ความผิดของผมหรือ!!.. ที่ไม่ไปเรียน
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
นั่งสามล้อไปซื้อชุดนักเรียนที่ตลาดเทเวศร์
ครูสงสัยเลยถามไมค์ว่า ทำไมไม่ไปเรียน ....
ไมค์หันหน้ามาเผชิญกับหน้าครูว่า “มันเป็นความผิดของผมหรือ...ที่ไม่ไปเรียน” ผมเป็นเด็กที่ตั้งใจเรียน และตั้งใจทำงานหาเลี้ยงครอบครัว
ครูรู้จักครอบครัวนี้มาก่อน อ่านเอกสารรายงานการทำงาน แต่ยังไม่ได้รายละเอียด จนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งคณะทำงานแก้ไขเด็กขายมาลัยขายดอกจำปี และเด็กเร่ร่อน โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ชุด
ในชุมชนแห่งนี้ โดยมีครูเป็นคณะทำงานด้วย
ครูได้ลงมาเก็บข้อมูลระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ยังไม่แต่งตั้งคณะทำงาน สิ่งที่ครูเห็น จะเห็นเด็กชายไมค์ จะออกไปยืนขายพวงมาลัย ตั้งแต่เช้าจนถึงบ่าย แดดร้อนมาก ไมค์ไม่เคยบ่นสักคำ ขายพวงมาลัยให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งขายความน่าสงสารไปด้วย สิ่งที่สำคัญต้องไม่ใส่รองเท้า เดินเท้าเปล่า คนที่อยู่ในรถพอเห็นจะเกิดความสงสารซื้อพวงมาลัยบวกความสงสาร เทคนิคอีกอย่าง ชูพวงมาลัยไปที่ข้างรถ เอาใบหน้าแนบกับกระจก ส่งแววตาแบบเว้าวอนให้มากที่สุด ถ้าเป็นผู้หญิงขับจะลดกระจกแถมส่งเงินให้ไม่รับพวงมาลัย
ข้อมูลครั้งแรกที่รู้ คือแม่กับพ่อเป็นเด็กวันรุ่นถูกจับในข้อหายาเสพติด ด้วยกันทั้งคู่ แต่พ่อของเด็กออกมาจากคุกก่อน กลับบ้านต่างจังหวัดไม่เคยมารับผิดชอบลูกสามคน
ภาระการเลี้ยงดูเด็กจึงเป็นของยายเด็ก ที่เป็นนักสู้ตัวจริง ในช่วงนั้นผมไปเรียนหนังสือทุกวัน ถึงแม้จะมีเงินบ้างไม่มีเงินบ้าน ก็ได้ไปโรงเรียน
อยู่โรงเรียนผมมีความสุขมาก ได้ฝึกอ่าน ฝึกเขียน ผมชอบถามกับเพื่อน หรือบางครั้งก็คุยกันสียงดัง จนครูต้องหันมาดุ ผมเป็นคนโดยดุเป็นประจำ แต่ผมก็รักการเรียน มันเป็นเวลาของผมที่ไม่ต้องมีภาระหน้าที่ ที่จะถูกพูดกรอกหูว่า ต้องดูแลครอบครัว ผมเคยถามเพื่อนว่าทำไมพวกเธอสบายมาก อยากได้อยากกินอะไรพ่อแม่ต้องให้ เพื่อนกลับให้กำลังใจว่า เธอโชคดีที่ได้ทำงานตั้งแต่เล็กโตไปไม่อดตาย เพราะทำงานเป็น
