อิ่มท้องแค่วันละ...มื้อ
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
คุณอุ้ม ครูจิ๋วไปพบวันนี้นะ กำลังขนของขึ้นแท็กซี่ ช่วยให้เด็กมาแบกข้าวสารด้วยนะ มาสองคนนะ คนเดียวแบกไม่ไหว จะมีเดฟ กับ ก้อย ที่เป็นครอบครัวชาวกัมพูชามาอาศัยใต้ทางด่วนเหมือนกัน สองคนผัวเมียอายุประมาณ 20 ปี โดนจับทาง ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองปล่อยมา ยังไม่มีงานทำ ไม่มีเงิน จึงมาอาศัยอยู่ อาศัยกินก่อน ประมาณสองอาทิตย์ ครูจะเตรียมข้าวสาร มาม่า จำนวน 15-20 ซอง (ถ้ามีบริจาค)มาก ปลากกระป๋องจำนวน 2 แพ๊ค (20 กระป๋อง) หมี่เส้นขาว จำนวน 1 ห่อใหญ่ นำปลา สองขวด น้ำมันพืช 2 ขวด ขนมที่บริจาคมา มากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่จะมี บางสัปดาห์ทีไข่บริจาคก็เป็นสอง-สามแผง สำหรับ สองครอบครัวที่เป็นหลักในการทำอาหาร มีเด็กเร่ร่อนวัยรุ่นที่เวียนมากินด้วย จำนวน 9 คน และคนครอบครัวสองครอบครัวอีก 7 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 16 ชีวิต
ตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 เป็นต้นมากที่สามารถเข้าไปพูดคุย กับครอบครัวที่อาศัยใต้ทางด่วน ด้วยความเป็นมิตรและความจริงใจในการทำงานกับพวกเขา ครูได้เข้าไปทางคุณอุ้มที่เป็นผู้หญิงที่เป็นแม่เด็ก สี่คน จนเกิดความไว้วางใจ และการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบเพื่อให้เขาได้เข้าถึงสวัสดิการสังคมเริ่มตั้งแต่
(1)พาตัวคุณอุ้มไปทำบัตรประชาชนก่อน เพราะได้ทำบัตรประชาชนหายมากว่าสามปี ครูเองพาไปสำนักงานเขตปทุมวัน และเซ็นรับรองเองว่าพบคุณอุ้มและทำงานกับครอบครัว ทำให้คุณอุ้มได้บัตรประชาชนว่าเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์แบบ
(2)กรณีที่คลอดน้องแป้ง ดำเนินการขอสังคมสงเคราะห์บางส่วน และจ่ายบางส่วน และขอให้ใช้กรณีฉุกเฉิน เพราะกรณีคุณอุ้มไม่ได้ฝากท้อง เด็กเกิดมาครบสมบูรณ์และนำหนักได้มาตรฐาน
(3)แนะนำในการใช้สิทธิเงินอุดหนุนของเด็ก เพราะครอบครัวมีรายได้หาเลี้ยงคนเดียว เด็กควรได้รับสิทธิเงินอุดหนุน
(4)จัดการซื้อหม้อหุงข้าว กระติกน้ำร้อน จากเงินของคุณมาโนช พุฒตาล พร้อมทั้งเป็นค่าพาหนะและค่ายากรณีน้องแป้งป่วย
(5)เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้เสื้อผ้าของเด็ก ทางครูหามาให้เท่าที่มี บางอย่างก็ไปขอแบ่งปันจากหน่วยอื่นมา เพื่อให้เด็กได้ใช้
การทำงานอย่างต่อเนื่องและความจริงใจของครู พร้อมทั้งได้เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมา ทำให้ครูได้ข้อมูลบางส่วนว่าทั้งเด็กที่อยู่ใต้ทางด่วน บางวันไม่ได้กินข้าว พร้อมทั้งครอบครัวนางอุ้มด้วย บางวันก็ได้กินข้าวแต่ต้องแบ่งกันทุกคน
