การบริหารจัดการ เด็กที่ติดโควิด-19(เด็กเร่ร่อน/เด็กลูกกรรมก่อสร้าง ตอนที่ 5 ) กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงพื้นที่ แคมป์งานก่อสราง
นางสาวทองพูล บัวศรี(ครูจิ๋ว)
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ด้วยการประกาศของรัฐบาล ให้คนงานก่อสร้างหยุดงานทุกแคมป์งาน ความปั่นป่วนกับคนงานก่อสร้างเกิดความโกลาหลเกิดขึ้นอย่างมากมาย เริ่มตั้งแต่
1.คนงานก่อสร้างที่เป็นคนไทย ให้ “กลับบ้านเกิดเมืองนอน” ส่วนมากเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งมีลูกน้องส่วนใหญ่เป็นคนต่างด้าว รายการนี้เกิดการทิ้งทุกคนไว้ข้างหลังหมด ผู้รับเหมาเองก็เอาตัวไม่รอดด้วย บางครอบครัวติดโควิด-19 กลับไปด้วยการแพร่ระบาด ระบาดอย่างรวดเร็วมาก ในช่วงเดือนกรกฎาคม ติดกันเกือบ ตั้งแต่ระดับ ห้าพันคนขึ้น จนถึงสูงสุดเกือบสองหมื่นคนในเดือนกันยายน 2564 คนตายก็เกือบกว่า สี่ร้อยคน สร้างประวัติศาสตร์เกิดขึ้นในประเทศไทย
แพะรับบาปคือคนงานก่อสร้างในระดับล่าง กับคนในชุมชนแออัด แต่มิได้ลงโทษ ผู้รักษากฎหมายตลอดจน นักเที่ยวกลางคืนที่เกิดคลัสเตอร์ใหญ่ แล้วลุกลามไปทั่ว พร้อมทั้งผู้ที่นำเข้าแรงงานเถือน ก็คือ ผู้รักษากฎหมาย คนเล่านี้กลับลอยนวล ร่ำรวยด้วยการทำผิดกฎหมายเสียเอง แล้วยังเอาเชื้อมาเผยแพร่จน จัดการไม่ได้
2.คนงานก่อสร้างที่เป็นกลุ่มทำ MOU เป็นคนงานก่อสร้าง ที่บริษัทนำเข้า ต้องส่งกลับประเทศ ตามนโยบาย ของรัฐที่ประกาศ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน จน สิ้นเดือนกรกฎาคม คนงานก่อสร้างต่างด้าวไหลออกกลับเมืองของตนเอง ทั้งพม่า และกัมพูชา
การเดินทางกลับครั้งนี้ ไม่มีหลักประกันว่าจะได้กลับมาเมื่อไหร่ และที่สำคัญกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีประกันสังคม เพราะเข้าประเทศตามหลักการที่ถูกต้อง เมื่อรัฐไล่คนเหล่านี้กลับประเทศก็ไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาล ค่าเงินที่เขาควรจะมีสิทธิตามหลักประกันสังคม งานนี้คนที่ทำถูกกฎหมายมีเสียกับเสียเท่านั้น แล้วเงินเหล่านี้กระทรวงแรงงานคืนให้คนงานก่อสร้างอย่างไร เมื่อไม่มีตัวตนอยู่ในประเทศไทย พร้อมติดต่อกันกว่า 3-6 เดือน เมื่อต้องเข้ามาใหม่ ทุกอย่างก็ต้องเริ่มใหม่ทันที
คนงานก่อสร้างที่เป็นคนต่างด้าว ที่ผ่านการทำ MOU ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตามหลักการเข้าประเทศ ตามนโยบายของรัฐ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน จนถึงปัจจุบัน จำนวนมาก ด้วยว่าประเทศไทยเปิดประเทศแล้ว งานก่อสร้างเริ่มมีงานเข้ามาจำนวนหนึ่ง และต้องการแรงงานเถื่อนเหล่านี้
3.คนงานก่อสร้างเข้าเมืองที่ผิดกฎหมาย แต่ยังอยู่ในแคมป์งานก่อสร้าง คนเหล่านี้ติดโควิด-19 กันถ้วนหน้า แต่ไม่มีใครได้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพราะไม่มีหลักประกันสังคม จึงหลบซ่อนกันรักษาตัวที่ในแคมป์งาน
สิ่งที่ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ทำได้ คือ
