banner
พุธ ที่ 18 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2559 แก้ไข admin

เด็กขายดอกจำปี..ขายมาลัย แยกยมราช

 นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

                ครูคะ...คุณหมออยากรายงานว่า เมื่อกี้ (ประมาณ 21.00 น.)พบเจอเด็กชายอายุประมาณ 8-10 ขวบ จำนวน 3 คน ที่แยกศรีอยุธยา(ข้างกระทรวงการต่างประเทศ)คนเล็กนอนหลับบนเกาะกลางถนน  คนโตวิ่งขายดอกจำปีบนถนน  เคาะกระจกรถพี่ บอกว่าช่วยซื้อหน่อย ผมอยากกลับบ้าน (หน้าเศร้าเชียว) ถามได้ความว่าอยู่ โรงเรียนกิ่งเพชร  น่าจะเป็นซอยกิ่งเพชร  ถนนเพชรบุรี พี่อยากช่วย แต่ไม่สนับสนุนให้มาขายของบนถนน  พี่ซื้อจำปีของเขาไป 20 บาท กลับถึงบ้านไม่สบายใจ ว่าควรจะช่วยได้มากกว่านั้น  ทำไงดีคะ  คุณหมอสยบพร   ได้ใช้ไลน์ส่วนตัว แจ้งเรื่องมาตั้งแต่ วันที่ 19 เมษายน 2559 

 

                เมื่อวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2559  ได้พบคุณหมออีกครั้ง ได้รายงานให้ท่านทราบ ว่ามอบครูข้างถนนลงไปดูแล้ว พร้อมทั้งส่งรายงาน พร้อมรูปในวันอาทิตย์ คุณหมอตอบไลน์มาว่าไม่ใช่เด็กขายพ่วงมาลัยที่ส่งมาให้ กลุ่มที่คุณหมอพบเจอกลุ่มเด็กขายดอกจำปี  ไม่ใช่คนที่คุณหมอ เป็นคนละคนกัน เด็กกลุ่มนั้นมีสามคนเป็นเด็กผู้ชายหมด สายตาของคนพี่เป็นเด็กที่มีความมุ่นมั่นมากกว่านี้ ตัวโตกว่านี้คะครูจิ๋ว   นี่คือความผิดชอบผู้จัดการโครงการครูข้างถนน เองที่ไม่เช็ครายละเอียดให้รอบคอบก่อนตอบผู้แจ้ง.....รายละเอียดเล็ก เล็ก แบบ  ทำให้ความเชื่อถือหมดไปทันทีในการทำงาน  เป็นบทเรียนในการทำงานอีกครั้ง  ซึ่งแต่ละเรื่องที่รับแจ้งมาในช่วงนี้ แต่ละท่านต้องการทราบความก้าวหน้าและรายละเอียดรอบด้าน  เพราะคนที่แจ้งส่วนใหญ่ใช้โซเซียสและเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วคะ 

 


 

เมื่อวันที่ 27 เมษายนท่านคุณหมอก็ไลน์มาอีกครั้ง พบเด็กที่เดิมอีกครั้ง ข้อเท็จจริงที่คุณหมอสยบพร  และพบกลุ่มเด็กที่ขายดอกจำปีมากขึ้นที่สี่แยกยมราช  หมอเห็นแล้วไม่สบายใจเลยกลัวเรื่องอันตรายจากอุบัติเหตุจ๊ะ.. เมื่อรับรู้ข้อมูลทั้งหมด  ครูจึงต้องจัดการตารางใหม่ทั้งหมดที่การทำงานด้วยข้อมูลที่ครูต้องรู้   งานแรกคือศึกษาข้อมูลของชุมชนนี้ ทั้งหมดพร้อม ทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงไปช่วยเหลือ  จนให้ได้ข้อมูลคราวๆ  คือ

1) ตั้งแต่ปี 2548-2549  ทางกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเคยช่วยเคสที่ขายพ่วงมาลัยจำนวน 20 ครอบครัว สืบเนื่องมาจาก เด็กหญิงคนหนึ่งที่ถูกรถสิบล้อชนแล้วลากร่างเด็กไปด้วยกว่า 7 เมตร เสียชีวิตทันที เป็นข่าวหน้าหนึ่งที่โด่งดังไปทั่ว มีหลายหน่วยงานลงไปช่วย แต่ช่วยเรื่องให้ทุนการศึกษา จำนวน 6,000 บาท จำนวนสองปีเท่านั้น  ให้ทุนสงเคราะห์ครอบครัว ครอบครัวละ 2,000 บาท  จำนวน 6 ครอบครัว ในครั้งเดียวจบ  ในเงินทุนประกอบอาชีพ เช่น รถเข็นขายข้าวแกง หรือรถเข็นขายผลไม้ จำนวน 14 ครอบครัว  ในปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ไม่มีในแต่ละครอบครัวแล้ว ด้วยเหตุคือต้องมีทุนประกอบอาชีพเป็นรายวัน

