ทำไม... ต้องรู้ ข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 21 เรื่อง เด็กเร่ร่อนบนท้องถนน (ตอนที่ 2 ความหมายของเด็กเร่ร่อน)
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ครูทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนในบทบาทต่างๆตามที่สังกัด ใช้นำหน้าตำแหน่งในบทบาทของการทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน พร้อมทั้งวิจัยเองก็พยายามที่จะหาความหมายของคำว่า “เด็กเร่ร่อน” สำหรับครูเองคงต้องยึดความหมายจาก เอกสารอย่างเป็นทางการ “ข้อเสนอแนะทั่วไป ฉบับที่ 21 เรื่อง เด็กเร่ร่อนบนท้องถนน” ของคณะกรรมการสหประชาชาติ ที่ให้ไว้ คือ
ภาษาอังกฤษที่ใช้ “Children in street situations” โดยครูยังใช้คำแปลว่า เด็กเร่ร่อนบนท้องถนน หมายรวมถึง 3 เรื่องด้วยกัน
(1)เด็กที่อาศัยอยู่ตามท้องถนนเพื่อใช้ชีวิต และ/หรือ ทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ตามลำพัง อยู่กับเพื่อน หรืออยู่กับครอบครัว หรืออยู่อาศัยหรือทำงานบนท้องถนนเป็นช่วงๆ ไม่ได้อาศัยอยู่เป็นประจำ
(2)เด็กที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่สาธารณะ หรือเด็กที่อยู่บนถนนเป็นที่ทำมาหากิน และมีความสำคัญในชีวิตประจำวัน และอัตลักษณ์ รวมถึงครอบครัวเร่ร่อน
(3)เด็กที่ใช้เวลาจำนวนมากบนถนน หรือตลาด สวนสาธารณะ สี่แยก และสถานีรถประจำทาง สถานีรถไฟ บ้านร้าง ตึกร้าง
จากการทำงานของโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา จนมาถึงมือครูที่ต้องทำงานในบทบาทของครูข้างถนน ในปี พ.ศ. 2555 ครูเริ่มจากการไปนั่งเฝ้าพื้นที่ต่างๆกว่า 3 เดือน ขอแยกแยะกลุ่มเป้าหมายในการทำงานของครู โดยเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายในการทำงานของโครงการครูข้างถนน ได้แยก กลุ่มเป้าหมายเพื่อให้ความช่วยเหลือแบบกลุ่มต่างๆ เพราะวิธีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย คือการเดินเท้าเปล่าเข้าหา เพื่อสร้างความไว้วางใจในการทำงาน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือกระบวนการช่วยเหลือเด็กที่ไม่เหมือนกันเลย
กระเป๋าสองใบ ลงสู่ถนนไปหาเด็กเร่ร่อน ยังเป็นสื่อที่สำคัญในการเข้าหาเด็กเร่ร่อนไทยและเด็กเร่ร่อนต่างด้าว เพราะเมื่อครูยื่นนม ขนม ข้าวอาหาร ยารักษาโรค เสื้อผ้าที่จำเป็น ฯลฯ เมื่อใดเด็กวิ่งเข้ามาหาหรือรับสิ่งของเหล่านี้ไป คือครูมีโอกาสได้พูดคุยกับเด็ก กับกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวแน่นอน เพราะทุกคนเห็นหน้าครูแล้วต้องอิ่ม อย่างน้อยอาหารหนึ่งมื้อเด็กจะได้รับแตกต่างกันไป
