banner
พฤหัสบดี ที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ.2562 แก้ไข admin

ครูขา...ลูกหนูอยากเรียน




 นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่

          เสียงโทรศัพท์ที่ดังลั่นห้องทำงาน ซึ่งครูซิ้มกำลังคุยงานกับครูอยู่   จนต้องบอกว่าให้รับโทรศัพท์ก่อน  อาจเป็นกรณีศึกษาที่ต้องการความช่วยเหลือด่วน

          ครูซิ้มพูดออกมาว่า ครู มีกรณีศึกษา เด็กเป็นชาวกัมพูชา เป็นเด็กผู้หญิงสองคน ที่พ่อแม่ อยากให้ลูกเรียนหนังสือ  เด็กก็อยากเรียนด้วย

          ลูกสาวของหนูบ่นตลอดเวลาว่า  “อยากเรียน”  อยากใส่ชุดนักเรียน   หนูเคยไปถามเจ้าหน้าที่ธุรการของโรงเรียนแล้ว  เขาบอกว่า ต้องหาหน่วยงานของรับรอง  หรือพามาเข้าเรียน มีเอกสารหลายเรื่องที่ต้องเซ็นรับรองนะ

          ครูค่ะ  จะเอาอย่างไรกับเด็กสาวน้อยสองคน   แต่สำหรับหนู  หนูอยากให้เด็กได้เข้าเรียน

          ครูค่ะ เป็นกรณีศึกษา ที่ทางโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ช่วยเหลือไปเอาใบรับรองการเกิดที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี  แล้วดำเนินการแจ้งเกิดที่สำนักงานเขตมีนบุรี   เด็กทั้งคู่ได้รับใบเกิดแล้ว

          ทั้ง พ่อ แม่ ตา ยาย  อยากให้ลูกเรียนหนังสือ  ครูซิ้ม  หนูก็อยากให้ลูกเรียนหนังสือนะ  จะส่งให้ไปอยู่ที่กัมพูชา  ก็ไม่มีใคร  จะไปอยู่เอง สามีอยู่ทางนี้ไม่มีใครดูแลก็เหมือนกับการเลิกรากัน  ครอบครัวมันไม่เป็นครอบครัว

          ครูค่ะเข้าเรียนโรงเรียนประไทย ตามระบบมันยากแค่ไหน   ถ้าลูกสองคนได้อ่านออก เขียนได้  ดีกว่าหนู  ลูกหนูก็ถือว่าโชคดี หนูได้แค่พูดได้นิดหน่อยเท่านั้น  แต่หนูเขียนไม่ได้เลย  ครูคะมันทรมานมาก  ต้องหลบซ่อนเขาตลอดเวลา 

          ครูจะต้องไปเล่าเรื่องเหล่านี้ให้หัวหน้าครูฟัง เพื่อหาวิธีการหาทางช่วยนะให้ได้เรียนหนังสือ   ครูก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้  แต่โชคดีมาก ที่ทั้งน้องอุ๋งอิง(นามสมมุติ)  กับน้องชิงเอ๋อ (นามสมมุติ)   ที่ได้ใบเกิด  เมื่อปีที่แล้ว  เป็นหลักฐานสำคัญ ที่ทางโรงเรียนต้องรับเข้าเรียน  ถึงเด็กทั้งสองคนเป็นเด็กต่างด้าวก็ตาม 

          ทำได้หรือครู  ทำได้จริงๆ  ลูกหนูมัน “อยากเรียน” จริงๆ  ฝันอยากใส่ชุดนักเรียน  ค่าใช้จ่าย แฟนหนูมันกำลังหา

          สำหรับครูนะ   ครูซิ้ม   ครูต้องการให้เด็กทุกคนได้มีโอกาสเรียน  ได้เปลี่ยนเท่านั้นที่จะเป็นการพัฒนาคน   เมื่อมีการศึกษาโอกาสในการหางานทำมันมีมากขึ้น   คนเล่าทุกคนต้องอ่านออก เขียนได้ ฟังได้ พูดได้  ไม่อย่างนั้นคนเหล่านี้ก็ปะโป้งไปตลอดชีวิต   เขียนชื่อตนเองก็ไม่ได้