2) มีหน่วยงานด้านสุขภาพได้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี  มีนักศึกษาจากวิทยาลัยต่างเข้ามาตัดผมให้เด็กเดือนละ หนึ่งครั้ง  มีการสร้างอาคารเอนกประสงค์ที่ใช้ร่วมกันในการทำกิจกรรมต่าง พร้อมนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยลงฝึกงาน นักศึกษาพยาบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล ลงมาทำกิจกรรมเดือนละหนึ่งครั้ง  เป็นชุมชนดีเด่นในการจัดการของสำนักงานเขตราชเทวี


  

3) มีนักศึกษาที่ลงมาศึกษาการทำวิจัย ได้แก่ รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการส่งเสริมการใช้รูปแบบการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติดในชุมชน  ซึ่งในปี 2553 มีผู่ผ่านการบำบัดยาเสพติด จำนวน 4 คน  แต่ในชุมชนมีมากกว่านี้  และเป็นกลุ่มเด็กที่ในปัจจุบันเป็นกลุ่มของพ่อแม่เด็กที่ออกมาขายดอกจำปี หรือพ่วงมาลัย  มีนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษรศาสตร์ ทำวิทยานิพนธ์  คุณธารินี  ดิษผึ้ง ปี 2552  เรื่อง วิถีชีวิตเด็กขายดอกไม้ในชุมชนโค้งรถไฟยมราช  เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึกเจาะครอบครัวทั้งสิ้น จำนวน 10 ครอบครัว  โดยผลการวิจัย พบว่า เด็กขายดอกไม้ในชุมชนโค้งรถไฟยมราชส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีอายุระหว่า 10-15 ปี มีมารดาเป็นหัวหน้าครอบครัว เด็กและครอบครัวมีฐานะเป็นคนจนเมือง มีภาระหนี้สิน มีการศึกษาต่ำ และประกอบอาชีพที่ไม่แน่นอน ในมิติวิถีการกระทำ เด็กขายดอกไม้ในชุมชนโค้งรถไฟยมราชกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ และไม่เป็นเวลา เพราะต้องขายดอกไม้ทุกวันเพื่อทำมาหากินเลี้ยงชีพ    ส่วนในมิติวิถีความคิด เด็กขายดอกไม้เห็นว่าการขายดอกไม้เป็นอาชีพที่สุจริตไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และเป็นการตอบแทนบุญคุณบิดามารดา นอกจากนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตของเด็กขายดอกไม้ มี 3 ด้าน คือ ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านการศึกษา และปัญหาครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้จัดสวัสดิการสังคมให้กับเด็กและครอบครัวขายดอกไม้มาอย่างต่อเนื่อง(ในช่วงปี พ.ศ.2548-2549) ซึ่งเด็กและครอบครัวส่วนใหญ่ก็มีความพึงพอใจกับสวัสดิการที่ได้รับ (ทุนการศึกษา ทุนสงเคราะห์ครอบครัว ทุนประกอบอาชีพ ค่ายครอบครัวในชุมชน ฯลฯ ) ซึ่งเด็กและครอบครัวส่วนใหญ่ก็มีความพึ่งพอใจกับสวัสดิการที่ได้รับ  และเห็นว่าประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต อย่างไรก็ตามการขายดอกไม้บนพื้นผิวจราจรก็ยังดำเนินต่อไป  ซึ่งเป็นปัญหาที่สังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจ  สร้างความตระหนักถึงปัญหาและกำหนดแนวทางการป้องกัน แก้ไข อย่างมีบูรณาการ

 