ความต้องการจะบอกมาจากพวกเขา ที่เขาอยากให้ครูช่วยเหลือ บางครอบครัวค่าใช้จ่าย ค่าเช่าบ้านไม่พอ จำเป็นต้องอาศัยแรงงานของเด็กเร่ร่อนที่วิ่งไปขอนักท่องเที่ยวจุนเจือครอบครัวอยู่ได้ กลุ่มแม่และเด็กหนักสุดคือค่าเช่าบ้าน
มีคำถามย้อนมาถามครูว่า งานที่ครูทำทำไมต้องอิงกับ ข้อเสนอทั่วไป ฉบับที่ 21 ขอคณะกรรมการสหประชาชาติด้วย ช่วยเด็กเร่ร่อนก็ช่วยไป
ครูย้อนอย่างเรียบง่ายว่า การทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน หลายหน่วยงานบอกว่า ไม่มีเอกสารอะไรอ้างอิงได้เลย จึงบอกว่า ลำดับแรกที่ถูกถามเสมอ ทั้งนักวิชาการ นักศึกษา คำว่า “เด็กเร่ร่อน คือใคร ใครคือเด็กเร่ร่อน” นิยามที่สรรค์สร้างความหมายมากมาย จนกระทั่งแต่ละประเทศก็ใช้กันตามกฎหมาย
งานที่ครูช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนบนท้องถนน มีกลุ่มเป้าหมายอะไรบ้าง ที่เป็นไปตามความหมายของข้อเสนอแนะจกคณะกรรมการสหประชาติด้านสิทธิเด็ก หรือเพียงแต่ เอาความหมายของเขามาเพียงเท่านั้น ไม่มีการดำเนินการที่จริงจัง
คำถามที่ชี้ใจดำคนทำงานกับเด็กเร่ร่อนบนท้องถนน สำหรับครูมันคือการสาธยาให้เห็นของจริง ที่ครูลงทุน ลงแรง ลงเงิน ที่จะให้เด็กมีที่ยืนบนสังคมแห่งนี้ เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งใจและเงิน
(1)เด็กเร่ร่อนบนท้องถนน ตามความหมายหมายที่ 1 คือเด็กเร่ร่อนบนท้องถนน ที่ออกมาจากบ้านอย่างถาวร รวมไปถึงครอบครัวเร่ร่อนถาวร ใช้พื้นที่สาธารณะเป็นบ้าน อย่างครอบครัวที่อาศัยตอมอเป็นบ้าน พักอาศัย สำหรับเด็กที่ออกมาจากบ้านด้วยสาเหตุไม่มีความสุขในการอยู่บ้าน เลยออกมาอยู่บนท้องถนนแทน งานที่ทำ มี 2 กลุ่มด้วยกันคือ
-กลุ่มเด็กเร่ร่อนบนท้องถนน ช่วงอายุ 12-18 ปี อาศัยอยู่ใต้ทางด่วน และเด็กและเยาวชนก็ย้าย ตัวเด็กเองไปตามพื้นที่ ที่หากินง่าย เช่นบางครั้งก็ไปสาทร บางครั้งก็ไปเพชรบุรีตัดใหม่ 37 โดยการรับจ้างทั่วไป เช่นการเข็นรถสามล้อตั้งสินค้า บางคนก็เก็บขยะขาย เด็กเร่ร่อนบนท้องถนน มีจำนวน 21 คน ที่ยังเร่ร่อนอยู่ ช่วยให้มีบัตรประชาชน กลับคือชุมชน ยุติการเร่ร่อน มีงานทำ ได้เพียง 1 คน
-กลุ่มครอบครัวเร่ร่อนบนท้องถนน มีจำนวน 7 ครอบครัว สิ่งที่ครูดำเนินการ พูดคุยให้เห็นความสำคัญของลูกสาว ที่ต้องมีที่พักอาศัยปลอดภัย เพราะเด็กผู้หญิง เริ่มมีการวางแผนชีวิตบ้างเป็นครั้งคราว อีกสิ่งคือการพยุงให้ครอบครัวดำเนินชีวิต และให้ลูกสาวไปเรียนหนังสือทุกวันที่โรงเรียนวัดมักกะสัน เด็กยังไปเรียนอย่างส่ำเสมอ
