ครูหยุย.... ลงเยี่ยมโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่
ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ด้วยโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ได้ลงทำงานกับเด็กที่ติดตามครอบครัวมาอยู่ในบ้านพักคนงานก่อสร้าง ในปี 2562 จำนวน 16 พื้นที่ โดยมีพื้นที่ หลัก 8 พื้นที่ ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างลงพื้นที่เป็นประจำ และมีพื้นที่ต้องแวะเวียน อีก 8 พื้นที่
งานของโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ใช่ว่าจะจะราบรื่นดังใจหวัง มีปัญหาให้แก้ตลอดเวลา เพราะบางพื้นที่ ก็ไม่ใช่ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเข้าไปทำกิจกรรม ให้เหตุผลว่า ไม่มีเด็ก แต่ครูมองไปเมื่อไรก็เห็นเด็กวิ่งอยู่ในบ้านพักก่อสร้าง บางแห่งก็ให้เหตุผลว่าไม่มีที่จอดรถเพราะพื้นที่แคบ ไม่มีที่จอดรถ ด้วยเหตุอะไรก็ตาม เป็นงานที่ยากเมื่อไม่ได้รับการอนุญาตให้เข้าพื้นที่
เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน 2562 ได้รับการประสานงานว่า ครูหยุย ....(นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ผู้ก่อตั้ง และเลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก) ปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา ว่า อังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ในช่วงเช้ามีเวลาว่างประมาณ 2-3 ชั่วโมง ช่วยว่ากำหนดการลงพื้นที่ ที่ใกล้ที่สุด โดยปกติ ครูหยุย... มีเวลาเมื่อไรในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทุกหน้าที่ จะลงพื้นที่ตลอดทั้งในงานของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก และสมาชิกวุฒิสภา ครูหยุยจะบอกคนทำงานเสมอว่า งานที่เป็นงานภาคสนาม ต้องทำให้การลงพื้นที่ ได้รับความรูสึก.... มิใช่ความเคยชิน แล้วเอ่ยว่าเห็นแล้ว
สำหรับความรู้สึก....มันเกิดการลงไปสัมผัสปัญหา ความเป็นอยู่ของคน แล้วย้ำเตือนว่างานของพวกเรา คือ งานช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก หาแนวทางแก้ไข พร้อมทั้งหาทรัพย์กรที่มีอยู่ ให้กรณีศึกษาของพวกเราเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ...อย่างนี้คือต้องใช้ความรู้สึกที่อยากช่วย....ความรู้สึกสอนให้คนทำงานไม่นิ่งดูดาย ทำให้ไม่ตายด้านในความรู้สึก.....แต่เกิดความอยากช่วยเหลือ จะเกิดการค้นหาหนทาง ไม่จนกับกักดัก จะแสวงหากัลยาณมิตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สิ่งเหลานี้คืองานพร้อมการเรียนรู้ไปด้วยกันกับคนทำงาน ยิ่งช่วยเขามากขึ้น พวกเราก็ได้เรียนรู้มากขึ้น....ไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นประสบการณ์ในการทำงาน แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดเชิงบวก....การทำงานเหล่านี้ต้องใช้ทั้งอุดมการณ์ ความอดทน การเรียนรู้ ทำไปด้วยกับกรณีศึกษา
สิ่งเหล่านี้เมื่อ 30 ปี ที่แล้วครูหยุยพูดในขณะที่ผู้เขียนเป็นครูประจำศูนย์เด็กก่อสร้างชวนชื่น ในช่วงนั้นก็เฉยๆๆนะ เพราะมีอารมณ์โกธรผู้ประสานงาน อาหาร ข้าวสาร ไม่ยอมมาส่ง ครูหยุยพูดเพียงว่า ครูเขารู้ว่าเธอเอาตัวรอด....แต่ตอนนี้ให้สัมภาษณ์นักข่าวก่อน เรื่องอื่นเอาทีหลัง.....