ได้ข้อมูลเชิงวิชาการในการถอดงานมากพอสมควร  จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการลงไปในภาคสนามเพื่อหาข้อเท็จจริง ก็ต้องเป็นหน้าที่ของครู...เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2559 ในช่วงเวลาตั้ง 19.30- 22.00 น. ได้เดินจากแยกราชเทวี จนถึงสี่แยกยมราช  การเดินวันนั้นเหมือนนักสำรวจ สอบถามคนละแวกนั้นไปหมด เพราะเป็นเส้นถนนที่ไม่คุ้นเคย  และที่สำคัญการเดินคนเดียวในยามค่ำคืนก็ใช่คำตอบถึงแม้อายุจะเกินห้าสิบกว่าปี ก็ต้องระแวงระวังเหมือนกัน  ตลอดทางร้านค้าคือเพื่อนที่ดีที่สุด และการสอบถามข้อมูลต่างๆ ก็ได้ข้อมูลอย่างตรงไป-ตรงมา  ตั้งแต่แยกศรีอยุธยา พบเด็กที่มาจาก ชุมชนโค้งรถไฟยมราช สามคนพี่น้อง คนโตเป็นผู้ชายอายุ 13 ปี เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ในช่วงกลางวันจำพ่วงมาลัยที่ สี่แยกใต้ทางด่วนยมราช พร้อมน้องสาว กับน้องชาย  ส่วนกลางคืนจะมาที่สี่แยกศรีอยุธยา สลับกันมากับอีกครอบครัวหนึ่งที่อยู่ชุมชนสวนเงิน ในซอยกิ่งเพชร  ที่นี้ไม่ได้มาทุกคืนส่วนมากก็จะประมาณ ห้าโมงเย็นจนถึงประมาณสามทุ่ม ก็จะกลับเข้ามา (รายละเอียดยังไม่ได้สำหรับครอบครัวนี้)  ข้อมูลคราวๆที่ได้มาจากแม่ค้าที่ขายของ  และตัวเด็กในชุมชนโค้งรถไฟยมราช  ที่ไปขายของ เป็นที่รู้กัน

