ห้องเรียน...ข้างถนน การศึกษาทางเลือกและอาชีพ สำหรับเด็กเร่ร่อน (ตอนที่ 5)
นางสาวทองพูล บัวศรี
ครูคะในช่วงอาทิตย์หน้าครูมีเวลาว่างวันไหนบ้างค่ะ พวกหนูเป็นกลุ่มนักศึกษา คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการดนตรี ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ของลงพื้นที่และสัมภาษณ์
ครูของเคลียร์ตารางการลงพื้นที่ก่อนนะ ขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ
นักศึกษาตอบมาว่า ไม่เป็นไร พวกหนูโทรมาหาคุณครูอีกครั้งวันศุกร์นะ
นักศึกษาโทรกลับมาอีกครั้ง ครูสะดวกวันอังคารช่วงบ่ายสองนะ ในช่วงเดือนพฤษภาคมคะ
ได้คะคุณครู พวกหนูอยากลงพื้นที่ พบกันที่พื้นที่ใต้ทางด่วน พบกันที่สถานีรถไฟฟ้าเพลินจิตเวลาบ่ายสองนะ ครูต้องไปโรงเรียนวัดพิชัยมาก่อน
ครูคะต้องทำหนังสือขออนุญาตไหมคะ ทำส่งเป็นเมล์ให้ครูก็ได้ขอเก็บเป็นหลักฐานในการน้อง น้อง ลงมาเรียนรู้งาน
ครูคะพวกหนูต้องเตรียมข้อมูลหรือประเด็นคำถาม ขอให้เตรียมประเด็นคำถามว่าจะถามอะไรกับเด็กเร่ร่อนวัยรุ่น จำนวน 3 คน เป็นเด็กที่ออกจากระบบการศึกษา
เมื่อถึงเวลานัด น้อง น้อง แต่งชุดนักศึกษากันอย่างเรียบร้อยจำนวน 5 คน
นักศึกษาเองเดินตามครูมาที่รางรถไฟ เห็นหน้านักศึกษาแล้วทุกคนแบบสงสัย จึงบอกว่าให้เก็บคำถามทั้งหมดไว้ก่อน
ระหว่างทางมีคำถามจากสายตาของนักศึกษา หลากหลายมาก สายตาของชาวบ้านระหว่างที่นักศึกษาเดินเข้าไปใต้ทางด่วน
ทุกอย่างที่เป็นคำถาม ครูไม่ได้ตอบ
เดินตรงไปที่เป้าหมายอย่างเดียว คือบ้านพักบนต่อมอ
พอเดินไปถึงวันนี้เจอ สามคนที่นัดไว้ คือน้องเดฟ น้องบาท น้องมด (นามสมมุติทั้งหมด)
ทั้งสามคนเป็นเด็กที่เคยเรียนหนังสือมาก่อน
คำถามที่นักศึกษาตั้งมา คือ คิดว่าการเรียนในระบบเหมาะสมกับเด็กเร่ร่อนแค่ไหน
งานนี้น้องเดฟ เล่าประวัติของตัวเองก่อน ก่อนที่จะตอบคำถาม นักศึกษา บอกว่าผมก็เห็นด้วยนะว่าทุกคนต้องเรียน แต่สำหรับผมการเรียนเป็นประเด็นสุดท้ายที่จะคิด ตอนนี้ขอให้ทุกวันมีอาหารกินก่อน คือการมีงานทำ
เดฟเป็นเด็กเร่ร่อนกับแม่ แม่ผมเป็นคนพิการ ถูกพ่อแจ้งสงเคราะห์ให้มาจับตัวผมกับแม่ ส่งไปอยู่ ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงวันนี้ผมยังหาแม่ไม่เจอเลย ว่าถูกส่งไปอยู่ไหน ความเป็นครอบครัวหายไปตั้งแต่วันนั้น ครอบครัวแตกสลายไปเลย
