เมื่อถูกด่า...ทำไมไม่ใช้ทีมสหวิชาชีพในการจัดการกับเด็กเร่ร่อน ขอเงิน
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
เด็กเร่ร่อนบนท้องถนน หน่วยงานที่สังกัดรัฐ มีตำแหน่งครูข้างถนน แล้วมาปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์สร้างโอกาส ในการประชุมบอกว่า เด็กเร่ร่อนบนถนน เด็กข้างถนน น้อยลง จากการดำเนินการของหน่วยงานของเขา
แต่แปลกมา โครงการครูข้างถนน มีครูเพียงคนเดียวที่ ใช้เท้าเดินไปตามซอกซอยต่างๆ กลับพบทั้งเด็กไทย และเด็กต่างด้าวที่เพิ่มจำนวนเยอะมาบนถนน อาศัยกันเป็นกลุ่มก้อน แต่ไม่ได้เปิดเผยตัวให้หน่วยงานไหน คือใครรู้จัก
เด็กและเยาวชนเหล่านั้นไม่น้อยลงเลย จากการติดตามชีวิตของพวกเขา โดยการเดินเท้าตามที่กลุ่มเด็กและเยาวชนอาศัยอยู่ และกลุ่มที่มาใช้ชีวิตที่ซอยนานา กว่าจะเก็บข้อมูลตามถึงครอบครัวของเด็กได้ทีละคน ที่ละครอบครัวใช้เวลามาไม่น้อยกว่า 7 ปี ที่ทุกคนกล้าให้ข้อมูลกับครู
ข้อมูลเหล่านี้สำหรับครูมันคือความลับที่ครูเอาไว้ใช้เป็นข้อมูลที่จะให้ความช่วยเหลือต่อไปในแง่มุมอื่นๆ ไม่ใช่เอาข้อมูลมาขาย หรือไปกระทำซ้ำกับพวกเขา กรณีศึกษาทุกกรณีมีสิทธิของเขาเองทุกคน ให้เกียรติเขาเท่ากับการเคารพตัวเอง
จนบางครั้งเป็นเหมือนคนห่วงข้อมูล ยอมรับเพราะแม่กับเด็กเหล่านี้ไม่ต้องการให้ครูที่โรงเรียนว่า เด็กเหล่านี้มาขอทาน มาขอเงิน นักท่องเที่ยว ซึ่งเด็กเหล่านี้กว่าจะใช้ความไว้วางใจ ครูใช้เวลาอย่างยาวนาน
เมื่อเดือนเมษายน 2562 จึงเปิดข้อมูลที่จับต้องได้เพราะเด็กต้องอุปกรณ์การเรียน กระเป๋า รองเท้า หรือเสื้อผ้าชุดยุวกาชาด ชุดลูกเสือ สิ่งของเหล่านี้คือการใช้เงิน ที่จำนวนมากด้วย
จึงเกิดกิจกรรมเสริมความพร้อม ส่งน้องไปโรงเรียน ที่ชุมชนโค้งรถไฟยมราช มีเด็กในชุมชนกว่า 150 คน แต่ไม่ใช่เด็กทั้งหมดที่ออกไปทำงานบนถนน ทางโครงการครูข้างถนนจำเป็นต้องมีการคัดกรอง เด็กในการแบ่งปันรองเท้า สำหรับกระเป๋ากับอุปกรณ์การเรียน เด็กทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนได้รับหมด
มีหน่วยงานที่พวกเราทำงานถือว่า เป็นเจ้าของพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร นัดประชุมเชิญหน่วนงานต่างๆ เพื่อต้องการให้ทำงานตามกลไกของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพ พร้อมด้วยทีมวิชาชีพ ที่หน่วยงานมั่นใจในการช่วยเหลือกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพ
สำหรับครูในฐานะคนทำงานบทบาทครูข้างถนน ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก
