banner
พฤหัสบดี ที่ 22 เดือน เมษายน พ.ศ.2564 แก้ไข admin

โควิด-19 เด็กเร่ร่อน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ตอนที่ 5 คนไร้บ้าน ถนนพระปิ่นเกล้า/บางกอกน้อย)

 

นางสาวทองพูล   บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          เมื่อทั้ง 2 โครงการปรับงานแล้วลุยงานให้เป็นเนื้อนาอันเดียวกัน  เพียงตอนเช้าลงแหล่งก่อสร้าง  บ่ายจนถึงเย็นลงพื้นที่ครูข้างถนน ซึ่งจุดเน้น พื้นดั่งเดิมที่ครูลงเป็นประจำ  เพื่อให้เด็กและครอบครัวเด็กอยู่ให้ได้  กับ การลงพื้นที่ใหม่ คิดว่าพบเด็กเร่ร่อน/คนไร้บ้าน  ที่กระจายเป็นผึ้งแตกรัง

          เมื่อทางโครงการลงพื้นที่แหล่งก่อสร้างของบริษัทชิโนทัย ที่ตั้งอยู่วัดเขมา และถนนพระรามห้า  ทุกครั้งหลังรถกะบะ (ขอเปลี่ยนรถโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ เพราะรถหนักมาก  จะใช้น้ำมันเยอะ และด้านหลังบรรทุกสิ่งของไม่พอ) จะมีสิ่งของที่มอบให้กับครอบครัว ที่มีลูก/ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง และคนพิการที่มีอยู่ในครอบครัว 

          และสิ่งของถุงยังชีพ ที่เลี้ยงชีพคนเดียว ส่วนมากเป็นคนไร้บ้าน

          ครูซิ้ม กับผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม  บ่ายนี้ครูขอลงพื้นที่ ถนนพระปิ่นเกล้า/บางกอกน้อย 

ครูบอกเส้นทางได้ไหม  ได้   เพราะทีมเราสามคนมีปัญหาเรื่องเส้นทาง  จำทางไม่ค่อยได้

          สำหรับครู คือ อาศัย เส้นทางตามทางรถเมล์กับรถแท๊กซี่  จึงผิดบ้าง-ถูกบ้าง  แต่ก็ถึงจนได้ 

          สำหรับเส้นทางนี้  มาจำนวน 3 ครั้ง  พบคนไร้บ้านจำนวน 65 คน มีเด็กเร่ร่อน จำนวน 10 คน ซึ่งสำหรับครูถือว่าเยอะมาก   เพราะถนนเส้นทางที่หลบภัย มีน้อยมาก  เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เปิด  คือมีเฉพาะป้ายรถเมล์


 

          เส้นทางเมื่ออกจากแหล่งก่อสร้าง ถนนเส้นที่ 1 คือถนน บางซื่อ ทะลุออกไปทางเส้นทางถนน จรัลสนิทวงศ์ ได้พบกรณีศึกษาคนแรก ที่ตลาด มีตัวอักษรที่ เขียนว่า “ผมเป็นเอดส์”  ต้องการความช่วยเหลือ  ครูนั่งยองๆ ว่าเป็นเอดส์จริงไหม 

ครูแนะนำว่า ถ้าไม่ได้เป็นเอดส์ อย่าเอาข้อความเหล่านี้มาโชว์ความสงสาร  เพราะทุกคนจะกลัว  ไม่มีใครให้  เพราะเป็นโรคที่น่ากลัว  ของคนทั่วไปที่เห็น

ครูพูดต่อ มี”ถุงยังชีพ มีมาม่า/ขนม/น้ำ /นม  รับไหมค่ะ

เขาขอเพิ่มอีก 1 ชุด  เพื่อไปให้ลูกสาว  (ที่บ้านเช่า)

ครูเดินต่อมาอีกประมาณ 3 เมตรด้วยกัน  เจอหญิงสาวที่มีปัญหาสุขภาพจิตแน่นอน  เพราะเห็นครูแล้วเดินเข้ามาให้  รับถุงยังชีพ เลือกน้ำ 1 ขวด  แล้วบอกให้ครูไปเรียกเพื่อนให้รับถุงยังชีพไว้ด้วย 

