banner
ศุกร์ ที่ 8 เดือน เมษายน พ.ศ.2559 แก้ไข admin

ขอทานเพื่อเลี้ยงชีวิต ....ตอนที่สอง


ทองพูล   บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

       

        ด้วยการเดินทางไปประเทศกัมพูชาดินแดนที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์   หนังสือที่ต้องอ่าน มีหลายเล่มมาก  แต่ไม่พลาด เรื่อง 4 ปี นรกในเขมร ของคุณยาสึโกะ นะอิโต เขียนจากชีวิตจริงในช่วง ปี พ.ศ.2518-2522 แทบจะเอาชีวิตไม่รอด ตอนที่ครูอ่านก็ลุ้นตลอดเวลา ไม่ใช่ลุ้นแบบนิยายแต่ชีวิตจริงที่แสนจะเจ็บปวด บาดแผลในใจฝังลึกเขาไป  ครูถามคนกัมพูชาที่เป็นรุ่นเดียวกับครูทุกคนบอกว่ารอดมาได้ทุกวันนี้ก็บุญแล้วจริงๆ  บางคนเสียพ่อ แม่ พี่ น้อง ในสงครามกลางเมือง ความอดยาก ความขัดสน การไม่มีโอกาสทางด้านการศึกษา  เมื่อป่วยไม่มีเงินอย่างไปโรงพยาบาลกลับไปตายที่บ้านดีกว่า  การมีงานทำในกัมพูชาต้องเป็นญาติหรือไม่อย่างนั้นก็ต้องมีคนรู้จักกัน  งานก็มีจำกัด  ค่าแรงประมาณ 80-100  บาท แต่ค่าครองชีพเท่ากับเมืองไทยเลยนะครู


  

        ได้มีโอกาสคุยกับ กรณีศึกษาที่พาลูกมาขอทานในเมืองไทย เป็นครอบครัวชาวกัมพูชาที่แม่หาเลี้ยงลูกสามคน คนโตอายุ 11 ปี เป็นผู้ชาย  คนกลางเป็นผู้หญิง ที่ฉลาดมาก ส่วนลูกคนเล็กเป็นโรคหัวใจรั่ว  คำถามที่ถามทำไมไม่รักษาตัวที่กัมพูชา  เห็นว่ามีโรงพยาบาลที่รักษาเด็กโดยตรงไม่ใช่หรือ  แม่เด็กตอบว่ามีแห่งเดียวเท่านั้น รอคิวกันนาน นอกนั้นจะรักษาตัวต้องมีเงินเข้าโรงพยาบาลเอกชนเท่านั้น  คนจน คนไม่มีเงินอย่าหวังว่าจะได้รับการดูแลที่ดี  แค่ยาที่ครูให้(เป็นยาพารา หรือยาแก้ปวด แค่นี้ก็เป็นพระคุณแล้วจริงๆ)  ลูกชายฉันที่ครูเห็นเป็นประจำลูกชายคนโต  ตอนนี้มันตายแล้วครู  กลับมาเมืองไทยถึงบ้านที่เสียมราฐ มันปวดหัวมาก ไปถึงมือหมอก็ตายแล้ว  แล้วหมอก็ไม่บอกว่าเป็นโรคอะไร  ครูอุตส่าห์อยากให้เรียนถ้าเชื่อครูให้เรียนลูกฉันคงไม่ตาย  ฉันเหลืออีกสองคน สำหรับคนเล็กต้องดูแลเป็นพิเศษ  ฉันจะกลับบ้านก็กลัวค่ายาเวลาพาลูกไปหาหมอ  จำเป็นต้องหอบหิ้วกันมา  สิ่งเหล่านี้เป็นการบอกกล่าวของแม่และเด็กที่พาลูกมาขอทานในเมืองไทย

        เมื่อมีโอกาสที่ไปเมืองปอยเปต เมืองเสียมราฐ เมืองพนมเปญ  เมืองสวายเรียงที่ติดกับโฮจิมิน ของประเทศเวียดนาม ซึ่งทุกเมืองได้คุยกับกลุ่มแม่และเด็กเหล่านี้ที่พาลูกมาขอทาน (ขอเงินนักท่องเที่ยว) บางครอบครัวจะคุยภาษาไทยได้ แต่บางคนก็สื่อสารกันเฉพาะภาษากัมพูชา สำหรับครูคือการใช้ภาษาท่าทางด้วยกาย การจับมือเด็ก การกอดเด็ก การลูบหัวเด็ก  การแบ่งปัน นม ขนม หรือแม้แต่ยา ที่มีให้กัน  สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญทั้งหมด  การมองเด็กด้วยสายตาแห่งความเมตตา ปราณี  ก็เป็นการสื่อสารระหว่าใจถึงใจ  เวลาไปสถานที่เหล่านี้เพื่อนๆที่ร่วมเดินทางจะบอกว่าคนให้มาแล้วเหลือแต่คนรับ 