ในคืนนั้นครูจิ๋วได้มีโอกาสพบเด็กที่ขายดอกจำปี พร้อมมีวัยรุ่นซึ่งเป็นพ่อแม่ของเด็กเหล่านี้  เด็กจำนวนทั้งหมด 9 คน  เด็กวัยรุ่นจำนวน 4 คน  โดยทุกคนก็ทำงานของตัวเอง คือเมื่อรถที่ลงมาจากทางด่วนติดประมาณ 1-3 นาที  เด็กเหล่านี้จะวิ่งยื่นตระกร้าที่เป็นดอกจำปี วิ่งไปเคาะกระจกรถ โดยเรียงกันเป็นแถว  ว่าให้ทุกคนช่วยซื้อดอกจำปี กระทงเล็ก ซึ่งมีดอกจำปีประมาณ 2-3 ดอกที่อยู่ในกระทง กระทงละ 10-20 บาท  ส่วนใหญ่คนที่ซื้อก็จะให้ 20 บาท  ด้วยความสงสาร  เด็กผู้ชายที่วิ่งขาย ส่วนมากถอดเสื้อ(ร่างกายช่วงบนเปลื่อย) เด็กบอกว่ามันร้อน  ย้อมผมสีแดงบ้าง สีทองบ้าง แล้วแต่คนชอบ  ใส่กางเกงสีดำแบบขาดก้น หรือบางคนก็ใส่กางเกงบอล  ส่วนที่เท้าส่วนมากไม่ใส่รองเท้าเดินเท้าเปล่า(กระซิบบอกว่าวิ่งหนีตำรวจได้เร็ว  จะได้ไม่เสียค่าปรับ หรือบางครั้งก็ชินกับพื้นถนนมากกว่า  เท้าเด็กแต่ละคนจะดำมาก)   ทุกคนที่ขายจะมียายหรือแม่ หรือคนในชุมชนลงทุนให้ก่อน การขายของเด็กต้องเอาทุนไปคืนก่อน  ซึ่งจะมีแม่หรือยายคอยกำกับอยู่  เมื่อได้เป็นกำไรเด็กถึงจะเอาเหล่านี้ไปซื้อขนม ลูกชิ้น หรือข้าวกินได้   เมื่อมีโอกาสได้คุยกับคุณยาย(นามสมมุติ)  ผู้ที่ลุงทุนให้ ครั้งประมาณ 1,000 ถึง 2,000 บาท ในแต่ละวัน  โดยประมาณเก้าโมงเช้า  จะออกไปซื้อดอกจำปีที่ตลาดปลากคลองตลาด ใช้วิธีการซื้อเหมาถุงละ 120-150 บาท  ไม่สามารถรู้ว่าดอกจำปีมีกี่ดอก  ขึ้นอยู่กับว่าดอกจำปีมีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่  พอประมาณช่วงบ่ายก็จะเอาใบตองมาเย็บเป็นกระทงเล็ก เล็ก  เด็กอธิบายได้ดีจนเห็นภาพ นำดอกจำปีมาใส่เรียงไว้ในตระกร้าให้เต็ม  ตระกร้าหนึ่งประมาณ 30-50 กระทงแล้วแต่ตระกร้าเล็กหรือใหญ่ (ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดตัวของเด็กด้วย  เพราะถ้าเด็กตัวเล็กซื้อตระกร้าใหญ่ก็จะเกะกิไป  ไม่สะดวกในขณะที่สิ่งไปเคาะกระจกรถ  แต่ที่สังเกตเห็นส่วนใหญ่เด็กจะเอาไปแค่ครั้งจะ 3-5 กระทงบอกว่าสะดวกมากกว่ายกตระกร้าไป  เดี๋ยวดอกจำปีเหี่ยวก็จะไม่มีราคา จะขาดทุน วันนั้นจะอดทั้งข้าวและขนม ซึ่งพวกผมจะอด ทำอย่างไรพวกผมก็ต้องหาเงินเลี้ยงตนเองให้รอดในแต่ละวัน  อย่าหวังคนในครอบครัว แม่บอกว่าจะกินก็ต้องทำงานหาเองด้วย  .....เด็กชายอ๊อด  บากกล่าว)  เด็กจะออกมาขายตั้งแต่บ่ายสาม  จนถึงประมาณกันสามทุ่ม  ยกเว้นในคืนวันพระจะเป็นวันทองของพวกหนูจะขายกันถึงเที่ยงคืนเพราะคนจะซื้อไปบูชาพระ จวัตรในแต่ละวันก็สิ้นสุด  สำหรับกลุ่มที่ไปเรียนหนังสือก็จะตื่นกันแต่เช้า ซึ่งไปเรียนก็จะง่วงนอน บางครั้งก็นอนทำให้เรียนไม่รู้เลย  แต่สำหรับกลุ่มที่ไม่เรียนมีประมาณ 3 คน ก็จะตื่นสายเกือบเที่ยง  ซุกตัวอยู่ตามมุมของชุมชน  คืนนั้ได้มีโอกาสนั่งคุยกับเด็กพร้อมทั้งการหยอกล้ออย่างสนุกปากของเด็กกลุ่มนี้ คุณป้าก็ได้แต่ยิ้มเพราะเป็นครั้งแรกที่ได้มีการคุย ซึ่งเด็กทุกคนให้ความเป็นกันเองมากลื้อถุงหนังสือและขนมจนหมดแบ่งกันกินคนละคำสองคำ  เพราะขนมที่เตรียมไปหมดทุกอย่าง(วันนั้นเดินทางหลายที่)  จึงมีการนัดกับเจ้าปู(เด็กผู้หญิงคนโตสุดว่าในวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ครูจิ๋วจะลงไปพบเด็ก เด็ก ที่ชุมชนอีกครั้ง

         

