banner
จันทร์ ที่ 31 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2560 แก้ไข admin

โรงเรียนของพวกหนู ....เด็กกัมพูชา


 นางสาวทองพูล   บัวศรี

ที่ปรึกษาโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          สถานที่แหล่งก่อสร้างโครงการเดอะพร๊อพ แผ่นป้ายโฆษณา ที่ติดตั้งตรงถนนแจ้งวัฒนะ เป็นแผ่นป้ายขาดใหญ่มาก เวลาที่รถขึ้นผ่านไปมา   ราคาการขายตั้งแต่ล้านเป็นต้นไป

          โครงการนี้ตั้งอยู่ตรงไหน  เป็นคำถามของครู เวลาที่ทำงานตั้งเริ่มต้นด้วยความอยากรู้   ต้องการที่จะลงไปเยี่ยม และดูว่ามีเด็กที่ติดตามพ่อแม่มาอยู่ในแหล่งก่อสร้างมากน้องเพียงใด  เป็นกลุ่มเด็กสัญชาติอะไร  เพื่อเตรียมการทำกิจกรรมของ โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่

          งานนี้ครูเริ่มต้นจากการใช้จักรยานถีบไปสำรวจพื้นที่ก่อน  ด้วยเย็นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ครูแต่งตัวด้วยชุดออกกำลังกาย กางเกงขายาวคลุมเข่ายาวถึงหน้าแข้งสีดำ  กับเสื้อยืดสีดำ ถีบจักรยานออกเส้นทางลัดหลังมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เป็นถนนซอยที่ใช้เป็นเส้นทางลัดออกซอยแจ้งวัฒนะ 14  ได้

          ถีบไปประมาณ สามกิโลเมตร ตามถนนลัดเข้าผ่าบ้านคน บ้านแถวต้นไม้ เส้นทางเป็นเส้นที่ครูคุ้นเคยเพราะถีบออกไปซื้อของที่บิ๊กซีแจ้งวัฒนะ  บางครั้งก็เป็นการออกกำลังกาย  มีคนในหมู่บ้านบริเวณนี้ใช้กันเป็นจำนวนมาก  ช่วงเย็นจะแออัดไปด้วยรถ  เพราะมีคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชวนชื่นบางเขน  หมู่บ้านสุขนิรันดร์  และเป็นทางที่ออกถนนวิภาวดีได้ด้วย  มีคนหลบการใช้ถนนแจ้งวัฒนะสายหลัก  เส้นนี้จึงเป็นอีกเส้นทางหนึ่งมีรถรามากมาย


          ครูถีบจักรยานมาเกือบถึงปากซอยแจ้งวัฒนะ 14 มองไปด้านขวามือ หันไปเห็นตึกคอมโดมิเนียมพร้อมแผ่นป้ายที่อยู่ระหว่างตึกที่กำลังก่อสร้างอยู่  แต่มุงด้วยผ้ามุงสีเขียวเห็นแต่ไกล และตึกกำลังก่อสร้างชั้นที่ห้า-หกแล้ว เห็นป้ายสีแดงที่โฆษณาว่ามีคนจองแล้วเหลือไม่กี่ยูนิต  มีรายการลดแถมหลายรายการด้วย

          ครูก็หันจักยานถีบตรงไปยังตึกคอมโดมิเนียม แต่พอมาถึงถนนที่ผ่านหน้าตึกที่กำลังก่อสร้าง  ต้องตกใจอย่างมากว่าโคลน หรือถนน   โอ๊ยพระเจ้า ! ในกรุงเทพมหานคร  ยังมีถนนแบบนี้หลงเหลืออีกหรือ...เพราะถนนทั้งสายเป็นโคลน พร้อมที่รถทุกคันจะมีแต่โคลนเต็มรถแน่นอน

