การทำงานช่วยเหลือผู้สูงอายุบนถนน
ผู้สูงอายุหมายถึงใคร เป็นคำถาม ถ้าจะหาคำตอบตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย ซึ่งต้องบอกว่าถ้าเป็นไปตามความหมายเหล่านี้ประเทศไทย มีอัตราผู้สูงอายุที่มากกว่า 60 ปีถึง 10 เปอร์เซ็นต์ และกลุ่มที่อายุมากกว่า 65 ปีถึง 8 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนประชากรทั้งหมด โดยปรกติแล้วประเทศจะเผชิญ “การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ” เมื่อประชากรผู้สูงอายุมีอัตรามากกว่า 7 เปอร์เซ็นต์ และเป็น “สังคมผู้สูงอายุ” เมื่อมีอัตราถึง 14 เปอร์เซ็นต์ ตามหลักเกณฑ์นี้ ประเทศไทยจึงอยู่ในขั้นต้นของ “การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ”
และถ้าเป็นไปตาม มาตรา 11 ของพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเหล่านี้มีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆดังนี้คือ
(1) การบริการทางการแพทย์ และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุ เป็นกรณีพิเศษ
(2) การศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
(3) การประกอบอาชีพ หรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม
(4) การพัฒนาตนเอง และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน
(5) การอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ หรือการบริการสาธารณะ
(6) การช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะ หรือการบริการสาธารณะ
(7) การยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ
(8) การช่วยเหลือผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือการถูกแสวงหาประโยชน์ โดยมิชอบด้านกฎหมาย หรือการถูกทอดทิ้ง
(9) การให้คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี หรือในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว
(10) การจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง
(11) การจ่ายเงินเบี้ยงยังชีพเป็นรายเดือนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
(12) การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี
(13) การอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
แต่สำหรับการทำงานของโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก กลับพบกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ใช้ถนนเป็นการดำเนินชีวิต เมื่อปี 2555 ทางโครงการครูข้างถนน ได้พบผู้สูงอายุทั้งสิ้น จำนวน 46 คน ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม จนถึงเดือนกรกฏาคม 2556 ได้พบผู้สูงอายุบนถนน จำนวน กว่า 42 คน พื้นที่ในกรุงเทพที่โครงการฯพบมากที่สุด หน้าห้างพันธุ์ทิพพล่าซ่า ประตูน้ำ หน้าเซ็นทรัลเวริด์ หน้าสยามพารากอน มาบุญครอง และอนุสาวรีย์ จากการทำงานจึง ขอแยกผู้สูงอายุบนถนน หรือผู้สูงอายุทำมาหากินบนถนน ออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน
1. ผู้สูงอายุทีมีการเจ็บป่วย แต่ใช้ถนนเป็นที่หลับนอนและหาเลี้ยงตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มที่ป่วยทางสุขภาพจิต กลุ่มที่ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเหล่านี้จะมีการติดพื้นที่ จะปฏิเสธในการที่ต้องไปรักษาพยาบาลหรือการเข้าไปอยู่ยังสถานคนไร้ที่พึ่งของรัฐ หรือสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน และมีบางคนที่เจ็บป่วยแต่ต้องออกมาขอทานเพื่อนำเงินเหล่านี้มาเลี้ยงลูกหลาน ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณยายทองใบ(นามสมมุติ) ที่มาใช้ชีวิตที่ทางขึ้นสถานรถไฟฟ้า โดยคุณยายจะนั่ง มีคนที่เดิน-พาไปพามาให้เงิน แต่เงินเหล่านั้นจะไปเป็นค่าเช่าบ้าน นมหลานบ้าง แต่คุณยายป่วยซึ่งจะมีการแพ้แสงแดดเพราะผิวหนังจะเรื้อรังค่ะ แม่ค้าที่ขายสินค้าบริเวณนั้นเคยเราให้พวกเราฟังว่า ลูกหลานไม่สนใจเลย ชอบเอาคุยายมานั่งตรงนี้แล้วถึงเวลาก็จะมารับกลับไป ซึ่งควรจะมีการจัดการลูกหลานที่ใช้คุณยาย
2.ผู้สูงอายุที่นำสินค้ามาขาย ซึ่งได้มีโอกาสพูดคุยคนเหล่านี้ มาจากอำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะมีผลิตภัณฑ์สินค้าของชาวบ้านมาขาย ได้แก่ รองเท้า ตระกร้า กระจาด ตัวกวาง ช้าง พัด เป็นต้น โดยส่วนมากจะมาเดือนละ 2 อาทิตย์ติดกันหรือเมื่อขายสินค้าหมดก็จะกลับ การเดินทางใช้การเดินทางโดยทางรถไฟ(รถไฟฟรี ตามนโยบายของรัฐบาล) ส่วนการพักในกรุงเทพจะพักที่วัด แถวๆบางซื่อ โดยมีศาลาที่พักและห้องน้ำ โดยผู้สูงอายุแต่ละท่านจะจ่ายเป็นการสนับสนุนช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ ส่วนการเดินทางทุกคนตอนเช้าจะออกจากวัดโดยกระจายตัวไปขายสินค้าของตนตามสถานที่ต่างๆ เช่น พื้นที่ตลาดนัดจตุจักร คลองหลอด พัฒนพงษ์ สยาม หน้าประตูน้ำ อนุสาวรีย์ แล้วแต่ละที่ที่เคยไปขายได้ โดยส่วนมากจะเน้นขนของขึ้นเมล์ฟรีเป็นส่วนใหญ่ จะเน้นการประหยัดเพราะเงินที่ขายได้จะนำกลับไปซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่จะทำสินค้า บางครั้งก็จะมีลูกหลานตามมาด้วย แต่โอกาสที่จะเป็นคนเร่ร่อนเป็นถนนก็มีสูง เพราะบางคนก็จะไม่กลับบ้านที่ชนบทโดยการใช้ชีวิตขอทานเป็นหลัก
3.ผู้สูงอายุที่ขายท๊อฟฟี่ ขายดอกไม้ หรือตาชั่งชั่งน้ำหนัก หรือมาร้องเพลงข้างถนน(ศิลปินข้างถนน) ส่วนมากผู้สูงอายุเหล่านี้จะพักในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะออกมาเป็นครั้งคราว โดยส่วนมากผู้สูงอายุเหล่านี้บางคนก็อยู่ตามลำพัง โดยการหาเลี้ยงตนเองหรือบางครอบครัวก็มีลูกหลานที่เจ็บป่วย ป่วยเป็นโรคทางสุขภาพจิตเป็นหลัก บางรายไม่มีเอกสารทางทะเบียน
