banner
จันทร์ ที่ 27 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2564 แก้ไข admin

การบริหารจัดการ เด็กที่ติดโควิด-19(เด็กเร่ร่อน/เด็กลูกกรรมก่อสร้าง ตอนที่ 4 ) ทีมงานต้องกลายเป็นหมอเถื่อน



 นางสาวทองพูล   บัวศรี(ครูจิ๋ว)

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          เมื่อมีการระบาดของโควิด-19  แบบเอาไม่อยู่  ทีมงานครเองก็ไม่คาดว่าจะระบาดแบบรวดเร็วกลุ่มคนที่ด้อยโอกาส แบบไม่มีทางเลือก ตั้งแต่สลัมคลองเตย ลามมาถึงกลุ่มคนใช้แรงงานในแหล่งก่อสร้างจนรัฐบาลต้องมี ข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564  เน้นไปที่

          ข้อ 2 การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างเขตพื้นที่กรุงเทพทหานครและปริมณฑล  เพื่อควบคุมโรคและป้องกันการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการอาชีพแรงานก่อสร้างซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงและพบการระบาดแบบกลุ่มก้อน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดปริมณฑล  อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พิจารณามีคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร  หรือพื้นที่ดำเนินการการก่อสร้าง และห้ามการเดินทางและเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน เป็นการชั่วคราวอย่างน้อยสามสิบวัน







          .ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสนับสนุนกำลังจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เข้าดำเนินการตรวจตราและกำหนดเงื่อนไขจำกัดการเดินทางเข้าออกสถานที่พักการตั้งจุดตรวจและสกัดการเดินทางออกนอกเขตพื้นที่ การสั่งให้ปรับปรุงสุขาภิบาลของสถานที่พัก และตรวจสอบการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรค หลักเกณฑ์ จัดทำทะเบียนและแนวปฏิบัติที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19(ศปก.ศบค) ร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงสาธารณสุข กรุเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดต่อไป


          พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อเข้าจัดการสถานที่พักอาศัยชั่วคราวที่มีคำสั่งปิด  เพื่อใช้เป็นสถานที่กักกัน สถานพยาบาล โรงพยาบาลสนามชั่วคราว หรือเพื่อประโยชน์ต่อการควบคุมโรคได้ตามความเหมาะสมภายใต้การกำกับของกระทรวงสาธารณสุข

          ให้หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบประสานงานกับผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อให้ความช่วยเหลือหรือดำเนินการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ประกอบอาชีพแรงงานก่อสร้างตามวรรคหนึ่งตามความเหมาะสม


          คำสั่งข้างต้นมีข้อปฏิบัติอีกมากมาย  แต่บทความครั้งนี้เน้นเฉพาะไปที่  เกี่ยวกับแรงงานก่อสร้าง มีการลงประกาศเมื่อ วันที่ 26 มิถุนายน  2564 และใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564  มีการบอกกล่าวล่วง   สิ่งที่เกิดขึ้น

          (1)  ได้เห็นภาพการเคลื่อนย้ายของคนงานก่อสร้าที่เป็นคนไทย ส่วนใหญ่เก็บข้าวของใส่รถกะบะกลับบ้านต่างจังหวัด  พร้อมพาโรคโควิด-19 ที่อยู่ในระหว่างการฟักตัว  เมื่อถึงบ้าน ก็เจ็บป่วย พร้อมมีการแพร่ระบาดตามจังหวัดต่างๆ  ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 สูงขึ้นมาก  ทำให้ทุกจัหวัดต้องมีการฝ้าระวัง   มีโรงสนามเกิดขึ้น  ตลอดมีการกักตัวเกิดขึ้น   คนป่วยที่มีเชื้อลงปอดกับการตายก็เพิ่มเป็นประวัติการณ์    การรักษาตัวที่โรงพยาบาล คนป่วยหนักที่ต้องใช้การใส่ท่อจนไม่มีเตียงในโรงพยาบาล  จึงได้เห็นคนตายในบ้านเป็นจำนวนมาก

          ภาพคนงานก่อสร้างที่เป็นชาวกัมพูชา ที่ถูกกฎหมาย/และกลุ่มที่ผิดกฎหมาย ต่างทยอยกันกลับไปประเทศต้นทาง  ด่านทุกด่านปิดหมด 

          ภาพคนพม่าที่เหมารถตู้ไปส่งชายแดนที่แม่สอด  เดินข้ามสะพานกลับไปประเทศพม่า มีจำนวนมากเป็นหลักแสน ที่กลับประเทศของต้นเอง  งานก่อสร้างทุกแห่งยุติการก่อสร้างชั่วคราวทั้งประเทศ  เป็นการยุติการก่อสร้างชั่วคราวจริง   แหล่งก่อสร้างเปรียบเสมือนเมื่องร้างกันไปเลย


          (2)  สำหรับคนงานก่อสร้างส่วนใหญ่ที่อยู่ในแคมป์ก่อสร้าง  ส่วนมากเป็นคนงานก่อสร้างที่เป็นคนต่างด้าว และเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย  ไม่ได้มีสิทธิประกันสังคม

          เสียงทักท้วงมีจำนวนมากในการปิดแคมป์ก่อสร้างในครั้งนี้  เพราะว่าแหล่ก่อสร้างทุกแห่งไม่ได้ติดโควิด-19   แต่กระทรวงแรงงานก็ยืนยันวา ต้องปิด และจะดูแลทุกคนทุกแคมป์คนงานก่อสร้างทุกแห่ง ไม่ให้มีใครอดตายอย่างเด็ดขาด