แต่เด็กและเยาวชน ครอบครัวเร่ร่อนกลุ่มนี้ มีบางครั้งที่ยังใช้ชีวิตขอเงินที่ซอยนานา ซึ่งเด็กและเยาวชนเสี่ยงต่อก่ออาชญากรรม ติดยาเสพติด หรือเป็นผู้จำหน่ายยา การเข้าสู่กระบวนการรับจ้างติดคุก มีบางกรณีศึกษาที่เข้าสู่การขายบริการทางเพศ และมีการสลับคู่ในการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ
(2)เด็กเร่ร่อนบนท้องถนนชั่วคราว งานที่ครูดำเนินการ ในขณะนี้มีอยู่จำนวน 105 คน เด็กและครอบครัวออกจากบ้านเช่าที่อยู่ในชุมชนต่างๆ โดยออกมาทำมาหากิน เช่น การขายพวงมาลัย ขายดอกจำปี ขายสินค้า ตามสี่แยกต่างๆ และมีเด็กอีกกลุ่มที่ออกมาขอเงินที่ซอยนานา ซอย 5,7,9,11 ถนนสุขุมวิท โดยเด็กเหล่านี้มาจากชุมชนจำนวน5-7 ชุมชน ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ เป็นกลุ่มเด็กที่ได้เรียนหนังสือ ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงมัธยมศึกษา มีทั้งโรงเรียนที่สังกัดกรุงเทพมหานคร และสำนักคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน และมีเด็กบางคนที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะครอบครัวของเด็กรับผิดชอบไม่ไหวเรื่องค่าใช้จ่ายให้เด็กไปโรงเรียน สิ่งที่ทางโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ได้ดำเนินการ คือ
-การลงพื้นที่ ด้วยวิธีการ แบบ งานโครงการครูข้างถนน เดินเท้าเปล่าลงไปพื้นที่ โดยเน้นการสร้างความไว้ว่างใจ เมื่อมีความจริงใจต่อกัน ไว้เนื้อเชื่อใจ ครอบครัวและตัวเด็กจะบอกความต้องการ สิ่งใดที่เกี่ยวเรื่องอุปกรณ์การเรียน ที่เด็กต้องการ เช่น รองเท้า กระเป๋า ถุงเท้า ชุดเนตรนารี ชุดลูกเสือ บางอย่างที่จัดหาให้ได้จะช่วยทันที
-ต้องลงเยี่ยมบ้านที่ชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 27 ครอบครัว เพื่อประคองบางครอบครัวให้อยู่รอดปลอดภัย พร้อมทั้งเด็กต้องได้เรียน เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง มาม่า ขน ขนม เป็นต้น จำนวนกว่า 3 ครอบครัว เพื่อให้เด็กได้มีกินในแต่ละช่วงเวลา
-ในขณะนี้มี 1 ครอบครัว ที่แม่ของเด็กล้มกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง เด็กและเยาวชนทั้ง 4 คน ต้องออกมาขายพวงมาลัย ขายดอกจำปี เพื่อเอาเหล่านี้ไปดูแลแม่ แต่เด็กและเยาวชน 3 คน ติดกาว ที่ต้องรวมกับองค์กรที่เคยดูแลเด็กมาก่อน ในการนำเด็กไปบำบัดกาว
-สองคน ในจำนวนที่ดูแล ต้องมีการพูดคุยเพราะเด็กต้องขายดอกจำปี โดยมีการกำหนดมาจาก ยาย และแม่ คนแรกเป็นเด็กผู้หญิงที่เรียนในระดับ ประถมศึกษา ปีที่ 4 ขายพวงมาลัยวันละ 60 พวง ถึงจะได้เงินเป็นค่าอาหารในการดูแลครอบครัว อีกครอบครัว 1 แม่ป่วยเป็นเบาหวานที่ตัดขา ลูกชายต้องช่วยครอบครัวในการขายพวงมาลัย เพื่อมีเงินค่าใช้จ่าย สำหรับการเปิดเทอม เด็กทั้งสองคน ต้องได้รับการดูแล และเฝ้ามองพยุงให้ได้เรียน ในภาคการเรียนที่ 2