          ครูจึงค่อยจูงจักรยานคู่ใจไปด้วย ถึงแม้ว่าโคลนจะเต็มล้อจักยาน  แต่อยากเห็นบ้านพักคนงาน  จึงไปถามกับเจ้าของร้านค้า ซึ่งมีหมาหลายตัวมากเห่าครู  จนผู้รับเหมาว่ามีธุระอะไร  จึงบอกว่า ครูมาติดต่อของทำกิจกรรมกับเด็กที่ติดตามครอบครัวมากอยู่ในบ้านพักแห่งนี้   จึงแนะนำให้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าประจำสำนักงาน

          ครูถามต่อว่ามีเด็กประมาณเท่าไร  ผู้รับเหมาที่ดูแลบ้านพักบอกว่าทั้งหมดประมาณ 19 คน เป็นชาวต่างด้าวทั้งหมดครับครู  ถ้ามาสอนเด็กก็ดีเด็กจะได้อ่าน ออก เขียนได้ พูดได้ ฟังภาษาไทยรู้เรื่อง  ผมเห็นด้วยครับ  นี้ภรรยาผมเป็นเจ้าของร้านค้ามีอะไรให้ช่วยก็บอกได้เลยครับ


          ครูใจชื้นเป็นอย่างมาก  เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีทุกคนให้ความสำคัญกับเด็ก จะทำกิจกรรมอะไรก็ได้แน่นอน  เหลือเพียงครูไพโรจน์ จันทะวงศ์ กับ ครูมลวิภา  ลีลายุทธ  มาสานงานต่อ  งานนี้ก็สำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

          ครูจึงจูงจักรยานมาประมาณสักห้าเมตร พบกับหนุ่มสาวประมาณ 6 คน  ครูเข้าไปแนะนำตัว สายตามองไปเห็นเจ้าหน้าที่วิศวะกรโครงการยืนยิ้มอยู่  ครูจึงเอามือถือพร้อมมีรูปของโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่เข้าไปแนะนำ  ว่าทางโครงการของเข้ามาทำกิจกรรมเด็กที่เป็นลูกหลานกรรมกรก่อสร้างที่ติดตามพ่อแม่มาอยู่ในบ้านพัก  ทุกคนเห็นด้วย พร้อมกับบอกว่าทำจดหมายมาถึงผู้จัดการโครงการเลยครับ

          มีเสียงจากหนุ่มคนหนึ่งว่าจะให้พวกผมช่วยอะไรบ้างครับ  ยินดีเป็นอย่างมาก สมัยเรียนก็ออกค่ายแบบนี้  แต่วันนี้ครูมาถึงโครงการของผมเลย ใช้พื้นที่ตรงนี้ก็ได้นะ เป็นลานจอดรถกับที่เก็บวัสดุก่อสร้าง  ครูได้แต่ยิ้มอย่างสุขใจ  การประสานงานไม่ต้องรอทีมหน้าที่ของผู้จัดการโครงการคือการเบิกทาง ให้ทีมงานทำงานได้พร้อมอำนวยความสะดวก  สนับสนุนให้ทำงานอย่างเต็มที่    งานสำเร็จไปแล้วส่วนหนึ่ง ที่เหลือคือฝีมือของครูที่ลงไปสอนและทำกิจกรรมเด็ก  กับทำงานกับผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญของการศึกษาของลูก

          ทางครูไพโรจน์กับครูซิ้ม  ก็ได้เริ่มกิจกรรมทุกวันพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์  เริ่มครั้งแรก เมื่อ วันที่ 6 มิถุนายน  2560  ผู้จัดการโครงการเดอะพร๊อพพร้อมเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายกว่าสิบคนลงมาพูดคุยกับครูเรื่องสถานที่ในการสอนเด็ก  ว่าครูจะเลือกพื้นที่ตรงไหน พร้อมอำนวยความสะดวกให้เลย


          ครูไพโรจน์ได้ประเมินแล้วถ้าเลือกลานจอดรถ  ถึงแม้จะไม่มีรถจอด เด็กวิ่งออกไปในขณะที่กำลังจัดกิจกรรมอยู่ก็เกิดอันตรายได้  เพราะเด็กเหล่านี้ไม่เคยออกมากจากบ้านพักกันเลย  โอกาสการเกิดอุบัติเหตุมีสูง

