banner
อังคาร ที่ 5 เดือน กันยายน พ.ศ.2560 แก้ไข admin

ธุรกิจเพื่อสังคม เด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง (ตอนสอง)


 
 
 
นางสาวทองพูล  บัวศรี

ที่ปรึกษาโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          การทำงานของโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง หลังปี พ.ศ. 2549  เป็นงานอีกครั้งที่ต้องฟื้นฟูในการทำงาน  เพราะในช่วงปลายปี 2540 เป็นต้น วิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ทำให้บริษัทหลายบริษัทที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการของโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างต้องปิดตัวเองลง  

          เมื่อมีบริษัทนารายณ์พร๊อพเพอตี้ จำกัด ขอให้ทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างเปิดตัวอีกครั้ง  ทางครูเองคิดมาก  กลัวจะซ้ำรอยในช่วงปี 2540  ยังเป็นแผลเป็นที่ฝังลึกของคนทำงาน  จะด้วยเหตุสุดวิสัยก็แล้วแต่  แต่ผลส่งกลับมาแรงภายในใจครู   ถึงแม้หลายคนบอกว่าครูวางแผนการทำงานดี ทุ่มเท ประสานงานเก่ง  แต่เจอวิกฤตแบบนี้ ลูกน้องและลูกทีมต้องกระจายกันไปยังที่หน่วยงานอื่นๆ

          แต่เสียงผู้ใหญ่ที่บอกว่ามันเป็นโครงการดั้งเดิมของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  จะต้องพลิกฟื้นคืนมา  ครูเองก็ต้องคิดเยอะมาก  เพราะใจครูมีงานที่อยากทำ  แต่ต้องลงไปฝึกงานคนทำงานรุ่นใหม่อย่างน้อยสุด ต้องหนึ่งปีเต็ม   และการที่มีครูผู้หญิงยิ่งไว้ใจยากมาก  โอกาสจะเสียครูมีสูงมาก



          ก็ตัดสินใจเปิดศูนย์เด็กก่อสร้างอีกครั้งหนึ่ง ครูลงไปนอนในศูนย์เด็กก่อสร้างเองประมาณ สองปีกว่า พร้อมกับทำงานวิจัยที่อยากทำไปด้วย  และสอนวิธีการทำงานกับน้องที่รับมาใหม่  ซึ่งในช่วงนั้นงบประมาณทั้งหมดมาจากบริษัทเจ้าของโครงการ  นับเป็นงานที่เริ่มต้นครั้งที่สองกับธุรกิจเพื่อสังคม  เพื่อให้งานเดินได้ เจ้าหน้าที่มีเงินเดือน  เด็กได้รับสวัสดิการให้มากที่สุด   งานทุกอย่างเดินไปอย่างเรียบร้อย  จนโครงการเฟดแรกก่อสร้างเสร็จสิ้นตามกำหนด 

          เมื่อต้นปี 2553 ทางบริษัทขอยุติการสนับสนุน  แต่ทางโครงการก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กับบริษัททีทีเอสเอ็นจิเนียริ่ง (2004) จำกัด สนับสนุนตู้คอนเทนเนอร์ให้หนึ่งตู้  ด้วยเหตุที่ทางโครงการย้ายไปแต่ละแห่งจำกัดด้วยพื้นที่ในการจัดบ้านพักคนงานก่อสร้างที่ เข้า-ออก อยู่เสมอ  การสร้างศูนย์เด็กก่อสร้างแต่ละแห่งบริษัทต้องรับผิดชอบ สถานที่ก่อสร้างศูนย์เด็ก ตามด้วยค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า  แม่บ้านที่ช่วยทำความสะอาดรอบๆศูนย์เด็กก่อสร้างโดยเฉพาะขยะที่เกิดจากคนกลุ่มใหญ่ที่อยู่ด้วยกัน  ถึงแม้จะพยายามให้รักษาความสะอาดเพราะบ่อเกิดโรคต่างๆ แต่ยังมีให้เห็นเป็นครั้งคราว



          จนปี พ.ศ. 2556  ทางกองทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์  เข้ามาร่วมสนับสนุนกิจกรรม สองโครงการด้วยกันคือ  โครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง และโครงการครูข้างถนน  ประกอบไปด้วย เงินเดือนเจ้าหน้าที่ ค่าอาหารกลางวันสำหรับเด็ก ค่ารักษาพยาบาลกรณีที่ฉุกเฉินเท่านั้น ค่าทัศนศึกษา  ทำให้โครงการเดินโครงการไปได้ด้วยดี  เด็กเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

