โควิด-19 เด็กเร่ร่อน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ตอนที่ 6 คนมีปัญหาสุขภาพจิต ถนนรามอินทรา/บางกะปิ/ลาดพร้าว)
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
การปรับงาน ทางโครงการครูข้างถนน กับโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ การแบ่งพื้นที่ในการลงพบ คนไร้บ้าน/คนเร่ร่อน/เด็กเร่ร่อน มีความจำเป็นอย่างมาก แบ่งปันอาหารที่พอจะมีให้คนที่ต้องการความช่วยเหลือ เพื่อการประทังชีวิตให้รอด ปลอดภัย จากโรคโควิด-19 ไปด้วยกัน
สำหรับการลงพื้นที่ ถนนรามอินทรา/บางกะปิ/ถนนลาดพร้าว ลงพื้นที่ จำนวน 5 ครั้ง โดยห่างกันประมาณ 3 อาทิตย์
ทีมของพวกเราลงพื้นที่ในแต่ละครั้งใช้เวลากว่า 5-6 ชั่วโมงต่อวัน สิ่งที่จะได้กลับมาคือ คำบอกเล่าเก้าสิบของกรณีศึกษาในแต่ละพื้นที่ ที่ ทางทีมงานลงพื้นที่
เส้นทางที่หนึ่งเริ่มออกจาก ถนนแจ้งวัฒนะ ที่ตรงไปคือถนนรามอินทรา ครูเคยนั่งรถตู้แล้วใช้การส่องด้วยสายตา มีคนบนท้องถนน จำนวนมาก เริ่มพบคนบนท้องถนน ที่รามอินทรา 31 ซึ่งมี 2 คน ที่กำลังจะนำรถเข็น ออกกลับไปฉะเชิงเทรา แต่ผู้ชายนอนซมอยู่ แต่ผู้หญิงที่มาด้วย กำลังเตรียมอาหารอยู่ ซึ่งไม่มีอะไรที่พอจะกินได้ เป็นข้าวถุงเมื่อครูเข้าไปใกล้มันมีกลิ่นปูดแล้ว ครูเลยถามว่า
มีมาม่า/ขนม/นม/น้ำ รับไหมค่ะ
ผู้หญิง พูดต่อว่า “รับค่ะ” แต่อยากได้ยาแก้ไข/ยาแก้อักเสบ มีตัวอย่างอยู่
จึงพากันไปร้านขายยา ซึ่งเดินห่างออกไปอีก 5 คูหาตึก
คนขายมองหน้าครู บอกว่ายามันแพงนะ จะซื้อให้เขาจริง จริง หรือ
จึงถามว่า ยาที่เขาต้องการ คือยาแก้อะไร ตัวที่หนึ่งเป็นยาแก้ปวดแผล
อีกตัวหนึ่งเป็นยาแก้อักเสบ
คนขายไล่ให้กรณีศึกษาออกไปก่อน แล้วเรียกครูเข้าไปคุยข้างในว่า เมื่อวานสองคนนี้ มาขอยากับร้านค้า แต่ให้แค่ยาพาราแก้ปวดไป
แล้วถามต่อว่า ครูเป็นใครมาจากไหน ถึงจะซื้อยาให้เขา
ครูเลยบอกว่า เราทั้ง 3 คน เป็นเจ้าหน้าที่ โครงการครูข้างถนน และโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ สังกัด มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่ออกลงพบคนที่ต้องการอาหาร/สิ่งจำเป็นที่ ต้องการ
เมื่อคุยกันรู้เรื่อง ถ้า เจ้าหน้าที่เภสัชกรรม แบ่งปันยาให้ประมาณ 7 วัน ซึ่งต้องกิน เช้า-กลางวัน-เย็น โดยคิดค่ายาแค่ครึ่งเดียวของราคาทั้งหมด
