โควิด-19 เด็กเร่ร่อน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ตอนที่ 3 คนไร้บ้าน)
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ปลายเดือนมีนาคม 2563 ทางโครงการครูข้างถนน และโรงเรียนก่อสร้างเคลื่อนที่ต้องปรับงานให้เป็นเนื้อนาอันเดียวกันเพราะต้อการพลังในการทำงาน เมื่อปรับงานเพื่อคงพื้นที่ในการทำงานของทั้งสองโครงการไว้ เพราะต้องดูแลกรณีศึกษาที่ทางโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นพื้นที่กลุ่มเสี่ยง ที่จะออกมาบนท้องถนน และคนเหล่านี้ต้องเผชิญความอดอยาก เพราะไม่มีรายได้เข้า ด้วยหลายเหตุผล ครูเลยต้องพูดคุยปรับความเข้าใจในทีมงานว่าพวกเราจะลุยไปด้วยกัน เพราะมันคือโอกาสทอง ที่ให้โอกาสพวกเราได้ทำงาน
งานของทั้ง 2 โครงการ ต้องเป็นหลัก เน้นที่กลุ่มเป้าหมายต้อง “ให้รอดปลอดภัย” ไปด้วยกัน ต้องมีกิน ไม่ให้อดอยาก เพราะว่างานนี้โรงเรียนก็ปิดยาว แต่สำหรับครูมีอีกกลุ่มที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก คือกลุ่ม “คนไร้บ้าน/คนเร่ร่อน” พร้อมกับไม่ให้อยู่ในพื้นที่เขตพระนคร มีการประชุมในคณะทำงาน ช่วยคนไร้บ้านช่วงโควิด มาจากหลายหน่วยงานมาประชุม แบบ ช่วยในการทำงาน โดยแต่ละหน่วยงานมีหน้างานของตัวเองอยู่แล้ว
สำหรับการลงพื้นที่ ที่จะแบ่งปันสิ่งของ ซึ่งได้แก่ มาม่าซอง/มาม่าคัพ/ขนมเป็นชิ้น น้ำยาสระผม/สบู่/นมประมาณ 6 กล่อง/น้ำเปล่า มีเสื้อยืด หรือผ้าเช็ดตัว/ผ้าเช็คหน้า ใส่ในถุงผ้า เป็นต้น เริ่มต้นการลงพื้นที่ ได้แก่
พื้นที่ ถนนสุขุมวิท/อโศก/พร้อมพงษ์/ สำโรง โดยเริ่มต้นตั้งแต่ ถนนสุขุมวิท 1 ที่ลงทางด่วน ใช้รถกระบะวิ่ง ซึ่งเป็นถนนสุขุมวิท เลขคี่ วิ่งไป แล้วกลับรถที่ใต้สะพานตลาดสำโรง รถจะวิ่งมาสุขุมวิท เลข คู่ วิ่งต่อไปจนถึงหน้าสยามพารากอน ถุงยังชีพจะต้องเตรียมแบบแบ่งปัน อย่างน้อยเส้นทางสุขุมวิท จำนวน 100-120 ชุด เพราะบางครั้งจะเก็บตกกับคนไร้บ้านที่หน้าโรงแรมเอเชีย เส้นอนุสาวรีย์ (ใต้สะพานลอยทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้า เวลาที่แบ่งปันทางทีมงานสามารถ จัดแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆที่มาอาศัย ถนนสุขุมวิท
-กลุ่มคนไร้บ้าน ที่มาจากพื้นที่อื่น แต่มาอาศัยนอนหรือมาหากิน (โดยการขอทาน) บางครั้งก็มีสัตว์เลี้ยงมาด้วย อาศัยนอนที่เกาะกลางถนน ซึ่งมีสภาพที่มืดพอสมควร ส่วนมากที่พบ คือจะมีรถซาเล้งที่บรรจุไปด้วยข้าวของเครื่องใช้ ทั้งที่นอน ขยะที่เก็บมา จนถึง ของกินของใช้ที่ได้มาหรือ เป็นสิ่งของมือสอง มือสาม ที่มีทั้งผ้าห่ม ที่นอน เสื้อผ้า จนถึงถังน้ำที่บรรจุน้ำไว้ดื่มกิน คนเหล่านี้จะมีการเคลื่อนย้ายตลอดเวลา สถานที่ไหนที่เหมาะสมคนเหล่านี้จะเลือกอยู่นาน