  

        สำหรับเมืองปอยเปต  ส่วนมากครูจะเห็นแม่ลูกอุ้มกันข้ามแดนกันมาทำงานในฝั่งไทย  จะเห็นแม่ลูกพากันเก็บขยะกันเป็นส่วนใหญ่  มีบ้างที่เห็นแม่ลูกอุ้มมาขอทานเห็นระหว่างทางเดินจาก สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในประเทศไทย ไปสู่โรงแรมที่เป็นบ่อนคาสิโน  ซึ่งมีจำนานหลายแห่งมาก  และบางงครอบครัวก็พาลูกขอเงินอยู่หน้าโรงแรมที่เป็นสนามหญ้า บางครั้งก็พากันนอนค้างคืนที่นั้นเลย  เพราะมีทั้งแสงสว่าง มีแหล่งน้ำที่อาบ กินได้ ที่แน่ๆความสว่างของแสงไฟตลอดทั้งคืน  สถานที่เหมือนไม่ปลอดภัยเพราะมีตำรวจ ยาม เฝ้าอยู่ตลอดเวลา กลายเป็นสถานที่ปลอดภัยของกลุ่มแม่และเด็ก เพราะไม่มีใครเข้ามาทำร้าย หรือข่มขู่เอาเงินหรือสิ่งของ ชุมชนที่ชาวกัมพูชาอยู่กัน เรียกว่าชุมชนกบาลสเบียน(Kabalspean) หรือชาวกัมพูชาเรียกว่า “บ้านบิน“ ในจังหวัดบันเตียเมียนเจย มีประมาณ 600 กว่าหลัง อยู่กันประมาณ 4 ชุมชนใหญ่  เป็นชุมชนที่สร้างขึ้นด้วยการปลูกบ้านแบบชั่วคราว  รายได้คิดเป็นคืนนี้ละ 50 บาท หรือเช่าเป็นหลังเดือนละ 1,500 บาท แต่สิ่งที่แพงที่สุดคือ ค่าน้ำ ค่าไฟ การเช่าบ้านแบบนี้ไม่มีสัญญา ใครสะดวกนอนกี่คืนก็ว่ากันมานอนเสร็จก็จ่ายกัน  สำหรับใครมาเช่าที่ดินเอกชนก็ได้แต่ต้องสร้างบ้านกันเอง  มีบางครอบครัวที่เช่าที่ดินเป็นรายเดือนแล้วปลูกด้วยบ้านที่เป็นพลาสติคหรือมุ้งหลังคาด้วยป้ายไวนิล  เวลาฝนตกบ้านเหล่านี้พังก่อน  หลายคนจึงยอมที่จะเช่าบ้านเป็นรายวันโดยเน้นไม่มีอะไรติดตัวเน้นพออยู่ได้  บ้านที่คนปอยเปต คือบ้านที่มาพักชั่วคราว  เพื่อรอจังหวะในการเดินทางต่อมายังในกรุงเทพมหานคร  บ้านบางหลังที่นอนใช้หลังคาคุ้มด้วยแผ่นพลาสติดสีดำ  แล้วข้างฝาก็เช่นเดียวกันที่ใช้ไม้ขนาบแผ่นพลาสติค แล้วเจาะรูเพื่อใช้เชือกผูกได้ ห้องส้วมไม่มี  ใช้การถ่ายใต้ถุนบ้าน หรือบางครั้งก็ห่อด้วยถุงพลาสติดเหวี่ยงไว้ในป่า  เวลาเดินเข้าไปเยี่ยม สิ่งที่ต้องระวัง คือ กับระเบิด (กองอุจาระ)ที่เต็มทางเดิน  เรื่องสุขภาพอนามัยของชาวบ้านไม่ได้สนใจ  เคยถามว่าเวลาลูกตายไปแล้วไม่ห่วงหรือเสียใจหรือ  แม่บางคนบอกว่าเสียใจจะทำอย่างไรได้ชีวิตมันต้องต่อ  ลูกที่เหลือก็ช่วยกันทำมาหากินกันต่อไป  เรื่องการเรียนของลูกเหล่า อยากให้เรียนแต่ไม่ได้มีการเรียนเหมือนประเทศไทย รัฐบาลเขาบอกว่าเรียนฟรี แต่เมื่อไปเรียนจริงๆก็ต้องเสียเงินทุกวัน  แค่มีกินในแต่ละวันก็ยากแล้วจะเอาเงินที่ไหนให้เรียน  ทำไมไม่ฝากเรียนที่องค์กรพัฒนาเอกชนที่มีมากในกัมพูชา  เขารับเฉพาะที่ส่งกลับมาจากประเทศไทย  ทางเลือกของพวกฉันมีมากที่ไหนกัน  เสียงอุทรณ์ของแม่เด็ก



