ค่ำคืน เด็กเร่ร่อนบนท้องถนน สุขุมวิท
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ช่วงกลางเดือนตุลาคม 2562 ครูครับผมมีกลุ่มน้อง เรียกว่า”กลุ่มพลังดี สโมสร” จำนวนกว่า 20 คน ของลงตามติดชีวิตการทำงานครูข้างถนนได้ไหม ครูตอบว่าได้ แต่ขอเป็น 3-7 คน ที่พูดคุย แลกเปลี่ยน ถ้าเป็นกลุ่มใหญ่ไม่ได้แน่นอน เพราะเด็กและเยาวชนบนท้องถนน จะหายไป หาตัวไม่เจอ เพราะเด็กๆไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนกับคนที่ไม่รู้จัก
พร้อมกับมีน้องนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปกร ชั้นปีที่ 4 เอกเทคโนโลยี สาขานิเทศศาสตร์ เรียนที่ เมืองทอง ต้องการนำเสนอโครงการครูข้างถนน เข้าร่วมโครงการ กับสถานีโทรทัศน์ ไทพีบีเอส ขอลงพื้นที่กับสัมภาษณ์ งานแบบนี้ให้ครูเหนื่อยก็ทุ่มสุดตัว ด้วยอยากเปิดโอกาสให้น้องๆ กับงานครูข้างถนน ก็เผยแพร่ไปด้วย จึงนัดน้องลงพื้นที่ 2 ครั้ง คือบ่ายวันที่ 24 ตุลาคม 2562 เวลาตั้งแต่บ่ายสองจนถึงหกโมงเย็น กับครั้งที่ 2 คือวันที่ 30 ตุลาคม 2562 เวลาตั้งแต่ 16.00-21.00 น. เมื่อชุดนี้ได้ข้อมูล ครูบอกให้แยกตัวกลับก่อนนะ ด้วยเหตุผลกรณีศึกษาเห็นครูจะได้ไม่ตกใจกับคณะใหญ่เกินไป
ด้วยครูเองก็ต้องเตรียมข้าวสารประมาณ 10 กิโลกรัมที่แบ่งปันจากสิ่งของ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก หมี่ 1 ห่อใหญ่ ผักกาดกระป๋อง สามกระป๋อง ขนมปังปี้ป 1 ปี้ป (ขนาดเล็ก) เผื่อเด็กเร่ร่อนวัยรุ่นแบ่งกันกิน เครื่องใช้แปรงสีฟัน 20 ด้าม ยาสีฟัน 5 หลอดใหญ่ ด้วยเด็กเร่ร่อนไม่ได้แปรงฟันกันเลย เวลาคุยกันที่ไร ครูต้องทำใจกับลมหายใจของชายหนุ่มน้อยทั้งหลาย สบู่ ยาสระผม พร้อมตะกร้าใส่เสื้อผ้า ของ น้องปอ ไว้ใส่ชุดนักเรียน เป็นต้น
สิ่งของเหล่านี้ครูเองใส่แท็กซี่ไปลงที่สุขุมวิท ซอย 1 ในขณะนั้น ครูไม่สามารถติดต่อเด็กและเยาวชน รวมถึงคุณกร ได้ ครูจึงต้องขนข้าวของทั้งหมดมากองที่รางรถไฟ ตั้งใจว่าจะรอคณะ เพื่อช่วยขนของ
คณะนักศึกษาและ กลุ่มพลังดีสโมสร มาถึงก็เย็นค่ำพอดี ครูเองกังวลเพราะกลางคืนทุกคนไม่อยากให้ครูเข้าไปใต้ทางด่วน ถึงแม้ทุกคนจะรู้จักครูเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ต้องระมัดระวังตัวอยู่เสมอ เมื่อลงพื้นที่
ขั้นตอนในการเรียนรู้ของค่ำคืนนี้ สำหรับครู รู้สึกพิเศษเป็นอย่างมาก เพราะถนนสุขุมวิท คืนนี้มีผู้รักษากฎหมายเต็มท้องถนนไปหมด
(1)ลงพื้นที่บ้านใต้ทางด่วน กับเด็กเร่ร่อนวัยรุ่น น้องพร้อมผู้ปกครอง ค่อนข้างตกใจ กับคำว่า “บ้าน” ความหมายของบ้านคือการมีสัดส่วนมีหลังคา สำหรับบ้านในความหมายที่เห็น ได้แต่อึ้งสิ่งที่เกิดขึ้น มีที่นอนเก่าๆที่เก็บมาเรียงกัน ที่นอนสีชมพู่ แทบมองไม่เห็นสีแล้ว สามคนพ่อ แม่ น้องแป้ง (นามสมมุติ) นอนเรียงกันอยู่ ที่นอนเหล่านั้นอยู่ตอมอ กว้างประมาณ 3 เมตร ยาวประมาณ 3 เมตร เหมือนกัน ล้อมด้วยกล่องจำนวน 3 กล่องที่เรียง ด้านบนหัวนอนมีผ้าใบสีฟ้ากั้นเป็นห้อง ปลายเท้าที่นอน มีแผ่นพลาสติคปูอยู่ มีสุนัข 3 ตัว นอนเฝ้าอยู่ เมื่อได้ยินเสียงครู หมาทุกตัวลงมาอยู่ที่พื้น เพื่อให้ครูปืนบันไดไปพูดคุยกับเด็กๆ