เมื่อประมาณต้นปลายเดือนพฤษภาคม 2562 ได้มีหน่วยงานที่เป็นเจ้าของพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ต้องการจัดการประชุม หน่วยงานของเขาเป็นผู้เชิญการประชุม กำหนดรายชื่อเองทั้งหมด ซึ่ง ทางครูเองมองเห็นแล้วว่าเขาต้องการข้อมูลอย่างเดียว หน่วยงานของคุณไม่ลงมาทำอะไรเลย ถือแต่กฎหมายว่าต้องทำงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นหน่วยงานฝ่ายทีมเลขานุการ ของคณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพ ที่ตั้งตามตัวบทกฎหมายทั้งสิ้น บุคลากรที่มาประชุม เขาถือว่าเขาเป็นราชการ และมีกฎระเบียบอยู่ในมือ เขาก็รีบอธิบายและเสนอตัวเป็นผู้ประสานงานในการจัดประชุมทีมสหวิชาชีพ จัดการคัดกรองส่งต่อกรณีทั้งหมดจำนวน 105 กรณี แต่ฝ่ายของหน่วยงานเป็นคนจัดการกรณีศึกษา ใช้ทีมสหวิชาชีพที่ชำนาญ หาทางออกทุกกรณี เป็นอย่างดี ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี แล้วกรณีศึกษาเหล่านี้จะได้มีหน่วยงานช่วยเหลือ ทุกหน่วยงานที่ทำงานด้วยกันจะได้มีผลงานร่วมกัน ทุกหน่วยงานได้ผลงานหมด
ครูขอถามก่อนว่า ว่าหน่วยงานที่จะประชุมทีมสหวิชาชีพกับเด็กเร่ร่อนทั้งหมด 105 กรณี นี้คือใคร เขารู้จักกรณีศึกษามาก่อนไหม เคยลงพื้นที่ไหม มีทรัพยากรที่จะช่วยเหลือได้จริงๆๆไหม
ผู้แทนหน่วยงาน หน่วยงานของยินดีรับเป็นตัวประสาน แต่เรื่องกรณีศึกษาทั้งหมด ต้องครูที่ลงพื้นที่เป็นคนพามา ค่าใช้จ่ายหน่วยงานกลาง กสศ. (กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา) เป็นหน่วยงานที่ต้องจ่ายเพราะเป็นการทำงานด้วยกันแล้วเป็นเจ้าภาพ
แล้วหน่วยงานท่านจะทำหน้าที่ประสานงาน กับประชุมทีมสหวิชาชีพ เพราะหน่วยงานเราต้องทำตามกฎหมายที่มีระบุไว้ และเคยจัดประชุม และที่สำคัญคนที่ทำงานภาคประชาสังคมต้องส่งข้อมูลให้หน่วยงานเป็นคนดำเนินการ
ส่วนเรื่องการส่งต่อก็ต้องเอา กรมกิจการเด็กและเยาวชน เข้ามาร่วมด้วย หน่วยงานที่สังกัด บ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับกรณีศึกษาเหล่านี้ไปดำเนินการช่วยเหลือ
สำหรับการประชุมทีมสหวิชาชีพ นั้นพวกเราสะดวกเอาที่สำนักงาน กสศ. ใช้ห้องกระจำดำเนินการ แล้วยกทีมงานของกรุงเทพมหานครมาเลย งานนี้ทำกันเต็มที่ แต่เน้นเวลาที่เป็นราชการ เท่านั้น
เมื่อได้คำตอบที่ผู้แทนพูด ครูสวนกลับไปทันที่ว่าครูไม่ทำงานด้วย ทุกคนที่เข้าประชุมตกใจกันกันทุกคน แต่ครูชัดเจนของครูนะ
1.กรณีศึกษาทุกกรณี ที่ออกมาใช้ชีวิตที่ซอยนานา ผ่านทีมวิชาชีพที่แสนเจ็บปวดกันมาหมดแล้ว กระบวนการช่วยเหลือไม่ต่อเนื่อง ปัญหาคือขาดความต่อเนื่อง คนประชุมทีมสหวิชาชีพ ประชุมเสร็จก็ไม่เคยกลับหันมามองว่ากรณีศึกษาเหล่านี้จะแยกแม่ แยกลูก ตามตัวแทนหน่วยงานท่านบอกว่า มีมาตรฐานขั้นต่ำในการดูแลเด็ก หน่วยงานของท่านเปิดสถานสงเคราะห์อีกสักสิบแห่งรับเด็กเหล่านี้ไปดูแลได้เลย
2.ท่านอ้างแต่กฎระเบียบ กลไกที่ถูกตั้งมาว่ามาตลอดเวลา ต้องมีการคุ้มครองสวัสดิภาพ ถามจริงๆๆที่หน่วยงานของท่าน ดูแลตามมาตรฐานขั้นต่ำบ้างหรือเปล่า หรือทำตามกฎระเบียบที่ท่านกอดไว้แน่นหนาสาหัสจนถอดวางไม่ได้เลย
ทุกคนที่ประชุมอยู่ด้วยกัน ว่า ครูจิ๋วมีตัวอย่างที่ใช้ทีมสหวิชาชีพแล้วเกิดปัญหา เลยต้องมาดำเนินการตามกระบวนการของครูข้างถนน