หลังจากนั้นก็ไม่เคยพูดเรื่องนี้กันอีกเลย จนมาวันที่ ครูหยุย ลงพื้นที่ บ้านพักคนงานก่อสร้าง บริษัท 33 ที่กำลังก่อสร้าง กระทรวงยุติธรรมที่ติดถนนแจ้งวัฒนะ แต่บ้านพักต้องเข้าไปในซอยแจ้งวัฒนะ 12 กับ 14 เป็นบ้านพักคนงานที่ก่อสร้าง แบบติดพื้นเพียงแค่ยกพื้นสูงประมาณ 1 ฟุตเท่านั้น
อาคารแบบชั้นเดียว ปูพื้นด้วยไม้อัด ฝาผนังทั้งสี่ด้านล้อมด้วยสังกะสี ที่เต็มไปด้วยรอยรั่ว ผ่านการถอนมาจากหลังคาที่พักมากลายฝาผนังบ้านพักแทน ทุกอย่างผู้รับเหมาต้องประหยัดเอาแค่ให้พออยู่ได้ แต่หลังคาก็ยังมุงด้วยสังกะสี พื้นบ้านมีการเทปูน มีร่องระบายน้ำไปสู่ท่อระบายน้ำด้วยนอกบ้านพัก มีการมุมที่ทิ้งขยะ พร้อมกับมีรถที่ขนออกไปทิ้งในแต่ละอาทิตย์
บ่อน้ำที่ใช้ร่วมกันทุกคนในบ้านพักคนงานก่อสร้าง มีหลังคา เมื่อมองเห็นจึงสะอาด เพราะไม่เห็นตระไคร้น้ำสีเขียวเมื่อเจอกับอากาศที่ร้อน ห้องส้วมก็สร้างเป็นแถว สะอาดพอสมควร
ครูหยุย หันมาบอกกับเจ้าหน้าที่ ที่ลงไปด้วยว่า บ้านพักคนงานก่อสร้างสะอาดกว่าเมื่อ 30 ปีที่แล้ว แต่ยังเหมือนเดิมคือการใช้สังกะสี
การลงเยี่ยมครั้งนี้ ครูหยุยบอกว่าอยากลงไปให้กำลังใจคนทำงาน งานนี้ครูซิ้มที่ลงทำงานในโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ มากว่า 2 ปีกว่า ซึ่งได้ดำเนินการแบบรูปธรรมอย่างชัดเจนพร้อมกับการสร้างอาสาสมัครตัวน้อยๆ มาช่วยงาน
เด็กเหล่านี้จะโทรหาครูซิ้มเป็นประจำ ว่าครูจะลงที่พื้นที่หรือเปล่า เพราะเด็กๆๆบอกเสียงดัง อยากเล่นของเล่น อยากวาดภาพระบาย อยากเขียนหนังสือ อยากอ่านหนังสือ กินขนม กินนม สิ่งเหล่านี้เด็กๆๆเขาครูซิ้มอยู่
ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ก็เช่นเดียวกันที่เด็กๆเห็นรถโรงเรียนเด็กก่อสร้างวิ่งเข้าที่หน้าบ้านพัก ก็วิ่งกันมาช่วยขนของ ทั้งของเล่นที่เป็นมือสอง-มือสาม และเป็นของเล่นของเด็กๆที่เข้ามุมกันอย่างลงตัว น้องน้อยอีกกลุ่มก็วิ่งตามเพื่อกลุ่มอื่นมาสมทบด้วย การส่งเสียงการอ่านก็เริ่ม ต่อด้วยระบายสีที่เด็กรอคอยกันมานาน ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่เศษสีไม้ สีเทียน ก็ตาม เด็กน้อยคนหนึ่งก็บอกมันก็สวยเหมือนกัน เมื่อเด็กๆตั้งใจทำ
ชายหนุ่มน้อยเจ้าของห้องพักคนหนึ่ง เมื่อครูหยุย...เอ่ยว่าอยากเดินสำรวจพื้นที่ เป็นไกด์แนะนำ พาเดินสำรวจรอบบ้านพักคนงานก่อสร้างอย่างเชียวชาญ ทุกซอกทุกมุม
ครูหยุย....ชมว่า บริเวณบ้านพักคนงานก่อสร้างสะอาด จัดการอย่างมีระเบียบ มีพ่อบ้าน แม่บ้าน คอยดูแล อยู่กันอย่างมีกฎระเบียบ
แต่คนงานก่อสร้างเหล่านี้ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และกลุ่มที่หลบหนเข้ามาก็มี เด็กๆจึงเป็นกลุ่มเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างต่างด้าวทั้งสิ้น
ครูหยุยยังย้ำกว่า งานช่วยเหลือเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง เป็นงานแรกของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เดิมเป็นศูนย์เด็กก่อสร้าง แล้วปรับเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที โดยการใช้รถ มุ่งสู่บ้านพักคนงานก่อสร้าง และยังบอกข้อเสนอแนะกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ
1.แหล่งก่อสร้างขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยระยะการก่อสร้างนานกว่า 8 เดือน มีกรรมกรก่อสร้างกว่า 100 ครอบครัว ควรที่จะใช้ให้มีกิจกรรมเสริมให้กับเด็กที่ติดตามครอบครัวมาอยู่ในบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง เพราะเด็กจะได้มีโอกาสพัฒนาทักษะชีวิต
2.บริษัทที่รับเหมาก่อสร้าง ควรเปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปทำกิจกรรมกับเด็ก หรือประสานงานส่งต่อเด็กที่อยู่ในวัยเรียนได้มีโอกาสเข้าเรียน เพราะสิ่งเหล่านี้คือการพัฒนาคุณภาพของเด็กในอาเซียน
3.การทำหน้าที่ของพ่อบ้าน/แม่บ้าน คู่กับครูที่ลงทำงาน คือการประสานงานหน่วยงานสาธารณสุขเรื่อง สุขภาพ เช่นการฉีดวัคซีนให้เด็กที่เพิ่งเกิด จนถึงการฉีดพ่นยุงในแหล่งบ้านพักคนงานก่อสร้าง หรือการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน
4.เมื่อมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงทำงานคู่กันสิ่งที่ต้องส่งต่อของกรณีที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่นการวางแผนครอบครัว กับครอบครัววัยรุ่นที่หลุดออกจากโรงเรียนกลางคัน/ การส่งเด็กที่ถึงเกณฑ์ได้รับการศึกษาไปโรงเรียนที่ใกล้กับบ้านพักคนงานก่อสร้าง ฯลฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะการเข้าถึงสวัสดิการของเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างแทบไม่มีโอกาสเลย