banner
จันทร์ ที่ 28 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 แก้ไข admin

ธุรกิจเพื่อสังคม...กับโอกาสของเด็กก่อสร้าง (ตอนที่หนึ่ง)


 

นางสาวทองพูล  บัวศรี

ที่ปรึกษาโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

          การช่วยเหลือลูกคนงานก่อสร้าง  หรือเด็กลูกกรรมก่อสร้าง  อย่างยาวนานของ โครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  เริ่มตั้งแต่ปี 2529  เริ่มจากคนที่ทำงานเป็นโครงการแรก  คือครูหยุย (นายวัลลภ  ตังคณานุรักษ์  สมาชิกสภานิติบัญญัติ ในปัจจุบัน) ขยายงานต่อจนมาถึง  สมัยครูหน่องมาเป็นผู้ประสานงาน  หลายสิบแห่งแหล่งก่อสร้างด้วยกัน  ตั้งแต่ อิตาเลี่ยนไทย  ช.การช่าง  บริษัทกรีไทย  เป็นต้น

          จนมาปี พ.ศ.2532  เริ่มต้นที่ครูจิ๋ว (นางสาวทองพูล  บัวศรี  ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาของโครงการนี้) มาเป็นผู้ประสานงาน     เน้นการมีส่วนร่วมกับบริษัทก่อสร้าง  ของบริษัทเครือมั่นคงเคหะการ ที่สนับสนุนสถานที่อยู่อาศัยของครูเพราะครูต้องนอนในแหล่งก่อสร้าง   อาคารที่เปิดสถานที่สอนหนังสือ  ห้องส้วมของเด็กที่ต้องใช้ด้วยกัน   สนามเด็กเล่น  ที่ให้เด็กได้เสริมทักษะการออกกำลัง   แต่บางศูนย์เด็กหาพื้นที่ไม่ได้ก็ต้องปรับเอาให้เหมาะสม   และที่สำคัญคืองบประมาณในการจ้างครูสอนเด็ก  ค่าอาหารกลางวัน  ค่าทัศนะศึกษา  อย่างต่อเนื่อง  จนว่าทางบริษัทไหนที่จะเปิดศูนย์เด็กก่อสร้าง  ต้องมีส่วนสนับสนุน   ทำงานร่วมกับบริษัทอย่างต่อเนื่องเปิดศูนย์เด็กก่อสร้าง  3 แห่งด้วยกัน


          เริ่มจากบริษัทสิงหะการก่อสร้าง  ทำที่ศูนย์เด็กก่อสร้างบางกรวย  ใช้การจ้างคนของบริษัทมาเองในการจัดการเรียนการสอน  แต่พบปัญหามากมายตั้งแต่เป็นคนของบริษัท  การจัดการสอนไม่เป็น  สุดท้ายทางบริษัทก็ต้องยกเลิก  เพราะไม่เป็นตามที่บริษัทตั้งเป้าหมายไว้   เป็นบทเรียนของครูเหมือนกัน  การใช้ครูสอนก็ต้องเป็นมืออาชีพ  ควรเน้นคนที่จบครูมาก่อน  จะสอนได้หรือไม่ต้องมาฝึกกันอีกครั้ง   การให้บริษัทลงมาจัดการไม่ใช่บทบาท เพราะคนละหน้าที่กัน

ทางโครงการเริ่มทำงานกับบริษัทก่อสร้างบริษัทแลนด์แอนเฮาส์  ตั้งแต่หมู่บ้านชลลดา  บางบัวทองที่อยู่ยาวนานมาก   สนับสนุน จำนวน 5 ศูนย์เด็กก่อสร้างด้วยกัน  จนมีองค์กรระหว่างประเทศเอาป้ายไปติดที่โครงการของศูนย์เด็กก่อสร้างว่าหน่วยงานทางองค์กรไหนสนับสนุนมาก่อน จนเกิดปัญหาการเอาเปรียบและเอางานของเราไปว่าเป็นขององค์กรระหว่างประเทศคิดและทำ  จนทางโครงการขอยุติการทำงานด้วย  ทั้งของบริษัทและองค์กรระหว่างประเทศ    ถือว่าเป็นการเอาเปรียบและไม่เคารพ   เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี

          ยังมีบริษัทนีมาคอนสตัทชั่น ที่สร้างตึก ที่สุขุมวิท แต่ศูนย์เด็กก่อสร้างก่อสร้างอยู่ที่ใต้ทางด่วนสุขุมวิท  ทำงานด้วยกันกว่า 5 ปี  ขยายมาที่สุขุมวิท 53  โดยใช้บ้านเก่าเป็นศูนย์เด็กก่อสร้าง  จนครูเองคิดว่าเป็นบ้านของครูเอง  พอจบโครงการตอนนี้โรงเรียนอนุบาล    เคยไปเยี่ยมหลายครั้ง


          บริษัทกรีไทย  ที่สนับสนุนศูนย์เด็กที่สุขุม และแหล่งก่อสร้างที่ อโศก  ทำงานด้วยกันเกือบสองปี  ซึ่งการใช้พื้นที่สร้างเสร็จแล้วเป็นบ้านพักและศูนย์เด็กก่อสร้าง   งานนี้อันตรายสุด   สุด  จึงต้องมีการเสนอรายละเอียด   ว่า  ทางโครงการจะไม่ทำงานเพราะเสี่ยงทั้งครูและเด็กรวมถึงคนงาน  ถ้าเกิดตึกถล่มลงมาอันตรายมาก 

          บริษัทโฮมเพลส  สร้างศูนย์เด็กก่อสร้างซึ่งถือว่าเป็นอาคารสถานที่สวยมาก   แต่สิ่งที่ครูต้องจัดการเอง คือเรื่องน้ำ  พร้อมกับครูต้องไปตอกบัตรเหมือนคนงานของบริษัท    ทำได้ประมาณสามเดือน  ต้องยกเลิกใช้วิธีโอนเข้ามูลนิธิเหมือนกับบริษัทอื่นๆ ที่ช่วยสนับสนุน  ด้วยเหตุผลที่ว่า ครูต้องทำงานกลางคืนด้วย เช่นการตรวจการบ้าน    เตรียมการเรียนการสอนสำหรับวันต่อไป อีกวันละสามชั่วโมง    

          บริษัทธนายง  ที่สร้างตึกแฝดจำนวน 9 หลัง     อาคารเรียนที่บริษัททำให้สวยเหมือนที่โฮมเพลส  แต่ศูนย์เด็กก่อสร้างอยู่ในน้ำ  ซึ่งไม่ปลอดภัยกับเด็กเป็นอย่างมาก   อาคารที่สร้างให้ไม่มั่นคง  ที่ศูนย์เด็กก่อสร้างแห่งนี้  เป็นแห่งแรกที่ถูกขโมยอุปกรณ์เครื่องครัวและวิทยุ ที่ใช้สอนเด็ก     ทางเจ้าของโครงการเป็นส่วนที่รับผิดชอบทั้งหมดในการหาซื้ออุปกรณ์      ทางโครงการทำงานกับบริษัทเป็นเวลากว่า สามปี


          บริษัทศรีวรา เอ็นจิเนียริ่งจำกัด   ก่อสร้างตึกซัน  ที่ถนนรัชดาภิเษก   เป็นการอยู่กับบริษัทอย่างยาวนานกว่า  10 ปี    ซึ่งเป็นศูนย์เด็กอาคารสถานที่ดีมาก   ตลอดจนสามารถจัดการเรียนการสอน และการตั้งศูนย์เด็กนอกระบบ  ได้ถึง 3-4 รุ่น   เด็กของมูลนิธิฯรุ่นแรกๆ  ก็จบการศึกษานอกระบบจากศูนย์เด็กก่อสร้างศรีวราห์   

          บริษัทเมืองไทย  จำกัด  เปิดศูนย์เด็กก่อสร้างได้ประมาณ ปีครึ่ง    เป็นครั้งแรกที่เริ่มมีเด็กพม่าเข้ามาเรียนในศูนย์เด็กประมาณปี 2538 

