banner
อังคาร ที่ 4 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2562 แก้ไข admin

การศึกษา..คือการลงทุน


 นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          ครูได้รับการติดต่อจากทีมงานของคณะทำงาน กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาพ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู 

ซึ่งพระราชบัญญัติดงกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ตามมาตรา5(4) ของพระราชบัญญัติดังกล่าวระบุวัตถุประสงค์ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเสริมสร้าง สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาหรือพัฒนา  เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิต

สำหรับครูเองเวลาที่จะต้องรีบหางบประมาณให้เด็กที่ต้องรับผิดชอบ 3 กลุ่มด้วยกัน  คือ

 

กลุ่มที่ 1 กลุ่มเด็กเร่ร่อนต่างด้าวที่ครูนำเข้าเรียน ในขณะนี้กว่า 65 คน ที่อดีตของเด็กเหล่านี้ คือเร่ร่อนขอทานมาก่อน ถึงแม้ในปัจจุบัน บางครอบครัวก็ยังออกมาขอทานเป็นครั้งคราว ซึ่งในขณะนี้เรียนสูงสุดถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3  

ในขณะนี้มีเด็ก 3 คนที่กำลังจะเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1  โรงเรียนเตรียมอุดม สมุทรปราการ  ซึ่งค่าใช้จ่ายทางด้านการศึกษา (ค่าบำรุงการศึกษา คนละประมาณ 3,300 บาท พร้อมทั้งชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน กระเป๋า รองเท้า สิ่งของอีกจำนวนมาก)   ซึ่งได้ให้คำแนะนำว่า เด็กควรที่จะเรียนใกล้ชุมชน และโรงเรียนที่ใกล้  เพราะประหยัดค่าใช้จ่าย  ทางโครงการฯไม่สามารถช่วยเหลือหรือให้ทุนอย่างต่อเนื่องได้  และที่สำคัญค่าใช้จ่ายประจำวันตามที่ต้องไปเรียน  ซึ่งต้องใช้วันละประมาณกว่า 150 บาท  สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 750 บาท ซึ่งสูงมาก  และยังมีค่าอุปกรณ์อื่นๆที่ต้องจ่าย  สิ่งเหล่านี้คือภาระของผู้ปกครองที่ต้องจ่ายเอง   สำหรับทางโครงการจ่ายไปเพื่อการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวนเงิน 9,900  บาท

ทางโครงการฯเคยช่วยเหลือเด็กต่างด้าว 1 คนที่ สอบเข้าเรียนได้มอบตัว เด็ก แต่เรียนได้แค่ สามเดือน  สุดท้ายเด็กต้องลาออกแล้วมาเรียนการศึกษานอกระบบ เพราะเด็กต้องเรียนหนังสือและทำงานช่วงกลางคืน แล้วไม่ไหว   ในขณะนั้นเสียดายงบประมาณเป็นอย่างมาก บทเรียนที่เคยได้รับมีมาแล้ว

 

กลุ่มเด็กที่เรียนโรงเรียน จำนวน 49 คน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึง ป.6  สิ่งที่ต้องจ่าย คือค่าประกันอุบัติเหตุจำนวน 200 บาท (สำหรับเด็กเร่ร่อนต่างด้าวจำเป็นต้องจ่าย เพราะเป็นสิ่งเดียวเมื่อเจ็บป่วยยังมีประกันช่วยจ่ายให้  แม่ของเด็กก็ยอมกับคำพูดของครูที่ไม่ได้ขู่แต่เอาจริง  เมื่อใครไม่สบายหรือแขนหัก ขาหัก ในช่วงเสาร์-อาทิตย์ แม่ต้องดูแลกันเอง  ด้วยเหตุการณ์ที่เด็กของพวกเราซุกซนตามประสาเด็ก อยากรู้ อยากเห็น  อยากทดลอง อยากทำ  จึงใช้จักรยานที่มีขับกันสุดชีวิต ตามถนน ที่เต็มไปด้วยรถสิบล้อที่วิ่งขนทรายขึ้นจากแม่น้ำ  และมอเตอร์ไซด์ของเด็กวัยรุ่นที่คึกคะนอง  เด็กของเราจำเป็นที่ต้องระมัดระวังตัวเอง ช่วงวันหยุดเด็กจึงเกิดอุบัติเหตุบ่อยมาก)  สิ่งที่ต้องเสียคือ ค่าคอมพิวเตอร์อีกจำนวน 300 บาท  จำนวนเด็กที่เรียน จำนวนกว่า 39 คน  เป็นเงินกว่า  19,500 บาท

