ดูแลลูกค้าดั่งพระเจ้า..
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
สำหรับประเทศเมียนมาร์ สำหรับผู้เขียนเองต้องบอกว่า เป็นคนที่ได้มีโอกาสไปเฉพาะตามตะเข็บชายแดน เช่นเมืองท่าขี้เหล็ก ก็ผ่านทางอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ก็พบกลุ่มเด็กเร่ร่อนที่ตามพ่อแม่มา ได้เห็นแม่เอาลูกน้อยผูกสะพายหลังเหมือนเป้ เดินขอเงินนักท่องเที่ยว รือบางคนก็นั่งระหว่างสะพานแม่สายที่เข้าไปฝั่งพม่า ช่วงหลังนี้เริ่มมีผู้สูงอายุ คนป่วยโรคเรื้อน คนพิการ ผู้ป่วย HIV คนพิการ ส่วนมากเป็นกลุ่มอาข่า มาขอทานที่สะพานแม่สาย บางคนบางครอบครัวถูกหลอกให้ไปทำงานในร้านคาราโอเกะ เคลื่อนย้ายสู่ตัวเมืองในจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ หาไม่เจอก็มี บางคนที่พบครูข้างถนนก็เข้าสู่บ้านนานา มูลนิธิบ้านครูน้ำ เด็กก็ไปเรียนหนังสือ เขียนแบบนี้มันง่ายแต่เวลาทำให้เด็กแต่ละคนได้เรียน ได้มีเอกสารช่างยากเหลือคณานับ
เด็กเร่ร่อนที่ริมเมย อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ก็เป็นอีกกลุ่มที่อพยพมาจากเมืองต่างๆในเมียนมาร์ ซึ่งบางครอบครัวมาไกลจากเมืองย่างกุ้ง เมืองเมาะละแมร่ง เมืองเมียวดี มีเด็กกับครอบครัวที่เร่ร่อนมาอาศัยอยู่ในแม่สอด ตั้ง ชุมชนหลังมัสยิด ส่วนมากเป็นชาวโรฮิงญา ที่เก็บขยะ ขอเงินตามตลาดและมาไกลทั้งขอเงิน ขายดอกไม้ ขายทิชชู่ ที่สุขุมวิทย 3 ซอยนานา จนถึงซอยคาวบอย และมีบางคนที่ถูกหลอกมา แต่เมื่อมีโอกาสได้พูดคุยครอบครัวเด็กกลับบอกว่าตั้งใจไปหาเงินเองเพราะมี ลุง ป้า น้า อา อยู่ที่คลองตัน และยังมีกลุ่มที่พาครอบครัวมาอาศัยที่เกาะกลาง เป็นแผ่นที่งอกออกมาระหว่างแม่น้ำเมย เกาะใหญ่พอสมควร ทั้งไทยและเมียนมาร์ต่างยืนยันป็นของประเทศตนเอง แต่คนที่อาศัยอยู่บอกได้เลยคะ ทำผิดกฎหมายกันทั้งนั้น ทั้งยา และของหนีภาษี ที่สำหรับมีกลุ่มเด็กเร่ร่อนอาศัยอยู่แน่นอน สำหรับเด็กเร่ร่อนวัยรุ่นที่เข้ามาหางานทำ ทาสี ขัด จักรยาน ซึ่งเป็นโกดังเก่า มีจำนวนจักรยานหลายแสนคัน ที่จอดให้เปลี่ยนแปลงโฉมใหม่ ในราคาที่ถูกกว่าในร้านมากมาย แต่มีของเก่าผสมของใหม่ ในหนึ่งคันอาจจะมีอะไหล่ทุกยี่ห้อมาประกอบใหม่ แสนเท่ แต่ราคาที่จ้างแรงงานเด็กเหล่านี้คันละ 20 บาท ถึงอย่างไรเด็กก็ต้องทำ ไม่ทำไม่มีกินอดตายแน่นอน