(1) การแบ่งปันถุงยังชีพกว่า 5,000 ชุด ไปยังแหล่งก่อสร้างต่างๆ ซึ่งเน้นไปที่กลุ่มคนงานก่อสร้างติดโควิด-19/กลุ่มครอบครัวที่มีแม่กับเด็ก /กลุ่มผู้สูงอายุ แล้วทำงานไม่ได้แต่อาศัยอยู่ในแคมป์คนงาน /กลุ่มคนพิการทั้งเด็กและผู้สูงอายุ
(2) การประสานของชุดตรวจ วัดความดัน ยาแก้ไอ ยาพารา ยาฟ้าทะลายโจร กว่า 250 ชุด ที่ประสานงานพร้อมลงไปมอบให้โดยการผ่านไปยังผู้รับเหมาก่อสร้าง มีกว่า 20 แหล่งก่อสร้าง ที่ติดลามกันอย่างรวดเร็ว ด้วยรถขายอาหาร/และคนงานก่อสร้างที่ไปรับอาหารบริจาค จากหน่วยงานต่างๆ จำนวนมาก
ประสานงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ที่มีชุดตรวจ ATK ให้คนงานก่อสร้าง โดยไม่มีบอกผู้รับเหมา ทางทีมเคลื่อนที่เหล่านี้ต้องการยุติการแพร่กระจายเชื้อ ทางบริษัทเลยต้องยอม ทางครูเองก็ทำเฉยๆ แบบไม่รู้ไม่ชี้ เพราะข้อมูลที่ทางบริษัท ต้องการปิด ครูก็เลยเปิด เพื่อให้หนวยสาธารณสุขได้ลงพื้นที่ คนงานก่อสร้างพร้อมเด็ก เด็ก ได้รับการดูแล
สำหรับยาฟ้าทะลายโจร ที่ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างได้รับมาพร้อมแบ่งปันไปให้ครอบครัวที่ติดโควิด-19 กว่า 1,500 กระปุก พร้อมแนะนำการต้มน้ำขิง/ปั่นนำกระชาย/น้ำมะนาว ให้คนงานก่อสร้างตามแคมป์บ้านพักคนงานดื่มแทนน้ำเปล่ากันเลย
สำหรับน้ำมะนาว เป็นคำแนะนำมาจากคุณหมอโรงพยาบาลภาคสนาม และคนป่วยที่อยู่โรงพยาบาล มาเล่าต่อกันว่า ทุกเช้าเมื่อกินยาฟาริฯแล้ว ทุกคนดื่มน้ำมะนาวให้ทุกสี่ครั้งต่อวัน ลดอาการ พร้อมสร้างภูมิให้ต่อสู้กับโควิด-19
มีแคมป์คนงานก่อสร้างที่เป็นคนงานก่อสร้างชาวพม่าทั้งหมดติดโควิด-19 ยกทั้งแคมป์ ทางผู้รับเหมาอยู่ข้างนอก เป็นคนประสานงานหาอาหาร/ประสานกับสำนักงานเขตหลักสี่ (ปิดล้อมกันสังกะสีสูงมาก ตีประตูสังกะสี แบบปิดสนิท ดีประตูตายกันเลย) ล้อมด้วยเชือกอีกต่างหาก แบบประจานกัน แต่งานนี้คนก่อสร้างได้ยาฟาริฯทันเวลา พร้อมน้ำกระชาย รอดตายกันทั้งแคมป์ ทางทีมสาธารณสุขก็ลงพื้นที่แบบทันอกทันใจ แต่ก็ทิ้งเวลากว่า 3 วัน การกดดันเกิดขึ้นเมื่อทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างนำข้าวสารอาหารลงไปมอบ ทหารพร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตหลักสี่ ถ่ายภาพส่งไปให้ผู้ใหญ่ แต่ละหน่วยงาน สำหรับครูก็พูดแบบขู่ๆ ถ้าไม่ลงจะเอากาดชาดมาลงจัดการเชื้อให้ยุติ แต่ครูก็ประสานกับกาชาดจริงๆ เป็นห่วงคือยาต้องลงมาให้ถึงมือของผู้ป่วย ถ้าจะปิดแคมป์เขาทุกอย่างต้องพร้อม ครูเช็คทุกวันได้ยา ได้อาหาร ได้นมไหม ทำงานแบบกดดัน จนหายทั้งแคมป์ รักษาตัวกันในแคมป์ เป็นอีกโมเดลหนึ่ง แต่ทุกอย่างต้องรวดเร็วถึงพร้อมด้วยยาและอาหาร ให้คนงานก่อสร้างเหล่าพักผ่อนให้เต็มที่
มีกลุ่มคนต่างด้าวที่พระนครศรีอยุธยา หนีออกจากแจ้งวัฒนะหก ไปหลบซ่อนกันที่สนามกอลฟ์ ไม่มีข้าวสาร/อาหารแห้ง ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ มอบไปกว่า 50 ชุด พร้อมยา พร้อมหน้ากากอนามัยและแอลกฮอล์จำนวน 20 ลิตร เอาไปโดยการใช้ขวดแบ่งให้แต่ละครอบครัว รวมถึงเสื้อผ้าจำนวน 6 ลัง ด้วยทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดการฉีดวัคซีนให้คนที่อาศัยอยู่ในพระนครศรีอยุธยา ได้รับวัดซีน กันกว่า 50 คน