                การลงมาพบเด็กเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2559 ครูจิ๋วไม่ได้พบเจ้าปู  เพราะไปกับญาติที่ชุมชนร่มเกล้า (มีญาติบางคนได้ย้ยออกไปที่ชุมชนร่มเกล้า ตามนโยบายของรัฐ กว่าครึ่งหนึ่งของชุมชนดั่งเดิม  เพราะมีคำสั่งเคลื่อนย้ายชุมชนมาหลายครั้ง เป็นที่รู้กันของคนในชุมชน) พบเด็กซึ่งเป็นกลุ่มที่ขายดอกจำปี  และกลุ่มที่ขายมาลัย  ครูจึงไปนั่งที่สถานีรถไฟ  มีเด็กเดินแวะเวียนมาถามไถ่ว่า ป้าทำงานที่ไหน  ทำไมอยากรู้เรื่องเด็กขายดอกจำปี   เด็กชายเก้า(นามสมุติ) ถอดเสื้อแบบลูกผู้ชายมาเล่าว่า บ้านผมไม่มี คนในชุมชนไม่ให้ครอบครัวผมเช่าบ้าน เพราะทำบ้านของเขาสกปรก พวกผมพร้อมพ่อแม่พี่น้องอีก ห้าคน มานอนอยู่ที่หลังกองขยะ เอาโครงไม้มาสร้างเป็นหลังคาและฝา มุงด้วยถุงปุ๋ย ใช้เป็นที่นอน  ป้าเห็นไหมหน้าชุมชนเลย ป้าบอกว่ายังไม่กล้าเดินเข้าไปชุมชน  กล้วอะไรหรือเปล่า...!!!!เด็กบอกว่าไม่ต้องกลัวไปกับพวกผมปลอดภัย พวกผมจะดูแลป้าเอง  ผมมีน้องหนึ่งคนที่หายไปประมาณสองปีแล้วยังหาตัวไม่เจอเลยครู ทั้งพ่อและแม่ก็หาทั่วกรุงเทพแล้วนะ ใช้จักรยานถีบไปบ้าง ใช้มอเตอร์ไซด์ตามไปที่ชุมชนต่างๆ หวังว่าจะเจอ  แต่ยังไม่เคยเจอเลย มีหลายมูลนิธิฯเข้ามาช่วยตาม  แล้วเด็กน้อยก็วิ่งหายไป

                นั่งสังเกตการณ์ คือ เอากล้องตัวเล็กที่เคยใช้ประจำ  ส่องเด็กที่กำลังขายพ่วงมาลัยมะลิ ขายกล้วยแขก  ขายกุหลาบ ขายดอกจำปี(สำหรับขายดอกจำปีบอกว่าขายกลางวันไม่ดี เพราะดอกจำปีจะเหี่ยวเร็ว แล้วก็จะกลายเป็นสีเหลือง  ทำให้คนที่เห็นไม่อยากซื้อ นั่นหมายถึงการขาดทุนอย่างสิ้นเชิง  ขายไปก็เสียเวลา  เด็กกลุ่มกลางวันจะนอนกับเข้าร้านเกมส์ ที่มีอยู่ในชุมชน เด็กก็คลุกกันอยู่ในนั้น  บางคนมีจักรยานก็จะถีบรอบชุมชน วิ่ง-เข้าออกในร้านเกมส์)  มีเด็กแวะเวียนมาเล่าเป็นเพื่อนคุย  แต่ในใจครูคนในชุมชนส่งเด็กมาหาข้อมูลว่า ป้าเป็นใคร(ครูจิ๋ว)  บางคนมาขอดูบัตรประจำตัวว่าทำงานที่ไหน  อยู่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กจริงไหม.....งานนี้ถูกเด็กตรวจสอบอีกแล้วเรา .....ทำงานอะไร  ทำไม่ต้องมาสนใจพวกผม...เป็นสายสืบหรือเปล่า   กว่าจะอธิบายกันทุกคำถาม เด็กแต่ละวิ่งมาก็ใช้เวลากว่าสอง-สาม ชั่วโมง   จนเด็กคนสุดท้ายบอกว่าครูผมอยากไปเที่ยวทะเลกัน  แต่พวกผมไม่มีเงิน  อยากไปจริง จริง นะ  ครูจึงบอกว่าเดี๋ยวจัดให้ แต่จะให้ครูประสานงานกับผัใหญ่คนไหน  เด็กจึงพาไปหาป้าจิ๋ม  เป็นป้า ของเด็กเหล่านี้(ป้าจิ๋มเป็นร้านค้าที่เด็กเชื่อขนมกินได้ จึงฝากป้าจิ๋มประสานงานและหารายชื่อเน้นกลุ่มเด็กขายดอกจำปีก่อน  (อยากคุยกับเด็กทีละคน) จึงเดินทางกลับ  ข้อมูลบางส่วนออกมาจากปากเด็กแล้ว

 

  

