banner
อังคาร ที่ 7 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2564 แก้ไข admin

การบริหารจัดการ เด็กที่ติดโควิด-19(เด็กเร่ร่อน/เด็กลูกกรรมก่อสร้าง ตอนที่ 1 )

 


นางสาวทองพูล   บัวศรี(ครูจิ๋ว)

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          หลายคน/หลายหน่วยงาน ว่า ครูจัดการกับเด็กที่ติดโควิดอย่างไร บ้าง  แล้วเด็กที่ติดโควิด-19 ครูเองต้องเผชิญปัญหาอย่างไร  สำหรับการทำงานครูเปลี่ยนวิธีการทำงานรูปแบบไหน  ถึง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง

          ครูเริ่มต้น ตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน  2564  เป็นกลุ่มสาว ที่ไปทำงานบริการ(เสิร์ฟอาหาร รับจ้างล้างจาน  เป็นยามเฝ้าที่ลานจอดรถ  สถานบริการทองหล่อ )  ส่วนมากคือเช่าบ้านอยู่ในชุมชนโค้งรถยมราช  กับ ซอยเพชรบุรีตัดใหม่ ซอย 5  กับซอย 7    ครูแค่ประสานงานกับโรงพยาบาลว่ามีคนป่วย แล้วส่งเอกสารผลการตรวจให้โรงพยาบาล  ทางโรงพยาบาลมีรถมารับที่ชุมชน  รักษาตัวกันยาวนาน เพราะเป็นผู้ใหญ่ ใช้เวลาตั้งแต่ 15-30  วัน แล้วแต่ร่างกายของผู้ป่วย  แล้วกลับมากักตัวที่ชุมชนเมื่อรักษาหาย  แต่ในช่วงนั้น  ยังหาเตียงได้  และสามารถนำส่งโรงพยาบาลทุกคน  มีการตื่นกลัว คนที่ติดโควิด-19  เหมือนเป็นผู้ที่ก่ออาชญากรรมหรือฆ่าใครตาย  เป็นกลุ่มที่แพร่เชื้อโรค   สุดท้ายก็อยู่ในชุมชนไม่ได้  เพราะมันเป็นเรื่องการสื่อสาร

          คนหนุ่มสาวที่ใช้วิถีชีวิตเป็นพนักงานเสิร์ฟ/ล้างจาน/ชามในสถานบริการ ติดกันอย่างทั่วหน้า  แล้วนำมาติดผู้สูงอายุที่ติดเตียง  เริ่มจากครอบครัวเดียวในชุมชน  แต่เป็นที่แตกตื่นโกลาหลกันอย่างมาก มีการจัดระบบชุมชน  ชุมชนที่จัดระบบอย่ามาก


 

          -ชุมชนเพชรบุรีตัดใหม่ ซอย5,ซอย 7   มีหนุ่มสาวที่เอาเชื้อมาติดผู้สูงอายุที่ติดเตียง แล้วขยายไปสู่เด็ก เยาวชน ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันกว่า 10 คน  เริ่มมาจากครอบครัวของนางณี (นามสมมุติ) มีแม่ที่อายุ 73 ปี ป่วยติดเตียงอยู่  ติดโควิด-19  จากหลานสาวอายุ 21 ปี ที่เป็นพนักงานเสิร์ฟที่ ร้านอาหารซอยเอกมัย   หลานสาวถูกส่งตัวไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลกลาง   แต่หลานสาวนำเอาเชื้อไปติดยายที่ติดเตียงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