ผมเองถูกส่งตัวให้ไปอยู่สถานสงเคราะห์แห่งหนึ่ง เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตอนนั้นเฝ้าคิดถึงแต่แม่ แม่อยู่ที่ไหน ทำไหมมาเยี่ยมบ้างนะ แม่หายไปไหน สำหรับพ่อ ไม่ต้องโหยหาเขาหรอก เขามีครอบครัวกับผู้หญิงคนใหม่ เพื่อนที่อยู่ละแวกแถวบ้านเข้ามาอยู่ที่สถานสงเคราะห์ เล่าให้ฟัง ความเป็นห่วงแม่ อยากกลับไปเห็นกับตาเรื่องพ่อ
พอเพื่อนชวนกันหนี ผมหนีตอนที่ไปโรงเรียนนัดแนะเจอกันที่ปากซอยปากเกร็ด ผมเตรียมชุดเสื้อผ้าไปเปลี่ยน ไม่อย่างนั้นโดนจับได้ ผมก็มาอาศัยกับเพื่อนอยู่กันที่แยกคลองเตย มาช่วยแม่เพื่อนขายพวงมาลัยเพื่อเลี้ยงชีวิตตนเอง ผมหัดร้อยมาลัย แต่โดนเพื่อนๆล้อว่างานเหล่านี้เป็นงานของผู้หญิง
ผมกับเพื่อนอีกห้าคนก็ใช้ชีวิตเล่นกาว ขอเงิน เล่นเกม คลองเตย สุขุมวิทซอยสี่ แล้วเลยมาใต้ทางด่วน พบเจอเพื่อน เพื่อนที่อาศัยนอนซอยนานา จึงพากันมานอนใต้ทางด่วน ตามที่พอจะหาที่นอนได้บ้าง
สุดท้ายผมกับเพื่อนอีกหกก็ถูกจับอีกครั้งหนึ่ง ตัวผมใช้ชีวิตครั้งแรกที่อยู่ภายนอกกว่า 7 เดือน เป็นการใช้ชีวิตที่สนุกมาก แต่ทุกครั้งผมจะเดินบนถนนสายตาที่สอดส่ายหาแม่ ผมได้ไปหาพ่อที่บ้านเช่าสอง-สามครั้ง ได้แค่แอบมองเท่านั้น ผมกลายเป็นส่วนเกินของพ่อไปแล้ว
สำหรับการเรียนเมื่อเข้าสถานสงเคราะห์ครั้งที่สอง คือไม่สิทธิไปเรียนหนังสือภายนอก จึงเรียนการฝึกอาชีพภายใน เรียนบ้าง นอนป่วยบ้าง ขี้เกียจมากสำหรับผม จึงอยู่ในสถานสงเคราะห์อีกประมาณ หนึ่งปี พอขึ้นต้นปีใหม่ของปี 2558 ผมกับเพื่อนอีกสามคน ต่างก็หนีออกมาอีกครั้ง
ผมก็ตรงมาที่ใต้ทางด่วน เรื่องการเรียนสำหรับผม ผมไม่เข้าไปเรียนแล้ว แต่ผมสนใจการฝึกอาชีพแล้วทำงานเลยผม ผมไปสมัครเรียนที่ศูนย์ฝึกอบรมที่ลุมพินี เขาไม่รับพวกผมครับ เพราะผมไม่มีเอกสารใด ใด ทั้งสิ้น
พี่ถามตรง ผมก็ตอบแบบตรง ตรง คือ เรื่องการเรียนของไม่ไม่เรียน แต่ต้องการมีงานทำที่ไม่ต้องเรียกหาเอกสาร มีงานแบบนี้ไหมครับ หรือการฝึกอาชีพที่ไม่ต้องเรียกหาเอกสารครับ ผมก็ยังอยากมีงานทำเหมือนคนอื่นเขา