(3)ประสานงานกับมูลนิธิกสิกรไทย ที่มอบชุดถุงยังชีพกว่า 400 ชุด พร้อมทั้งเสนอข้อมูลที่จะนำไปมอบให้กับชุมชนต่างๆ เช่น ชุมชนเสื่อใหญ่ประชาอุทิศ /ชุมชนโค้งรถไฟยมราช/ชุมชนเพรชบุรีตัดใหญ่ ซอย5/ซอย 7 โดยทางเจ้าหน้าที่ลงไปดำเนินการเองกว่า 300 ชุด
มีผู้รับเหมาก่อสร้างได้เล่าขานการทำงานของโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ครั้งนี้ จึงมีการโทรศัพท์แบบทางลับว่า แคมป์บางนามีเด็กกันด้วย งานนี้เปิดเผยไม่ได้ ส่งยาทางลับ กับประสานกาชาดลงพื้นที่ไปเลย ทางกาชาดใช้วิธีการยกรถ ตรวจแบบใช้ ATK กันเลย ทางผู้รับเหมาเลยต้องมีการแยกกัก พร้อมการตรวจคัดกรองทุกคน ผลปรากฏว่า ติดกันเกิน 80 เปอร์เซ็นต์ ทางกาชาดเลยต้องจัดยาให้ พร้อมยุติการแพร่เชื้อ ครั้งสอนให้รู้ว่า ต้องบอกความจริงทุกหน่วยงานจะได้ช่วยเหลือกันได้ ทีมงานครูให้เงียบที่สุด เพราะบางครั้งต้องทำงานรุก แบบนี้เหมือนกัน
เมื่อทีมงานครูลงทำงานกันแบบนี้ มีทีมงานน้องๆ จากกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ส่งข้าวสาร/อาหารแห้ง พร้อมนม/ขนมมาช่วยแล้วรับรู้ข้อมูลข่าวสารแบบนี้ จึงมีการเสนอทาง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ลงพื้นที่ไปรับรู้ข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นในภาคสนาม โดยมีคุณปรีดา คงแป้น (พี่ด้วงของ พี่น้อง ชาวองค์กรพัฒนาเอกชน) ซึ่งครูขอเสนอข้อเสนอ ดังนี้ คือ
1.แหล่งก่อสร้าง ที่ มีคนงานก่อสร้างตั้งแต่ 80 ครอบครัว ระยะก่อสร้าง ตั้งแต่ 8 เดือน ขึ้นไป ควรเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน เข้าไปทำกิจกรรมกับเด็ก เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะชีวิต ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ลงทำงานมาอย่างต่อเนื่อง เด็กได้รับโอกาส พัฒนาเป็น พันคน เข้าเรียนในระบบกว่า 227 คน
2.เด็กที่เกิดในประเทศไทย ทั้งเด็กไทย/เด็กต่างด้าว ต้องได้ใบรับรองการเกิด ไปสู่การทำใบเกิด เด็กที่อยู่ในแหล่งก่อสร้างจะได้มีเอกสารแสดงตัวตนของตนเอง ไม่ได้เป็นคนเถื่อน เป็นคนตัวเป็นๆ แต่ไม่มีเอกสารก็บ่งบอกว่าไม่สิทธิอะไรเลย
3.เด็กที่อยากเรียน ต้องได้เรียน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนก็ตาม โรงเรียนต้องรับเข้าเรียน มีตัวอย่าง ผอ.โรงเรียนแห่งหนึ่งบอกกับครูว่า เด็กไทยน้อยลง แต่เก้าอี้ โต๊ะเรียน สถานที่ สามารถรับเด็กเข้าเรียน เพียงค่าอาหารก็เฉลี่ยไปก่อน เมื่อเด็กเหล่านี้ เข้าระบบ อักษร "G"
4.ควรที่จะต้องมีองค์กรใด องค์กรหนึ่ง เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องชุดยังชีพ เป็นภาพรวม ไม่อย่างนั้น คือปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะคนด้อยโอกาสยังต้องการข้าวสารอาหารแห้งเป็นหลัก เพื่อพยุงชีวิตให้รอดปลอดภัย
เป็นอีกบทเรียนของ “โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่”