เด็กต่างชาติถูกทิ้ง ตามบ้านพักก่อสร้าง
นางสาวทองพูล บัวศรี
ที่ปรึกษาโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ครูจิ๋วค่ะมีเรื่องปรึกษาว่า ครอบครัวคนไทยครอบครัวหนึ่งได้ทำเรื่องของเด็กหญิงยายา(นามสมมุติ) มาเป็นบุตรบุญธรรม อยู่ที่ศูนย์ราชการ พ่อแม่ที่เลี้ยงเด็กมารักเด็กมากค่ะครู
ครูขอดูเอกสารทั้งหมดได้ไหมว่า ดำเนินอะไรบ้าง เพื่อจะตามงานได้ถูกว่าต้องติดต่อใคร
ความเป็นมาของน้องยายา คือแม่เป็นชาวพม่า อายุเพิ่งแรกรุ่นดรุณี เพียงแค่ 17 ปี มาเจอกับหนุ่มประเทศเดียวกัน คลอดที่โรงพยาบาลแถวอีสาน แล้วหอบลูกน้อยมาจ้างแม่คนปัจจุบันเลี้ยงด้วยค่าแรง วันละ 150 บาท ด้วยแม่เองก็มีแต่ลูกชายที่โตเป็นหนุ่มแล้ว จึงรักน้องยายามาก ถึงแม่ไม่มารับกลับไปน้องที่ห้องด้วยก็ไม่เป็นไร
จนมาถึงเดือนที่สาม พ่อกับแม่ตัวจริงมีการทะเลาะกันรุนแรง แต่ก็มาเยี่ยมลูกทุกวัน จนขึ้นที่เดือนที่สี่ คืนหนึ่งน้องยายา ร้องไห้จ๊าก ร้องไห้ดังมาก แม่ที่เลี้ยงก็คิดว่าเป็นไข้อุ้มไว้ที่อกเสียงร้องไห้ก็จะเงียบ แม่คนเลี้ยงต้องนั่งทั้งคืน
รุ่งเช้ามีคนมาบอกว่าแม่ตัวจริงของน้องยายาหายไปพร้อมกับทิ้งเอกสารของน้องยายาไว้ที่ห้อง ส่วนพ่อก็หายไปเหมือนกัน ไม่มีใครรู้ว่าทั้งสองคนหายไปทำงานที่ไหน
พ่อกับแม่คนเลี้ยงมานั่งปรึกษากันจะเอาอย่างไร เพราะทั้งสองคนรักน้องยายา จึงมีการปรึกษาทนายว่า ซึ่งทนายความเรียกค่าใช้จ่ายกว่า 20,000 บาท เริ่มต้นตั้งแต่
นำใบรับรองการเกิดไปติดต่อที่อำเภอ ขอใบเกิดของเด็กมาก่อน มีใบเกิดแสดงตนของน้องยายา
ต่อด้วยติดต่อกับเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องขอรับเด็กหญิงยายามาเป็นบุตรบุญธรรม กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาเป็นปี
ตั้งแต่การทำเรื่องขอแจ้งความจำนงในการขอเป็นบุตรบุญธรรม
ส่งไปตรวจสุขภาพจิตทั้งพ่อและแม่คนเลี้ยง
ไปสถานีตำรวจขอตรวจประวัติอาชญากรรม ว่ามีประวัติไหม
มีการสอบถามเรื่องรายได้ พร้อมทำหนังสือยืนยันจากลูกชายคนโตที่จะรับน้องยายามาเป็นน้องในครอบครัวเดียวกัน
ทุกอย่างทำตามขั้นตอน ทั้งพ่อและแม่ก็ทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง เลี้ยงน้องยายามาเป็นอย่างดี ด้วยหน้าตาน่ารักช่างเอาใจ เสียงหัวเราะช่างสดใส สร้างความชุ่มชื่นใจให้พ่อกับแม่ แต่ความกังวลก็มีตลอดเวลาที่เลี้ยงมาทางราชการจะให้มาเป็นบุตรบุญธรรมไหม ใช้เวลากว่าสองปี ปีแรกดำเนินการที่ จังหวัด ทางจังหวัดได้ส่งเอกสารพร้อมทุกอย่างไปที่หน่วยเหนือ แล้วทุกอย่างยังอยู่ที่เดิม
จนมาเจอครูซิ้ม พร้อมทั้งขอคำปรึกษาอีกครั้ง