ครูก็เดินตามไป ที่ผู้หญิงคนนั้นบอก อาศัยอยู่ที่ต่อมอ พร้อมส่งชุดยังชีพให้เพิ่มอีก 1 ชุด  เขายกมือไหว้พร้อม พูดว่า  “เจริญ เจริญ เถอะ  พระคุ้มครอง”


  

          เส้นทางที่สอง  วิ่งตรงไปถนนจรัสสนิทวงศ์  แวะเขาสี่แยกพระปิ่นเกล้า  ผ่านตึกร้างมากมาย  สิ่งที่  ตรงหัวมุมถนน มีเด็กผู้ชายนอนอยู่บนโต๊ะที่นั่ง ตรงสวนหย่อมของสวนสาธารณะ  สิ่งที่พบ คือมีเสื้อผ้า ของเขาตากแดดอยู่บน พุ่มไม้เต็มไปหมด   ซึ่งแสดงว่าเขาเหล่านั้นเพิ่งไปอาบน้ำ  แล้วกลับมาหลบแดด นอนหลับที่โต๊ะตัวนี้อยู่ ข้างที่นอนมีรองเท้าแตะที่ผูกกับขาโต๊ะที่นอน พร้อมมีน้ำ 1 ขวด  ครูเข้าไปเรียกแบบปะชิดตัว ตระโกนดังมาก  เด็กหนุ่มถึงจะตื่น  ครูพร้อมกับยกถุงยังชีพให้  เขาเปิดทันที่สิ่งแรกที่หยิบ แกะห่อนมก่อนเลย พร้อมขนม นั่งกิน แล้วตระโกน  “ขอบคุณครับ ขอบคุณครับ  ผมกำลังหิว  ดื่มน้ำไปค่อนขวดแล้ว  ขอบคุณครับ “

            ครูซิ้มขับรถผ่านถนนพระปิ่นเกล้า ที่เป็นตึกร้าง  เห็น 2 คน นอนหน้าตึกร้าง ครูบอกว่าจอดรถให้ครู  พร้อมกับผู้ช่วยครูรักษ์ยิ้ม  หิ้วของไปให้ 2 ชุด  สำหรับครูจะวุ่นวายที่ต้องปิดหน้ากากอนามัย  พร้อมต้องใส่ถุงมือด้วย  ถ้าใส่ไว้ตลอดก็จะเกิดเหงื่อ เต็มถุงมือ  เมื่อแกะออกมาก็จะคันในอุ้งมื้อเป็นอย่างมาก  จึงต้องเปลี่ยนถุงบ่อยมาก   เพื่อแตกมื้อให้แห้งพร้อมกับใช้เจล/แอลกฮอล ล้างมือตลอดเวลา

ดีที่ครูยอมที่จะซื้อเจลว่านหางจระเข้มาผสมเอง  จะช่วยมือนิ่มไม่แพ้แอลกฮอล์อย่างเดียว   การดูแลตนเองของครูก็ต้องดูแล   อยากจะช่วยคนอื่นก็ต้องช่วยด้วยเหมือนกัน

          ลงมาพร้อมถุงมือ หมวกปิดหน้า ปิดผม และใส่แมสปิดปากอีกครั้ง  แต่ก็ต้องคุยว่าทำไหมมาอยู่ตรงนี้  เขาทั้ง 2 คน  บอกว่าตกงาน ไม่มีงาน ไม่มีเงิน  เก็บขวดเก็บขยะขาย  แต่ไม่พอ  เมื่อคืนตระเวนไป ได้ขวดมา 20 กว่าใบ กับกระดาษที่พวกฉันเอามาปูนอน   “ขอบคุณนะ  ขอบคุณนะ ที่แบ่งปันให้พวกเรา “


 

          เส้นทางที่ สาม  บอกครูซิ้มว่า ไปทางเข้าวัดกัลยณมิตร  มีกลุ่มคนไร้บ้านมาอาศัยนอนศาลาที่ติดน้ำ  เป็นไปดังคาดหมาย  พบกลุ่มคนไร้บ้าน 5 คน ที่นอนอยู่  พร้อมก่อนที่จะเข้าพบคนพิการ 2 คน บอกว่าขอแบ่งปันอาหาร  เพราะเป็นคนที่อยู่ในชุมชนที่ข้างวัด