          เมื่อเป็นอย่างนั้น ครูซิ้มพร้อมทีมงานตามขั้นตอน

          ขั้นตอนที่ 1 ลงไปคุยกับอีกครั้งทั้งพ่อ แม่เด็ก ของน้องทั้งสองคน ยืนยันว่า อยากให้ลูกเรียน  อยากให้ทั้งอ่านและเขียน ภาษาไทยได้  เด็กน้อยทั้ง 2 คนเรียนรู้ได้เร็วจากพื้นที่ ที่โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ลงไปทำกิจกรรม  คัดไทย ระบายสี ได้เร็ว  แม่เอาใจใส่ลูกดี  แต่แม่บอกว่าจะให้ไปอยู่กับตายาย ที่คลองหลวง  ยายมีอาชีพเป็นแม่บ้านในหมู่บ้าน  ตาเป็นรับจ้างทั่วไป  แล้วหมู่บ้านนี้อยู่ใกล้กับโรงเรียน   คุยกับตายายแล้ว สองคนยินดีที่จะดูแลหลานได้ ไป-ส่ง ได้   ส่วนหนูจะได้ทำงานอีกแรงหนึ่ง  หารายได้ส่งน้องอุ๋งอิง กับน้องชิงเอ๋อ     ครูซิ้มเห็นความเป็นไปได้ว่า เด็กได้เรียนก็เป็นโอกาสของเด็กด้วย  ตั้งแต่สภาพบ้านเช่าที่ตายายเช่ากันอยู่  ความปลอดภัยของเด็ก  ระยะทางจากบ้านเช่ามาที่โรงเรียน  ตายายดูแลได้    ที่สำคัญตายายของเด็กอยู่ที่คลองหลวงเปรียบเสมือนบ้านตัวเอง  อยู่เมืองไทยมาตลอด  การสื่อสาร พูดจากับตายายสื่อสารได้ดีมาก  เพียงแต่เขียนหนังสือไทยไม่ได้เลย  ตายายมีความฝันคืออยากให้หลานได้เรียน

          ขั้นตอนที่ 2  เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562  ครูซิ้ม ครูจอย น้องมายด์  ได้พาครอบครัวของเด็กน้องสองคนที่อยากเรียนด้วย  เด็กน้อยเองก็ตื่นเต้น  เห็นเด็กคนอื่นไปโรงเรียนเด็กก็อยากไปเรียนหนังสือ  ความสดใสของเด็ก พร้อมแววตาที่สุกใสใคร่อยากรู้อยากเห็นมากๆของเด็กสองคน  ทีมงานครูซิ้มก็ได้แต่ยิ้ม

          เมื่อไปถึงที่โรงเรียนสามัคคีราษฎร ปรึกษาพูดคุยกับครูที่รับสมัคร  เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาแห่งชาติ  ในกรณีที่นำเด็กต่างด้าวเข้าเรียน ถึงแม้จะมี “คู่มือและแนวปฏิบัติ สำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย” ตามมติ ครม. ปีพ.ศ.2535  แก้ไขเพิ่มเติมพร้อมกับปรับคู่มือใหม่ในปี พ.ศ. 2548  มาหลายสิบปีแล้วก็ตาม  ทางโรงเรียนของเอกสารการมอบหมายให้ครูซิ้มดำเนินการนำเด็กเข้าเรียน เซ็นค้ำประกันว่ามีองค์กรดำเนินการให้ ครูเองไม่มีปัญหาเรื่อง แล้วเน้นย้ำเรื่องการดำเนินการทางโรงเรียนที่ต้องให้เด็กได้รับอักษร “G”  เพราะทางกระทรวงศึกษาธิการ จะจัดสรรงบประมาณค่าหัวของเด็ก  แต่สำหรับเทอมการศึกษาแรก ครอบครัวจะต้องจ่ายก่อน 

          ครูซิ้มก็ดำเนินการพูดคุยกันว่าแม่ต้องเตรียมเงินเท่าไร  ทางโรงเรียนบอกว่าประมาณ คนละ 2,000  บาท แม่เด็กเองก็บอกว่าพอไหว 

          ทั้งแม่เด็ก ครูซิ้มเองก็หน้าบานกลับมา  ด้วยว่าเด็กทั้งสองคนมีโอกาสได้เรียนแล้ว  เพราะเด็กก็อยากเรียนด้วย  พากันกลับมาที่แคมป์ก่อสร้างแสงระวีซอย 5


 

          ขั้นตอนที่ 3 ทั้งครูซิ้มและแม่เด็กกลับมาเตรียมเอกสารที่ทางโรงเรียนต้องการ  ตั้งแต่ใบเกิดของเด็ก เอกสารของพ่อกับแม่ ไม่มี  ใบรับรองการดำเนินการให้ครูซิ้มเป็นผู้ปกครอง จากมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  รูปถ่ายของเด็กคนละ 1 โหล  ที่ติดใบสมัคร ติดเอกสารเซ็นรับรองต้องมีรูปเด็กด้วย  เมื่อทุกอย่างพร้อมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2562 