เอกสารทั้งหมดทาง พมจ.จังหวัด ได้ส่งเข้ามาที่ศูนย์บุตรบุญธรรม กรมกิจการเด็กและเยาวนเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา ส่งเอกสารทั้งหมดเป็นไปเวลากว่า หนึ่งปีแล้ว ยังไม่ทราบเรื่องราวทั้งหมดที่ ทำเรื่องขอไป เงียบมาก มาก เลยครู ช่วยครอบครัวผมหน่อยครับ
ครูจิ๋วมีการประสานภายใน ในเวลาหนึ่งอาทิตย์ ได้ทราบข้อมูลว่า
เรื่องทั้งหมดเข้าคณะกรรมการพิจารณา เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2560 ซึ่งการทำงานในครั้งนี้ใช้วิธีการทางลัดค่ะ ด้วยการรู้จักกับท่านผู้อำนวยการศูนย์บุตรบุญธรรม (ในขณะนี้ย้ายไปเป็น พมจ.อุตรดิษถ์)แล้ว ท่านประสานงานพร้อมรายละเอียดให้
ผลการพิจารณาจากคณะกรรมการคือการทดลองเลี้ยง ซึ่งจะต้องมีหนังสือจากจังหวัดแจ้งมายัง พ่อแม่คนเลี้ยง ว่าในระยะการทดลองเลี้ยงในเวลา 6 เดือนนั้น
จะมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุญบุตรธรรมมาลงเยี่ยมบ้านพร้อมประเมินการเลี้ยงดู ทุกสองเดือน
ในใจครู เอ้อเขาเลี้ยงของเขามาตั้งแต่แบเบาะ ทุกอย่างมีหมดทั้งใบเกิด สมุดบันทึกสุขภาพ การเลี้ยงดูที่เหมาะสม จะมาประเมินอะไรกันหนักกันหนา (มันเป็นระบบระเบียบที่ล่าช้า)เกินไปหรือเปล่า สามปีพอดิบพอดี เพิ่งได้คำว่าทดลองเลี้ยง....
แต่ทั้งพ่อและแม่ก็รอฟังจากพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เพราะถ้ายังไม่เห็นจดหมายก็ไม่สบายใจถึงแม้จะรู้ว่าเรื่อง จากครูจิ๋วแล้วก็ตาม
เมื่อวันอังคาร (19 กันยายน 2560) ได้รับเอกสารพร้อมให้ไปดำเนินการเรื่องที่จังหวัด หัวใจของพ่อแม่ก็พองโต บอกว่าขอบคุณมากจริงๆ ที่ตามเรื่องให้ และเป็นสิ่งสำคัญที่ได้ดูแลลูกต่อถูกต้องตามกฎหมาย สมกับการรอคอย แต่ก็บอกว่ายังต้องมีการประเมินอีกนะ พ่อบอกว่าจะประเมินกี่ครั้งก็ยอม ขอได้เลี้ยงลูกจนเขาเติบโต ให้เด็กน้อยยายาได้เรียนหนังสือ มีครอบครัวที่อบอุ่น มีโอกาสใช้ชีวิตของตนเองอย่างเด็กไทยคนหนึ่ง
ตัวอย่างครอบครัวที่สอง
ครูจิ๋วค่ะมีเรื่องที่ต้องปรึกษาโดยด่วน ครูจำหนูได้ไหมที่เป็นนักศึกษาปริญญาเอก เคยลงไปกับครูที่ศูนย์เด็กก่อสร้างมีเรื่องขอคำปรึกษาค่ะ คือพ่อแม่ของเด็กเป็นชาวลาวที่เสียชีวิต เด็กอาศัยคุณป้าคนหนึ่งที่เคยดูแลครอบครัวนี้ ตอนนี้เด็กอาศัย 10 ปีแล้ว ไม่มีเอกสารใด ใด เลย คุณป้าอยากขอเป็นบุตรบุญธรรม เลี้ยงดูส่งเสียงเด็กมาตั้งแต่แรกเกิด
ขอโทษนะคุณตา รอพรุ่งนี้ได้ไหม ครูจิ๋วกำลังดำเนินการอีกเคสหนึ่ง พรุ่งนี้ได้คำตอบ แล้วจะได้อธิบายถูกว่าต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ต้องเริ่มต้นกันไหมเลยนะ..