          เมื่อปี พ.ศ.2557  ทางกองทุนสนับสนุน แบบเต็มรูปแบบ  ในปีนี้สิ่งที่ทางโครงการได้เรียนรู้เป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษาที่ต้องการเรียนรู้ปัญหาสังคม การทำกิจกรรมเพื่อคนอื่น  รวมถึงกลุ่มนักศึกษาฝึกหัดในการเป็นนักข่าวทุกแขนงที่ใช้ศูนย์เด็กก่อสร้าง เด็กลูกกรก่อสร้างเป็นครูในการเขียนข่าว ตั้งแต่สารคดี  เรื่องสั้น  เรื่องเล่า จนเป็นข่าวแบบสามนาที  ห้านาที่ จนถึงสิบนาที แล้วแต่โจทย์ของอาจารย์ที่สอน  กำหนดให้มานักศึกษาลงมาเรียนของจริงในภาคสนาม  จนทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างเอง ก็ต้องยืนยันการมีศูนย์เด็กก่อสร้าง

          เริ่มปี พ.ศ. 2558 ทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง เริ่มมีอาการสั่นคลอน  ด้วยบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งที่ทำงานกับองค์กรระหว่างประเทศบริจาคครั้งละ 50 ล้านบาท  เริ่มมาทำพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง  โดยเน้นไปที่ให้พนักงานมาทำงานเป็นจิตอาสา การทำงานก็มีแต่ข่าวที่เสนออกไปด้วย วีดีโอจำนวน 8 ตอน ใช้เงินผลิตจำนวนมาก พร้อมทั้งบทความเอกสารที่ทุ่มทุนไม่อั้น  แต่ปัญหาการทำงานต่อเนื่อง   ปรากฏการณ์มีหลายบริษัทก่อสร้างที่อยากเปิดศูนย์เด็กก่อสร้างเอง  แต่ทางโครงการเอง มาไม่น้อยกว่า 12 บริษัท   สิ่งที่บอกทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างยินดีที่เป็นพี่เลี้ยงมาฝึกงานมาดูงานตลอดจนแลกเปลี่ยนการทำงานให้ แต่ทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างเองไม่สามารถที่จะไปเปิดศูนย์เด็กก่อสร้างได้  ด้วยงบประมาณที่ใช้ ครูที่ต้องลงไปสอนต้องมีการฝึกอบรมและรักงานที่จะทำ    ความเป็นอยู่ของครูและเด็กในศูนย์เด็กก่อสร้าง  และปัญหาใหม่ที่เข้ามาคือภาษาต้นทางของเด็กทั้งภาษากัมพูชา และภาษาพม่า  ในการสื่อสารกับเด็กและผู้ปกครอง



          จากความต้องการที่บริษัทก่อสร้างอยากทำธุรกิจเพื่อสังคม โดยเฉพาะการสอนเด็กก่อสร้างในไซด์งานของตนเอง  ทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างริเริ่มที่จะนำโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ กลับมาดำเนินการอีกครั้ง ซึงได้นำโครงการการธุรกิจของประเทศอเมริกา และได้รับการอนุมัติในการทำโครงการ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาของโครงการคือการทำงานรายงานภาษาอังกฤษทุกสามเดือน  ซึ่งทางโครงการจึงขอไม่รับงบประมาณในครั้งนั้นด้วย เหตุผลว่าต้องนำเงินที่ได้ไปจ้างคนแปลภาษาอังกฤษ ก็แทบจะหมดเงินแล้ว   การทำรายงานต้องเป็นไปตามกำหนดของบริษัทธุรกิจกิจกำหนด   ซึ่งทางโครงการคิดว่างบประมาณแบบนี้ไม่เหมาะกับงานภาคสนามของโครงการ

          ในปีนี้เป็นการเผยแพร่ที่มีกลุ่มนักข่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างลงมาทำข่าวเผยแพร่ให้ ตลอดจนเป็นแหล่งการฝึกงานของนักศึกษาอย่างมากมาย  จนต้องมีการพูดคุยกันทุกครั้งที่มีกลุ่มประชาชนสนใจมาทำกิจกรรมจิตอาสา  พร้อมเข้ามาเรียนรู้การทำงานกับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส  พร้อมกับเจ้าของโครงการก่อสร้างต่างๆ ที่เข้ามาเรียนรู้การทำงานกันอีกครั้ง

 

          จนเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559  ทีมงานของบริษัทนารายณ์มาเลี้ยงอาหารเด็กที่บ้านอุปถัมภ์เด็ก  พร้อมการทำกิจกรรม  ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณเจนต์ชัย ลิ้มวัฒนะกูร กรรมการผู้จัดการบริษัทนารายณ์พร๊อพเพอตี้ จำกัด  ครูอยากทำอะไรบ้าง  จึงบอกที่มาขอโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่  โดยให้ดูรถตู้คันเก่าของโครงการที่พบปัญหามากมาย เข้าไปถึงบ้านพักกรรมก่อสร้าง  ทางบริษัทจึงรับไปทั้งการออกแบบเรื่องรถ พร้อมทั้งงบประมาณ   ในความรู้สึกของคนทำงานบอกได้คำเดียวว่าดีใจในความฝันของคนทำงาน อย่างน้อยได้ลงมือทำ ได้ทดลองทำ   ครูเองก็เริ่มฝันถึงคู่มือในการทำงาน สรรหาคนที่จะมาทำให้ความฝันเป็นจริง  ที่สำคัญกว่าสิ่งใดทั้งสิ้น   ถึงมีอุปกรณ์ที่พร้อม คนทำงานไม่ได้เข้าใจในเนื้อหา  งานที่วางไว้ไม่สำเร็จแค่ได้ทำ



          ทาง บริษัท นารายณ์พร๊อพเพอตี้ จำกัด   ได้มอบรถพร้อมอุปกรณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560     งานได้ดำเนินการไปยังแหล่งก่อสร้าง 4 แห่ง และกำลังขยายไปยังห้าพื้นที่ ในเดือนกันยายน 2560 มีเด็กที่ได้รับบริการกว่า 150 คน ในช่วงที่ผ่านมา  ยังมีเด็กได้เข้าเรียนจำนวนกว่า 3 คน เด็กพิการได้ขึ้นทะเบียนพร้อมไปดูราชานุกุล  เด็กที่พ่อแม่ขอให้ช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์การเรียน  ตลอดจนการขอรับบุตรบุญธรรม ที่พ่อแม่ทิ้งไว้ให้คนไทยเลี้ยง  คนไทยต้องการรับเป็นบุตรบุญธรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย   งานเหล่านี้เป็นงานเชิงรุกที่จะเข้าไปหากลุ่มเป้าหมาย  เพื่อโอกาสให้เด็กได้รับโอกาสเสริมทักษะ ทางการศึกษาและการดำเนินชีวิตในสถานที่เสี่ยง และซ่อนตัวในแหล่งก่อสร้างที่คนทั่วไปจะเข้าไปเห็นไม่มีโอกาสเลย

          เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ทางบริษัท นารายณ์พร๊อพเพอตี้ จำกัด   ได้สนับสนุนเงินงบประมาณในการดำเนินการของศูนย์เด็กก่อสร้าง  ซึ่งบอกได้อย่างเต็มปาก เป็นศูนย์เด็กก่อสร้างแห่งเดียวที่ทำงานอย่างครบวงจร  ด้วยครูนอนในแหล่งก่อสร้าง สอนทั้งวัน พร้อมทั้งดูเรื่องสุขภาพของเด็ก   กิจกรรมที่หลากหลาย

          เป็นอีกหนึ่งบริษัท ที่บอกว่าคือการเข้ามามีส่วนร่วมให้งานทางด้านสังคมดำเนินต่อไป ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง  คือธุรกิจเพื่อสังคม  และทางบริษัทเองได้ให้โอกาสพนักงานของบริษัทเข้ามาเรียนรู้ในการทำกิจกรรม  ได้เริ่มจากลูกของกรรมกรก่อสร้างในงานของบริษัทตนเองที่ได้ใช้บริการกับศูนย์เด็กก่อสร้าง  พร้อมทั้งมีกิจกรรมมาให้กับเด็กๆ

          เริ่มเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2560  พาพนักงานที่เกิดในเดือนนี้มาทำกิจกรรมเลี้ยงอาหารกลางวัน พร้อมกับมาทำกิจกรรม นำสิ่งของที่จำเป็น เช่น นม ขนม และดินน้ำมัน มาให้กับเด็กก่อสร้างที่ศูนย์เด็กก่อสร้างเดอะพารค์แลนด์

          เป็นอีกตัวอย่างในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กด้อยโอกาส   การให้โอกาสเด็กด้อยโอกาสเหล่านี้เริ่มต้นจากพนักงานของบริษัทตัวเอง  พร้อมทั้งการเรียนรู้ร่วมกัน  เป็นอีกหนึ่งของบริษัทนารายณ์พร๊อพเพอตี้ จำกัด   ที่ทำงานเพื่อสังคมให้เด็กได้รับโอกาสที่ดี  
          โครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  ขอบคุณแทนเด็กทุกคน