          ครูทั้งสองคนพร้อมเจ้าหน้าจึงเริมสำรวจพื้นที่ในบ้านพักคนงานว่ามีพื้นที่ว่าง  มีอยู่แห่งหนึ่ง ตรงหน้าห้องน้ำ   แต่ทุกคนบอกว่ามีอีกมุมหนึ่งซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างบ้านพัก สะอาด และจะสร้างสังกะสีมาคลุมให้กันแดด กันฝนได้ด้วย  จึงเลือกพื้นที่

          สำหรับบ้านพักของคนงานก่อสร้างเป็นบ้านพักชั้นเดียวยกพื้นสูงประมาณ 1 ฟุต  พร้อมกับเทพื้นเป็นปูน  ตัวบ้านเป็นไม้อัดทำเป็นพื้นห้อง  โครงหลังคาเป็นไม่หน้าสาม มุงด้วยสังกะสี  แต่ละห้องกว้างประมาณสองเมตร ยาวประมาณสามเมตร  อยู่กันประมาณ 3-5 คนต่อห้องพักหรือหนึ่งครอบครัว สำหรับครอบครัวที่เอาลูกมาด้วย

          สำหรับบ้านพักแห่งนี้มีคนงานอยู่ประมาณ 500 คน เป็นครอบครัวประมาณ 200 กว่าครอบครัว  มีการจัดระเบียบเรื่องเรื่อง เรื่องการรักษาความสะอาดมีแม่บ้านคอยจัดการ  มีห้องอาบน้ำ ห้องส้วมที่มีคนคอยดูแล  เป็นระเบียบ ไม่สกปรก

          คนงานเกือบทั้งหมดเป็นชาวกัมพูชา ที่ขึ้นทะเบียนแรงงานอย่างถูกต้อง  บางครอบครัวมี พาสปอร์  ส่วนมากเป็นคนงานประจำของบริษัทเจ้าของโครงการเดอะพร๊อพ


          สำหรับสถานที่ของการทำกิจกรรม รถโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ไม่สามารถเข้าไปจอดได้  จึงต้องใช้พลังมดของเด็กและผู้ปกครองเป็นคนช่วยดำเนินการ

          เริ่มต้นด้วยการปูเสื่อ นำอุปกรณ์การสอน ก.ถึง ฮ.  แนะนำตัวครู  พร้อมทั้งให้เด็กแนะนำชื่อ  เป็นภาษากัมพูชา ที่พูดยาก และฟังยาก  ชื่อเด็กบางคนจึงมีอาการฟังและพูดไม่รู้เลย   งานนี้ครูไพโรจน์  จึงต้องมาเสริมทัพโดยการเป็นล่ามระหว่างครูกับเด็ก กลายเป็นต้องเรียนภาษาไทยกับภาษากัมพูชา วันละหลายคำ  วันแรกมีเด็กมาร่วมกิจกรรมจำนวน  13  คน  กลายเป็นที่สนใจของทุกฝ่ายในบริษัท  และผู้ปกครองเด็กเอง

          เสียงเด็กคนหนึ่ง  ตระโกนเรียก "กู"  ครูซิ้มกับน้องนักศึกษา ตกใจ ทำไมเด็กเรียกไม่ชัดใช่ไหม  จนครูไพโรจน์ ต้องมาอธิบายว่า  เด็กกัมพูชา  จะเรียกครู ว่า "กู"   เด็กอยากเรียนภาษาไทย  อยากอ่านออก  หนังสือการอ่าน ก.ไก่  จึงเป็นที่ต้องการ  พร้อมกับแบบฝึกการเขียนตามรอย   ในช่วงสอง-สามอาทิตย์แรกมี น้องนักศึกษาแม่ฟ้าหลวงลงมาช่วย  จึงได้มีการแบ่งกลุ่มจัดการเรียนการ