มีคุณป้าแก่ต้องการทำเรื่องรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งพ่อและแม่เคยมีเอกสารที่เป็นการขึ้นทะเบียนแรงงานสัญชาติลาว ตอนแม่ตายตายที่โรงพยาบาลเพราะอุบัติเหตุ ทางโรงพยาบาลออกใบตายให้ ส่วนพ่อก็มีใบตาย สำหรับเด็กมีเอกสารเกี่ยวกับเป็นผู้ติดตามครอบครัว อยู่หนึ่งใบ และมีตัวตนของเด็กที่มีโอกาสได้เรียนหนังสือที่สมุทรปราการ แล้วจะเริ่มอย่างไรดีค่ะครู อันดับ
(1) ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในการลงบันทึกประจำวันว่าเด็กมาอยู่อาศัยตั้งแต่เมื่อไร พบเด็กที่ไหน แล้วตกลงมาอยู่กับครอบครัวคุณป้า
(2) นำเอกสารทั้งหมดที่มีไปทำเรื่องขอรับเป็นบุตรบุญธรรมที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัด ซึ่งจะมีขั้นตอนในการดำเนินการ
-การตรวจเอกสารของผู้รับเป็นบุตรบุญธรรม
-ทรัพย์สิน และช่วงอายุ ห่าง มีระบุไว้อย่างน้อยต้อง 15 ปี
-มีการส่งไปตรวจสุขภาพจิต
-มีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม
กระทรวงการทั้งหมดกว่า หนึ่งปี ถึงสองปี
(3) เอกสารและความคิดเห็นของจังหวัด จะถูกส่งมาพิจารณาที่คณะกรรมการรับบุตรบุญธรรม ที่ศูนย์ใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ระยะเวลาก็กว่าหนึ่งปีเหมือนกัน
(4) เมื่อคณะกรรมการพิจารณาแล้วจะส่งเอกสารพร้อม ผลการพิจารณา ส่งกลับไปที่ พมจ.จังหวัด พร้อมมีการดำเนินการสั่งการ ให้ไปที่อำเภอ
ขั้นตอนเหล่านี้ทั้งหมดทั้งสิ้นใช้เวลากว่า สองถึงสามปี แต่ต้องการให้เด็กได้รับสิทธิประโยชน์
และการดำเนินการในอนาคตดำเนินการเถิด เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสใช้ชีวิตเหมือนเด็กทั่วไป เขาจะได้เติบโตอย่างมีคนที่ดูแลเอาใจใส่
ในขณะนี้เด็กจะไปยอมออกจากบ้านไปไหนเลยกลัวการถูกจับ ยกเว้นไปเรียนหนังสือเท่านั้น เด็กหมกตัวอยู่แต่ในบ้านอย่างเดียว ป้าคนเลี้ยงเองก็อายุมากแล้ว กลัวว่าป้าตายไปเด็กจะลำบาก ไม่มีเอกสารที่แสดงตน ในช่วงที่ป้าจะมีแรงอยู่ก็อยากทำให้ถูกกฎหมาย
ตัวอย่างครอบครัวที่สาม
ครูค่ะ มีเรื่องปรึกษา ฉันรับเลี้ยงเด็กในชุมชน จำนวน 5 คน มีเด็กน้อยสาวชาวกัมพูชา หนึ่งคน
ตอนนี้ทั้งพ่อและแม่จริงหายไปแล้ว ประมาณห้าเดือนแล้ว
ครูฉันอยากได้เด็กหญิงนวล(นามสมมุติ) มาเป็นบุตรบุญธรรม เพราะเลี้ยงมาตั้งแต่แบเบาะ ครูจะเริ่มอย่างไรดี
ครูขอเวลาศึกษาขั้นตอนการขอเป็นบุตรบุญธรรม เพราะรายละเอียดในการดำเนินการไม่เหมือนกัน ขอเวลาปรึกษาหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกครั้ง
กรณีเหล่านี้ทั้งสามเรื่อง กำลังเป็นปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง เพราะการที่เด็กถูกทิ้งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น แต่เด็กมีใครสักคน สักครอบครัว สักชุมชน รักเขาต้อนรับในครอบครัวทดแทน เด็กก็จะมีความสุขได้ แต่กระบวนการในขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรมช่างใช้เวลา ระยะเวลาเหล่านี้สร้างความเครียด ความกดดัน ให้กับครอบครัวที่เลี้ยง ต้องการให้กระบวนการขั้นตอนเสร็จสิ้นโดยเร็ว เป็นการสร้างโอกาสให้เด็กมีครอบครัวดีกว่าการเข้าไปอยู่ในสถานสงเคราะห์