          บริษัทแปลน เอ็นจิเนีย จำกัด  ที่ก่อสร้างตึกของจุฬาลงกรณ์   ในปลายปี 2539   พอขึ้นปี 2540  เจอวิกฤติเศรษฐกิจ  ต้มยำกุ้ง   ทุกโครงการขอปิดโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างงดการสนับสนุนงบประมาณ  เพราะทุกบริษัทเจอพิษค่าเงินบาทลอยตัว

          งานเพื่อสังคมของบริษัทก่อสร้างก็ยุติตัวลงไปด้วย  ความซบเซาของเศรษฐกิจส่งผลเป็นระยะยาวกว่าสิบปี   กว่างานอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัวกันอีกครั้ง     ช่วงนั้นเกิดภาวะตึกร้างขึ้นเป็นจำนวนมาก  จนถึงบัดนี้บางตึกยังเป็นคดีความกันอยู่เลย

          ในปลายปี 2549  ทางบริษัทนารายณ์พร๊อพเพอตี้  จำกัด  ได้มีการประสานงานมายังมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กอีกครั้ง    ในการให้ทางมูลนิธิฯไปเปิดโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง  ครูจิ๋วเองลงไปสำรวจคนงานซึ่งมีจำนวนมาก พร้อมกับเด็กที่ติดตามพ่อแม่ก็มีจำนวนมากด้วย    ตั้งแต่ กรกฎาคม    จนถึงเดือนธันวาคม    การทำงานได้แรงกระตุ้นอย่างมาก ว่าต้องกลับมาฟื้นฟูโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างอีกครั้ง  


          จนมีการสัญญาว่าทางบริษัทเจ้าของโครงการต้องสนับสนุนไม่น้อยกว่าสามปีนะ   ไม่อย่างนั้นโครงการไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องแน่     คนทำงานอย่างครูยังรู้สึกว่าเจ็บปวดทุกครั้งที่นึกถึงครู ครูศูนย์เด็กก่อสร้าง  ถึงแม้บางคนไปทำงานเป็นราชการไปแล้วก็ตาม

          ในปี พ.ศ. 2550 เปิดศูนย์เด็กก่อสร้างเดอะพาร์ค อย่างเป็นทางการ  เป็นจดเริ่มต้นอีกครั้งในงานของศูนย์เด็กก่อสร้าง  ได้คลื่นลูกใหม่มาทำงานด้ายอยู่ได้ประมาณปีกว่า    สนับสนุนงบประมาณโดยบริษัทเจ้าของโครงการ  ซึ่งก่อสร้างเสร็จในปี 2553   ยุติการสนับสนุน    แต่งานนี้ครูจิ๋วของงบจากที่อื่นมาประคองศูนย์เด็กก่อสร้างอีกครั้ง

          ในปี พ.ศ. 2555   กับ  พ.ศ.2556  ครูได้งบประมาณจากกองทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์    ซึ่งให้เงินทั้งเงินเดือนพร้อมกับค่าอาหารของเด็ก  และมีการย้ายศูนย์เด็กก่อสร้าง     โดยอาคารสถานที่เป็นของบริษัททีทีเอส เอ็นจิเนียริ่งจำกัด สนับสนุน  พร้อมทั้งค่าไฟฟ้าและค่าน้ำ   ที่ใช้ในศูนย์เด็กก่อสร้าง

          เมื่อปี พ.ศ. 2558   เริ่มมีบริษัทการก่อสร้างแห่งหนึ่ง   ร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศเจ้าเดิม  ทำโฆษณาอย่างใหญ่โตในการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เด็ก  ว่าเป็นบริษัทแรกในการดำเนินกิจกรรม  เดิมครูคิดมาตลอดว่าดีเหมือนกันที่มีหน่วยงานมาช่วยกันทำงาน     หน่วยงานโหมโฆษณาอย่างหนักมากทั้งสื่อวีดีโอไม่ต่ำกว่าแปดตอน    สื่อสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่เอกสารเป็นเล่ม  และเผยแพร่ตามสื่อที่สนามบินทุกแห่ง    ในปัจจุบันเหลือแต่ร่องรอย    ตอนนี้สนับสนุนให้อีกหน่วยงานหนึ่งมาทำวิจัย   และลงพื้นที่ด้วย  แต่การดำเนินการไม่ต่อเนื่อง    กับหน่วยงานที่เขาดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน  ไม่เรียนรู้งาน หรือวิธีการทำงาน   ในใช้ทุนแค่ไหน     งานที่อยากให้เป็นก็ดำเนินการไปไม่ถึงฝัน  หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้