                เช้าวันที่ 6 พฤษภาคม 2559  ดินทางกันแต่เช้าตั้งแต่เจ็ดโมง ซึ่งความจริงนัดเด็ก เด็กไว้ เก้าโมงเช้า  ไปถึงไม่มีเด็กสักคนตื่นเลย  เป็นโอกาสแรกที่ครูจิ๋ว...ได้มีโอกาสเดินไปเคาะประตูบ้านของเด็กแต่ละคน  บ้านแต่หลัง บอกได้เลยว่าคุ้มมาก  ถึงจะไม่มีเด็กคนไหนได้ไปทะเล  กลายเป็นว่าครูได้เดินเข้าชุมชนเป็นครั้งแรก  โดยมีเด็กเป็นคนนำทางอธิบายถึงพื้นที่ พูดถึงบ้านของเด็กแต่ละหลัง กลายเป็นที่สนใจของชุมชนทันทีเพราะว่าได้ไปเรียกเด็กทุกหลัง รู้จักเด็กที่ขายดอกจำปี  แต่สิ่งที่พบคือ เด็กยังไม่มีใครตื่น  และพ่อแม่ของเด็กแต่ละคนดูเหมือนกลัวว่าครูจะเป็นคนของตำรวจหรือคนของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการที่มาจับเด็กไป  พ่อแม่เริ่มเป็นห่วงกันมากขึ้น มีคณะกรรมการชุมชนได้ให้คำแนะนำกับครูจิ๋วว่าควรที่จะไปหาประธานชุมชนให้เขาประกาศให้  

ครูจิ๋วก็ไปตามที่คุณ ป้า แนะนำ  สิ่งแรกทำไมคุณไม่มาหาประธานชุมชนก่อน มีอะไรก็ต้องมาบอกกล่าว  เพราะประธานชุมชนจะดูทุกเรื่อง  แล้วคุณทำไมมาสนใจแต่เด็กกลุ่มที่ขายดอกจำปี ขายพ่วงมาลัยเท่านั้น  แล้วเด็กกลุ่มอื่นๆ ที่เขาดี เขาทำมาหากิน ทำไมไม่สนใจ  มาสนใจมาเอาข้อมูลแล้วก็กลับ  ครูก็ได้อธิบายสิ่งที่ได้รับเรื่องร้องเรียน เด็กกลุ่มนี้ เขามีรายได้มากกว่าพวกผมอีก เดี๋ยวผมจะประกาศให้  (สามีของประธานชุมชน )  พร้อมกับเอารายละเอียดของชุมชนให้ดู  พร้อมกับอธิบายว่าคนในชุมชนโค้งรถไฟยมราช อาศัยอยู่บนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์  ที่ดินของมูลนิธิอับดุลลานุรณ์(จัดสรรให้เช่าในราคาถูก ส่วนมากเป็นคนดั่งเดิมกันมา)  ที่ดินของการรถไฟ(ส่วนมากบุรุกทั้งนั้น วัดออกมาจากราง 15 เมตร เป็นของการรถไฟ ที่ปลูกติดรางกันทั้งนั้นคือผู้บุกรุกทั้งหมด  คนในชุมชนก็มีลักษณะบ้านเช่น ที่ครูเดินเข้าไปในชุมชน มีอาชีพที่หลากหลาย ตั้งแต่รุเข็นผลไม้ รถเข็นส้มตำ  รถเข็นดอกไม้  รับจ้างเป็นแม่บ้าน เป็นย่าม เข็นรถในตลาดโบ๊เบ๊  เป็นต้น   ครูรู้ไหมคนที่มาเช่าอยู่ที่ชุมชนนี้ทุกคนต้องดิ้นร้นกันทั้งนั้น  แต่พวกเขาไม่เคยสร้างปัญหาให้ชุมชนเลยนะ  ชุมชนนี้มีโครงการมากมายจากหลายหน่วยงานที่เข้ามาช่วยเหลือ  การทำงานร่วมกับสำนักงานเขราชเทวี กับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  ทำกันมาตลอด 

สำหรับกลุ่มที่ขายดอกไม้ ขายกล้วยแขก เป็นกลุ่มทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามา  เข้ามีเงินประกอบอาชีพให้กู้ยืม  มีเงินทุนการศึกษาให้กู้ยืม  แต่ไม่มากู้เอง  เพราะต้องส่งให้ตรงกับเวลาที่กำหนด  เดิมมีทั้ง 20  ครอบครัว  แต่ปัจจุบันมีไม่ถึงหรอก  อยากได้ข้อมูลก็โทรนัดกับประธานชุมชนแล้วกัน    ครูจึ่งลากลับมาพร้อมกับเด็กมายืนคอยครูที่หน้าชุมชนกลุ่มที่ไปปลุกถึงบ้าน  แต่มีเด็กอีกกลุ่มที่ไม่ได้ขายดอกจำปีหรือพ่วงมาลัยแต่งตัวกันมาที่จะไปเที่ยวทะเล   แต่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของครูจิ๋ว  จึงขออนุญาติยกเลิก รอกลุ่มที่ครูอยากคุย

 


  

วันที่ 12 พฤษภาคม 2559  ครูจิ๋วลงไปชุมชนอีกครั้งพอลงรถสามล้อที่ทางเข้าชุมชนยมราช เด็ก ประมาณ 5-6 คนที่ยืนขายดอกจำปี ขายพ่วงมาลัยอยู่ทุกคนมายืนล้อมครูแล้วก็บอกว่าอยากไปทะเล  ครูจึงเดินเข้าชุมชนอีกครั้ง เพราะนัดประธานชุมชนไว้  ประมาณบ่ายสอง  ประธานชุมชนไม่อยู่ไปประชุมยังไม่กลับมา  สามี(ป๋าแอ๊ด)  จึงเล่าให้ฟังว่ามีองค์กร เพื่อน เพื่อน ประเทศไทย ลงมาข้อมูลเหมือนครูเลย  ผมยังสงสัยว่าทำไม ทั้งองค์กรเอกชน ทั้งสนช. (ครูหยุย) สนใจแต่เด็กขายดอกจำปี  มาฟังเรื่องอื่นๆด้วย   องค์กรเพื่อน เพื่อน เขาลงมาสองอาทิตย์ติดต่อกัน หลังจากที่ได้คุยกับครูจิ๋ว   แต่ผมรู้ว่าต้นเรื่องทั้งหมดมาจากเรื่องร้องเรียนที่ครูได้รับใช่ไหม นั่งคุยกันนานกว่าสองชั่วโมงสุดท้ายให้รอมาฟังพร้อม คณะของครูหยุย (นายวัลลภ  ตัวคณานุรักษ์)   ครูเลยลากลับแต่เป้าหมายคือเด็ก เด็ก ที่ออกขายดอกจำปี แยกยมราช  จึงเดินข้ามถนน ซึ่งต้องใช้เวลานานมาก เพราะครูไม่ชำนาญ  พอมาถึงเด็ก เด็ก ก็ทักทายกันเป็นอย่างดี  บอกเหตุผลว่าทำไม่ที่ครูมารับแล้วพอผมไปไม่ได้  ไม่ใช่ว่าไม่อยากไป อยากไป  แต่พวกผมรู้จักป้า (ครูจิ๋ว) ไม่ดีพอ  อยากรู้จักมากกว่านี้ครับ

น้องสาวคนโตสุด น้องกระถิน(นามสมมุติ)  เป็นเด็กที่บอกกล่าวว่าอยากรู้อะไรครูถามมาได้เลย หนูขายดอกจำปีมาตั้งแต่ห้าขวบ ถึงปัจจุบันนี้มีลูกมีครอบครัวแล้วก็ยังขายอยู่  เพราะเป็นงานที่พวกเราทำกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ จนมาถึงรุ่นหลานแล้วนะ  จากเดิมมีกว่า 20 ครอบครัว  ปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 7 ครอบครัว  เด็กกว่า 23-30 คน  แยกกันไปขายตามจุดต่างๆ  ที่ทราบมาไม่ได้มีเฉพาะที่ยมราชใช่ไหมครู (ในช่วงนั้นของดูบัตรประชาชนครู และบัตรประจำเจ้าหน้าที่ เด็กพร้อมผู้ใหญ่มารุมล้อมเต็มตัวครูไปหมด  เสียงเด็กชายอ๊อดที่สนิทที่สุดผมบอกแล้วใช่ไหมว่าป้าเขาเป็นครู  เขาเป็นครู จริง จริง   พวกพี่ไปเชื่อทำไมกับพวกข่าวลือว่าเป็นพวกมาจับพวกเรามาขายของ เป็นสายสืบของตำรวจ  อ๊อด....ตระโกนเสียงดังลั่นถนน....แล้วอ๊อดก็เข้ามากอดที่เอวครู.....เด็กคนอื่นก็ได้แต่ยืนมอง)  

ส่วนน้องกระถินก็เล่าต่อ   ว่าเด็กทุกคนต้องทำงานไม่อย่างนั้นอดตาย  เช่น ครอบครัวของน้องอ๊อด....อยากไปทะเลที่สุด  มีพ่อแม่ครบ  ได้เรียนหนังสือกันทุกคน  บ้านนี้มีลูก 6 คน หายไปหนึ่งคน  สามคนที่เห็น (น้องอ๊อด..น้องเก่า..น้องกล้วย..) ต้องขายดอกจำปีกำไรที่ได้มาเป็นค่าข้าว เพราะทั้งพ่อและแม่ไม่มีเวลาสนใจ ครอบครัวนี้ไม่มีบ้านอยู่ (นอนที่หน้าชุมชนมาเดือนกว่าแล้ว....ยังไม่มีใครช่วยเหลือเลย)....ทั้งสามคนต้องขายดอกไม้ ทำงานทุกอย่าง นี่ก็บ่ายสามแล้วนะเพิ่งได้กินขนม  นม จากครู


ครอบครัวน้องกระถินเอง มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน  ที่มาขายดอกจำปีมีเพียงแค่ สองคน หนูกับน้องคนเล็ก  แม่เป็นคนลงทุนให้ กำไรที่ได้เป็น ค่ากับข้าว ค่าขนมลูก ค่ารถเด็กไปเรียน ค่าอาหารค่าขนมที่โรงเรียน (แค่ค่ามอเตอร์ไซด์รับจ้างไป-กลับ แต่ละวันก็ 40 บาท ค่าอาหารตอนเช้า 20 บาท  ค่าน้ำทั้งวันไม่ต่ำกว่า 20 บาท  แต่ละวันขั้นต่ำต้องมีเงินไปโรงเรียนไม่ต่ำกว่า 80 บาท   ค่าใช้จ่ายสูงมากนะ   วันไหนขายไม่ได้เด็กก็พาลไม่ไปโรงเรียนเลย พอหลายๆวันเข้าก็ไม่ไปเลย เหมือนฉันสมัยก่อนแบบเดียวกันเลยคะ  มีเด็กบางคนที่ไม่ได้ไปโรงเรียน) สำหรับครอบครัวน้องกระถิน ได้รับเสื้อหนังสือ กางเกง รองเท้า ชุดลูกเสือ กระเป๋าจากองค์กรเพื่อน เพื่อน เพราะเขามาถ่ายรูปและสัมภาษณ์  แต่เด็กคนอื่ยังไม่ได้เลยคะ  เวลเปิดเทอมทีพ่อแม่กับเด็กเครียดกันไปหมดเพราะต้องจ่ายกันอีกมา ตั้งแต่ค่าคอมพิวเตอร์ ค่าประกัน  ชุดพละ ชุดสัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ชุดอาเซียน  ยังมีอีกนะ คนหนึ่งไม่ต่ากว่า 1,500 ถึง 2,000 บาท  กว่าจะหาเงินได้เด็กก็อดเรียนไป

ในชุมชนนี้ยังมีอีก ครูบางครอบครัวต้องช่วยเพื่อพยุงให้เขาอยู่รอด  พ่อแม่ของเด็กพวกนี้มันก็คือรุ่นเดียวกับฉัน ติดคุก หนีไปบ้าง ค้ายาเสพติด ติดการพนัน หนีหนี้  ชีวิตของเด็กที่เกิดมามันเลยสุก สุก ดิบ ดิบ อย่างที่ป้าเห็น  ไม่ใช่ว่าพวกหนูไม่อยากเปลี่ยนอาชีพ  อยากคะแต่มันต้องใช้เวลา ทุนทางสังคมพวกเรามันน้อย แล้วจะให้พวกเราทำอย่างไร  อบายมุขรอบตัวแบบนี้  เอาง่าย ง่าย เอาแค่เด็กได้ไปโรงเรียนทุกวันก็สุดเจ่งที่สุดแล้วสำหรับพวกหนู   ป้าอยากช่วยต้องช่วยให้เด็กพวกนี้อยู่ในโรงเรียน  แล้วต้องฝึกให้พวกเขาทำงานด้วย โตมาจะได้แกร่งพึ่งตนเองได้  อย่าให้มีเวลาว่างว่าไปนั่งเล่นเกมส์  ยิ่งใครห้ามพวกเราเขาเหล่านั้นกำลังทำให้อดตาย   แล้วพวกเราก็ตกเป็นเบี้ยล่างของตำรวจที่ไถบ้าง จับบ้าง เพราะผิดกฎหมาย

พวกเรามั่นใจว่าป้าช่วยได้  เพราะป้าลงมาชุมชน สี่ครั้งแล้วเกาะติดสถานการณ์อย่างแท้จริง  ฟังข้อมูลทุกฝ่าย ขอบใจมากจ๊ะป้า....