เพราะไม่มีของฟรีระหว่างเด็กเร่ร่อน ของฟรีเหล่านี้จะตามถังขยะเท่านั้นเมืองชายแดนแบบนี้ ถังขยะก็คือพื้นที่ทองของคนทุกทุกข์ คนยากเหมือนกันหมด จึงเอาไว้ให้เฉพาะคนแก่ คนพิการ เด็กเร่ร่อนจึงต้องหางานทำเพื่อเลี้ยงชีพไปก่อน บางครั้งก็จะเห็นเด็กไม่ใส่รองเท้าเก็บขยะกันทั้งครอบครัว เป็นที่ทิ้งขยะของเทศบาล ซึ่งเป็นกองใหญ่มาก มีครอบครัวเร่ร่อนมาใช้ชีวิตอยู่จำนวนมาก โดยการคัดแยกขยะนำไปขายหากินเลี้ยงครอบครัว
สำหรับจังหวัดระนอง ผู้เขียนมีโอกาสตามคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไปพบมีเด็กเร่ร่อน ผู้ใหญ่เร่ร่อนที่ใช้ชีวิตบนถนนในตลาดและท่าเรือที่จะไปเกาะสอง สิ่งที่ได้พบคือมีเด็กเร่ร่อนที่ติดโรคเอดส์ ไม่ได้รับการรักษา และตัวเด็กเองก็ไม่ต้องการรักษาเพราะไม่มีญาติที่จะดูแล ซึ่งก็เป็นปัญหาอีกประเด็นของเด็กเร่ร่อน
การเดินทางไปเมียนมาร์เอง ซึ่งเป็นความตั้งใจที่จะเรียนรู้วิถีชีวิตของคนบนถนน ในอาเซียน ประเทศเมียนมาร์จึงถูกกำหนดให้เป็นประเทศแรกๆ ไม่อยากเดินทางไปกับทัวร์จะไม่มีโอกาสได้เห็นสิ่งที่ครูอยากเห็น จึงมีกลุ่มที่อบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงจัดเป็นกลุ่มที่ใช้การแบกเป้ ใช้การเที่ยวแบบอ่านในหนังสือ เดินทางแบบชาวเมียนมาร์ จึงมีการกำหนดกันขึ้นคราวๆ เริ่มตั้งแต่ เมืองย่างกุ้ง ที่เมืองนี้ มีกลุ่มครอบครัวที่มาขอทานมากันเป็นครอบครัว โดยเฉพาะที่สถานท่องเที่ยวของเมือง ที่หลวงพ่อทันใจ วันที่ครูไปวันนี้เป็นวันพระ มีทั้งคนมาเที่ยวแต่มีกลุ่มครอบครัวที่มาขอเงินจำนวนหนึ่งหลายครอบครัวที่นั่งหลบ โดยการใช้เด็กให้ออกมาขอ
แต่สำหรับในตลาดหรือถนนทั่วไปที่เราพบ คือมีเด็กเร่ร่อนจำนวนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ จะเห็นการเก็บขยะมาขาย เห็นเด็กถือถุงกาว3เค อย่างเปิดเผย วิ่งไล่กันตามท้องถนน หรือหลบตามท่อ ทางเมืองย่างกุ้งกำลังมีการก่อสร้างจำนวนมาก มีท่อระบายจำนวนมาก เด็กจึงใช้เป็นที่นอน คุยกับแม่ค้าในตลาดทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กเหล่านี้ไม่มีเงินไปโรงเรียน เคยชวนเด็กเหล่านี้ไปบวชเป็นสามเณรเด็กอยู่ไม่ได้ เพราะมีกฎระเบียบ ห่วงครอบครัวว่าหายไปหนึ่งคน ครอบครัวเด็กก็เดือดร้อน อย่างน้อยเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ยังอยู่ถึงจะไม่ได้นอนบ้าน ไม่มีบ้านอาศัยตามถนนหรือตามตลาดนอนก็ยังเห็นแม่กับน้องในสายตา เวลาไปหาอะไรมาได้ทั้งข้าว หรือเศษผัก เศษผลไม้ก็ยังมาแบ่งปันกันตามประสา เสียงของน้องเทิน...