(3)กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ที่ใช้ชีวิตบนถนน มากกว่าอยู่ที่บ้านเช่า หรือประเทศต้นทางของแม่และเด็กเร่ร่อนบนท้องถนน สำหรับกลุ่มนี้ทำงานกันมานานตั้งแต่ ปี 2555 ที่ครูเริ่มเก็บข้อมูลว่า เด็กกลุ่มนี้เป็นใคร มาจากไหน ทำไม ต้องช่วยเหลือ เรื่องการทำความเข้าใจเรื่องใหญ่มาก เพราะเกี่ยวข้องกับการเข้าประเทศที่ผิดกฎหมายไทย
ข้อหาที่ครูได้จากการทำงานช่วยเหลือกับกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนบนท้องถนนต่างด้าว คือ “ป้ามหาภัย” เพราะเริ่มแรกไม่มีใครรู้จักในการทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อบนท้องถนน
-เด็กเร่ร่อนต่างด้าวบนท้องถนน ที่ออกมาขอทาน ในระยะเวลาตั้งแต่ ปี 2555 จนถึง ตุลาคม 2562 ที่นำเข้าเรียนในโรงเรียนต่างๆจำนวน 210 คน แต่มีเด็กที่ออกเรียนระหว่างคัน บางครอบครัวก็กลับประเทศของตนเอง แต่ปัจจุบันมีเด็กทั้งสิ้นจำนวน 83 คน ที่เรียนอยู่และเด็กต่างด้าวบนท้องถนน เมื่อเข้าเรียนได้ อักษร “G” ตามสิทธิของเด็กแต่ละคน โดยทางโครงการครูข้างถนน จ่ายค่าใช้จ่ายที่โรงเรียนก่อนเปิดภาคการศึกษา ทางโครงการการศึกษาเด็กชุมชนเปรมฤทัย ทำกิจกรรมเสริมทักษะพิเศษในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ และการเฝ้าระวังให้เด็กได้ไปโรงเรียนทุกวัน
-แต่ยังมีครอบครัวของเด็กอีก 7 ครอบครัว จำนวน 11-16 คน ที่ยังออกมาเร่ร่อนขอทานบนท้องถนนอยู่ ถูกจับในกรณีต่างๆมากมาย และที่สำคัญแต่ละเรื่องที่ถูกจับ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่เคยใช้การคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก ทางครูเองต้องติดตาม เพราะมีบางกรณีศึกษาที่เด็กถูกทิ้งไว้ที่บ้านเช่า/หรือในชุมชน
-มีจำนวน 9 ครอบครัวที่เป็นเด็กเร่ร่อนต่างด้าว ที่พ่อ/แม่ป่วยเป็นวัณโรค ปัจจุบันได้รักษาที่หายขาดจำนวน 4 ครอบครัว แต่อีก 5 ครอบครัวยังไม่ได้ดำเนินการ เพราะขาดซึ่งงบประมาณในการพาไปรักษา
-เด็กที่เกิดขึ้นมาใหม่ ที่เกิดในโรงพยาบาล เด็กต้องได้ใบเกิด จากการทำงานเพิ่งดำเนินการได้ประมาณเพียง 19 กรณีศึกษาเท่านั้น แต่ยังพบอีกจำนวนกว่า 130 คน ที่เด็กยังไม่ได้ใบเกิด จากโรงพยาบาลและเทศบาล/อำเภอ ในเขตสมุทรปราการ เป็นต้น
ตัวอย่างการดำเนินการของ โครงการครูข้างถนน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดเห็นจาก คณะกรรมสิทธิ์เด็ก ฉบับที่ 21 ว่าด้วยเด็กเร่ร่อนบนท้องถนน