เมื่อได้ยามา จึงมานั่งอธิบายให้ผู้หญิง ผู้หญิง กล่าวด้วยน้ำตาว่า พวกฉันไม่มีเงินเลย เคยมีรายได้จาก การเก็บขยะขาย ทำงานแยกขยะ ที่บางแค่ ตอนนี้เขาเลิกจ้าง
ตั้งใจเป็นอย่างมากที่จะพากันกลับไปบ้านนอก ไปอาศัยพี่น้องก่อน ผู้ชายเกิดมาป่วยระหว่างทาง แล้วมีเงินติดตัวอยู่ 20 บาท นอนตรงนี้มา 2 วัน ก่อนที่จะมาพบครู
ได้ยาแก้ปวดกับยาแก้อักเสบไปกินก่อน ครูทิ้งเบอร์โทรศัพท์ เมื่อถึงที่จังหวัดฉะเชิงเทราแล้วช่วยโทรศัพท์กลับมาหาครูด้วย เขาโทรกลับหลังจากนั้นอีกห้าวัน สำหรับสองคนนี้ถึงที่หมายอย่างที่เขาต้องการ
กรณีที่ 2 เป็นชายหนุ่มที่นั่งอยู่ป้ายรถเมล์ ครูลงไปพร้อมกับถุงยังชีพ เขานั่งคุยคนเดียว แต่สายตาที่เหม่อลอยนั้น จ้องมาที่ถุงยังชีพที่ครูว่างไว้ให้ เมื่อรถออกตัว ก็หันไปมองชายหนุ่มคนนี้ รื้อค้นถุงยังชีพ สิ่งที่เห็นคือดื่มน้ำทั้งขวด เสร็จแล้วโยนขวดเปล่าทิ้ง หันเอาห่อขนมปังออกมากิน เห็นได้ชัดว่า เขากำลังหิว ได้แบ่งปันสิ่งของเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เขาต้องการจริง
กรณีที่ 3-4 เดินแบบแต่งตัวสกปรกมาก เป็นผู้ชาย 2 คน ที่อยู่ในวัยกลางคน เดินแบบไม่สนใจใคร เดินพูดคนเดียว สายตาที่มองไม่เป็นมิตรกับใครเลย อาการแบบนี้หลุดเต็มที่เลยค่ะ
สำหรับครูก็ใจกล้ามากที่เดียว รวบรวมความใจเด็ด ยื่นสิ่งของให้ แต่ไม่ได้ลงจากรถ ทั้ง 2 คนก็เดินมารับไป เดินคุยคนเดียวต่อไป พร้อมทั้งหิ้วของไปด้วย
เส้นทางที่สอง วิ่งผ่านถนนเสรีไทย หน้านิด้า พบกรณีศึกษา 6 คน นั่งเรียงกันเลยที่ป้ายรถเมล์ มีคนหนึ่งบอกว่า มีอีกหลายคนหิว อยู่ที่สวนพฤษกบางกะปิ ครูบอกว่ากลับรถไม่ได้ แบ่งปันกันก่อนนะ แล้วครูจะมาอีก อยากนั่งคุยด้วยแต่รถที่ตามหลังมา บีบแตรตลอดเวลา
เส้นทางที่สาม วิ่งถนนลาดพร้าว ส่วนมากที่พบ คือ คนที่มีปัญหาสุขภาพจิต จำนวนกว่า 7 คน แล้วก็เดินคุยคนเดียว คนเหล่านี้ต้องมีความต้องการในการรักษา ต้องการสถานที่รองรับ
ทีมงานของเรามาพบคนเก็บขยะ 5 คน ที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ด้วยการเก็บขยะขาย ทั้งห้าคน กำลังสาระวนอยู่กับการคัดแยกขยะ ที่เป็นกองกระดาษ กองพลาสติค และกล่องต่างๆ แยกเป็นกอง
ครูถาม เจ้าของตึกเขาไม่ว่าอะไรหรือมาอยู่ด้วยกัน
คนเก็บ พวกผมมาอยู่ตรงนี้ เข้าปี ที่ 2 แล้วครับ
ครู ช่วงนี้ขยะเยอะไหม
คนเก็บ บอกว่าน้อยมาก แทบไม่พอขาย ขายออกมาก็น้อยเกินไป
ดีนะวันนี้ได้อาหารของครู
เสียอวยพรตามหลังว่าให้เจริญ เจริญ