สุดท้ายเลยครับพี่ พวกผมจะกินไปแต่ละมื้อยังไม่มีกินเลย จะเอาอะไรไปคิดเรื่องเลย กินให้อิ่มท้องก่อนแล้วกันพี่
คนที่สอง น้องอาท
เล่าว่าผมเคยเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ ตอนที่ยังอยู่กับพ่อกับย่า ย่าเป็นคนไปส่งผมที่โรงเรียนทั้งสองคนพี่น้อง การเรียนก็อยู่ในระดีบดีทั้งคู่
แต่เมื่อพ่อผมมีผู้หญิงคนใหม่เข้ามาอยู่ในบ้าน เมียใหม่พ่อ
ความสนใจทั้งหมดที่เคยให้ลูกสองคนก็ไม่เคยเห็นอีกเลย จึงตกเป็นภาระของย่า ซึ่งย่าก็อายุเกือบเจ็ดสิบกว่า
เงินที่เคยได้ไปโรงเรียนก็ไม่มีให้ลูก ย่าก็พยายามที่จะไปทำงานเอาเงินมาให้หลานไปโรงเรียน บวกกับช่วงนั้นคิดถึงแม่ แม่ก็มีครอบครัวใหม่เร่ร่อนกันมานอนที่ใต้ทางด่วน
ผมกับน้องเลยไม่ไปเรียนอีกเลยกว่า 4 ปีแล้ว จึงออกมาอยู่กับแม่เป็นครั้งคราว
สำหรับผมเรื่องเรียนในระบบ ผมไม่เอาแต่ การเรียนมันยาก เขียนก็ไม่ค่อยคล่อง ครูก็ดุเป็นประจำ ยิ่งออกมาแบบนี้แล้วให้ย้อนกลับเข้าไปเรียนคงไม่เอาแน่
ผมสนใจการเรียนนอกระบบ เคยไปสมัครเรียนเขาไม่ให้สมัครเมื่อสามปีที่แล้ว ทางหน่วยงานบอกว่าต้องอายุ 15 ปีถึงจะได้เรียน
ตอนนี้ผมอายุ 15 ปีแล้ว แต่ไม่อยากเรียนแล้ว แต่อยากทำงาน การฝึกงานต้องเอาวุฒิการศึกษาว่า ต้องจบ ม.3 แล้วถึงไปฝึกงานได้
มันยากเกินไปสำหรับพวกผม แต่ผมก็ยังสนใจการฝึกอาชีพที่เป็นงาน แล้วทำงานได้เลย ตอนนี้พวกผมโตแล้ว จะให้เดินไปขอเงินนักท่องเที่ยวอย่างเดียวเขาไม่ให้แล้ว มีหลายคนชวนผมไปทำงานที่เสี่ยงผิดกฎหมาย ผมไม่เอา
สำหรับเด็กเร่ร่อนอย่างพวกผม อยากได้การเรียนคู่กับอาชีพครับ
คนที่สาม น้องมด
สำหรับหนูเคยเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 มาก่อนแต่เรียนไม่จบเพราะพ่อแม่แยกกันอยู่ ไปมีครอบครัวใหม่ ปล่อยหนูไว้กับป้า ซึ่งป้าก็มีลูกของตัวเองสองคน หนูกลายเป็นส่วนเกินที่ไม่มีใครต้องการ
ชีวิตของหนูจึงมาจบกันที่ซอยนานา เดิมอาศัยที่ชุมชนคลองตัน แต่มากับเพื่อน มาเที่ยว มาหาตังค์ ที่ซอยนานา
มาเป็นแฟนกับพี่อาท น้องเป็นเมียพี่อาท จึงมาอยู่กับครอบครัวแม่อุ้มที่ใต้ทางด่วน
เรื่องนั้นจะให้กลับไปเรียนอีกครั้งในระบบโรงเรียน หนูคงไม่เรียนแล้ว แต่อยากฝึกไปงานนวด ฝึกอาชีพ ความจริงตอนนี้หนูหัดร้อยมาลัยกับพี่ที่ครอบครัวเร่ร่อนอยู่ แต่ด้วยความชอบเที่ยวจึงตื่นสายไปซื้อดอกไม้ไม่ทัน