แม่ผมอยู่ในเรือนจำนั้นไม่มีโอกาสได้ไปเยี่ยม ไปเยี่ยมหนึ่งก็ค่าใช้จ่ายเยอะมาก ยายของผมหาไม่ทัน เพราะเมื่อแม่ไม่อยู่ ภาระทั้งหมดจึงอยู่กับยาย ทั้งค่ากิน ค่าเช่าบ้านค่ารักษาพยาบาล รวมถึงเงินลงทุนในการซื้อพ่วงมาลัยในแต่ละวัน
สำหรับพ่อของพวกผมหรือ หลังจากที่แม่ต้องเข้าเรือนจำ พ่อก็กลับบ้านต่างจังหวัด รับปากกับยายอย่างดีว่าจะส่งเสียเงินทอง ผมไม่เคยได้เงินของพ่อเลยแม้แต่บาทเดียว ที่กินอยู่กันทุกวันนี้ เป็นเงินที่ผมกับน้อง และยาย ต่างทำงานกันอย่างถวายชีวิต เพื่อให้ชีวิตรอดในแต่ละวันเท่านั้น งานที่ทำไม่มีวันหยุดหรอก หยุดเมื่อไรทั้งสี่ชีวิตอดตาย
เมื่อปู่ไม่สบายพ่อก็โทรมาบอกว่าอยากให้พวกผมไปเยี่ยมปู่ แล้วยายก็บอกว่าลองให้ไปอยู่กับพ่อบ้าง พ่อให้ขนเสื้อผ้านักเรียนอุปกรณ์การเรียน บอกว่าจะพาไปเรียนหนังสือที่ต่างจังหวัด มันเป็นความฝันของผมเหมือนกัน จะได้เรียนหนังสืออย่างเดียว ไม่ต้องทำมาหากิน แต่ก็ห่วงยายว่าจะอยู่อย่างไร
ยายบอกว่าทางบ้านพ่อเขามีเงิน มีทอง หลานสองคนเลี้ยงดูได้ ที่สำคัญทั้งสองคนต้องอดทนนะ ไปอยู่กันแค่สองคนพี่น้อง ส่วนน้องสาวยังเล็กให้อยู่กับป้าไปก่อน เป็นเรื่องราวที่ตกลงกันตามนี้ คิดว่าเป็นไปตามที่ตกลงกัน
เรือนชาน บ้านช่องก็ใหญ่โตดี กว่าบ้านเช่าในชุมชน บ้านเช่าในชุมชนก็เล็ก ย้ายไปเรื่อยเพราะค้างค่าเช่าเขาตลอดกลิ่นขยะ กลิ่นห้องน้ำ เสียงรถไฟที่ 2 นาทีวิ่งต่อขบวนหนึ่งเป็นประจำทุกวัน บ้านเช่าเองก็แค่มีพัดลมตัวเดียวทั้งบ้าน ยายทำงานหนัก ไหนจะต้องออกไปซื้อดอกไม้แต่เช้า กลับมาทำอาหารให้หลาน บางวันก็ส่งหลานไปโรงเรียน ช่วงสิบโมงกว่า ก็เตรียมร้อยมาลัย ไว้ เมื่อหลานชายคนโตกลับมาจากโรงเรียนจะวิ่งไปขายที่สี่แยก พ่วงละ สิบบาท ยี่สิบบาท กำไรเป็นค้างขนม และก็วิ่งไปส่งตามบ้านกว่าจะเข้าบ้านเช่าได้ก็สี่-ห้าทุ่ม ซึ่งเด็กก็เหนื่อย ยายก็หมดแรง แต่ก็สู้กันมาตลอด
ในแง่ของยาย ยายถือว่างานเหล่านี้มันต้องฝึกความอดทน เรียนรู้ที่จะทำงานช่วยเหลือครอบครัว หลายคนบอกว่ายายใช้แรงงานเด็ก แต่ยายบอกทุกคนว่าเป็นหน้าที่ทุกคนที่ต้องช่วยกัน บ้านเราไม่มีทุน ไม่มีใครช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทุกคนต้องช่วยกันดูแล ถึงมีลุง ป้า น้า อา มากมาย ก็ไม่มีใครที่จะหยิบยื่นให้ กินมื้อสองมื้อได้ แต่ทุกวันต้องดูแลกันเอง ต้องทำงานถึงจะมีเงินซื้ออาหาร ซื้อของกิน
