ใช่ข้อมูลมือสองที่ทางหน่วยงานทำไว้แล้ว
(3)หายกลัวคนเร่ร่อน ครอบครัวเร่ร่อน มีอคติมาตลอดว่าคนเหล่านี้น่ากลัว มีความรังเกียจ พวกเขา แต่วันนี้เขาสอนพวกเราอย่างมาก และต้องขอบคุณครอบครัวอุ้มและเด็ก เด็ก ที่ได้เอาประวัติครอบครัวมาให้พวกเราได้ศึกษา หรือทำให้พวกเราจบในวิชาวิจัยเชิงคุณภาพอย่างชัดเจน พวกเขายินดีต้อนรับคนแปลกหน้าอย่างพวกเรา หันมาขอบคุณครูจิ๋วอีกครั้งที่เป็นสะพานเชื่อมข้อมูลในภาคสนามเป็นสู่งานวิชาการ
(4)เห็นความรัก ความผูกพันของพ่อแม่ลูก แม้จะจนก็ของให้ลูกอยู่ในสายตา ซึ่งเทียบกับพวกเรา พวกเราแทบไม่มีเวลาอยู่กับลูกของตัวเอง เพราะเอาเวลาทั้งหมดไปทำงานในหน้าที่ เสาร์-อาทิตย์ ก็ต้องไปเรียน เรียนเพื่อตนเองจะได้ก้าวทันเพื่อน แต่ไม่ได้มองหรือหันมาเห็นคนด้อยโอกาส ขอบคุณที่สอนบทเรียนให้กับพวกเรา โดยเฉพาะคำพูดของแม่อุ้ม "ของในลูกทุกคนอยู่ในสายตา" ยอมที่จะนอนบนต่อมอ เพื่อให้ลูกอีกสองคนอยู่ในสายตา
(5)การเรียนรู้ที่ครูบอกว่าคำตอบอยู่ที่กรณีศึกษา อย่าให้อะไรเขาที่เขาไม่ได้เรียกร้อง มันไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับเขา เขาบอกว่าตอนนี้เขาต้องการให้น้องปอได้เรียน พวกเราดูง่ายมากเลย แต่สำหรับพวกเขาเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะเขาบอกว่าไม่มีเงินซื้ออุปกรณ์ทุกอย่างต้องพึ่งครูจิ๋ว
(6)เห็นความทุ่มเทของครู เขาไว้วางใจครูมาก น้องปอตื่นเต้นมากที่ครูบอกว่าจะพาไปโรงเรียน พวกเราทุกคนทึ่งครูคะ ทุ่มเทแบบสุด สุด แต่ครูกับบอกพวกเราว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้น ต้องขอบคุณกรณีศึกษาทุกคน ทำให้ครูมีโอกาสทำความ และได้เรียนรู้อีกบทเรียนหนึ่ง
พวกเราต้องขอบคุณที่เปิดโอกาสให้พวกเราทุกคนได้เรียนงานวิจัยเชิงคุณภาพอย่างลึกซึ้งมาก เปิดโอกาสให้เราได้สัมผัสสิ่งที่มีตัวตนจริงๆ ของจริงที่ไปต้องการเสนอข่าวแบบการบรรยาย ทำให้พวกเราโชคดีกว่าพวกเขามาก แต่ชีวิตของพวกเขาทำให้พวกเราต้องกลับไปทบทวนตัวเอง ทั้งความคิดและการปฏิบัติตัวกับลูกของเรา
ขอบคุณค่ะ ขอบคุณ