          เส้นที่สี่  เป็นที่จะไปบางแค  ที่เริ่มต้นด้วยจรัสสนิท 32 พอรถกะบะที่ครูซิ้มขับ  พวกเราก็พบคนไร้บ้านที่อาศัยนอนตามป้ายรถเมล์จำนวนมาก แต่ครูก็กระโดดลงจากรถ มอบถุงยังชีพที่หามาจากเครือข่ายกัลยาณมิตร  ซึ่งมีทั้งเพื่อนฝูงที่รู้ว่าครูลงงานในภาคสนามจริงๆ  แล้วก็ทำแบบทุ่มเท   และสิ่งสำคัญ คือเครือข่ายในการทำงานที่ระดมสิ่งของให้ครูได้มีโอกาสทำงาน  ตลอดจนเพื่อนทาง FC ที่ระดมสิ่งของ   เพราะส่วนมากครูของระดมสิ่งของมาให้ครูได้ทำงานเลย     ขอบคุณทุกคนที่ให้โอกาสครูพวกทีมงานได้ทำงาน

          ส่วนมากที่พบ เป็นกลุ่มคนไร้บ้าน และเป็นผู้ชาย  จนมาพบกับกลุ่มคน กลุ่มหนึ่งประมาณ 8 คน ที่นั่งกันอยู่ที่ป้ายรถเมล์  ครูเองก็ลงหิ้วของไปมอบ

          แต่เริ่มต้นด้วยคำพูดว่าทำไหมมานั่งกันตรงนี้เยอะมาก

          พวกผมมาอาศัยนอน ที่ศูนย์กำจัดขยะ บางกอกน้อย

          ข้างหน้าที่ มีขยะให้พวกผมคัดแยก

          แต่ต้องทำงานในช่วงกลางคืน  ทำเสร็จแล้วตอนเช้าก็เอาไปขายที่โรงงานรับซื้อขยะ

          แต่สามวันนี้  ทางศูนย์กำจัดขยะไม่ให้พวกผมเข้าไปเก็บ

          จึงมานั่งคอย ว่าเขาจะเปิดเมื่อไร.....

พวกผมมีกว่า 20 คน   แต่ครูมีถุงยังชีพอยู่ประมาณ 10 กว่าชุดเท่านั้น

          ครูครับ แบ่งให้แต่ละคนเลยครับ  ทุกคนจะได้มีกินในวันนี้แบบเท่าเที่ยม


  

          งานนี้ครู  ให้ครูซิ้มขับรถไปด้านหน้าไกลก่อน  แล้วครูจัดการแบ่งถุงยังชีพให้ได้กว่า 25 ถุง  คือนมคนละ 3 กล่อง ขนมคนละ 2 ชิ้น มาม่าคนละ 2 ซอง  น้ำดื่มเราได้ทุกคน เพราะครูเอาไปเผื่อไว้ในรถ   แล้วให้ครูซิ้ม  กลับรถอีกครั้ง

          ขับรถมาจอดที่พวกเขาเหล่านั้นนั่งอยู่  แล้วใส่หน้ากากผ้าไป ถุงละ 1 ชิ้น  แต่ไม่พอ  แต่ถุงอาหารได้ครบทุกคน

          ครูชัดเจนว่ากินให้อิ่มท้องไปก่อน

          มีคุณผู้ชายคนหนึ่งว่า  “ผมต้องการหน้ากากอนามัย  เพราะมันแพงมาก  ผมจะได้เข้าไปขออาหารกล่องที่สนามหลวงบ้าง  ไม่มีหน้ากากไม่มีเจล  คือพวกผม  “อด”

          แล้วคนเหล่านี้ก็มารุมล้อมรถกะบะของ พวกเรา 

          ให้ดูเลยว่าไม่มีอะไรเลย   และไม่เลยอะไรที่จะแบ่งปัน

          ตลอดทางการกลับมาที่ทำงาน    งานนี้ครูต้องระดม  “หน้ากากผ้า  สำหรับคนไร้บ้าน/คนเร่ร่อน”

          คืนนั้นก็ขอ  บน FC  ซึ่งมีเพื่อนส่งมาให้จำนวน หมื่นชิ้น  ที่ทางโครงการครูข้างถนน และโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ได้ทำงาน  แบ่งปันให้มากกว่า แปดพันคน ที่ได้รับ

          ขอบคุณ  ขอบคุณ  เพื่อนกัลยาณมิตรทุกคน

          ขอบคุณ ขอบคุณ  ที่ให้พวกทีมงานของครูได้มีโอกาสทำความดี .......