สำหรับหนุ่มน้อยทั้งหลายกระจายตัว หายกันไปเรียบร้อยแล้ว หันไปทางไหนไม่เจอสักคนเดียว เพราะความไม่ไว้วางใจเป็นเรื่องใหญ่เสมอ เวลาใครลงพ้นที่จะสัมภาษณ์เด็กและเยาวชนที่เร่ร่อนบนท้องถนน ครูบอกว่าเด็กและเยาวชนเขาไม่อนุญาตให้พูดคุย ทุกคนจะมองว่าครูหวงข้อมูล แต่จริงๆๆ เด็กและเยาวชนเหล่านี้เขาถือว่าทุกคนคือคนแปลกหน้าสำหรับเขา ใช้เวลาพูดคุยถามไถ่กันเป็นชั่วโมง แล้วก็เดินมา เพื่อพักเข้าห้องน้ำ จะเดินต่อไปอีก
2.ได้เวลาเรียนรู้ ด้วยถนน เลขคู่ จากสุขุมวิท 2 ถึง สุขุมวิท 18 งานนี้ถนนเงียบสงบเป็นอย่างมาก แต่ผู้คนมาจากไหน เดินเต็มถนนไปหมด แต่เด็กเร่ร่อนต่างด้าวปกติ ในเวลาเหล่านี้จะวิ่งกันเต็มถนน จึงโทรหาครูมุ้ย เพิ่งจะทราบว่า โรงเรียนเปิดเรียนวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ทุกคนเตรียมตัวที่จะไปโรงเรียนกัน อีกประเด็นมีกลุ่มแม่และเด็กหลายคนที่ถูกจับไป ประมาณ 6-7 ครอบครัว ยังไม่ได้ออกมาก และมาเด็กที่แอบมองครูอยู่แต่ยังไม่ปรากฏตัว
สุดท้ายครูก็พาคณะเข้าซอยคาวบอย สำหรับครูเองซอยนี้ครูไม่ชอบเข้าหรือเดินผ่าน สายตานักท่องเที่ยวที่มอง ในความรู้สึกของครู เขา “ดูถูกผู้หญิง” แต่มันคือการเรียนรู้ น้องผู้หญิงพร้อมแม่ ไม่มีเสียงคุยกันเลย ครูสาวเท้าเร็วกว่าปกติ เพื่อจะข้ามแยกอโศกให้ทัน ไม่อย่างนั้นเสียเวลา และอยากพักเพื่อการพูดคุย เพราะแต่แห่งมีเรื่องเล่าที่แตกต่างกัน
คือครูรอคำถามจากเด็กพร้อมผู้ปกครอง คำถามที่ยิ่งมาทันที่ ครูทำงานมากี่ปี แต่ละอาทิตย์เดินอย่างนี้ กี่วัน
ครูทำงานกับมูลนิธิสร้างสรรค์ ทำงานมา 30 ปีเต็ม เริ่มเข้าปี 31 แล้วนะ ครูเองเริ่มมาจากงานสอนเด็กในแหล่งก่อสร้าง เป็นงานที่ครูถนัดมาก ถูกส่งไปช่วยงานหลายหน่วยงาน จนเป็นเลขานุการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (คุณหญิงจันทนี สันตะบุตร ในช่วงปี 2545 จนถึง ปี 2550 ในขณะนั้นไปเรียนปริญญาโท ที่นิด้า แล้วทำงานวิจัยการถอดบทเรียน ตั้งแต่ 2548 เป็นต้นมา ) ต่อมาเป็นครูข้างถนน ในช่วง เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2555 ด้วยเหตุผลทำวิจัยเรื่องเด็กเร่ร่อนมาแล้ว ต้องลงมาทำพบเด็กเร่ร่อนจริงๆ แถมด้วยว่าต้องมาฟื้นฟูโครงการครูข้างถนน ให้นักเรียน/นักศึกษารู้จักอีกครั้ง
การลงพื้นที่ของครูอาทิตย์ละ 2 ครั้งเป็นอย่างน้อย บางอาทิตย์ก็มากกว่านั้น แต่ก็มีบางอาทิตย์ที่ไม่ได้ลง เพราะต้องไปทำกิจกรรมกับเด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดต่างๆ น้องนักศึกษาหันหน้ามามองครู เหนื่อยไหมค่ะ ครูตอบว่าเหนื่อยค่ะ แต่มีคนคอยครูอยู่ บางคนก็โทรหาครูตลอด ครูต้องจัดการตารางการทำงาน งานประชุมบางเรื่องครูยุติหันมาเยี่ยมกรณีศึกษาของครูก่อน เพราะต้องประคองให้เด็กอยู่ในโรงเรียนให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้