เล่าขานด้วยสำเนียงภาษาพม่า มีหนุ่มน้อย เมิน.เป็นคนแปลจากภาษาพม่า มาเป็นไทย เป็นคนขายโรตี ที่เคยมาทำงานก่อสร้างในเมืองไทย เมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ได้รายได้ดีแต่ต้องรู้จักเก็บเงินมาสร้างบ้าน ส่งน้องเรียน แล้วตัวน้องเมินเองก็ซื้อรถพร้อมอุปกรณ์การขายโรตี ซึ่งเมิน..บอกว่าคนไทยใจดี ให้งานเขาทำ รักพระเจ้าอยู่หัว และพระราชีนี ถ้ามีโอกาสอยากกลับมาทำงานอีก แต่ตอนนี้ต้องดูพ่อกับแม่ที่สูงอายุ
การเดินทางท่องเที่ยวครั้งนี้ ใช้การนั่งรถประจำทางจากเมืองย่างกุ้ง มาที่เมืองพุกาม เมืองทะเลเจดีย์ ในความรู้สึกของผู้เขียนบอกได้เลยว่าชอบมาก รุ่งเช้าของวันเรามีแขกรับเชิญเด็ก เด็ก ที่มายืนคอยพวกเราหน้าที่พัก พร้อมด้วยโปสการด์ เด็กจะวาดโปส์การด์ด้วยดินสอตามประสาเด็ก แต่ใส่ซองเรียบร้อย มีรถม้าจำนวน 6 คันที่มาคอย เด็กเหล่านี้เกาะรถม้ากันคนละหนึ่งคัน เรียกว่าเดินตามไปทุกที ตอนแรกเริ่มใจอ่อนแล้วที่จะซื้อโปส์การ์ด ถ้าไม่ได้ไปดูแหล่งผลิตที่เป็นฝีมือของผู้ใหญ่แล้วให้เด็กออกไปขาย เห็นด้วยความบังเอิญ ถ้าคณะพวกเราชอบเที่ยวนอกกรอบอะไรที่เขาจัดให้ดูไม่อยากดูอยากดูอะไรที่ซ่อนอยู่ในซอกซอยต่างๆ บังเอิญรถม้าพาไปที่ขายอัญมณีเป็นร้านเล็กที่อยู่ข้างวัด คนที่ชอบก็ดู แต่ผู้เขียนเดินเลยไปยังซอยเล็กข้างวัด มีผู้ใหญ่ประมาณ 7 คน กันนั่งเขียนภาพ เห็นเด็กบางคนเข้าแถวเอาเงินมาส่งเจ้าของร้าน แล้วก็ได้ค่าจ้างกันไป เด็กบางคนก็มาเอาแผ่นโปส์เตอร์เพิ่มขึ้น เพื่อไปขายตามวัดต่างๆ คิดว่าฝีมือเด็กที่แท้ฝีมือผู้ใหญ่ เด็กเป็นแค่รับจ้างขาย....นี้ใช้แรงงานเด็กกันชัด ชัด เอาเปรียบเด็กด้วย เด็กถึงได้หาเทคนิคการขายของให้ได้ ตื้อเท่านั้นที่จะได้เงิน
วันรุ่งขึ้นในฐานะนักท่องเที่ยวสะพายเป้ก็ถีบจักรยานกันแต่เช้า แต่ละคนบางคนก็มาเดินเที่ยวตลาด บางคนก็เดินเล่น แล้วคณะก็นัดกันว่ากินอาหารพื้นเมืองสักมื้อก่อนการเดินทางต่อกัน ก็เตรียมกระเป๋า เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่าง แล้วเดินไปร้านอาหารเช้า