ห้องเรียน...ข้างถนน (ตอนที่ 1)
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
งานโครงการครูข้างถนน มีการเปลี่ยนแปลงจากงานที่เริ่มต้น ซึ่งกว่าสามสิบปี จะมีเด็กเร่ร่อนออกมาเป็นกลุ่มแล้วจะนัดเจอกับครู ณ.สถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ครูก็จะนำอาหาร อุปกรณ์การเรียน นั่งกินนั่งเรียนกันอย่างสนุกสนาน ตลอดจนได้ข่าวจากเด็กเร่ร่อนกันเองในกลุ่มเหล่านั้น เวลานัดกับกลุ่มเด็กก็ต้องไม่มีมติเวลา บางพื้นที่ใช้เวลากลางวัน บางพื้นที่ใช้เวลากลางคืน ในการพบปะ หาทางออกของชีวิตด้วยกัน ตั้งแต่การเจ็บป่วย การถูกจับ การทะเลาะกันระหว่างของกลุ่มเด็กเร่ร่อน บางคนก็หลุดพ้นการเป็นอาชญากรรมข้างถนน มาเป็นครู เพราะเล่าเรียนหนังสืออย่างเป็นเรื่องเป็นราว บางคนกับพบกลับวงจรอุบาท ที่ถอนตัวเองไม่ขึ้น เข้าสถานพินิจ เพราะลักขโมยสิ่งของ จนโตขึ้นมาเป็นทำความผิดครั้งแล้วกระทำอีกจนต้องเอาตัวเองไปอยู่ในเรือนจำ ออกมาการเปลี่ยนแปลงขอสังคมจนจำไม่ได้ กลายมาเป็นคนไร้บ้าน หรือชีวิตไม่มีอะไรแล้ว
สำหรับงานของครูข้างถนนระยะเวลากว่าสิบปีนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง เป็นการท้าทายการทำงานของครูข้างถนนเอง ที่กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่
(1)กลุ่มเด็กเร่ร่อนเอง ซึ่งมีทั้งที่ออกจากบ้านอย่างถาวรใช้ชีวิตอยู่บนถนน หรือใต้ทางด่วน สถานที่รกร้าง รวมถึงกลุ่มเด็กที่ออกจากบ้าน ออกจากชุมชนมารวมกลุ่มกัน เช่น ที่ชุมชนกีบหมู ชุมชนประชาอุทิศ ที่บริเวณวัดลาดพร้าวมีเด็กออกจากบ้านทุกวันมารวมตัวกันที่บ้านที่เก็บขยะ ไม่ยอมไปเรียนหนังสือ และล่าสุดคือเด็กรวมตัวกันที่ใต้สะพานซังฮี้ เป็นเด็กวัยรุ่นทั้งหมดจำนวน กว่า 15 คน มั่วสุมทั้งยาเสพติด และเรื่องเพศ กลุ่มนี้ยังรวมไปถึงกลุ่มเด็กเร่ร่อนวัยรุ่น ครอบครัวเร่ร่อน ซึ่งมีเพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะที่พักเป็นสัดส่วนแพงเกินกว่าจะหาเงินมาจ่ายไว้ จึงใช้ตรอก ซอก ซอย ต่างๆ เป็นสถานที่หลับนอน และส่วนมากเป็นเด็กไทยและคนไทย
(2)กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว จากการทำงานต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 6 ปี ต่อเนื่องที่ลงพื้นที่ กลับพบคนกลุ่มนี้ที่สลับหน้ากัน มีคนที่หน้าเก่า เก่า กลับมาพื้นที่อีกคะ พร้อมกับเด็กน้อย ส่วนที่ครูได้ประมาณงานนำเด็กเอาเรียนในระบบโรงเรียนกว่า 52 คน และเมื่อเรียนจบไปเรียน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กว่าอีก 10 คน จำนวนกว่า 37 ครอบครัว ที่ยุติการออกมาขอทาน จำนวน 33 ครอบครัว เหลืออีก 4 ครอบครัว เท่านั้นที่ยังออกมาบนถนนเป็นครั้งคราว แล้วกลุ่มแม่กับเด็กที่อาศัยในชุมชนอื่นๆ อีกประมาณ50-60 ครอบครัวสลับกันพบเจอตามพื้นที่ต่างๆ ที่ครูเดินบนถนน ตั้งถนนสุขุมวิท ประตูน้ำ มาบุญครอง อนุสาวรีย์ ตลาดสำโรง สิ่งที่พบคือกลุ่มแม่และเด็กคุยกับครูอย่างเป็นกันเอง แต่ละครั้งจะมีเรื่องมาเล่าขาน บอกเล่าเก้าสิบต้องการให้ครูได้รับฟังเรื่องราวของพวกเขาเหมือนตำราเรียนที่มาจากตัวกรณีศึกษา ซึ่งไม่ได้ผ่านจากตำราเรียนในวิชาใด แต่เรื่องของพวกเขามาจากประสบการณ์จริง