ครูค่ะครู เอาพลังมาจากไหน พลังทั้งหมดมาจากกรณีศึกษาของครู เขาทุกคนดิ้นร้นเพื่อเอาชีวิตให้รอด ครูก็แค่เป็นสะพานเชื่อม เป็นกำลังใจให้กันและกัน
3.ทั้งคณะก็เดินลุยมาต่อจากอโศก มุ่งหน้าคือซอยนานา แต่ระหว่างทาง สายตามองเห็นบนสะพานลอยสุขุมวิท 17 เห็นเด็กผู้หญิงนั่งอยู่ ครูหันไปบอกว่าให้ทุกคนยืนคอยครูอยู่ข้างล่าง ครูขอคุยกับเด็กก่อน
ครูขึ้นสะพานลอย พบกับน้องวัน(นามสมมุติ) ที่เป็นต้องการตัวของ ผู้บังคับใช้กฎหมาย ออกมาคนเดียว เพราะเพื่อนคนอื่นๆเขาเตรียมตัวกันไปโรงเรียน แต่น้องวันหันหน้ามาหาครู เพราะรู้ว่าครูพยายามเกลี่ยกล่อมให้น้องวันไปเรียนหนังสือ แต่น้องวันเปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว เพราะมีเพียงแม่คนเดียวที่ต้องดูแล ลูกทั้งหมด 5 คน ตั้งแต่น้องวัน ตัวเล็กๆ ด้วยซ้ำ
เมื่อปลายปีที่แล้ว น้องวันถูกกล่าวหากับ ผู้บังคับใช้กฎหมายว่า เป็นขายบริการทางเพศพร้อมกับกลุ่มค้ามนุษย์ จนเจ้าหน้าที่เหล่านั้นเฝ้าดูพฤติกรรมเด็ก 9 คน สุดท้ายเด็กเหล่านี้ก็แค่ขอทาน แต่สิ่งที่ผิดคือเด็กสาวน้อย เข้าเมืองผิดกฎหมายมาพร้อมกับแม่
สำหรับครู เด็กมีสิทธิทำมาหากินบนท้องถนน แต่ทุกอย่างต้องถูกกฎหมาย เพื่อคุ้มครองเด็กเหล่านี้ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากคนที่แสวงหาประโยชน์จากเด็กกลุ่มนี้ แต่หน้าที่อันยิ่งใหญ่ คือหาค่าใช้จ่ายให้น้อง 2 คนไปโรงเรียน และอาหารแต่ละมื้อในแต่ละวัน แค่มื้อเดียวกับ 5 ชีวิตก็หมดแล้ว ครูพูดขึ้น ผู้ปกครองเด็กมองหน้าครู ครูจึงบอกว่าทุกชีวิตที่พามาเรียนรู้ มีโอกาสได้กินอาหารมื้อเดียวในแต่วันแบบอิ่มท้อง ก็ดีแล้วสำหรับทุกคน ครูจึงเอาขนมที่หอบหิ้วมาด้วยใส่ถุงฝากไปให้น้องๆๆ เสียงกระซิบเด็กน้อย ขอกอดครูหน่อยได้ไหม ได้ซิได้เลยจ๊ะ.....กอดรักเหนือรัก เป็นกอดที่ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน...
4.ระหว่างทางจากสะพานลอยจนมาถึง สุขุมวิท 3/1 เดินเข้าซอย เด็กๆๆเดินมาแล้ววิ่งไปบอกแม่ว่า ครูจิ๋วมา แม่เด็กทุกคน จึงมารวมตัวกัน นั่งล้อมครู บอกสิ่งที่ลูกๆขาดแคลน เช่น เสื้อคอบัวของเด็กขาด รองเท้าผ้าใบ รองเท้าหนังขาด กระเป๋าที่แจกไปเมื่อเปิดเทอมมันขาดหมดแล้ว อุปกรณ์การเรียนก็หมดแล้ว
งานนี้ครูนั่งเป็นไข่แดงกลางวงกลม นักท่องเที่ยวเดินมามองหน้าครู แม้แต่คนที่มาทำงานเป็นชาวอียิปต์ หรือตะวันออก ก็มาพูดเป็นภาษาอังกฤษ ครูก็ตอบโต้ด้วยภาษาอังกฤษที่พูดได้บ้าง เด็กๆๆ ก็ได้แต่มองหน้าครู
สิ่งสำคัญ ทุกคนต้องการให้ครูจดสิ่งที่เด็กต้องการลงสมุดพร้อมกับหมายเลขโทรศัพท์ของแม่หรือน้า เพื่อให้ครูได้โทรกลับเมื่อได้สิ่งของหรือหาได้...
