banner
พุธ ที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2563 แก้ไข admin

โควิด-19 กับเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง (ตอนที่ 1)


 นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก 

               ในการทำงานตามแผนของโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ มุ่งเน้นในการเปิดพื้นที่ใหม่ จัดการเรียนการสอน การเพิ่มทักษะชีวิตให้กับเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง 

เมื่อรัฐบาลได้มีประกาศให้ทุกคน อยู่กับบ้าน  ทำงานที่บ้าน  โรงเรียนปิดตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม  2563  การประกาศครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563  ให้ประชาชนทุกคนอยู่กับพื้นที่ งานทุกอย่างยุติ   เหมือนเด็กก่อสร้างไม่ได้รับผลกระทบ  แต่ความเป็นจริง ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ได้ให้ครูซิ้มประสานงานพื้นที่ต่างๆ  ผลปรากฏคือ แต่ละบริษัทไม่อนุญาตให้ใครเข้าที่พัก  และคนงานก่อสร้างก็ห้ามออกจากพื้นที่  เหมือนถูกกักตัว

 

               ตั้งแต่ 24 มีนาคม  2563 เป็นต้นมา  มีการประกาศให้ยุติการทำงานก่อสร้างบางบริษัท  เพราะด้วย สภาวะการเกิดโรคโควิด-19  จึงเกิดเหตุการณ์ 4 รูปแบบเกิดขึ้น

               1.รูปแบบที่ คนงานที่เป็นต่างด้าว อนุญาตให้กลับประเทศเมียนมา  ปะเทศกัมพูชา  ส่วนมากเป็นคนงานก่อสร้างที่มาระบบ MOU  มีหลายครอบครัวที่สามีเป็นคนต่างด้าว  เมื่อกลับประเทศแล้ว  ยังไม่สามารถกลับเข้ามาได้  มีลูกและภรรยาที่ต้องอยู่ในประเทศไทย  ทำให้ไม่รายได้ในการดูแลลูกและคนในครอบครัว

               2.รูปแบบที่ 2 เป็นกลุ่มคนงานที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย  ไม่ได้กลับประเทศ  เมื่อเกิดโรคโควิด-19  ส่งผลให้คนงานเหล่านี้ ต้องหยุดงาน ห้ามการเดินทาง  เกิดภาวะของความอดยาก  ขาดแคลนอาหาร  ส่งผลกระทบกับเด็กโดยตรง

              3.รูปแบบของครอบครัวคนไทย ที่มีลูกหลานแล้วนำมาอยู่ในบ้านพักแคมป์คนงานก่อสร้าง  ตั้งแต่เริ่มการปิดภาคเรียน แล้วกลับไปต่างจังหวัดไม่ได้  ตลอดจน กับสภาวะการณ์ให้คนงานหยุดงาน  เพราะโรคโควิด-19  ทำให้ในครอบครัวคนงานเองเกิดความรุนแรง   ด้วยการห้ามออกไปนอกจากทางบริษัทกำหนด  และบางบริษัทมีมาตรการที่เข็มแข็งเป็นอย่างมาก  โดยเมื่อกลับเข้าบ้านพัก ต้องมีการกักตัว 14 วัน  อยู่ในแต่ในห้องพัก  ห้ามออกมาเดินเพ่นพ่านในบริเวณส่วนกลางอย่าเด็ดขาด  จึงอยู่ในภาวการณ์เครียดพร้อมไม่มีรายได้


  

               4.รูปแบบของครอบครัวคนไทย ที่เดินทางกลับต่างจังหวัด แล้วทิ้งผู้สูงอายุไว้ที่บ้านพักคนงานก่อสร้าง/หรือผู้ป่วยเรื้อรัง  และครอบครัวเหล่านั้นต้องถูกกักตัวที่จังหวัดต่างๆ  เช่น มีครอบครัวหนึ่งลูกชายกับลูกสาว  ต้องเดินทางไปจังหวัดชัยภูมิ ถูกกักตัว 14 วัน  ทิ้งแม่อายุ  89 ปี ไว้ที่บ้านพักคนงานด้วย โดยมีคนงานชาวกัมพูชาและพม่า ตลอดจนแม่บ้านช่วยมาทำอาหารให้ การดูแล เรื่องอาบน้ำ