          เมื่อทุกอย่างต้องหยุดชะงักงันในแคมป์คนงานก่อสร้างเกิดขึ้น  เมื่อไม่ได้ทำงานก็ไม่มีเงิน  งานนี้เกิดความอดยากกันเกือบทุกแคมป์  นโยบายที่เป็นสิ่งลอยลมหรือสัญญาที่หาตัวตนไม่ได้   งานนี้ผู้รับเหมาที่หนีกลับบ้านไปแล้ว ก็ปล่อยลูกน้องตามยถากรรมกันเลย

          สิ่งที่ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ดำเนินการ

          1.ประสานงานกับบริษัทก่อสร้าง/ผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่พวกเราทำงานอยู่  ว่าต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง  แต่ทางโรงเรียนฯมีความเป็นห่วง ครอบครัวที่มีเด็กมาอยู่ด้วย  เพราะเวลาเจ้าของโครงการหรือผู้รับเหมา ให้ข้าวกล่อง ก็ให้เฉพาะ คนงานก่อสร้างเท่านั้น   ลูกเมีย พ่อหรือแม่ ที่มาอาศัยในแคมป์งานถือว่าเป็นความรับผิดชอบของครอบครัว 


          -กรณีเด็ก/เมีย/พ่อ/แม่/คนพิการ/คนป่วย   งานนี้กลายเป็นภาระทันทีของครอบครัว   สำหรับโรงเรียนฯคิดว่าต้องประคองครอบครัวเหล่านี้ก่อน   จึงให้ผู้รับเหมาก่อสร้างสำรวจข้อมูลพื้นฐานให้ก่อนเป็นอันดับแรก

          2.ทางทีมงานเริ่มลงมือในการทำงานประสานหาสิ่งของจากเครือข่าย  โดยมีการจัดถุงยังชีพ  แบบ 3 รูปแบบด้วยกัน

          -รูปแบบที่ 1  แบบ ครอบครัวจัดเต็ม ด้วยข้าวสาร 5 กิโลกรัม/เส้นมะหมี่จำนวน 10 ซอง(เป็นห่อ ห่อละ 10ซอง)/น้ำมัน 1 ขวด/ นำปลา 1 ขวด/นม 1 แพ็ค/ปลากระป๋อง 1 แพ็ค (10 กระป๋อง) หน้ากากอนามัย 1 กล่อง  ให้ครอบครัวที่มีลูก 2-3 คน  อยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์


 

          รูปแบบที่ 2 แบบรายบุคคล  ข้าวสาร 2 กิโลกรัม /เส้นมะหมี่ 5 ซอง/ปลากระป๋อง 3 กระป๋อง/นม 1 แพ๊ค/ขนมปี๊ป 3 ขีด/หน้ากากอนามัย 5-10 ชิ้น (มีทั้งหน้ากากผ้า/หน้ากอกอนามัย)น้ำเปล่า 1-2 ขวด  อยู่ได้ประมาณ 1 สัปดาห์

          รูปแบบที่ 3  เป็นกลุ่มคนไร้บ้าน/ เน้นเป็นบะหมี่ ที่เป็นกล่อง1 กล่องแบบซองอีก จำนวน 5 ซอง/นม 1 แพ๊ค/น้ำเปล่า 2 ขวด/ขนม 1 ถุง (แล้วแต่ที่จะหาได้ แต่สิ่งที่ชอบมากคือ ขาไก่/ขนมปังใส้สัปรด)หน้ากากอนามัย

          รูปแบบที่ 4 คือยาฟ้าทะลายโจร /ยาแก้ไอ/ยาพาราเซทตามอล   (แล้วแต่แคมป์คนก่อสร้างที่ติด  งานนี้เป็นหมอเถื่อนแบบเต็มตัว)

          แล้วกระจายจ่ายแจกไปตามพื้นที่ต่าง จำนวนกว่า 30 พื้นที่ด้วยกัน  แบบทุกบริษัทมารับกันที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก


 

          3.ในกรณีที่ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างลงพื้นที่ไปดำเนินการเอง  ช่วงครั้งแรกที่พอลงได้บ้าง คือ แคมป์คนงานก่อสร้าง หมู่บ้านแรน แคนนอล  โดยมีทหารเข้าประจำการที่แคมป์คนงานก่อสร้าง แบบสลับ ปรับ กันลงมาพื้นที่แบบเต็มเลย

          -ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ จัดจัดถุงยังชีพ จำนวน 60 ชุด  พร้อมไปประสานงานกับทหารที่หน้าแคมป์ เป็นการต่อรองที่ ทางทีมงานต้องการให้ทหารเปิดโอกาสให้ครอบครัวก่อสร้างที่มีเด็กออกมารับข้าวสาร พร้อมมีโอกาสได้พูดคุย  ถามสารทุกข์สุขดิบ

          -เป็นไปดังคาดว่ามีเด็กจำนวนหนึ่ง มีเริ่มติดโควิด-19  แต่ทางบริษัทปิดเงียบ  ครูรู้เลยต้องมีการส่งยาฟ้าทะลายโจร ยาแก้ไอ ยาพาราเซทตามอล  และพวกขิง กระชาย ใบมะกรูด  ที่หามาได้ ประคับประคอง รักษาตัวกันในแคมป์คนงาน 

          ต้องขอขอบคุณ ทางคุณแตน /คุณจุ๊   ที่ซื้อยากันมาให้  ได้ให้ครูเป็นหมอสมใจนึก ที่ออกรักษาผู้ป่วย  จนหายดี   แบบลูกทุ่ง ที่ยุติเชื้อ  และมีการตรวจด้วย ATK  จนหายกันทุกคน 

          แต่เป็นช่วงที่ทั้งทีมงานของกังวล/เครียด    แต่ขึ้นอยู่กับการจัดการ

          เป็นอีก  “หนึ่งบทเรียนที่เป็นครูเถื่อน เป็นหมอเถื่อน”  ให้ทุกคนรอดปลอดภัย