สำหรับกลุ่มเด็กอนุบาล 2 และอนุบาล 3 จำนวน 10 คน  คนละ 1,850 บาท ประกอบไปด้วย (ค่าพี่เลี้ยงเด็ก ค่าที่นอน ค่าของใช้ส่วนตัว และค่าประกันอุบัติเหตุ ) จำนวนเงินที่จ่าย 18,500 บาท

เด็กกลุ่มนี้ ทางโครงการฯ ต้องจ่าย 38,500 บาท  สำหรับการสร้างที่ยืนให้เด็กเร่ร่อนต่างด้าว ได้มีโอกาสทางการศึกษา อีก 1 ปี  แต่ละปีต้องหางบประมาณ

นอกเหนือจากค่าใช้จ่าย สิ่งที่ต้องจ่าย ค่าชุดลูกเสือและชุดเนตรนารี อีก 9 ชุด  ชุดละ 1,115 บาท เป็นเงินไม่น้อยเลย กับเงิน 10,035 บาท

สำหรับเด็กกลุ่มนี้ ครูได้รับงบประมาณช่วยเหลือและดำเนินการมาทั้งสิ้น 60,000 บาท จากคุณหมอวิชช์ เกษมทรัพย์  จากโรงพยาบาลรามาธิบดี  และใช้งบบางส่วนจากผู้ใหญ่ใจดีที่ร่วมสมทบทุนในการดำเนินกิจกรรมของครูข้างถนนมาตลอด 

  

กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างต่างด้าว ที่ต้องการเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ชั้นประถมศึกษา  ถึงแม้ทางโครงการฯ พยายามจะให้ครอบครัวมีส่วนร่วม รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของเด็ก  แต่การใช้เงินสำหรับเด็กเข้าเรียนก็สูงเป็นจำนวนมาก

อย่างกรณีศึกษาของน้องกันยา และน้องกวิตา  ค่าใช้จ่ายในวันมอบตัวสูงถึงคนละประมาณ  3,100  บาทต่อคน   ทางแม่ได้เตรียมไว้คนละ 2,000 บาท  ทางโครงการจึงต้องช่วยเหลือไปคนละ 1,270 บาท รวมไปถึงค่าใช้จ่ายค่าถ่ายรูปของเด็กและค่าถ่ายเอกสาร   โดยทางโครงการฯให้คำสำคัญต่อการศึกษาของเด็กเป็นสำคัญ   การศึกษาของเด็กคือการลงทุน  เพราะเวลาที่เปิดเทอมแต่ละครั้งครอบครัวของเด็กมีอะไรก็ต้องเข้าโรงจำนำไว้ก่อน เพื่อนำเงินมาจ่ายสิ่งที่ต้องใช้ในการศึกษา 

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2562 ทางโครงการฯ ต้องจ่ายค่าชุดนักเรียน ชุดพละ  รองเท้าดำ และรองเท้าผ้ากว่า 3,000 บาท สำหรับเด็กทั้งสองคน  รวมค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กทั้งสองคนกว่า 5,540  บาท

 

กลุ่มที่สาม เด็กที่มาหากินบนถนนที่ซอยนานา จำนวนเด็ก 105 คน จาก 6 ชุมชน   เป็นการทำงานที่ใช้การเก็บข้อมูลอย่างเงียบๆ ค่อยดำเนินการลุกเข้าถึงบ้านของเด็กแต่ละครอบครัวด้วยเครื่องมือการนำอุปกรณ์การเรียน กระเป๋า รองเท้า เสื้อผ้าสำหรับบางครอบครัว  ที่มาใช้ชีวิตบนถนนอย่างแท้จริง 