          ยายป่วยอยู่แค่ 4 วัน เชื้อลงปอด  เอาไม่อยู่ ทางหน่วยงานปอเต๊กตึก (กตัญญู)  ต้องเอาศพไปเผาที่วัดสะพาน ลูกหลานทุกคนห้ามออกจากบ้าน  ทางคณะกรรมการชุมชนใช้เชือกสีแดงล้อมไว้  ส่งอาหารพร้อมยา ทั้งสามมื้อ  อยู่กันแต่ในบ้านเช่า ที่แออัด  ทางคุณหมอมีการโทรศัพท์คุยกับคนป่วยที่เหลืออยู่อีก 8 คน  พร้อมทั้งให้ยา FAVIPIRVIR /น้ำมะนาว/น้ำขิง  มีมอเตอร์ไซด์ ส่งที่มัสยิดกลาง (ซอย 7 )  แล้วคณะกรรมการชุมชน จะเป็นคนนำไปแขวนไว้ที่หน้าบ้าน  ทั้งยาและอาหารเป็นของทางโรงพยาบาลรามาธิบดี  ชุดนี้ยังไม่ต้องไปนอนที่โรงพยาบาล เป็นกลุ่มผู้เสี่ยงสูง  แต่ต้องให้หายขาด


          ใช้เวลาในการดำเนินการและเฝ้าระวังสำหรับครอบครัวนี้ กว่า 28 วัน  ทางครอบครัวนางณี ก็เจอปัญหา เรื่องค่าเช่าบ้าน เพราะเจ้าของบ้านไม่สน   เมื่อพักกันถึงเดือนก็ต้องจ่ายค่าใช้บ้าน  จึงต้องมีการใช้เงินฉุกเฉินของ คณะกรรมการมัสยิด ช่วยไปก่อน

          หลังจากเดือนพฤษภาคม 2564 การลามการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ก็กระจายกันไปทั่วทั้งชุมชน   แต่กระบวนการช่วยเหลือก็ใช้วิธีการแบบ ครอบครัวของนางณี

          สิ่งสำคัญ  คือการเดินทางของคนในชุมชนที่ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลรามาธิบดี  ต้องใช้รถเมล์(ขนส่งสาธารณะ)  ซึ่งมีการแพร่กระจายได้ง่าย   จึงมีการคุยกันกับคณะกรรมการชุมชน ใช้รถพระราชทานมาตรวจที่มัสยิด   แล้วแยกผู้ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล

          ส่วนกลุ่มที่สัมผัสสูง  ต้องกักตัว พร้อมจัดการด้วยข้าวอาหาร สามมื้อ พร้อมยาฟ้าทะลายโจร  มีการเอ๊กซเรย์ปอดกันทุก 3 วัน   คนไหนมีปัญหาเรื่องปอด ส่งต่อโรงพยาบาลทันที  (อาสาสมัครของคณะกรรมการมัสยิด) ช่วยได้มาก  แต่สุดท้ายอาสาสมัครก็ติดโควิด-19 พร้อมในชุมชน ไปด้วยกันหมด

          สำหรับคนติดโรคโควิด-19  ในช่วงเดือนนั้น เป็นเสมือนผู้ก่ออาชญากรรม  เป็นที่น่ากลัว/น่ารังกียจ  เพราะทางสลัมคลองเตยกำลังอยู่ในช่วงการระบาดหนักมาก  ทัศนคติการรังเกียจ  จึงเกิดขึ้น  คนในชุมชนเพรชบุรีตัดใหม่ ซอย5,7  ก็ได้รับผลกระทบกันอย่างทั่วถึง

         

          ครั้งที่  2  เริ่มต้น เดือนพฤษภาคม   2564  เด็กเร่ร่อนต่างด้าว พร้อมแม่ ที่วนเวียนพาลูกออกไปตระเวน ตามพื้นที่ต่างๆตั้งแต่ถนนสุขุมวิท จนถึงตลาดคลองเตย  จำนวน ทั้งสิ้น 13 ครอบครัว  เด็กทั้งสิ้นจำนวน 27 คน  มีเด็กอายุ 12 ปี ที่เข้ามารักษาคนเดียวในโรงพยาบาล ด้วยเหตุว่าแม่ป่วยถูกส่งไปรักษาตัวที่ โรงพยาบาลสนามแล้ว เพราะแม่มีพาสปอร์  เป็นคนงานที่มีประกันสังคม  ส่วนพ่อทางศูนย์สาธารณะสุข ได้ส่งไปตรวจที่ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น  ตามโควตาของประกันสังคม   ลูกสาวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหาที่ตรวจไม่ได้   ทางครูเลยแนะนำให้เด็กเดินเข้าที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์   แล้วบอกกับทางพยาบาลว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง  ได้รับคำแนะนำจาก ครูว่าให้มาตรวจที่นี้