สำหรับสองสาวน่ารักของครูคือ ครูขา....รองเท้าผ้าใบของหนู มันคับค่ะครูขา แถมเอาแก้มน้อยมาคลอเคลียกับใบหน้าของครู ครูเลยบอกว่าอยากให้ครูหอมใช่ไหม ครูก็จัดให้ฟอดใหญ่เลย สาวน้อยยิ้มหน้าบานไปเลย ผู้ปกครองเด็กถามว่าความรักความไว้วางใจอย่างนี้ ครูใช้เวลากี่ปี ใช้เวลากว่า 7 ปี ที่ทุ่มเทลงพื้นที่จนได้ใจพวกเขาทุกคน แต่สิ่งสำคัญคือความจริงใจ และยุติธรรม สำหรับกรณีศึกษาของครูทุกคน มีอะไรก็แบ่งปันเสมอภาคกัน บางคนอาจจะได้ไม่เท่ากัน แต่มีเหตุผล
5.ครูก็เลยขอตัวไปพบกับน้องอีกคน เห็นหลังไวๆ เพราะอยากคุยกับกรณีนี้มาก หันไปบอกผู้ปกครองว่าไม่ต้องตาม จนถึงตัวน้องกาฟิว.....เจ้าสาวน้อยของครูกระโดดกอด ลูกหัวอย่างปรานี เพราะครูเป็นหวงอย่างมาก หวงเรื่องการเรียน แต่คืนนี้กาฟิว....เป็นเด็กสาวที่แกร่งมาก คำพูดแต่ละคำพูด เล่นเอาครูเงียบไปเลย
ครูคะ หนูอยากย้ายโรงเรียน เพื่อนมันล้อว่ามีแต่เหา ทุกคนมีเหาเหมือนกันหมดแต่ทำไหมเขาล้อแต่หนู
ครูคะ หนูต้องไปอยู่กับแม่ที่บางใหญ่ ค่าเหมารถมันแพงมาก หาได้ไม่เท่าค่ารถที่เสียเลยครู หนูเลยต้องนั่งถึงเช้า เพื่อขึ้นรถตู้กลับ...
ครูคะ หนูคิดถึงครู เวลาเหนื่อยและท้อ คิดถึงหน้าครู ครูลงมาบ่อยๆนะ พร้อมกับขนมในกระเป๋า คือ ปลาหมึกมาให้สองห่อ สาวน้อยขอครูยัดใส่กระเป๋าข้าง
ครูคอยหนูแพร๊บเดียว กับเอากระเป๋าใส่สตางค์มาให้ 2 ใบ ครูหันไปบอกว่าเอาไว้ขายเถอะ ครูไม่ได้ใช้ แต่ช้ากว่าผู้ปกครองหันมาหยิบกระเป๋า 2 ใบ แถมยัดเงิน 200 บาทใส่มือสาวน้อยของครู เจ้ากาฟิว...กระโดดกอดที่เอวครูอีกรอบ พร้อมบอกว่าหนูโตเท่าครูแล้วนั่ง
ครูเอาจมูกไปดมที่หัว พร้อมกอดหัวหนูน้อยไว้ แล้วต่างก็ลากันในการไปทำหน้าที่ของแต่ละคน ในค่ำคืนนี้
5.ครูพาคณะมาที่สถานีรถไฟฟ้านานา น้องนักเรียนหันมาตั้งคำถามครูว่า แต่ละครั้งที่ลงพื้นที่ ครูได้กำลังใจมากไหม....ผลผลิตที่ทุกคนเห็นคืนนี้ คือความเพียรที่ครูลงพื้นที่มาอย่างยาวนาน ครูให้ความจริงใจ และช่วยเหลือกับความจำเป็นคือตัวเด็ก เด็กที่ต้องทำงานสิ่งสำคัญคือต้องเรียนหนังสือ
เรียนหนังสือ อ่านออก เขียนได้ สิ่งนี้คือการแก้ไขปัญหาความยากจนที่เด็กผู้ปกครองเผชิญอยู่ เด็กเหล่านี้ต้องการโอกาส ได้รับที่ยื่น ที่สังคมให้พวกเขา....
เรียนรู้ชีวิตคนบนท้องถนน ค่ำคืนที่มาเติมเต็มหัวใจ เห็นเด็กได้เติบโตพร้อมกับการศึกษา ครูก็จะเฝ้ามองอย่างชื่นชมให้ตัวเด็ก....