-กลุ่มหญิงขายบริการ โดยเฉพาะ ตั้งแต่ ซอย 3 จนถึงซอย 11 จะมีหญิงสาวออกมาเดินทั้งช่วงกลางวัน และกลางคืน ด้วยความสามรถพิเศษของคนกลุ่มนี้ ก่อนเกิดโรคโควิด-19 บางคนเป็นอาสาสมัครช่วยงานครูด้วย แต่หลังจากการเกิดโรคโควิด-19 คนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบก่อนเป็นกลุ่มแรกเลย เพราะนักท่องเที่ยวไม่มีเลย ปัจจุบันคนเหล่านี้บางคนบอกว่า “นั่งขอทาน” ก็เอาเพื่อให้ชีวิตมันอยู่รอดไปก่อน
-กลุ่มเด็กเร่ร่อนวัยรุ่น ส่วนมากจะไปนอนพักอาศัยที่ใต้ทางด่วน บางครั้งก็อพยพย้ายกันไปที่สีลม ซอย 1 แต่เมื่อไม่มีนักท่องเที่ยว เด็กเหล่านี้ก็ย้ายมาสิงสถิตที่ซอยเพชรบุรี 37 เพราะมีบ้านร้างอยู่ เหมาะสำหรับการพักอาศัย เมื่อมีการส่งเสียงดังตำรวจก็จะไปเยี่ยมเยียนเป็นครั้งคราว ในแต่ละสถานที่จะพักกันประมาณ เดือนหนึ่งแล้วก็ย้าย ส่วนมากเมื่อเด็กหิวก็จะมาร่วมตัวกันที่ใต้ทางด่วน หรือบางครั้งที่เด็กออกไปเก็บขยะที่เหลือจากถังขยะมาแบ่งปัน
-กลุ่มคนไร้บ้านที่ใช้ชีวิตเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เหล้า มีจำนวนไม่น้อย เมื่อครูเข้าใกล้มีกลิ่นเหล้าออกมาจากปากเขาเหล่านั้น แต่ก็ยังมีความสุขอยู่บนท้องถนน
-กลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งหญิงและชายจำนวนมากที่ออก “ขอทาน” ขออาหารจากบุคคลที่เดินผ่าน-ไปมา ผู้สูงอายุบอกว่าช่วงโควิด-19 พวกเขาอดกันทุกคน อยู่บ้านในบ้านพักก็เครียด สู้ออกมาบนถนนถึงจะอดอย่างไรก็ยังพอมีกินในแต่ละวัน ทำให้ชีวิตที่เหลืออยู่ไม่เหมา/ไม่ซึมเศร้า สำคัญสุดคือยังมีบุคคลรอบข้างที่ยังมีชีวิตอยู่
-กลุ่มผู้ป่วย ต้องบอกว่าตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนธันวาคม 2563 ผู้ป่วยที่พบเจอบนท้องถนน มีทั้งผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น วัณโรค/โรคเอดส์/โรคเรื้อน คนเหล่านี้ออกมาใช้ชีวิตบนถนน ด้วยการ “ขอทาน”
มีกลุ่มผู้หญิงที่ป่วยสุขภาพจิตจำนวน ไม่น้อยกว่า 15 คน ที่พบเจอบนท้องถนน ซึ่งกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแล รักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะปล่อยอยู่บนท้องถนนก็จะถูกเอาเปรียบทั้งร่างกายและจิตใจตลอดจน การปล่อยปะละเลย ให้คนเหล่านี้เข้าไม่ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในด้านสาธารณะสุข