หนูอยากฝึกอาชีพ เคยพากันไปสมัคร แต่พอเจอครูที่มองด้วยสายตาแบบไม่ปรารถนาดีเลย ถามเหมือนพวกเราเอาดีไม่ได้จึงพากันกลับมา ไปที่ศูนย์ฝึกอาชีพสวนลุมพินี
พี่คะ อยากเรียนไหมเป็นคำถามที่พวกหนูรู้สึกว่าเฉยคะ แต่ถามว่าอยู่ได้ไหมเมื่อไม่ได้เรียน พวกหนูอยู่กันได้ตามที่พี่ พี่ เห็น
ท้องมันต้องอิ่มก่อนคะ เรื่องการศึกษากับอาชีพถุงจะตามมา เด็กทุกคนที่อยู่ใต้ทางด่วนกว่า 10 คนนี้ ความเห็นเหมือนกันคะ อิ่มท้องก่อนแล้วกันนะพี่
เสร็จแล้วครูจึงน้องนักศึกษาที่เดินกลับออกมาเงียบมาก ไม่มีคำถามเหมือนตอนที่เดินไปหาน้องน้องเด็กเร่ร่อน
นักศึกษาคนหนึ่งเอยเมื่อมาถึงที่ศูนย์เยาวชนสร้างสรรค์ใต้ทางด่วนเพลินจิต บอกว่าเอาผมช๊อค เรื่องการตอบของน้องทั้งสามคน พวกผมเรียนเพื่อไปเป็นครู แต่วันนี้น้องทั้งสามคน เล่าถึงระบบการศึกษาที่ถึงลูกถึงคน แบบการศึกษาที่พวกผมวาดฝันคำตอบว่า ผมต้องไปเรียนใหม่
ครูจิ๋ว จึงตั้งประเด็นใหม่ว่า การศึกษาแบบไหนที่เด็กเร่ร่อนต้องการ แล้วเอาคำตอบน้องทั้งสามคนไปทำรายงานส่งอาจารย์ประจำวิชาดีไหม ไม่ต้องเครียด ใช้ความต้องการของเด็กเร่ร่อน
น้องเด็กเร่ร่อนสามคน เขาต้องการคือการฝึกอาชีพแล้วมีงานทำเลย น้องเขาบอกถึงความต้องการของเขา การทำงานของครูเองก็ต้องตอบสนองความต้องการ แต่การปรับตัวของน้องเด็กเร่ร่อนนั้นสำคัญ ที่ต้องไปฝึกอาชีพอย่างต่อเนื่อง
แต่สิ่งที่ครูต้องทำงานก่อน คือระเบียบที่หน่วยงานฝึกอาชีพยึดระเบียบอย่างมั่นคงต่างหากที่เป็นเกาะกำบัง ไม่ให้เด็กเร่ร่อนเข้าไปสู่สิ่งที่เขาต้องการ
อย่างนั้น น้องต้องไปดูเรื่องการศึกษาทางเลือกกับการฝึกอาชีพที่คู่กัน
งานอาชีพเท่านั้นที่เด็กเร่ร่อน สร้างรายได้เลี้ยงตนเอง
น้องนักศึกษา บอกว่าขอบคุณมาก ชีวิตของเด็กเร่ร่อนช่างมีความสุข ได้บอกถึงความต้องการของตัวเอง และรู้ว่าตนเองต้องการอะไร ไม่ได้เน้นถึงความแข่งขันในเรื่องการศึกษา
ได้บอกสิ่งที่ต้องการ และสำคัญเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเด็กเองพบเห็น และบอกว่า "ท้องต้องอิ่มก่อน การศึกษาจะเลือกเป็นสิ่งสุดท้าย" แต่อาชีพคือสิ่งที่ปรารถนา