          การบริหาร/จัดการ กับเด็กเร่ร่อนต่างด้าวพร้อมครอบครัว ที่ติดโควิด-19  เป็นกลุ่มที่ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ่อนไก่ทั้งหมด  ซึ่งเป็นแหล่งเผยแพร่โรคระบาดในครั้งนี้   ถึงแม้จะบอกว่า อยู่กันแต่ในบ้าน  ครูเองก็พูดชัดเจน  เชื้อโรคโควิด-19  แวะเข้ามาทักทายถึงในบ้านกันเลย   เพราะทุกคนติดหมด  จนประธานชุมชนต้องบอกว่า  ติดทุกคนครับครู  ถ้าศูนย์สาธารณะสุเองก็ไม่สามารถหาที่พักคอยได้    ด้วยการเริ่มต้นของแม่เด็กที่มาปรึกษาว่า แม่เด็กพร้อมเด็กอยากตรวจโควิด-19  ว่าติดหรือไหม  เพราะพวกเขาเอง มีอาการ  จึงเริ่มต้น ด้วยคำแนะนำว่า


          ขั้นตอนที่ 1  การให้กรณีศึกษา หาที่ตรวจมา ติดโควิด-19 ให้ได้ก่อน  เพื่อว่า ติดหรือไหม จะได้จัดการถูก  และดำเนินการให้คำแนะนำ พร้อมประสานส่งต่อ งานนี้ครูนึกถึงรถพระราชทานตรวจโควิด-19 จึงแนะนำกรณีศึกษาให้ไปตรวจที่รถพระราชทาน  ตรวจโควิด-19  เชิงรุก  ตามประกาศ ในแต่ละวัน มีพื้นที่ต่างๆ  กรณีที่ 1  ไปตรวจที่ มาบุญครอง ผลปรากฏว่า แม่ติด ลูกยังไม่ติด แต่สุดท้ายติดด้วยกันทั้งคู่ ถูกส่งไปรักษายาตัวที่ โรงพยาบาลต่างจังหวัด  ด้วยเหตุผล โรงพยาบาลในกรุงเทพ  เต็มหมด  จำนวน 13 ครอบครัว ติดกันหมดทั้งครอบครัว

          ขั้นตอนที่ 2  คือการหาโรงพยาบาลให้กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนเหล่านี้  ไปรักษาตัว   ครูเองก็แนะนำให้ทุกครอบครัว  ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  ซึ่งทางโรงพยาบาลฯ เองก็ต้องกังวล ในการจัดการกรณีศึกษา  เพราะกรณีของครู เป็นกลุ่มที่ไม่มีเอกสารใดใดเลย  แล้วรู้มาก  หัวหมอด้วย(เอาประโยชน์มากที่สุดทุกเรื่อง )   ครูต้องคุยกับคุณหมอเป็นรายกรณี  ต้องแต่เรื่องค่าใช้จ่ายของการตรวจ/การนอนโรงพยาบาล/ค่าอาหาร/ค่าที่พัก เป็นต้น  ทุกอย่างมีค่าใช้จ่าย


 

          ขั้นตอนที่ 3  คือการต่อรองเรื่องค่าใช้จ่าย ของกรณีแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  ซึ่งเขาเหล่านั้น ทางฝ่ายการเงินคุยกับครู ต้องเสียค่าใช้จ่าย  ครูเลยบอกว่าคิดค่าใช้จ่ายมาได้เลย  แต่ครูไม่มีจ่าย   นำข้อมูลทั้งหมดพร้อมประวัติครอบครัวเด็ก ส่งต่อให้ประสานงานกับ สปสช.  (ซึ่งงบประมาณของโรงพยาบาลต่างๆ ต้องใช้บประมาณเรื่องการรักษาโรคโควิด-19  ที่หน่วยงาน ของ สปสช.  และครูเน้นย้ำตลอดเวลาเวลาว่า  เขาเหล่านั้นเป็นโรคระบาด  ถ้าไม่รักษา เขาเหล่านั้น คือคนที่จะเป็นตัวแพร่กระจายโรค แบบระบาดไปทั่ว   เพราะกลุ่มนี้จะเดินขอทานไปทั่วกรุงเทพมหานคร)

          ขั้นตอนที่ 4  การให้คำปรึกษา ทั้งคุณหมอ/พยาบาล  ทั้งกรณีศึกษา   ด้วยคุณหมอ/พยาบาลเอง ต้องบริหารจัดการเรื่องการกินยา กับกรณีศึกษา/ การวัดไข้ การวัดออกซิเจนปลายนิ้ว  เจอปัญหาคือเรื่องการสื่อสาร  ครูเลยแนะนำว่าเด็ก เด็กเหล่านี้ พูดและเขียนภาษาไทย ได้ เพราะเด็กได้เรียนหนังสือ เป็นล่ามได้  ทั้งคุณหมอและพยาบาล จึงหมดห่วง  แล้วเฝ้าดูอาการ  กังวลตามมา คือ เด็ก เด็ก ขอครูซนมาก  เมื่อมีแรงจึงวิ่งกันให้วุ่นตามห้องนอนพักของครอบครัว  หรือห้องโถงรวม   จึงแนะนำโดยการกิจกรรมการอ่าน/การระบายสี/เครื่องเล่น ของเด็กเข้าช่วย

          สำหรับกรณีศึกษา  คือ ขอมาม่าเพิ่ม ด้วยลูก ลูก ที่เข้าไปรักษาตัว อาหารที่โรงพยาบาลให้ไม่พอกับความต้องการขอเด็ก  บางครอบครัวขอแพมเพิสเพิ่ม/ขอขนเพิ่ม /ขอเครื่องใช้เพิ่ม   สำหรับครูมีอะไรก็แบ่งปันไปให้ก่อน  เช่นแบ่งนมจำนวน 20 ลัง ไปไว้ที่โรงพยาบาล/มาม่า ขนม  เพื่อเด็กคนอื่นด้วย  ไม่เฉพาะกับกรณีศึกษา ของครู   บงแห่งต้องขอจากหน่วยงานองค์กรเอกชนอื่นมาช่วยสนับสนุนกรณีศึกษา

          ขั้นตอนที่ 5   คือการประคองเรื่องถุงยังชีพ หลังจากออกจากโรงพยาบาล อีก 14 วัน  ห้ามออกไปจากบ้านเช่า เมื่อออกจากโรงพยาบาล ก็เป็นประเด็นที่ ทุกครอบครัวต้องพบ  เพราะยังไม่สามารถออกไปทำมาหากินได้เลย ต้องกักตัวอีก 14 วัน  ทางครูจึงจำเป็นยังต้องส่งถุงยังชีพ  อีก 14 วัน  เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่  เพื่อให้ทุกครอบครัวได้กินอิ่มก่อน

 

          จากกระบวนการทำงาน ทั้งสองกลุ่มนี้ ที่เล่ากันมา  มีเรื่องระหว่าทางอีกจำนวนมาก หลายกรณีด้วยกัน  แต่สิ่งเหล่านี้คือบทเรียนการทำงานที่ไม่ทิ้งใครไว้ขางหลัง  ทุกคนต้องรอดปลอดภัยไปด้วยกัน   งานนี้ครูต้องขอบคุณเครือข่ายการทำงาน กัลยาณมิตรที่ช่วยครูกันทุกเรื่อง   ขอบคุณ ขอบคุณ