               พ่อเด็กเป็นชาวกัมพูชา  เมื่อเกิดโรคโควิด-19  ต้องกลับประเทศต้นทาง  ได้ทิ้งภรรยากับลูกที่เป็นคนไทยไว้ในบ้านพักคนงาน  ให้หาเลี้ยงครอบครัวโดยภรรยาที่เป็นคนไทยต้องดูแลลูกน้องที่เป็นทั้งคนไทยและคนต่างด้าว  ภรรยากับลูกอยู่ในภาวะที่เครียดมาก  ทางโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ได้แบ่งปันถุงยังชีพ  ให้กับคนงานก่อสร้าง เน้นครอบครัวที่มีเด็ก และผู้สูงอายุ และคนป่วยติดเตียง

               การทำงานของโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่  ได้ลงพื้นที่ กับแหล่งก่อใหม่ใหม่และเก่าจำนวน  16 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นพื้นที่ถาวร ที่ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างลงประจำ จำนวน 9 พื้นที่โดยทางโรงเรียนจะขับรถลงไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สัปดาห์ครั้ง 1 ครั้ง  ส่วนมากจะมีเด็กอยู่กับครอบครัว

               สำหรับพื้นที่สำรวจ มีอีก 7 พื้นที่  ทางโรงเรียนก่อสร้างเคลื่อนที่ได้ลงทำงานด้วย  โดยเฉพาะช่วงโควิด-19  มีเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง มาอยู่กับผู้ปกครองในบ้านพัก  มีการแบ่งปันถุงยังชีพ สามอาทิตย์ทางโครงการฯจะลงไปมอบถุงยังชีพ  ให้กับเด็ก เด็กพิการติดเตียง  ผู้สูงอายุ

 

               มีพื้นที่ชุมชน จำนวน 2 แห่ง ที่ทางโครงการฯลงทำงานด้วย

               1.ชุมชนร้อยป่า  ส่วนมากเป็นชุมชนอิสลามทั้งหมด  ในช่วงโควิด-19 จำนวนกว่า 13 ครอบครัวที่ได้ผลกระทบ คือพ่อของเด็กต้องยุติการทำงาน  แม่เด็กส่วนมาก คือการขายของ  ซึ่งก็ขายของไม่ได้  บางครอบครัวเด็กเจ็บป่วยที่มีการรักษาต่อเนื่อง  บางครอบครัวพ่อเด็กต้องถูกกักตัว 14 วัน เด็กถูกทิ้งให้อยู่ลำพังที่บ้านในชุมชน ได้มีคณะกรรมการชุมชนเข้ามาช่วยเหลือ  พร้อมกับทางโครงการฯลงไปมอบถุงยังชีพ  เน้น สามอาทิตย์ต่อ 1 ครั้ง   เพื่อการติดตามเด็กและพยุงเพื่อให้ครอบครัวผ่านไปด้วยกัน  และยังได้มอบหน้ากากผ้าอนามัย  ขนม  และมีกลุ่มเพื่อมาสานงานต่อ

               2.ชุมชนเสือใหญ่ประชาอุทิศ   เป็นชุมชนที่ผู้อาศัยอยู่ไม่มีบ้านเลขที่  กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ตา/ยาย/ย่า ดูแลเด็ก  เพราะพ่อแม่เด็กเหล่านี้เขาไปเที่ยวฮ่องกงกันหมด(ติดคุกอยู่ในเรือนจำ กันตั้งแต่ 5-10 ปี เพราะไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด)  มีครอบครัวหนึ่งที่ตา/ยาย  ดูแลเด็กถึง 7 คน ตาขับรถสามล้อไปเก็บขยะตามพื้นที่ต่างๆ  ส่วนยายของเด็กรับจ้างแกะเศษทองแดง  แกะขยะอิเลคทรอนิค  รายได้ตามกำลังที่แกะ  จึงมีเด็กส่วนหนึ่งที่ต้องทำงานด้วย

 

               มีครอบครัวยายหาเงินเลี้ยงหลาน 2 คน ย่าของเด็กเป็นคนดูแล อาบน้ำ ดูความปลอดภัย นอนกับย่า  พ่อแม่ของเด็กเดินทางไกลถึงเรือนจำ  ใช้เวลาอยู่กว่า 10 ปี

               มีแม่เลี้ยงลูกคนเดียว แม่เคยเอาลูกไปเรียนที่โรงเรียนใกล้ชุมชน  เด็กไม่ยอมเรียนหนังสือเลย อายุของเด็กกกว่า 9 ปี  สำหรับเด็กคนนี้ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ส่งเข้า บ้านสร้างสรรค์เด็กไปเริ่มเรียนใหม่อีกครั้ง 

               จากที่กล่าวมาข้างต้น  เป็นเพียงแค่ตัวอย่างในการทำงานปีนี้เท่านั้น