ตัวอย่างของครูมีจำนวนหลายกรณี
ครูขอยกตัวอย่าง
กรณีศึกษาที่ 1 ครอบครัวนางไซ(นามสมมุติ) มีลูกทั้งหมด 6 คน คนโตเป็นพิการ คนที่ 2 เรียน ป.6 (ในขณะที่สามปีที่แล้ว) คนที่ 3 เรียน ป. 3 คนที่สี่ เรียน ป.1 น้องคนที่ห้ากับคนที่หก ถูกจับไปพร้อมแม่ แม่กับน้องสองคนถูกส่งไปที่ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พร้อม ลูกสี่คนอยู่ข้างนอก ครูขอใช้ทีมสหวิชาชีพในการแก้ไขปัญหา
ทีมสหวิชีพพูดคุยพร้อมกันว่า เด็กทั้ง 4 คน ต้องแยกไปอยู่ตามช่วงอายุของเด็กทั้งสี่คน เรื่องที่จะส่งมาเรียนยังสมุทรปราการเป็นไปไม่ได้ เด็กต้องได้รับการคุ้มครองของแผนงานของบ้านต่างๆ ถามเรื่องการศึกษาอีกครั้ง ทุกคนตอบเหมือนเดิม
ครูจึงขอยุติในการประชุมทีมสหวิชาชีพ ขอใช้กระบวนการดูแลเด็กตามแบบฉบับของครู
คือ (1) เช่าบ้านให้เด็กอยู่ ด้วยเงินค่าเบี้ยประชุม ค่าคนบริจาค เดือนละ 3,000 บาท
(2) เด็กได้ไปเรียนหนังสือเหมือนเดิมทุกคนแต่ค่าใช้จ่าย ทั้งสามคน วันละ 100 บาท เท่านั้น พร้อมทั้งอาหารเช้าและเย็น อีก 100 บาท สัปดาห์ละ 1,000บาท
ปัจจุบันเด็กทั้งสามคน คนโต เรียน ม.3 คนกลางเรียน ป.6 คนที่สี่ เรียน ป.4 เป็นนักฟุตบอลประจำโรงเรียน คนที่ห้า เพิ่งจะเข้าเรียน ป.1 เด็กทั้งสี่คนเรียนหนังสือ
ถามว่า ครูใช้ทีมสหวิชาชีพแล้ว แต่ไม่คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดทางการศึกษา แต่ครูเน้นเรื่องการศึกษาของเด็กเป็นหลัก และหลักสิทธิมนุษยชน คือเด็กไม่ได้ถูกจับด้วย เข้ามีสิทธิและเสรีในการอยู่ แต่ที่สำคัญต้องมีคนคอยดูแล และมีอาสาสมัครมาช่วยดูแลแทนพ่อแม่ ในขณะที่พ่อแม่ไม่พร้อม ทำหน้าที่พ่อแม่ชั่วคราว จนทุกคนกลับมาเป็นครอบครัวอีกครั้ง ครูผิดตรงไหนค่ะ
กรณีที่ 2 มีเด็กชายต้า (นามสมมุติ) เป็นเด็กเร่ร่อนที่ใช้ร้านเกมที่เป็นที่นอน ที่กิน และเล่นเกม เร่ร่อนมากว่า 3 ปี แล้วที่ใช้ร้านเกมเป็นทุกอย่างในชีวิต เหตุเกิดเพราะเด็กไม่มีเงินก็จะออกไปตามถนน มุมต่างๆ แล้วเคาะกระจกรถยนต์ของเงิน เมื่อได้เงินมาก็เล่นเกมหมกตัวอยู่อย่างนั้น
ในช่วงเวลาประมาณตีสอง ร้านเกมปิด เด็กจะมานอนที่อยู่ร้านสะดวกซื้อ มีอาสาสมัครทั้งกลางวัน และบุคคลที่อาศัยอยู่กลางคืน มาร้องขอความช่วยเหลือให้ช่วยเหลือคนนี้
อาสาสมัครได้โทรประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หน่วยงานยังไม่มีหน่วยงานไหนลงไปดูแล ทางครูจึงให้เจ้าหน้าที่ช่วยขับรถให้ครูตอนกลางคืน ในช่วงเวลาตีสาม
วันรุ่งขึ้นจึงนั่งเฝ้าเด็กตั้งแต่เวลาบ่ายโมง เห็นวิถีชีวิตขอเด็กเสี่ยงมาก จึงโทรประสานงานกับทีมงานบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพ ของเจ้าหน้าที่พนักงานของรัฐ พร้อมรถ ที่จะดำเนินการช่วยเหลือ ในการดำเนินการช่วยเหลือ เมื่อเวลา 21.00 น. พร้อมกับนำตัวเด็กไปลงบันทึกประจำวัน พร้อมค้นหาเอกสารของพ่อแม่