ตัวยายเองสุขภาพก็ใช่ว่าจะดีเป็นโรคนิ่ว มาเกือบสองปีแล้ว ยายเองก็เขียนหนังสือไม่ได้เลย อ่านก็ไม่ออก พูดและฟังได้เท่านั้น แล้วจะเอาวุฒิอะไรไปสมัครงาน งานของพวกฉันทำได้ก็แค่รับจ้าง ขายของ ขายพวงมาลัยที่ไม่ต้องใช้ใบรับรองผลการเรียน ไม่ต้องใช้บัตรประชาชน มีแรงเท่านั้นก็เลี้ยงครอบครัวได้ กับร่างกายที่แข็งแรงเดินเท้าเปล่าบนถนนที่กำลังร้อนได้
การที่ไปอยู่กับบ้านพ่อที่ราชบุรี หนักกว่าอยู่กับยายอีก เพราะว่า พ่อเขามีครอบครัวใหม่ ปล่อยให้ผมกับน้องต้องไปอยู่กับลุง ซึ่งเมาทั้งวัน ไปไหนก็ไปกับลุง ไม่ได้กินข้าวเช้า-ข้าวกลางวัน บ่อยมากจนกลายเป็นความเคยชิน หนักที่สุดคือน้องชายเพราะเขาจะหิวตลอดเวลา บ้านของลุงไม่มีอะไรสักอย่างที่จะหาทำกินได้ บ้านใหญ่โตจริง เหมือนมีแต่บ้าน ความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ ไม่มีเลย
วันไหนที่ลุงเมาตั้งแต่หัววัน วันนั้นอดแน่นอน สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือหากล้วยสุก ตุนไว้ในท้องก่อน ก่อนที่จะไม่มีอะไรตกถึงท้องยกเว้นน้ำ ลุงจะพาขี่มอเตอร์ไซด์คันเก่งไปบ้านโน้นบ้านนี้ เหมือนสำรวจหมู่บ้าน แล้วก็จะผมกับน้องชายไปแนะนำว่าผมเป็นลูกของใคร จะมาอยู่ด้วย
ความฝันที่จะเรียนดับวูบไปตั้งแต่โรงเรียนเปิดเทอม ยายมาผมไปรับค่าคูปองการศึกษา แล้วยายก็ส่งผมมาที่บ้านพ่อ ขนทุกอย่างมาหมด ด้วยความหวังของยายว่าบ้านพ่อรวย ผมก็เฝ้าถามส่งตลอดว่าเมื่อไรจะพาไปโรงเรียน ลุงบอกเพียงแค่ว่าแค่ให้พวกมึงมีกินมีอยู่ก็ก็ลำบากแล้วนะ กูจะเอาที่ไหนมาส่งให้มึงเรียนอีก ไม่เรียนหนังสือก็อยู่ได้ ชีวิตผมกับน้องหมดกัน ชีวิตเหมือนถูกผลักกันในชื่นชมว่าผมยังมีชีวิตอยู่นะ แต่หาคนรับผิดชอบไม่ได้เลยว่าใครจะช่วยดูแลผม
ตลอดเจ็ดเดือนที่อยู่บ้านพ่อ ผมอยู่กับลุงขี้เมา จนผมกับน้องจะเป็นคนขี้เมาไปแล้ว ได้กลิ่นเหล้าคละคลุ้งไปทั้งบ้าน เวลาที่ลุงอาเจียน ออกมา ผมมีหน้าที่ ทำความสะอาด เป็นอันว่าเรื่องอาหารการกิน ผมกับน้องต้องหาเอง หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า ต้มไข่ ผักลวกบ้าง เอาชีวิตให้รอด ขนมที่เคยกินตอนอยู่กับยาย ไม่เคยได้กิน เพราะไม่มีเงินซื้อ ลุงจะเอาเงินที่พ่อให้ลงขวดเหล้าหมด