(3)กลุ่มที่แสดงความสามารถ กลุ่มนี้ครูจะเน้นไปที่กลุ่มนักเรียน นักศึกษามากกว่า เน้นการพูดคุย การได้ซึ่งบัตรผู้แสดงความสามารถ ที่ต้องไปขึ้นทะเบียน ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 และแสดงคามสามารถให้คณะกรรมการได้ดู ว่าเป็นผู้แสดงความสามารถได้จริง และมีความสามารถจริง จริง ในการเป่าขลุ่ย ในการเล่นไวโอลิน การเล่นระนาดเอก การเป่าเมาท์ออแกน หรือมาคนเล่นมายากล
สำหรับอีกหลายกลุ่มเป้าหมายด้วย ตั้งแต่กลุ่มผู้สูงอายุ(ทั้งขายของ ขอทาน ) กลุ่มคนพิการ(กลุ่มที่แสดงความสามารถ) กลุ่มคนไร้บ้าน กลุ่มที่ป่วย (ป่วยจิตเภท ป่ายโรคเอดส์ ป่วยโรคเรื้อน) ซึ่งต้องทำด้วย แต่ใช้กระบวนการเรียนรู้เพราะความไม่ไว้วางใจ แล้วแก้ปัญหากันที่ละเรื่อง สิ่งที่ให้พวกเขาคือการกินอิ่มเมื่อเห็นหน้าครู เปิดประตูความประทับใจ ความไว้วางใจ ความต้องการให้ครูช่วยก็จะบอกครูทีละเรื่อง
งานบนถนนไม่ง่ายและไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่อยากทำ อยากเรียนรู้ แต่ต้องใช้ “ใจกับใจ”
กระบวนการเดินบนถนน ซึ่งครูข้างถนนต้องลงพื้นที่ เพราะงานอยู่ที่ถนน จึงมีนักศึกษาหลายกลุ่มที่อยากลงพื้นที่กับครูข้างถนนด้วย สำหรับครูเองต้องบอกว่าขอบคุณ กลุ่มนักศึกษา กลุ่มอาสาสมัคร ในการลงพื้นที่ด้วยกัน
(1)ครูได้เพื่อนลงทำงานด้วยกันในพื้นที่ เพราะครูข้างถนนมีเพียงคนเดียวซึ่งไม่ทันกับสิ่งที่ต้องทำช่วยเหลือกรณีศึกษาจำนวนมาก เวลาลงพื้นที่กลางคืน หรือในช่วงเย็น ได้เพื่อนเรียนรู้ในการทำงานด้วย ได้แรงของนักศึกษาที่ช่วยหิ้วของที่ลงในพื้นที่
(2)นักศึกษาได้เห็นของจริงที่อยู่บนถนน สิ่งเหล่านี้ นักศึกษาเห็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งกลุ่มเด็กเร่ร่อนไทย กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้แสดงความสามารถ สัมผัสทั้งกายและใจ ได้สัมภาษณ์จากปากของกรณีศึกษา ได้เห็นสภาพแวดล้อมของเด็กที่ต้องมาอาศัยนอนบนถนน บางกลุ่มได้เห็นสภาพที่อยู่อาศัยของเด็กอย่างชัดเจน
(3)เมื่อลงพื้นที่แล้ว ครูจะเปิดห้องเรียนทันที่ ถามความรู้สึกของน้องนักศึกษา และต้องการอะไรเพิ่มเติมหรือสัมภาษณ์การทำงาน บางกลุ่มต้องการข้อมูลข้อมูลของแต่ละกรณีศึกษาเพิ่มเติม สิ่งนี้สำคัญสุด เพราะครูเองก็อยากประเมินว่าเมื่อนักศึกษาเห็นของจริงมีอะไรที่อยากสะท้อน