          ขั้นตอนที่ 4 ในวันที่ 12 มีนาคม 2562  ครูซิ้มพร้อมทีมงาน กับแม่เด็ก ตัวเด็กเอง ทั้งหมดไปที่โรงเรียนสามัคคีราษฏร   อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี  เด็กน้อยทั้ง 2 คน ถูกน้องมายด์จับอาบน้ำแต่งตัวใหม่  พร้อมกับเลือกชุดที่ดีที่สุดให้เด็กทั้งสองคน   เมื่อไปถึงโรงเรียนครูรับใบสมัครของเด็กไว้  แล้วก็นัดประชุมในวันที่ 16 มีนาคม 2562

          ขั้นตอนที่ 5  เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2562 เมื่อแม่เด็กกับครูซิ้มเข้าประชุมผู้ปกครอง ด้วยเหตุผลว่าแม่ของเด็กแค่พูดไทยได้เท่านั้น เขียนไม่ได้เลย จึงขอให้ครูซิ้มไปด้วยที่โรงเรียนพร้อมกับเด็กน้อยที่สดใสกว่าต้องได้เรียนแน่นอน  แล้วต้องจ่ายค่าใช้ของเด็กน้อย 2 คน แม่เตรียมเงินมา จำนวน 4,000 บาท  แต่เมื่อทางโรงเรียนแจ้งว่าต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง แม่เด็กน้อยถึงกับผงะไปเลย  ค่าใช้จ่ายขอเด็กคนละ ประมาณ 3,370 บาท  ซึ่งมีรายละเอียดแจ้ง  แม่เด็กบ่นว่า แล้วอย่างนี้ ลูกของหนูจะได้เรียนไหม  ถึงเด็กอยากเรียน แต่ค่าใช้จ่ายมีเพียงแค่นี้

          ครูซิ้มต่อสายถึงครูทันทีว่ามีค่าใช้เพิ่มขออนุมัติให้การสงเคราะห์ได้ไหม  ครูซักต่อว่าครอบครัวของเด็กมีส่วนร่วมในการจ่ายครั้งนี้เท่าไร  แล้วอนุเคราะห์ครั้งนี้ เด็กได้เรียนหนังสือใช่ไหม  แล้วเรื่องค่ากินค่าเดินทาง  ครอบครัวรับผิดชอบใช่ไหม  ครูซิ้มยืนยันว่าเป็นตามนั้น  ทางครูอนุมัติเลยเพราะโอกาสทางศึกษาสำหรับเด็กต่างด้าวมันไม่ค่อยได้มีโอกาส   เพราะครูเองเอาเด็กเร่ร่อนต่างด้าวเข้าเรียนจึงรู้ว่าทุกอย่างต้องจ่าย  ถ้าต้องการให้เด็กเข้าเรียน

          สำหรับน้องอุ๋งอิงเรียนในชั้นอนุบาล 3  สำหรับน้องชิงเอ๋อ  เรียนชั้นอนุบาล 1  แต่อุปกรณ์การเรียนพร้อมทั้งชุดนักเรียน รองเท้า กระเป๋า  ทุกอย่างต้องจัดหาเอง  ซึ่งครูซิ้มก็บอกว่าจะดำเนินการให้ก่อนวันเปิดเทอม

          โอกาสของเด็กลูกกรรมกรก่อสร้างเข้าเรียนในระบบโรงเรียน   มันมีเหตุหลายประการที่เด็กต้องพูดภาษาไทยได้ คัดอ่านเขียน สื่อสาร เพราะหลักสูตรคือภาษาไทย  

          สิ่งที่ต้องมีคือครอบครัวต้องมีค่าใช้จ่าย  ทั้งอุปกรณ์ที่ต้องซื้อเพิ่ม  ค่าเดินทาง ค่าอาหาร  ทุกอย่างตามสโลแกนของการศึกษา “เรียนฟรี แต่เสียตังค์”  การศึกษาคือการลงทุนอีกชนิดหนึ่ง

          สำหรับโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่  รุกเข้าไปในพื้นที่  “เด็กอยากเรียน ผู้ปกครองพร้อมให้ความร่วมมือ  เด็กต้องได้เรียนหนังสือ”   บทบาทของโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที คือสร้างที่ยืนให้เด็กที่อยากเรียน  และได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐาน  สำหรับเด็กน้อยทั้ง 2 คน เริ่มจากใบเกิด จนมาถึงเรื่องการศึกษา  “หน้าที่ของโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่คือให้เด็กได้รับโอกาสเด็ก”