สภาพของลุงดื่มหนักขึ้นทุกวัน เมื่อเมาแล้วสิ่งที่ได้ ลุงก็จะร้องไห้บ้าง ร้องเพลงบ้าง จะบ่นถึงปู่ตลอดเวลา ทิ้งผมไว้ทำไม ทำไมปู่ต้องให้ผมมารับผิดชอบลูกของไอ้น้องจัญไรด้วย ปู่อยากได้หลานแล้วทำไมต้องรีบตาย ฟื้นกลับมาเลี้ยงเองได้ไหม ผมไม่ไหวแล้ว ผมเหนื่อย เลี้ยงเด็กก็ไม่เป็น ไปไหนผมต้องหอบมันไปด้วย ผมไม่มีปัญญาส่งมันเรียน ผมอายไอ้เด็กสองคนเหลือเกิน เสียงของลุงที่ออกมาจากปากเวลาเมา
ผมกับน้อง ชอบคุยกันว่าเราสองคนเป็นภาระของบ้านหลังนี้ บ้านที่ปู่อยากให้เราสองคนมาอยู่
ผมก็เริ่มเดินเก็บขวดพลาสติก เก็บกระดาษ ภายในหมู่บ้าน แล้วนำใส่ท้ายจักรยานของของลุง ขายได้เงินบ้าง เพื่อหาเงินเป็นค่าอาหาร เรื่องการเรียนจบกันแค่นั้นก่อน เอาชีวิตให้รอด อยู่ให้ได้ เก็บเงินค่าโทรศัพท์โทรหายายที่กรุงเทพ เล่าให้ยายฟัง ว่าสิ่งที่คาดการณ์กันเอาไว้ ไม่ได้เป็นไปตามความฝัน
ผมกับน้องอยากกลับกรุงเทพ มาอยู่มาบ้านเช่า มาขายพวงมาลัย ไปขอทานที่หน้าโรงแรมเกรซ ยังมีช่องทางได้เงินบ้าง ผมคิดถึงยาย คิดถึงแม่ เป็นความฝันของผมอีกครั้งหนึ่ง
ลุงเมาหนักขึ้นทุกวัน จนลุงป่วย พ่อกลับมาที่บ้าน แต่ใช้อารมณ์กับผมและน้อง เมื่อเดือนที่แล้ว พ่อหารือกับลุงจะส่งผมกับน้องชายไปอยู่กับลุงคนโตที่ จังหวัดยะลา ลุงคนโตมีครอบครัวทำสวนยางพารา อยู่ที่ยะลากับครอบครัว ในใจผมกลัวมาก แค่นี้ก็หนักสำหรับผมเหลือเกิน
วันนั้นที่ลุงลุกไม่ขึ้น ผมกับน้องก็จะรีบออกไปรับจ้างเพื่อหาเงินเป็นค่าโทรศัพท์ บอกยายกับแม่ให้เร็วที่สุด เท่าที่จะเร็ว ไม่อย่างนั้นผมกับน้องถูกส่งไปแน่นอน คงหาทางกลับเองไม่ได้แน่ ลุงป่วยครั้งนี้หนักด้วย เพราะเหล้า และเป็นวัณโรคด้วย หมอยิ่งไม่ต้องการให้เด็กอยู่ด้วย
ผมเก็บเงินได้ประมาณ สองร้อยกว่าบาท จึงไปร้านค้าขายของในหมู่บ้าน โทรศัพท์มาหายาย ว่าพ่อกับลุงจะส่งผมไปอยู่ที่ใต้ ช่วยมารับผมด้วย โทรครั้งเดียวเงินหมดแล้ว ใช้เป็นตู้หยอดเหรียญที่ละห้าบาทพูดได้แค่คำสองคำตู้ก็เงินเหรียญหมด
ยายตอบว่าเดี๋ยวจะให้แม่ไปรับ เตรียมเก็บเสื้อผ้าไว้ให้เรียบร้อย อะไรที่เอามาได้เอามา อะไรที่เอามาไม่ได้ก็ไม่ต้องเอามา