นักศึกษาแต่ละคน แต่ละกลุ่มรู้จักงานของครูหลากหลาย บางคนรู้จักการเข้าไปอ่านงานที่ครูถอดบทเรียนไว้ในโครงการครูข้างถนน แล้วในเลือกประเด็นที่อยากเรียนรู้ ไปเตรียมข้อมูลประเด็นคำถาม แล้วถกกับกลุ่มเพื่อนกันก่อน แล้วถึงจะลงพื้นที่
ตัวอย่างของนักศึกษา
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2561
เรียนคุณครูจิ๋ว มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
จากที่ได้โทรไปสอบถามข้อมูลทั้งจากมูลนิธิและจากคุณครูจิ๋วนั้น พวกหนูได้จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวโดยระบุหัวข้อตามที่คุณครูจิ๋วต้องการและมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
1.รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
นางสาวณิศรา ประเสริฐประศาสน์ และนางสาวทิพวารี ใบสีทอง เป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 จาก คณะสังคมศาสตร์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์สาขาบริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
2.วิชาเรียนที่ได้รับมอบหมายต่อการปฏิบัติงานในครั้งนี้
เรียนในวิชา Social work and Justice Process สังคมสงเคราะห์ในกระบวนการยุติธรรม สอนโดย ศาสตราจารย์นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล
3.ความประสงค์ที่ต้องการติดต่อมูลนิธิ
สนใจที่จะศึกษาเรื่อง ทุกข์ของแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ในกระบวนการยุติธรรม ประเด็นที่แม่และเด็กเป็นขอทานแต่กลับถูกข้อหาค้ามนุษย์ค่ะ ตามบทความที่คุณครูจิ๋วลงไว้ในเว็บของมูลนิธิเลยค่ะ
(http://www.fblcthai.org/?name=news&file=readnews&id=115 และ http://www.fblcthai.org/index.php?name=news&file=readnews&id=116)
4.เหตุผลที่เลือกเรื่องนี้
เพราะเป็นเคสที่สนใจและตรงกับความต้องการของอาจารย์ผู้สอนที่ได้ระบุธีมเรื่องไว้ว่า เป็นประเด็นที่ถูกลิดรอนสิทธิ หรือ ไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรม รวมถึงจำเป็นที่จะต้องขอลงพื้นที่เพื่อไปสำรวจสถานที่ความเป็นอยู่ และ สัมภาษณ์แม่และเด็กที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพื่อนำมาทำเป็นรายงานและเพื่อนำมาหาแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยาพวกเขาจากเนื้อหาที่เรียนมาค่ะ หลังจากได้เรื่องนี้แล้วจะทำการส่งชื่อเรื่องให้กับทางผู้สอนในวันพุธที่17 นี้ค่ะ และถ้าผ่านการพิจารณาจะติดต่อคุณครูจิ๋วอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าจะศึกษาเคสนี้จริงๆค่ะ หากมีรายละเอียดใดๆเพิ่มเติมอีกหนูจะติดต่อมาอีกครั้งทางอีเมล์นะคะ ขอบพระคุณมากๆเลยค่ะ
เมื่อครูได้เอกสาร แล้วนักศึกษาโทรประสานงานกับครู ทั้งครูและนักศึกษาลงพื้นที่ด้วยกัน ซึ่งนักศึกษาไม่ได้มาด้วยความว่างเปล่า แต่มาพร้อมข้อมูลที่ได้ศึกษา และนักศึกษาได้ลงพื้นที่จริง