  

        สำหรับกลุ่มแม่และเด็กในเสียมราฐจะเห็นน้อยมาก จะเน้นไปที่พี่สาวอุ้มน้องออกมาขอทาน  หรือพี่ชายอุ้มน้องออกมาขอทาน เดินตระเวณตามสถานที่ท่องเที่ยว  ล่ามหันมาบอกกับครูว่าตอนนี้มีกฎหมายห้ามคนกัมพูชาเข้ามาขอเงินนักท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยว อนุญาตให้กับกลุ่มเด็กที่มาขายสินค้าเท่านั้น  แต่สิ่งที่เราพบเห็นก็ยังมีพี่อุ้มน้องมาขอเงินนักท่องเที่ยวอยู่ดี  คำถามผุดขึ้นมามากจริง  จึงถามล่ามว่า “ขอเงิน”  เป็นอาชีพหนึ่งในหลายๆอาชีพใช่ไหม  ล่ามได้แต่ผยักหน้า แล้วก็คุยเรื่องอื่นต่อ  ซึ่งเคยถามคนกัมพูชาที่เข้ามาขอทานในเมืองไทย  คนที่บ้านส่วนมากจะไม่รู้ว่าพาลูกมาขอทาน เพียงแค่ว่ามาทำงานในเมืองไทยได้เงินเยอะมากเท่านั้น

        สำหรับกลุ่มแม่และเด็กและ  เด็ก เด็ก ที่โตนเลสาบ  ครูเองมาเป็นครั้งที่สี่  สามครั้งก่อนไม่เคยพบกลุ่มเด็กเหล่านี้มาขอทาน หรือขายของให้นักท่องเทียวเลย  สุดท้ายไม่รู้จะถามใครก็ ก็ต้องถามล่ามอยู่ดี  ล่ามได้แต่อมยิ้ม แล้วก็เดินอ้อมมาบอกว่า เพราะรัฐบาลให้คนกัมพูชามาอยู่ที่โตนเลสาบเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะมาอยู่ปะปนกับคนเวียด(กลุ่มที่ดั่งเดิมที่อยู่ในโตนเลสาบคือคนเวียดนามที่มาอยู่กันตั้งแต่สงครามแล้วคนเหล่านี้ไม่กลับประเทศ จึงไม่เป็นพลเมืองของใครทั้งสิ้น  สุดท้ายรัฐบาลกัมพูชาก็เอกสารสิทธิให้คนเหล่านี้อยู่ในโตนเลสาบต่อไป  ซึ่งปัจจุบันจะมีโรงเรียนของชาวเวียดอยู่  เป็นเรือนแพขนาดใหญ่มีสนามฟุตบอล   และมีชาวเวียดนามไป-มา หาสู่ หรือบางครั้งก็มาบริจาคสิ่งของกัน เป็นต้น) คนกัมพูชาที่มาอยู่ในโตนเลสาบ  มีทั้งพ่อค้าแม่ค้า ซึ่งเป็นคนกลางมารับซื้อปลาที่หาได้ในโตนเลสาบ  พ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้จะเป็นเพียงพ่อค้าคนกลาง เก็บปลาไว้ขายต่อกับคนต่างถิ่นที่มาซื้อปลา หรือบางคนก็ส่งตรงมาที่ตลาดโรงเกลือของประเทศไทย  ส่วนมากกลุ่มนี้จะมีคนขนปลาที่อยู่ในสังกัด 4-5 ครอบครัวต่อหนึ่งเจ้าของ  ซึ่งเป็นคนกัมพูชาเป็นส่วนใหญ่  พ่อมีหน้าที่ขนปลา ลูกกับเมียก็หารายได้จากการขายของที่ระลึกบ้าง ขอเงินบ้าง   อีกกลุ่มหนึ่งคือเป็นคนที่มาหาปลาให้ฤดูน้ำแห้ง  คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี คนเหล่านี้จะอพยพมาจากเมืองต่างๆในชนบท บางครั้งหาปลาไม่ได้ แม่กับลูกก็ออกขอเงินนักท่องเที่ยวตามรถบัสที่มาจอด  เป็นภาพที่พวกเราก็เห็นจนชาชิน  บางครั้งนักท่องเที่ยวก็ตะวาดใส่บ้าง ไล่บ้าง  ถ้าไม่ให้ก็บอกกับเขาดีก็ได้....จนกลายเป็นที่รำคาญของคนทั่วไป  กลายถูกมองว่าเป็นขยะสังคม....มันไม่ยุติธรรมต่อเขาเหล่านั้นแน่นอน