คืนแห่งการปฏิบัติการเริ่มขึ้นทันที ลุงกับพ่อนั่งคุยกันว่าพรุ่งนี้จะไปส่งผมกับน้องชายขึ้นรถทัวร์ไปยะลา แล้วลุงคนโตจะมารับที่ท่ารถ ผมกลัวสุดๆ ผมกลัวว่าแม่จะมาไหม ผมกลัวบ้านลุงที่ยะลา ผมเหมือนผม “ถูกผลัก” “ถูกโยน” ไม่เป็นที่ต้องการของใครเลย
คืนนั้นเป็นบทเรียน การชิงตัวผมกับน้อง เมื่อแม่เหมารถจากกรุงเทพในราคา 2,000 บาท มาสุ่มที่หน้าบ้านแล้วเรียกผมกับน้อง ผมกับน้องก็วิ่งลงมาจากบ้าน ข้าวของที่เก็บไว้นั้นลืมหมดเก็บไม่ทัน ก้าวขึ้นรถแท็กซี่ แม่ก็บอกว่าขับเร็วที่สุดกลับเข้ากรุงเทพทันที
ผมกับน้องกลับมาครั้งนี้เหมือนไม่มีอะไรเป็นของตัวเอง เสื้อผ้าข้าวของอยู่บ้านลุงหมดที่ราชบุรี ลุงโทรมาหายายว่า ทำอย่างนี้ได้อย่างไร ไม่ไว้ใจกันใช่ไหม เสียงยายตอบไม่ว่า สัญญาจะให้หลานเรียนแล้วทำไมไม่ให้เรียน ก่อนปู่ของหลานตายก็บอกว่ามีทรัพย์สมบัติให้หลานอยากให้หลานได้เรียนมีอนาคตที่ดี แล้วทำไมเป็นอย่างนี้ ลุงไม่ตอบได้แต่ร้องไห้ที่ทำตามสัญญาของปู่ไม่ได้ ตอนนี้ลุงเองก็ป่วยช่วยตัวเองไม่ค่อยได้ ผมไม่มีปัญญาจริง จริง เพราะว่าพี่ชายคนโตพอจะเป็นหลักให้หลานได้ ผมก็อยากทำให้ดีที่สุด
ลุงถามว่าจะเลี้ยงเองใช่ไหม ยายตอบไปว่าเลี้ยงเอง ตามมีตามเกิด ตามที่เห็น อยากให้หลานได้เรียน แม่เพิ่งจะออกจากเรือนจำ คงได้มีอีกแรงมาช่วยการทำงานเพิ่มขึ้น
ครูลงพื้นที่ซอยนานาได้พบเด็กทั้งสอง เสียงทักมาแต่ไกลว่า ครูครับสวัสดีครับ ครูเองก็ตกใจบอกว่าไหนว่าเธอทั้งสองคนไปเรียนที่ต่างจังหวัดแล้วไง
เด็กทั้งสองก้มหน้าไม่พูด มีเสียงผู้หญิงอายุประมาณสัก 25 ปี เดินมาสวัสดีบอกว่าชื่อไพร เป็นแม่ของไมค์กับแมค แม่ก็เล่าให้ฟังว่าเพิ่งไปเอาตัวมา
คำถามของครู เสียงดังอีกรอบว่าทำไมไม่ได้เรียนหนังสืออีกมากกว่าเจ็ดเดือนแล้ว
เด็กทั้งสองพูดพร้อมกันว่า “ผมอยากไปโรงเรียน” แต่ไม่มีอะไรสักอย่าง ชุดนักเรียนก็ไม่มี ชุดพละ ชุกลูกเสือ รองเท้า กระเป๋า อุปกรณ์ การเรียนไม่มีอะไรเลย
ครูได้แต่มองเด็กสองคน เข้ามากอดครู เลยบอกว่าจันทร์พวกเราไปซื้อกันนะ แต่เอาของที่ครูมีก่อน
เด็กไหว้ขอบคุณอีกครั้ง
คนที่มีปัญญาเรียนกลับไม่ยอมเรียน คนที่อยากเรียนครอบครัวกลับไม่มีปัญญาให้เรียน ทุกอย่างมันเป็นเหรียญสองด้านเสมอ
แล้วมันคือ “ความผิดของเด็ก...ด้วยหรือ.!!!” ซึ่งในยุคแห่งการปฏิรูปทางการศึกษา ที่ต้องการให้เด็กเข้าถึง แม้แต่อยู่ในชุมชนกลางกรุงแท้ๆ ยังไม่ได้เรียนเลย