ครูจะคุยกับกรณีศึกษาที่ครูลงทำงานด้วยว่าชีวิต ประสบการณ์ของพวกเธอ คือบทเรียนเป็นตำราให้นักศึกษาได้เรียนรู้ กรณีศึกษาเหล่านี้ครูทำงานด้วยอย่างน้อย 8 เดือนถึง 2 ปี และเป็นความสมัครใจของกรณีศึกษาด้วย
สำหรับกรณีเป็นเรื่องความริดรอนเรื่องการถูกจับ อย่างเป็นธรรม จากคำบอกเล่าของกรณีว่า ในชีวิตถูกจับมากว่า 18 ครั้ง ตั้งแต่อยู่บนโรงพักของสถานีตำรวจ แล้วปล่อย โดยไม่มีข้อหาไปนอนบนโรงพักเพื่อเป็นจำนวนคดี อยู่บนโรงพัก 2 คืน 3 วัน กว่า 7 ครั้ง
ตำรวจจับ ส่งฉันกับลูกอยู่ที่ห้องกัก สวนพลู ถูกจับกว่า 7 ครั้งเหมือนกัน บางครั้งก็อยู่ 5 วันส่ง บางครั้งก็ 15 วัน มีเป็นเดือนก็มี เป็นสองเดือนก็มี แล้วแต่การพิจารณา พร้อมกับมีเงินในกระเป๋าเท่าไร ที่จะเป็นใบเบิกทาง ส่งกลับเร็วหรือช้า
ตำรวจท้องที่ (สน. ในพื้นที่ ) กับตำรวจ ปคม. มีสองครั้ง ที่จับในข้อหา “ค้ามนุษย์” แยกแม่เข้าเรือนจำไป 84 วัน ส่งลูกเข้าสถานสงเคราะห์ แต่เมื่อแม่จะไปรับลูกได้ต้องมีเอกสารอีกสามชิ้น คือใบอัยการสั่งไม่ฟ้องข้อหาค้ามนุษย์ ผลตรวจ DNA ว่าเป็นแม่ลูกด้วยกัน และใบเกิดของลูก ซึ่งแม่เด็กหญิงรจนา เอง ไม่มีสักอย่าง ก็ต้องอาศัยครูไปเซ็นรับรองเด็กออกมา
อีกสองครั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติการขอทาน จับ ถูกเชิญเข้าสถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ใช้เวลาครั้งแรก จำนวน 6 เดือน ครั้งที่สองใช้เวลากว่า 9 เดือน มีอาหารให้กินแต่มันกินไม่อิ่มไม่พอกับกรณีศึกษาที่อยู่ในสถานที่แห่งนั้น ยุงเยอะมากกัดเด็กเต็มไปหมด กลางคืนนอนไม่ได้เลย เข้าไปแล้วเสียงสะท้อน อย่าจับเข้าไปเลย
นักศึกษาทั้งสองคนฟังแบบตกใจกับข้อมูลที่พรั่งพลูออกมา นักศึกษาได้แต่บอกว่า ขอบคุณมากที่ครูได้เปิดโลกทัศน์ที่เกิดขึ้นจริง จริง มากกว่าการอ่านคำฎีกา เมื่อศาลพิจารณาแล้ว แต่สิ่งที่เห็น ได้รับรู้ มันยิ่งใหญ่กว่าในตำรา แล้วกรณีศึกษาบอกมาจากประสบการณ์ในกระบวนยุติธรรมของไทย
นักศึกษาเองได้เห็นที่พักอาศัย เดือนละ สามพันบาท ที่ปลูกเป็นเพิง ติดกับรางรถไฟ ล้อมด้วยสังกะสีทั้งหมด ในห้องเล็ก แม่นอนเรียงกับลูกอีกสองคนก็เต็มห้องพอดี ที่นั่งสำหรับครูไปเยี่ยมต้องนั่งกับที่ทำอาหารของครอบครัว เวลาเข้าห้องน้ำ ห้องส้วมต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 100 บาทต่อคน ทุกอย่างในบริเวณนี้เป็นเงินเป็นทองไปหมด เสื้อผ้าก็กองจัดเป็นส่วนสัด เพราะต้องกองรวมกับผ้าห่มและมุ้ง ที่ต้องกางตอนกลางคือ
น้องนักศึกษาเห็นสภาพแล้วบอกว่า คนจนกับกระบวนการยุติธรรมช่างหาความเป็นธรรมซึ่งห่างไกลกันจริง จริง
สิ่งเหล่านี้ ทำให้ครู ต้องเปิด “ห้องเรียนข้างถนน” ได้พบของจริงรู้จากปากของกรณีศึกษา ตัวจริง เสียงจริง ของจริง