แต่สำหรับเด็กกลุ่มนี้ ครู ได้พาทีมงานของ ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ และทีมงาน กสศ.กว่า 11 คนลงพื้นที่ ถนนสุขุมวิททั้งถนน  เมื่อวันพุธที่ 27 มีนาคม 2562 เวลาตั้ง 1 ทุ่มจนถึงสี่ทุ่ม เริ่มจากอโศก จนมาถึงซอยนานา  เป็นกลุ่มเด็กที่ได้เรียนหนังสือแต่ไม่ได้ไปเรียนทุกวัน  เด็กยังต้องมาเป็นแรงงานในขอทาน  เพื่อช่วยเหลือครอบครัว  หรือเด็กบางคนก็ต้องมาขายดอกไม้ ขายสิ่งของต่างๆให้กับนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวตะวันออก  การเปลี่ยนแปลงของเด็กเร่ร่อน ที่ใช้พื้นที่ถนนมาทำมาหากิน มีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเด็กเขาจะเปิดเผยตัวเองว่าอยู่ที่ไหน 

ครูใช้เวลากว่า 7 ปี กับการศึกษาเรียนรู้ไปกับเด็กๆๆ พร้อมทั้งทำความรู้จักกับเขา ได้มีโอกาสรู้จักเขาอย่างจริงจังด้วย  พร้อมที่จะรู้จักกันให้มากขึ้น  เปิดใจตัวครูเองมากกว่างานนี้ 

 

ครูเองลงพื้นที่เพื่อการเก็บข้อมูล ในเรื่องว่าจะเปิดภาคเรียนการศึกษา  เด็กต้องการกระเป๋าใส่หนังสือ  อุปกรณ์การเรียน  รองเท้าสีดำและรองสีน้ำตาล  สำหรับเด็กผู้หญิงคือ รองเท้าผ้าใบสีขาว ที่มีความจำเป็นใส่กับชุดพละศึกษา

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562  ครูลงพื้นที่ชุมชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร  พร้อมทีมงานของ กสศ. ที่อยากจะช่วยครู และเด็ก  สิ่งที่เด็กต้องการ เพื่อวันเปิดเทอมมีกระเป๋าและอุปกรณ์การเรียน  ซึ่งทางครูจะมีรายชื่ออยู่แล้ว  จำนวนหนึ่ง

แต่ด้วยเหตุผล ว่าเด็กและเยาวชนในชุมชนแห่งนี้เหมือนกันหมด คือตรรกะ ของความปรารถนาดี  และตัวคณะกรรมการชุมชนก็จะบอกว่าเด็กและเยาวชนลูกหลานคนเหล่านี้ ไม่รักดี  เกเร มีบางคนอยากให้เด็กเหล่านี้ออกไป  ชุมชนจะได้เหลืออยู่เฉพาะที่พูดคุยกันง่ายมากขึ้น

สำหรับครู  ครูค่อยเจาะไปทีละครอบครัว  เด็กทีละคน  ต้องการสิ่งที่จะมอบให้ให้ถึงเด็กที่ต้องการที่สุด  เป็นประโยชน์สำหรับเด็กที่สุด


 

จนมาถึงทีมงาน กสศ.จัดงานเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562  มอบกระเป๋าหนังสือและอุปกรณ์การเรียนให้เด็กที่มาร่วมงานและทำกิจกรรม  โดยทาง กสศ.เป็นหน่วยงานที่จ่ายใช้จ่ายทั้งหมด ในการจัดกิจกรรม และค่ากระเป๋าพร้อมอุปกรณ์การเรียนจำนวน 150 ชุด  รองเท้าที่จะมอบให้เด็ก  งานนี้ครูขอจัดการเอง จำนวน 140 คู่  กับทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กอีก 60 คู่ 

โดยเน้นไปที่กลุ่มเด็กออกไปซอยนานา   ฟังเสียงของผู้ปกครองทีมีฐานะพอสมควร  แต่อยากได้เหมือนเด็กๆๆที่ต้องดิ้นรน   ครูเลยต้องมีวิธีการจัดการผู้ปกครองเหมือนกัน

สำหรับงบประมาณครั้งนี้ทั้งรองเท้า กระเป๋า อาหารว่าง อาหารกลางวัน ก็จำนวนมาก

เสียงครหานินทามีมาก เสียงผู้ปกครองที่ได้รับความช่วยเหลือก็โมทนาสาธุ  เด็กๆ เองก็ได้กระเป๋า ได้รองเท้า  มีบางคนที่ชุดลูกเสือ  ก็หน้าบานเมื่อมีอุปกรณ์ครบครันตามโรงเรียนต้องการ  แต่ครูเอง บอกได้เลยว่าประสานงานทุกหน่วยงานที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก

ให้เด็กได้มีที่ยืนบนสังคมด้วยการศึกษา