คุณอุ้มได้บอกว่าบางวันหิวจนตาลาย ได้แต่กินน้ำลูกท้อง ครูมาสัปดาห์ละครั้งที่หิ้วนม ขนม มาให้ วันนั้นอิ่ม โดยแบ่งกันอย่างถ้วนถึง (ครูสังเกตจากการแบ่งปัน)
ครูจึงปรึกษาว่า ถ้าครูเอาข้าวสารมาให้พร้อมสิ่งของเครื่องครัวเท่าที่จำเป็น จะทำอาหารกินกันเองไหม
คนที่ส่งเสียงมาก่อนใคร คือ น้องเดฟ (เดฟเป็นเด็กที่ออกมาจากสถานสงเคราะห์ สองปีแล้ว ที่มาอาศัยกับครอบครัวของอุ้ม เพราะเป็นเพื่อนกับลูกชาย ทำตัวเหมือนเป็นลูกชายคนหนึ่งของอุ้ม ดูแลน้องสาวสองคนมากกว่าพี่แท้ๆ เสียอีก) บอกว่าผมจะทำอาหารเอง ผมขอมีอาหารกินอิ่มท้องวันละมื้อก็ดีแล้วครู
เวลามันหิว ทำอะไรก็ได้ในทางที่ผิดกฎหมาย พวกผมโดนตำรวจเชิญตัวไปโรงพักบ่อยมาก แต่พ่อกร (สามีของคุณอุ้ม ทำงานเป็นย่าม เพราะ จบ ม. 3 อ่านออกเขียนได้คนเดียว เป็นคนที่มีรายได้คนเดียว เพราะเป็นเงินเดือนประจำ พอมีเงินก็จะมาแบ่งปันเด็ก แล้วให้คุณอุ้มเป็นคนจัดการในการใช้เงิน) มีรายได้วันละ 350 บาท อย่างไรก็ไม่พอเพราะหลายปากหลายท้อง เวลามีกินก็กินด้วยกัน เวลาที่อดก็อดด้วยกันหมดทุกคน
พ่อกรของเด็ก ทั้งหมดเก้าคน จะเกรงใจกันอย่างเห็นได้ชัด พ่อกรจะสั่งทุกคนห้ามไปยุ่งกับยาเสพติด ห้ามลักขโมยโดยเด็ดขาด พ่อกรจะบอกเด็กๆ ว่า พวกเราทุกคนต้องฝึกซื่อสัตย์สุจริต เมื่อโตกว่านี้เวลาที่ทำงานได้ โดยเฉพาะเป็นยาม บริษัทต้องการคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริตมาเป็นประการแรก ต้องฝึกความอดทน อดกลั้นด้วย ไม่อย่างนั้นเวลาเกิดเรื่องพ่อกรจะไม่ช่วยเหลือใคร ตัวใครตัวมัน แค่ดูแลลูกสาวสองคนก็หนักแล้ว
คำสอนแบบนิ่มๆ เพราะพ่อกรเป็นคนจังหวัดน่าน ใจเย็น สุภาพ กับทุกคน เป็นคนที่มองโลกในแง่บวก รักความสะอาด แต่เหนื่อยมากจากการทำงานก็ต้องนอน เพราะบางครั้งต้องควงกะเข้าเวรแทนคนอื่นที่ไม่สะดวก ส่วนตัวที่หาเงินมาได้พ่อกรจะใช้น้อยมาก ส่วนมากหมดไปกับเด็ก เด็ก ที่ต้องแบ่งปันกัน คือการมีอาหารกิน
น้องเดฟรับปากครู ทั้งเป็นคนที่ขนของ แบกของ เป็นคนที่ทำอาหารเผื่อทุกคน สิ่งที่เวลาครูไปเยี่ยม ไปทุกสัปดาห์ ส่วนข้าวสารจะนำไปให้สองสัปดาห์ต่อ 15 กิโล สังเกตเห็นการหุงข้าวไว้เต็มหม้อหุงข้าวขนาดลิตรครึ่ง มีการต้มมาม่าใส่ปากกระป๋องบ้าง เห็นซื้อผักมาผัดพริกปลากกระป๋อง ตมเส้นหมี่กับปลากระป๋อง ต้มเส้นหมี่ใส่ไข่ ทอดไข่เจียว มีบางครั้งก็กินข้าวสวยกับน้ำปลาที่ครูให้มา ครูก็จะคุยไปเรื่อย เรื่อย