ซึ่งมีลูกค้าจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนก็มาเพื่อขึ้นรถเที่ยวแรกในการเดินทางไปมัฑนะเลย์กัน พวกเรารอให้รถคันแรกออกไปก่อน เพื่อรอที่ว่างด้วย เมื่อได้ที่ว่างก็จะเป็นกาแฟ กับขนมปังทอดหรือปิง แล้วชานมแบบพม่า พร้อมโรตีที่กำลังปิ้งออกมาจากเตา ซึ่งนักท่องเที่ยวอื่นก็กินกันอย่างนี้ สิ่งที่เตือนมาตลอดการเดินทางระวังท้องเสีย แต่พวกเราเช้านี้ก็ต้องฝากท้องไว้ร้านนี้แหละแน่นอน ทำใจในการที่จะหาอาหารเช้าก่อน เพราะการเดินทางไกลไม่มีอะไรแน่นอนว่าจะมีกินหรือไม่
พนักงานเสริฟมารับออเดอร์จากพวกเราไปด้วย โรตีพร้อมชานมคนละหนึ่งชุด พวกเรา 8 คนได้มาเพียง 3 ชุด แต่สุดท้ายก็ได้ครบเพราะลูกค้ารายอื่นๆเขาออกจากร้านหมดแล้วเหลือแต่พวกเรา มีคนชอบถามว่าการจะดูว่าเป็นเด็กเร่ร่อนหรือไม่ให้ดูอะไร บอกว่าดูที่รองเท้า แต่ใช้ไม่ได้กับสถานที่ทางศาสนาของเมียนมาร์เพราะทุกแห่งต้องถอดรองเท้าแล้วหิ้วไปด้วย หรือจะให้ว่างอยู่ก็ได้ แต่หายไม่มีใครรับผิดชอบ พอพนักงานเสริฟเป็นหนุ่มน้อยอายุประมาณ 14-15 ปี สื่อสารภาษาอังกฤษปนภาษาเมียนมาร์ แบบฉันจัเสริฟแบบนี้จะกินหรือไม่ ไม่สนใจ ร้านฉันมีแบบนี้ หนุ่มน้อยสูงประมาณ 160 เซ็นติเมตร ผิวดำแดง หน้าทาด้วยแป้งทาคายาเป็นวงกลมตรงแก้มน่ารักขับสีผิวได้ดี มองไปที่รองเท้าไม่ใส่รองเท้า ผู้เขียนเดาว่าถ้าใส่รองเท้าแล้วเวลาเสริฟของคงวิ่งไม่ถนัด เพราะทั้งร้านมีพนักงานเสริฟเพียงเด็ก 2 คน คนที่เข้าในช่วงเช้าประมาณกว่า หนึ่งร้อยคนที่หมุนเวียนตลอดกินเสร็จก็ออกไปขึ้นรถ มองไปที่นิ้วมือเล็บดำมากแต่ตัดสั้นมาก โค้งน้อมรับคำสั่งอย่างนอบน้อม เสียงเจ้าของร้านสั่งอย่างโวยวายมาก ให้สองหนุ่มนำสิ่งของไปเสริฟซึ่งเขาแยกร้านเป็นส่วนๆ เด็กหนุ่มก็ต้องบอกว่าวิ่งเร็วมาก พร้อมรับออเดอร์ทุกคน แต่ไม่ได้ในสิ่งที่สั่ง แล้วแต่เขาจะเอามาให้ จนสุดท้ายพวกเราก็อิ่มเตรียมตัวออกทางในการเรียนรู้ในเมืองต่อไปของเมียนมาร์ ให้หวนคิดถึงว่า กลุ่มเด็กเร่ร่อน กลุ่มเด็กใช้แรงงาน..สิ่งทีผู้เขียนเห็น คือการดูแลลูกค้า..ดังพระเจ้าจริงๆ ที่จะทำให้นักท่องเที่ยวดึงเงินออกมาจากกระเป๋าแลกกับสินค้าของเด็กเร่ร่อน เงินเหล่านี้คือนำไปเลี้ยงครอบครัว หรือบางคนก็อาจนำไปเล่นเกมส์ แต่อย่างน้อยสุดคือ เด็กเร่ร่อน..ก็ทำงานหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว...