banner
จันทร์ ที่ 2 เดือน มีนาคม พ.ศ.2563 แก้ไข admin

ความรัก ที่ผูกด้วยความกตัญญู เป็นหัวหน้าครอบครัว



นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

          ครูค่ะ ช่วยหลานฉันด้วย

          ทำไมหรือ   ครูน้องการ์ตูน (นามสมมุติ) 

เกิดอะไรขึ้นหรือ..........

ครูน้องไม่ได้เรียน

แล้วทำไม.........

เมื่อปีที่แล้ว....

ครูเจอน้อง 2 คน  ที่ซอยนานา 

แล้ว... ที่ครูช่วยเรื่องเข้าเรียน  เรียนได้แค่เดือนเดี๋ยว มันออกจากโรงเรียนมากว่า  10 เดือน  เรียนซ้ำ ประถมศึกษาปีที่ 2  มากว่า 2 ปี แล้วย้ายโรงเรียนมา 2 แห่งแล้ว

ตอนนี้ครูมาตั้งแต่กลางคืนยันกลางวัน แถมด้วยกลางวันแม่มานั่งเฝ้า ให้ลูกวิ่งขอทานด้วย

ฉันทนไม่ไหว  มันคือหลานฉัน  หลานคนอื่นให้เรียนแต่คนนี้เอาไว้กับตัว  และใส่หัวเด็กว่า  การ์ตูน คือหัวหน้าครอบครัว ต้องหาเลี้ยงคนอื่นๆด้วย  เรียนเมื่อไรก็ได้

เสียงเหล่านี้กระแทกใสหูครูตลอดเวลา 3 เดือน  ครูเองก็อยากให้เด็กได้เรียน  มันคือความฝันของครู   เพราะครูมีความเชื่อเด็กต้องอ่านและเขียนได้ มีโอกาสพัฒนาตนเอง   ครูจึงมีแรงเท่าไรก็ทุ่มเทกับเด็กทุกคน

ครูก็วางแผนในการสืบเสาะและตัวเอง มาอย่างระมัดระวัง  ไม่ต้องการเป็นศัตรูกับแม่  เพราะเวลาทำงานกับครอบครัวเจอตอจากแม่แน่นอน

ครูจัดตารางร่างกายของตัวเอง  เมื่อก่อนปีใหม่ และช่วงปีใหม่  ลงไปเยี่ยมครอบครัว เวลา 22.00 จนถึง ตีสอง  นั่งเฝ้ากันเลย  ครูนั่งในร้านแม็คโดแนล ตลอดเวลา จนเห็นเด็กวิ่งมา แล้วหลบเข้าซอย 3/1  แต่ก็มีแม่เด็กอีกคนที่ ที่คอยส่งการเคลื่อนไหวให้

จนถึงเมื่อเวลา เที่ยงคืนพอ

ดี  สาวน้อยของครูมีอาการง่วงนอน  จึงนอนแผ่ที่ร้านขายรองเท้าคุณลุงคนหนึ่ง  ดูประหนึ่งว่าเอ็นดู

แต่สายตาของครู สายตาที่ผู้ชายคนนี้มองน้องการ์ตูน  ไม่ใช่สายตาของคนหวังดี  

ครูจัดการด้วยว่าคดีต่างๆ ที่ผู้ใหญ่ละเมิดเด็ก 

การพูดคุยของในคืนวันนั้น  ผู้ชายที่รองรองเท้าผ้าใบก็หายวับไปกับตา

หลังจากนั้นน้องการ์ตูนก็เปลี่ยนเวลาลงมาที่ซอยนานาใหม่   ครูมีแม่ค้าที่เป็นคนไทยขายผลไม้  บอกว่า เจ้าการ์ตูนเปลี่ยนเวลามาซอยนานา 


เวลาที่มา คือตีห้า  จนถึงตอนเย็น  แล้วมีแม่มานั่งเฝ้าด้วย

ในช่วงเวลานี้ปลายเดือนมกราคม 2563  มีเจ้าหน้าที่บ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร ว่ามีคนร้องเรียนว่าเด็กไม่เรียน  แล้วมานอนในตอนเช้าที่หน้าร้านขายของที่ระลึก   คนที่เดินผ่าน ไป-มา  ไม่สบายใจอย่างมาก  โดยเฉพาะคนที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย

พร้อมส่งรูปที่นอนมาให้ ในตอนเช้า...

เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว (14 กุมภาพันธ์ 2563 )  ปฏิบัติการของครู เริ่มตั้งแต่ตีห้า  แต่ละมาถึงซอยนานได้ก็เกือบ เก้าโมงเช้า

ครูเดินรอบนอกซอยนานาก่อน  เห็นแม่เด็กนั่งที่ตู้ เอทีเอ็ม นั่งหลับอยู่  แต่ยังไม่ได้พบเด็ก  มีสายสืบส่งข่าวแล้วว่าเด็กมาแล้ว แล้ววิ่งขอเงินอยู่

ครูนั่งคุยกับ แม่เด็กอีกครอบครัวหนึ่ง เพราะเพิ่งจะพ้นจากการแก้ไขยาเสพติด  ลูก ห้าคน ถูกส่งเข้าสถานสงเคราะห์  แม่เอาลูกออกจากโรงเรียนหมด และมีลูกคนที่ 3 ที่หายไป  นั่งคุยกันเป็นชั่วโมง  ด้วย ต้องการรู้ว่าเด็กทั้งหมด ได้รับโอกาสเรียนหนังสือ  ดูเหมือนแม่จะดีใจที่ลูกได้เรียน  สำหรับคนเล็กยังอยู่สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนทั้ง 2 คน แม่ได้แวะเวียนไปเยี่ยม  แม่เด็กพูดว่าไม่มีลูกก็ไม่มีภาระ  แต่หากินลำบากมาก  เพราะไม่มี “ตัวเรียกแขก”  ครูเงียบเลย


  

          ทำไมแม่เด็กคิดอย่างนี้  ลูกที่เกิดมา มาด้วยความรักไม่ใช่หรือ.....ครูยังคุยต่อ  แต่แม่เด็กบอกว่ายังลูกเยอะก็ช่วยกันทำงานหากิน  

          ครูช่างโชคดีจัง....แม่ครูมีลูก 8 คน  แม่รักลูก ถึงพวกเราจะลำบากในช่วงนั้น คือไม่มีจะกิน  แต่แม่บอกว่า พวกเราขยันก็ไม่อดตายหรอก

          แต่พวกเขาเหล่านี้ มองมูลค่าของเด็กที่เกิดมา คือ เงินที่ขอได้  ขายความน่าสงสารจากนักท่อเที่ยวแปรเปลี่ยนมาเป็นตัวเงิน   ครูนั่งคุยต่อว่าทำไมคิดอย่างนั้น  ครูพวกฉันมันจน  แต่ตอนนี้ฉันแค่หาอยู่หากินบางส่วนเท่านั้น

          เมื่อครูกะเวลาที่อยากพบแม่กับน้องการ์ตูน  ทิ้งเวลาไปประมาณ หนึ่งชั่วโมงเต็มเลย  แล้วครูเดินย้อนเข้าไปในซอย  งานนี้แม่ค้าทั้งหลายบอกครูว่า น้องการ์ตูนกับแม่เดินทางกลับไปชุมชนแล้ว  ครูก็ได้แต่พยักหน้า  ครูรู้ว่ายังไม่กลับ 

          ระหว่างซอยมันมีทางลับ อีก 3 ทาง ทางที่หนึ่งออกหน้าปากซอย 3/1 ไปเลย  ทางที่2 หลบเข้าร้านขายเครื่องทะลุออกไปเป็นห้างสรรพสินค้า  เช้าแบบนี้ยังไม่คน   ทางที่ 3 ซอยที่ขายรองเท้า เดินทะลุไปซอยห้าได้   ครูเลือกทางนี้ ครูก็เดินทะลุไปเกือบถึงหน้าปากซอยแล้ว  เห็นน้องการ์ตูนนอนหลับ แม่นั่งก้มหน้า  แต่น้องการ์ตูนหลับจริงๆ

          เมื่อครูเดินทางถึง ครูนั่งลง  แต่ไม่ได้เอ่ยปากแต่อย่างไร นั่งนานกว่า 5 นาที  แม่เด็กเงยหน้ามามองครูที่นั่งแบบชั่งใจ จะเริ่มอย่างไรดี  แต่ใจครูก็นึกถึงคำพูดว่าคนจนทุกคนโกหกเพื่อให้เกิดความน่าสงสาร  และเข้าใจ

          ครูยกมือขวาไปลูบหัวเจ้าการ์ตูน  เจ้าการ์ตูนตื่นขึ้นมา  ครูขอโทษที่ทำให้ตื่น  แต่หน้าแม่เผือดไปมาก เพราะโกหกว่ากลับไปแล้ว

          ครูเองตั้งสติอีกรอบ  ยังไม่ได้อะไร ยาม 2 คน เดินมา บอกว่าครูอย่าปล่อยเด็กไว้อย่างนี้  อันตรายมาก  ทุกคนหันไปตำหนิแม่ ให้ลูกออกจากโรงเรียนอย่างนี้ได้อย่างไร  ให้โอกาสแต่เด็ก ไหนปากว่ารักลูกไง  แต่สิ่งที่ทำมันเอาเปรียบลูก   ครูนั่งฟังแบบเงียบๆ


          มีแม่เด็กอีกครอบครัวหนึ่งเดินทางเหมือนกัน แล้วต่อว่า ไหน มึง บอกว่ากลับไปแล้ว  มึกโกหกอีกแล้ว  ครูเขาถามหามึง  มานั่งคอยมึกเป็นชั่วโมง  มึกอย่างนี้กับครูเขาได้อย่างไร  ตอนเปิดเทอมมึงโทรหาทุกวัน  เพื่อให้ซื้อชุดนักเรียนใหม่ให้ครู   มึงนะมึง......ครูก็เงียบอีก

          มีพ่อค้าเดินมาอีก....งานนี้ซื้อ ข้าวมา 3 กล่อง น้ำ 3 ขวด  บอกว่าไม่ได้ให้ฟรี  เก็บเงินไป ครูจ่าย  พ่อค้าชาวอินเดีย ส่งเสียงด่าแม่เด็กทันที  ว่าเห็นแก่ตัว  เอาประโยชน์กับลูกอย่างเดียว  ตั้งแต่เวลาเกือบสิบโมงแล้ว เด็กยังไม่ได้กินอะไร   เจ้าการ์ตูนไม่สนใจใครเลยนั่งกินข้าวอย่างเดียว   ครูเองก็หิวเหมือนกัน  แต่นั่งดูหน้าแม่ที่น้ำตาคลอตลอดเวลา

          สุดท้ายครูก็เปิดกล่องข้าวกิน  เสียเงินไปแล้ว  แม่เองก็หิวเหมือนกัน พาลูกหนี หลบครู  ก็ยังไม่ได้กินอะไรเหมือนกัน  ทุกคนนั่งกินข้าวแบบเงียบๆ

          เริ่มด้วยเหนื่อยไหมน้องการ์ตูน ด้วยการลูบหัวอีกครั้ง  แต่ครั้งนี้ ความเมตตา ปรานี  ทุกคนก็อยากเรียน ขณะที่ครูพูดกับ  ท่าน ดร.ชัยพร  จากนิด้า หันมา เรียก “ครูจิ๋ว” มานั่งทะอะไร  ท่าน ดร.บอกว่า คนนี้เข้าเรียนเก่งมากนะ  หันไปหาเด็กน้อยเอาถุงส้มว่างไว้ให้บอกว่าแบ่งกันกิน  ครูยกมือไหว้อีกรอบ  ทั้งสองท่านหายไปแล้ว

  

          แต่ชีวิตอีก 2 ชีวิต ที่อยู่ตรงหน้าครูยังไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไร

          นั่งคุยกันถึงเรื่องหนี้สินกว่า สี่หมื่นให้เด็กน้อยคนนี้รับผิดชอบ  ต้องหาใช้หนี้รายวัน

          แม่หันบอกครูว่า “ครูใช้หนี้”แทนไหม  แล้วเอาการ์ตูนไปเรียน

          ความโกธรที่หายไปเมื่อสักครู่กลับมาอีกรอบ  พร้อมกับครูลุกหนีเลย  

          ชีวิตลูกเธอเป็นของเธอ  เธออย่าให้ลูกเป็นอย่างนี้ตามสบายเลยนะ   แต่เมื่อหน่วยงานของรัฐลงมาเอาลูกเธอไป ก็เป็นบุญของเด็ก

          ครูเดินต่อเพื่อไปขึ้นรถมอเตอร์ไซด์  มีประชุมต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          ครูโทรศัพท์บอกเจ้าหน้าที่รัฐทันที  จัดการให้ครูด้วย

          สิ่งที่ครูต้องการ  “เด็กต้องได้เรียน”