ทางทีมงานมีการประชุมสืบค้นหาเอกสารของแม่ และมีโอกาสได้คุยกับแม่ แม่ต้องการให้ลูกได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ ทีมบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพส่งเข้ารับการคุ้มครองที่สถานแรกรับบ้านภูมิเวท กว่าจะประสานงานส่งต่อ กระบวนเสร็จประมาณ ตีสาม
ปัจจุบัน เด็กได้เรียนหนังสือในระดับประถมศึกษา ปีที่ 6 แม่ไปเยี่ยมเป็นครั้งคราว
ครูย้อนถามว่า ครูไม่ใช่ทีมสหวิชาชีพตรงไหน แล้วเวลาดึกๆๆ แบบทีมสหวิชาชีพของท่าน ลงไปทำกิจกรรมได้ไหม
กรณีที่ 3 ครอบครัวยายเตี้ย กับน้องโบ น้องโบได้พาลูกทั้งหมด 7 คน ไปบนถนนที่ซอยนานา เมื่อเดือน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 ถูกจับในการพาลูกออกมาขอทาน ได้ส่งแม่กับเด็ก ไปยังบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพ เด็กและแม่รับการคุ้มครองเป็นเวลา 3 สัปดาห์ โดยมีการประชุมหารือแนวทางช่วยเหลือครอบครัวนี้
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2560 ซึ่งมีทั้งมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก บ้านพักเด็กและครอบครัว ซึ่งในขณะนั้น นางจิรา ศรีเจริญ (ผู้เป็นยายของเด็ก) ในขณะนั้นมีหลาน 3 คน ที่ต้องดูแลอยู่แล้ว และมายืนยันที่จะดูหลานอีก 7 คน จึงมีการวางแผนในการช่วยเหลือ
(1) ทางมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก จะช่วยเหลือค่าเช่าบ้านที่ค้างมาแล้วจำนวน 2 เดือน เป็นเงิน 6,000 บาท โดยจะจ่ายไปยังเจ้าของบ้านเช่า
(2) ทางบ้านพักเด็กและครอบครัวสงเคราะห์ค่าอาหารข้าวสาร นม และเงินจำนวน 2,000 บาท เป็นการสงเคราะห์ครอบครัว ทางทีมงานบ้านพักเด็กและครอบครัวจะลงมาเยี่ยมเยี่ยมครอบครัวเด็กเป็นระยะ ถ้าไม่สามารถดำเนินการตามที่ตกลงไว้ เจ้าหน้าที่พนักงานจะมีการเอาเด็กไปคุ้มครอง
(3) ทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กจะลงเยี่ยมพร้อมอาหารแห้ง ให้เด็กในช่วงต้นเดือน พร้อมทั้งอุปกรณีการเรียนของเด็กทั้ง 10 คน
จากกรณีทั้ง 3 กรณีศึกษา ครูไม่ได้ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนตรงไหน แต่ต้องเอากรณีศึกษาทั้งหมดที่มีอยู่ในมือครู แล้วมาให้ทีมสหวิชาชีพประเมินตามกฎระเบียบหน่วยงานของท่าน “ครูทำไม่ได้ และครูก็ไม่ทำด้วย ” เพราะกรณีศึกษาแต่ละกรณีบอบช้ำมาด้วยการกระทำซ้ำครั้งแล้ว ครั้งเล่า
แต่ถ้าหน่วยงานของท่าน จะดำเนินการภายใต้กฎหมายที่ท่านดูแล ท่านจัดการไปได้เลย แต่สำหรับกรณีศึกษาที่ครูลงทำงานด้วย ครูไม่ทำเด็ดขาด กว่าพวกเขาจะไว้ใจครูพูดความจริง พูดความต้องการ ของพวกเขาเหล่านั้นมาถึงปัจจุบันใช้เวลากว่า 7 ปี ครูจะไม่ทำโดยเด็ดขาด
อยากด่าว่า ครูไม่ใช่มืออาชีพ อยากด่าด่าไป ครูจะลงช่วยกรณีศึกษาของครูมากกว่ามานั้งกอดระเบียบ ตามสบายเลยค่ะ...
ครูมีหน้าที่ทำ ครูก็จะทำต่อไป