banner
จันทร์ ที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2564 แก้ไข admin

ชีวิตที่ไม่เท่ากัน…..เราต้องสู้

 

นางสาวทองพูล  บัวศรี(ครูจิ๋ว)

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          ด้วยโควิด-19 ตั้งแต่ระลอกแรก  /ระลอกที่ 2  จนมาถุงปัจจุบัน เป็นระลอก 3 ระลอก 4 เกิดขึ้นสมบูรณ์แบบ  แล้วทีท่าจำนวนคนที่ติดโควิด-19  ก็ยังเป็นหมื่นคนทุกวัน  และมีคนตาย ไม่ต่ำกว่า 100 คน  เป็นการสูญเสียทรัพย์กรมนุษย์ทุกเพศ/ทุกวัย   แต่สำหรับผู้สูงอายุ และบุคคลที่มีโรคเรื้อรัง  น่ากลัวสุด  ข่าวที่เกี่ยวข้องกับการตาย แต่มีผลกระทบสำหรับบุคคลที่หาเช้ากินค่ำ  ที่ตกมาตกงาน /รับจ้างไม่ได้เพราะไม่มีใครจ้าง  งานก่อสร้างก็หยุอย่างต่อเนื่อง ด้วยคำสั่งของพระราชบัญญัติฉุกเฉิน

           สำหรับโครงการครูข้างถนน และโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ มีการปรับวิธีการลงพื้นที่  ที่เน้นด้านหน้างานเท่านั้น  หน้าแคมป์คนงานก่อสร้าง  /สำหรับพื้นที่บนท้องถนนก็ปรับเหมือนกัน จัดการแบ่งปันอาหารแบบห่วงๆ มอบให้แบบห่างๆ    แต่ห่วงใยทุกคน  ทั้งเด็กเร่ร่อนไทยถาวร/เด็กเร่ร่อนไทยชั่วคราว(กลุ่มที่ทำงานบนท้องถนน ขายดอกไม้ ขายดอกจำปี ขายพวงมาลัย )และกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว  ที่แบ่งปันถุงยังชีพ  เพื่อประคองชีวิตให้รอดปลอดภัย


 

          เมื่อปลายปี 2563   ครูเองลงไปทำธุระ บริเวณชุมชนหลังวัดหลักสี่(กุฎิขาว)  หลังโรงพยาบาลจุฬาภรณ์   ได้พบเด็ก 3 คน พี่น้อง ที่เดินขายปลาทอด โดยการหามขาย ขายถุงละ 20 ปี  ครูเองก็ซื้อมา 3 ถุงด้วยกัน  ในครั้งนั้นมีการป่นปลาด้วย  ซึ่งเป็นอาหารสำหรับแมวได้  แต่ในครั้งนั้นมีงานประชุมด่วน ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ   และก็ตั้งใจจะหาเด็กชุดนี้พักอยู่ที่ไหน  เก็บข้อมูลเอาไว้ก่อน

          เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ได้พบเด็กทั้ง 3 คน อีกครั้ง ที่ร้านก๋วยเตี๋ยว ซอยแจ้งวัฒนะ 5  ครั้งนี้ให้ผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม  ไปพูดคุยกับเด็ก ติดตามถามไถ่กับเด็ก  พร้อมมอบถุงยังชีพให้เด็กจำนวน 3 ชุด  เพื่อให้เด็ก เด็ก ได้มีอาหารการกิน  แล้วตั้งใจจะไปเยี่ยมครอบครัว 

          จนเมื่อเดือนมิถุนายน  2564 ผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม ไปพบเด็ก เด็ก ทั้ง 3 คน ไปขุดไส้เดือน ที่ดินว่างเปล่า  เพื่อเอาไปเป็นเหยื่อตกปลาในคลองเปรมประชา (หลังชุมชนวัดหลักสี) จึงให้เด็กทั้ง 3 คน มาพบที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  พร้อมจัดถุงยังชีพให้จำนวน 3 ชุดแบบครอบครัว  แล้วให้พาไปเยี่ยมบ้าน

          โดยมอบครูซิ้ม พร้อม ผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม ติดตามครอบครัวนี้  ให้ทำบันทึกประวัติครอบครัว พร้อมกับหาแนวทาช่วยเหลือในเรื่องการศึกษา  มีคุณยายอายุ 62 ปี ที่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงหลานจำนวน 6 คน มาจาก 3 ครอบครัว


 

          -ครอบครัวแรก มีลูก 3 คน พ่อของเด็กเสียชีวิต  แม่หายไปมีครอบครัวใหม่ ความรับผิดชอบในการดูแลทั้งหมดจึงตกอยู่ที่ยาย

          -ครอบครัวที่สอง  เป็นน้องชายของยาย ที่ป่วยเป็นอัมพาต  มีลูกเล็กที่อยู่ชั้นอนุบาล จำนวน 2 คน  แม่เด็กก็ตกงานจากโควิด-19 มาปีกว่าแล้ว  เด็กจึงมาอยู่กินที่บ้านยาย

          -ครอบครัวที่สาม ลูกชายคนที่ 2 มีลูก 1 คน  แต่แม่ไปมีครอบครัวใหม่  มีอาชีพขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง และเป็นคนที่หาเงินมาจุนเจือเรื่องอาหารเป็นรายวัน

          สิ่งที่คุณยายกับหลานต้องเผชิญอยู่ คือ อาหารที่หาได้หรือนำปลาทอดไปขายไม่เพียงพอกับอาหารที่เด็กจำนวน 6 คนพร้อมผู้ใหญ่อีก 4 คน  ในแต่ละวันไม่พอที่จะกิน

          ครูเน้นอีกเรื่องคือเรื่องการศึกษาของเด็ก  ปรากฏว่า เด็กได้เรียนหนังสือทางออนไลน์แต่ปัญหาที่พบ คือ เด็กทั้ง 6 คน มีมือถือเครื่องเดียวที่เรียนได้


          -คนโต เรียนมัธยมศึกษา ปีที่ 1  โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้อง   เด็กไม่ได้เข้าเรียนเลย แต่ไปรับเอกสารมาทำการบ้านบ้างเป็นครั้งคราว  ส่วนมากจะทำงานทุกอย่าง  เด็กน้อยบอกกับนักข่าว หรือแม้แต่ครู  คืออยากทำงานด้วยเรียนด้วย  (เป็นความคิดที่ดีของเด็ก)

          -คนที่สอง  เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  เรียนบ้างไม่ได้เรียน  เพราะต้องแบ่งกับน้องอีกคน   คนนี้ส่วนใหญ่จะออกไปขายปลากับพี่สาวคนโต (คุณยายไม่ยอมให้เด็กไปคนเดียว เพราะความเป็นห่วง  เวลาเดินด้วยกัน 3-4 คน  จะมีคนช่วยดูแล

           -คนที่สาม  เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีพ่อที่ขับวินมอเตอร์ไซด์รับจ้าง  แต่ปัญหาที่พบคือ คาจ่ายแทบไม่พอซื้อข้าว/กำกับข้าว/ขนม  ให้สำหรับครอบครัวใหญ่  10  ชีวิตด้วยกัน  บางวันก็กินครบมื้อ บางวันแล้วที่จะมี  (ส่วนมากคนนี้จะได้เรียนเป็นประจำ  เพราะมือถือของพ่อ ที่เรียนได้)

          -คนที่ที่สี่  เป็นเด็กผู้ชาย ที่จอมซนอย่างมาก  เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ทำงานทุกอย่างตามที่คุณยายสอน  แต่ด้วยความเป็นเด็กผู้ชายจึงมีความซุกซนเป็นเรื่องปกติอย่างมาก  ทั้งเรียนทั้งทำงาน  (เดินขายปลาทอด  เป็นที่ที่จะร้องบอกคนซื้อบรรยายสรรพคุณ คุณค่าของปลา  เด็กหนุ่มน้อยคนนี้จึงไปกับ ทีมทุกครั้ง  สี่คนแบ่งกันขาย  แบ่งกันทำหน้าที่  เพื่อขายให้ได้เงินมากที่สุด พร้อมกับขายหมดจะได้รีบกลับบ้าน ไปทำการบ้านต่อ  มีบางครั้งที่ได้วิ่งเล่นบ้างเป็นครั้งคราว)


 

          -สำหรับที่ห้า-คนที่หก  ทั้งสองคนเป็นพี่น้องกัน  เป็นลูกของน้องชายที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ/อัมพาต/  ตอนนี้มีคนจ้างเลี้ยงไก่ชน  รายได้ของพ่อแม่ไม่มีประจำ  สำหรับเด็ก 2 คน มากินอยู่กับคุณยาย ทั้งหมด   ในเรื่องเรียนยังอยู่ช้นอนุบาลอยู่  เรียนบ้าง/หยุดบ้าง   แต่สิ่งสำคัญคืออยู่กับยายที่บ้าน ในช่วงกลางวัน  เหมือนตัวติดกันตลอดเวลา เพราะกลัวการตกน้ำ/หรือไปเล่นนอกบ้านแล้วเกิดอุบัติเหตุ   แต่สาวน้อยทั้งสอง  ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน 

          สิ่งที่ทางโครงการครูข้างถนน/โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  ได้ดำเนินการช่วยเหลือ และพยายามที่จะให้เด็กทุกคนอยู่ในระบบการศึกษา ทั้งออนไลน์และออนไซด์

          (1)  ทางโครงการฯ ได้ดำเนินการพยุงด้วยถุงยังชีพ  เป็นรายเดือนด้วยข้าวสาร ด์อนละ 30 กิโลกรัม พร้อมน้ำมัน/นำปลา/มาม่า  ที่หาได้มาแล้วแต่ผู้บริจาค จะบริจาคมาให้   สำหรับครูเน้นเรื่องข้าวสารก่อนเป็นอันดับ  มีข้าวอยู่ในหม้อจะประทังความหิวไม่ได้

          (2) ทางโครงการฯจัดสรรงบประมาณ  จากบริษัทบีคัมเวริดลฺ จำกัด  จำนวน  4,000 บาท  เป็น 2 ครอบครัว  โดยครูให้ครูซิ้มกับผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม  พากันไปซื้อมือถือ จำนวน 1 เครื่อง  ในราคา 2,190 บาท  พร้อมค่าเน็ต ที่ต้องใช้เรียนออนไลน์   แต่ก็ยังขาดเครื่องมือถือ สำหรับเด็กที่เรียนมัธยม  เพราะใช้กันคนละระบบ

          (3) ทางโครงการฯประสานงาน FC ที่ติดตามงานของทั้งสองโครงการฯมาตลอด และเอยปลาว่าต้องการให้ช่วยอะไร ยินดีเป็นอย่างยิ่ง (ชื่อคุณแตน  ที่ส่งฟ้าทะลายโจร พร้อมผลไม้  ส่งมาให้ครูได้ทำกิจกรรม  ตลอดจนส่งเส้นหมี่/ปลากระป๋อง/ข้าวสาร  เวลาที่มีกรณีศึกษาที่ต้องการความช่วยเหลือด้วยความเร่งด่วน )   โดยส่งเงินมาซื้อ โทรศัพท์  ให้น้องคนโตคนที่หนึ่ง  ได้เอาไว้ใช้เรียนหนังสือ  ซึ่งจะได้ไปพบคุณครูประจำชั้นเป็นครั้งแรก  ในวันที่ 15 พฤศจิกายน  2564  พร้อมการเปิดบัญชีธนาคารออมสิน  โดยทางครูซิ้ม ไดมีการประสานงานของ โครงการทุนการศึกษา  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  จำนวน 2,000  บาท  (เรื่องทุนไม่ได้ต่อเนื่อง  ขึ้นอยู่กับผู้ให้ทุนที่จะให้ในแต่ละปี ) ก็ไม่ได้การันตีว่าเด็กจะมีทุน จนเรียนจบ  เป็นพียงบรรเทาไปก่อน   ครูจึงต้องหาทางออกต่อ


 

          (4) ทางโครงการฯ ได้รับการประสานงานจาก “กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา”  ว่ามีทุน ที่จะให้สำหรับเด็กที่เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และกลุ่มที่เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 50 ทุน   

          ซึ่งในขณะนี้ทีมงานของครู  กำลังดำเนินการเรื่องเอกสาร/การตรวจสอบถึงกลุ่มเด็กเข้าเรียนต่อเนื่อง  และกลุ่มที่ออกกลางคันของเด็ก

 

           แม้ชีวิตของเด็กทุก 6 คน  ดูเหมือนได้รับความยากลำบาก ชีวิตที่ไม่เท่ากันของเด็ก แต่คำสอนของคุณยาย  มีคุณค่าทางด้านจิตใจที่ดีงาม

          -ไม่ต้องอาย  “ขายปลาทอด เพราะพวกเราทำงานที่สุจริต”  เงินที่ได้มากก็เพราะน้ำพักน้ำแรงของ เด็ก เด็กทุกคน   เป็นการฝึกทำงานตั้งแต่เด็ก

          -ทุกคน คือ “คนในครอบครัวเดียวกัน  ต้องรักกันดูแลกันอย่าทะเลาะ  ทำหน้าที่ที่คุณยายแบ่งปันกันให้ดีที่สุด” เพราะทุกคนมีหน้าที่ทำกันตั้งแต่ตื่นนอนมา

          -การทำงาน ตั้งแต่ “หาไส้เดือน ตกปลา ทอดปลา แล้วนำไปขาย  เมื่อยายตาย  มันคืออาชีพ ที่พวกเด็ก เด็กทุกคน  นำไปหาเลี้ยงชีวิตได้ในอนาคต”

           คำสอนของคุณยาย มีคุณค่า  และคุณยายเองก็เป็นตัวอย่างที่ดีปฏิบัติให้ หลาน หลาน ให้เห็น

ขอบคุณที่คุณยายปฏิบัติให้ดู ไม่นิ่งเดียวดายในการทำให้เห็น