เดฟบอกว่าเมื่อท้องอิ่ม ผมก็ทำงานในช่วงกลางคืนเข็นผัก เข็นเสื้อผ้า แต่ช่วงนี้ แม่ค้าให้เงินไม่มาก บางคืนทั้งคืนได้แค่ห้าสิบบาท ซึ่งมันไม่พอที่จะซื้ออะไรกิน หรือจะกินขนมก็จะคิดถึงน้องเล็กสองคนก่อน เพราะแม่อุ้มต้องดูแลน้องแป้งคนเดียว บางคืนได้เงินมาเพียงแค่ซื้อน้ำแข็งใส่กระติก อาหารการกินก็อาศัยจากข้าวของที่ครูแบ่งปันมาให้
มีแม่ค้าปากซอย ซึ่งไม่ชอบเด็กกลุ่มนี้เลย เพราะเด็กจะชอบส่งเสียงดังเวลาเป็นเล่นฟุตบอลฝั่งตรงข้าม เวลาเห็นครูนำอาหารข้าวของมาให้เด็ก แม่ค้าบอกว่าดีแล้วครูให้เด็กพวกนี้อิ่มท้องวันละมื้อก็ยังดี ไม่ต้องไปขอทาน หรือทำงานผิดกฎหมาย ตอนแรกไม่ค่อยเข้าใจเด็กกลุ่มนี้ ตอนนี้เข้าใจแล้วเพราะลูกชายก็กำลังวัยรุ่นเหมือนกัน ไม่เอาอะไรเลยเล่นแต่เกม ทะเลาะกับตายาย พี่น้องไปหมด เพราะจะเอาเงินไปเล่นเกม แต่เด็กกลุ่มนี้กลางคืนทำงานบ้าง เดินเล่นบ้าง กลางวันก็มานอนใต้ทางด่วนไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ดีแล้วครูให้พวกมันอิ่มท้องเข้าไว้
คุณยายเจ้าของห้องส้วม เดือนละ 100 บาท เดินเข้ามาคุยกับครูบอกว่าทำบุญ ทำทานกับเด็กกลุ่มดีแล้ว เด็กกลุ่มนี้ให้ไปไหนมันก็ไม่ไปมันห่วงแม่อุ้มกับพ่อกรของพวกเขานะ บางคนก็เรียกพี่ เพราะสองคนผัวเมียเขามีอะไรก็แบ่งปันเด็กๆ เด็กไม่มีที่นอนก็มานอนบนตอม่อด้วยกัน มีอะไรกินก็แบ่งหมด ไม่ว่าจะต่างด้าวหรือคนพเนจร แต่คนไร้บ้านไม่ได้มานอนที่นี่ เพราะคนในชุมชนไม่ยอม แต่สำหรับเด็กและครอบครัวนี้ชุมชนเห็นมาหลายปีกันแล้ว เขาเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของชุมชนไปแล้ว เฝ้าระวังไม่ให้ไปก่ออาชญากรรม แต่เด็กไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยา มีบ้างเรื่องเพศสัมพันธ์ เพราะมีสามสาว (น้องเมย์ เป็นเด็กชาวกัมพูชาที่โตมาจากซอยนานา น้องฟ้า เป็นเด็กพม่าที่โตมาจากซอยนานา เหมือนกัน สองสาวนี้น่าเป็นห่วงสุด เพราะอ่าน ไม่ออก เขียนไม่ได้ สำหรับน้องมดเป็นเด็กสาวที่มาจากชุมชนโค้งรถไฟยมราช) หลายคนเป็นห่วงเพราะไม่มีการป้องกันโรค
แม่ค้าขายส้มตำ ที่เป็นอาสาสมัคร เคยให้อาหารต้มบ้าง ส้มตำบ้าง ข้าวเหนียวบ้าง พอมีอะไรที่เหลือก็จะเดินเอาเข้าไปให้เด็ก เวลาที่เด็กๆ มีเงินก็จะออกมาซื้ออาหารร้านนี้เป็นประจำ บอกว่าครูทำอย่างนี้ดีแล้ว คืออย่างไรให้มีข้าวสวยติดหม้อไว้ก่อน ให้เด็กอิ่มท้องไว้ก่อนวันละครั้งก็ยังดี เมื่อท้องอิ่ม อารมณ์ของเด็กก็จะดี สนุกสนาน ร่าเริง ด้วยการขี่จักรยานของพวกเขา
ครั้งนี้เริ่มต้นมาจากที่คุณมาโนช พุฒตาล ซื้อหม้อหุงข้าวให้ ครูจึงวางแผนกับคุณอุ้ม กับพ่อกร ในการที่ครูจะแบ่งปันข้าวสารมาให้หุง ส่วนกับข้าวก็ทำกันเอง ตามที่พอจะหาได้ ซื้อผักซื้อปลามาบ้าง ดีกว่าการกินข้าวกล่อง ราคาแพงมาก และที่สำคัญเด็กทั้งหมดได้กินอาหารที่อิ่มวันละหนึ่งมื้อ โดยที่ท้องไม่ต้องร้องหาความหิว