          กลุ่มแม่และเด็กอ่อน มีแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วยที่มาเรียน  มีเด็กช่วงแรกเกิดจนถึงสองขวบ  ครูเล่านิทานให้เด็กและแม่ฟัง  แม่แม่เหล่าได้เอานิทานกลับไปเล่าให้ลูกฟัง  บางครอบครัวของหนังสือนิทานไว้แม้อ่านไม่ออก    ครูเองก็เสริมนิทานด้วยนิ้วมือ นิทานถุงกระดาน  โดยเฉพาะเรื่องลูกหมูสามตัว กุ๊กไก่ปวดฟัน  ส้มจี๋ปวดท้อง  กระต่ายกับเต๋า เป็นต้น   พร้อมแลกเปลี่ยนเรื่องการพาลูกไปฉีดวัคซีน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารเสริมนมกล่อง  ที่สำคัญคือเด็กถูกยุงกัด  เพราะยุงเมืองไทยร้ายกว่าเสือ  เด็กอาจเป็นไข้เลือดออกได้    ส่วนมากเด็กเล็กชอบมากคือของเล่นที่หลากสีสัน  พร้อมตุ๊กตาบางตัวก็แจกเด็กกลับบ้านไป   สำหรับนมกับขนมมีให้เด็กตลอด


          สำหรับกลุ่มก่อนวัยเข้าเรียน มีประมาณ 5 คน  ชอบระบายสี การเขียนตามรอยปะ อักษร ก. ถึง ฮ.  พร้อมทั้งการอ่านออกเสียง ที่ละตัว ส่งเสียงกันสนั่นไปถึงสำนักงาน จนบางครั้งมีโฟร์แมนกับวิศวะกร มาดูการเรียนการสอนของครู มีเอาขนมกับอุปกรณ์การเรียนและหนังสือนิทานมาเสริม

          สำหรับกลุ่มเด็กโตที่อายุเกิน 8 ปีขึ้นไปมีประมาณ 10 กว่าคน  แต่ละคนต้องเลี้ยงน้องไปด้วย  บางคนก็ต้องเลี้ยงหลาน ทำงานบ้าน  เด็กเหล่านี้อยู่ในช่วงเรียนทุกคนแต่ไม่มีโอกาสได้เข้าเรียนทั้งประเทศบ้านเกิดเมืองนอน  หรือในประเทศไทยด้วยเหตุผลสำคัญคือการสื่อสาร  พ่อแม่บางคนก็ไม่ยอมเพราะต้องการเอาเด็กไว้ใช้งาน  เด็กกลุ่มนี้จึงเรียกร้องในการเรียนอย่างเดียว

          กลุ่มนี้จะนับวัน นับตา รอ รถโรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่  มาเห็นว่าเป็นรถมา  เด็กเหล่านี้จะตระโกนว่า  "โรงเรียนมาแล้ว   โรงเรียนมาแล้ว  โรงเรียนมาแล้ว"

          จะขออุปกรณ์การเรียน  จะขอหนังสืออ่านและเขียนไว้อย่างมาก  พร้อมตั้งใจเอาการบ้านมาส่งครู   ครูซิ้มจึงเอากระเป๋าผ้าไปใส่อุปกรณ์และหนังสือไว้ให้  พอมาเรียนก็สะพายมาด้วย

          เด็กจะบอกว่านี้คือโรงเรียนของพวกเขา  อยากให้มาทุกวัน  อยากอ่าน อยากเขียน อยากผสมคำเป็น  อยากอ่านสายรถเมล์  และสิ่งของเป็น

          เด็กเองก็ฝัน   ครูเองก็ฝันเหมือนกัน  อยากให้พวกเธอ  "อ่านออกและเขียนได้"

          เด็กตระโกนบอกว่า  “ผมรักโรงเรียนครับ”    รถคันนี้กลายเป็นโรงเรียนของเด็กอย่างแท้จริงของเด็กชาวกัมพูชาไปแล้ว