 

 

        สำหรับที่เมืองพนมเปญ ที่มีโอกาสไปเยี่ยมเยืยนมาก  สนามหญ้าหน้าพระราชวังก็เป็นจุดหนึ่งที่กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนขอเงินใช้เป็นที่อาบน้ำ และหลับนอน  ในตลาดของเมืองหลวงพนมเปญกบที่จอดรถบัส จะพบเจอแม่และเด็กที่อุ้มเด็กด้วยภาวะของการขาดสารอาหารมาเดินเคาะกระจกขอเงิน หรือบางคนก็เดินตามนักท่องเที่ยวที่เข้าไปซื้อของ   สำหรับบางคนก็จะหงุดหงิดกับภาวะแบบนี้  สำหรับครูจะหันไปถามว่ามาจากเมืองอะไร ไกลไหม อยากไปเยี่ยมบ้าน พูดไทยได้ไหม เคยมาเมืองไทยไหม  สามีทำงานอะไร  ช่วยพาไปบ้านหน่อยได้ไหม  ครูมีแต่ขนมับนม ไม่มีเงินหรอกเอาไหม  สุดท้ายก็หยิบนมดื่มกิน  แล้วก็พกันหนายไป คำถามคือการพัฒนาของประเทศมากกว่า  ว่าพัฒนาแบบเท่าเทียมกันจริงไหม   หรือจะบอกว่าเห็นแต่กลุ่มผู้มัอันจะกินที่เดินใช้เงินในห้างสรรพสินค้า   แล้วกล่าวบอกว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่คนของกัมพูชา  คนในกัมพูชามีเพียง 3,000 คนทั่วประเทศเท่านั้นที่เร่ร่อนขอทาน  เป็นคำกล่าวของรัฐบาลกัมพูชา ในงานสัมมนาเวทีนานาชาติทุกแห่ง..






        ในเมืองสวายเรียง เป็นเมืองท่าที่จะข้ามไปประเทศเวียดนาม ซึ่งมีเด็กชาวกัมพูชาที่ขายสินค้ากึ่งขอเงินจำนวนมากจริง  ระหว่างทีนั่งเรือข้ามฝั่งเด็กเหล่านี้ก็อาศัยเกาะเรือมาขอเงินบนเรือ โดยการเคาะกระจกรถตู้ หรือรถบัส  ได้บ้างไม่ได้บ้าง  แต่ก็สนุกสนานด้วยการกระโดนน้ำ สำหรับครู เป็นการเรียนรู้ของคนที่จะเอาชีวิตอยู่รอด เป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้บริหารประเทศที่ต้องจัดการศึกษาให้เด็กทุกคนให้เด็กได้เข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล  การทำเอกสารเรื่องบัตรประชาชน กับมีชื่อในทะเบียนบ้าน  ซึ่งสภาพความเป็นจริงคนเหล่านี้กลับไม่มีอะไรในประเทศ เมื่อหลบออกมาก็กลายเป็นภาระของประเทศปลายทางที่จะให้อยู่อย่างไรในสถานะไหน  หรือแม้แต่จะเป็นคนของประเทศอะไร  เป็นอีกเรื่องที่ต้องช่วยกันดูแลพลเมืองของอาเซียน  ให้เข้าถึงสวัสดิการของแต่ละประเทศ  ประเทศต้นทางก็ต้องรับผิดชอบร่วมกันคะ..