          งานของโครงการศูนย์เด็กก่อสร้างได้มีน้องนักข่าวมาสนใจอีกครั้งในฐานะของโรงเรียนตู้คอนเทนเนอร์    เป็นข่าวตั้งแต่ปลายปี 2557  จนถึงปัจจุบัน   ที่ทางโครงการยังทำโครงการยังแบบครบวงจรอยู่หนึ่งแห่ง   คือครูที่ทำกิจกรรมพักอาศัยนอนในแหล่งก่อสร้าง  ทำอาหารเลี้ยงเด็กในมื้อกลางวัน  มีอาหารเบรก  สองครั้งในแต่ละวัน   จัดการเรียนการสอนอย่างเต็มวัน    ศูนย์เด็กเลยกลายเป็นแหล่งเรียนรู้   เป็นแหล่งฝึกงานให้กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ  รวมถึงนักข่าวฝึกหัดจำนวนมาก  ที่ต้องการงานสนาม  ที่ลงทำงาน   เพราะงานอยู่ในแหล่งก่อสร้าง  นักศึกษาที่ลงมาทำกิจกรรมจะถามเสมอว่า ครูเขาอยู่กับเด็กเหล่านี้ได้อย่างไร   อยู่กันมานานแล้วค่ะ     งานจริง ของจริง  ต้องของโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง   ถึงแม้หลายหน่วยงานพยายามจะลงทำกิจกรรมเอง   ลงงานเอง ถ้าได้เจ้าหน้าที่ใจไม่ถึง   งานก็ยุติเหมือนกัน  สำคัญที่สุดคือ ครูที่สอนต้องรักในตัวเด็กที่จะทำ     รักในงาน   อยากเห็นเด็กอ่าน ออก เขียน ได้   และทนต่องานทุกด้าน   

          งานเหล่านี้ต้องใช้คนที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้วย  พร้อมที่จะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ด้วยเพราะเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างปัจจุบันเป็นเด็กต่างด้าวทั้งหมด  การใช้ภาษาต้นทางของเด็กมีความสำคัญเหมือนกัน    ครูจึงต้องสื่อสารภาษากัมพูชา  ภาษาพม่าได้

          เริ่มจากเดือนมิถุนายน  2560   เป็นอีกครั้งของบริษัทเจ้าของโครงการบริษัทนารายณ์พร๊อพตี้ สนับสนุนค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าอุปกรณ์การเรียน พร้อมค่าอาหาร   แต่สิ่งสำคัญคือทางโครงการไม่สามารถให้ครูเพิ่มเป็นสองคนได้   จึงมีความจำเป็นที่ต้องขออาสาสมัครมาเสริมทัพในการทำงานของโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง


          ในขณะนี้ทางบริษัทได้ลงเจ้าหน้าที่เข้ามาทำกิจกรรมกับเด็ก   และทางบริษัท ทีทีเอส ได้สนับสนุนอาคารสถาน ตลอดจนตู้คอนเทนเนอร์ ที่ทำเป็นศูนย์เด็ก      บริษัทเหล่านี้ทำธุรกิจเพื่อสังคม กับเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างมาอย่างต่อเนื่อง  เป็นบริษัทที่ไม่ได้เปิดเผยในการทำกิจกรรม  แต่สนับสนุนเหมือนปิดทองหลังพระมาตลอด 

          ขอบคุณแทนเด็กๆ ลูกกรรมกรก่อสร้าง ที่เข้ามาใช้บริการขอศูนย์เด็กก่อสร้าง  เด็กเหล่านี้หลายคนเติบโตกลายเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเอง  จะมาบอกเสมอว่าเพราะศูนย์เด็กก่อสร้าง ที่ลงไปในแหล่งก่อสร้าง พวกเขาถึงได้มีวันนี้

          ศูนย์เด็กก่อสร้างเป็นงานเชิงรุกอย่างแท้จริง ในการสร้างโอกาสให้เด็กได้มีที่ยืนบนสังคม