กรณีของคุณยายทองย้อย เป็นผู้สูงอายุที่มีตาชั่งมานั่งน้ำหนัก(ขอทาน) ที่หน้าพันธุ์ทิพพล่าซ่า เป็นเวลากว่าปีกว่า มีผู้คนที่สงสารได้ให้เงินเป็นรายเดือนเป็นค่าเช่าบ้าน สำหรับค่าใช้จ่ายก็จะจากผู้คนที่ชั่งตาชั่งส่วนใหญ่ไม่ชั่งแต่ให้เงินคนละประมาณ 20 บาท เป็นครั้งคราว และมีอาสาสมัครเวลาคุณยายเดินทางมาที่สะพานลอย คุณยายจะมารถเมล์ ส่วนข้างกลับไปชุมชน คุณโอ๋(เป็นชื่อเล่น)ไม่เปิดเผยชื่อจริงจะเป็นผู้ส่งค่ารถแท็กซี่ พร้อมซื้ออาหารให้เป็นประจำ โครงการครูข้างถนน ได้ลงไปพบและดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1.พบคุณยายทองย้อย อินทบุตร ซึ่งครั้งแรกที่พบประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีโอกาสพูดคุยกัน ถามชื่อ ซึ่งครั้งแรกคุณยายไม่ได้เล่าเรื่องต่างๆให้ฟังมากเท่าไร วันนั้นมีเทศกิจมาไล่จับคนที่มาขอทานบนสะพานลอย แต่คุณยายไม่ถูกจำไปด้วย โดยให้เหตุผลว่าคุณยาย ทำอาชีพตาชั่งน้ำหนัก ซึ่งตาชั่งน้ำหนัก คุณโอ๋ที่เป็นอาสาสมัครซื้อให้ใหม่ คุณโอ๋เป็นผู้ช่วยที่ดูแลคุณยายเวลา คุณยายมาที่สะพานลอย โดยจะพาไปห้องน้ำ ฝากสิ่งของที่คุณยายไม่ได้เอากลับไปชุมชน ดูแลไม่ให้ใครมาจับหรือบังคับเอาเงินจากคุณยาย พร้อมทั้งจ่ายค่าเช่าบ้านเป็นรายเดือนให้
2.ครั้งที่สองประมาณเดือนมีนาคม ,เมษายน,พฤษภาคม,มิถุนายน ช่วงนั้นพบคุณยายเป็นครั้งคราว โดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง คุณยายจะมาไม่ตรงกับวันที่ครูจิ๋วลงพื้นที่ แต่ได้ประสานงานกับคุณโอ๋ ตลอดว่าคุณยายเป็นอย่างไร โดยเฉพาะเรื่องการไปหาหมอที่รักษาโรคกระดูกพรุน โรคไต เพราะคุณยายจะมีอาการปวดมาก และรักษาต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงนั้นคุณยายเริ่มบอกความต้องการที่อยากมีบัตรประชาชน โดยคุณยายไปบอกกับทางโรงพยาบาลราชวิถีว่า ชื่อนางปราณี อินทบุตร (เป็นชื่อสมมุติขึ้น)เวลาที่ไปขอความอนุเคราะห์ในเรื่องยาและการรักษา ในช่วยนี้ได้มอบหมายให้คุณครูพงษ์(ธนรัตน์ ธาราภรณ์) ลงพื้นที่ประสานงานกับคุณยายแต่ก็คลาดกัน
3.คุณโอ๋ ได้โทรบอกครูจิ๋ว ว่าคุณยายทองย้อย มาที่สะพานลอยพันธุ์ทิพ จึงประสานงานกับทางโครงการสถานีสัญชาติ เป็นงานอีกโครงการหนึ่งของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ก็เริ่มที่จะดำเนินการในกระบวนการทพเอกสารแสดงตัวตน
-โดยทางครูบุ๋ม (นางเบญญสิริ ผิวเมืองปัก) ทำบันทึกประวัติการสืบค้น การซักถามข้อเท็จจริงของคุณยายทองย้อย และในวันนั้นเราก็มีโอกาสไปเยี่ยมบ้านของคุณย้าย ที่ในชุมชนโรงปูน(อยู่เกือบถึงสี่แยกคลองตัน) เป็นชุมชนติดรางรถไฟ โดยคุณยายได้เช่าบ้านหลังที่ทางเจ้าของบ้านไม่ได้มีการปรับปรุง หลังคารั่ว(สังกะสีรั่งทุกแผ่น)มองไปเห็นท้องฟ้า เวลาฝนตกจะหยดลงมา ซึ่งน่าเป็นห่วงมากคือกลัวไฟฟ้าซ๊อก ครูทุกคนที่เห็นแล้วบอกกับคุณยายว่าไปอยู่ในหน่วยงานอื่นเถิด ทางคุณยายเองก็ไม่ยอมเพราะเป็นห่วงลูกชาย คุณยายทองย้อย มีลูกชายที่ป่วยเป็นสุขภาพจิต เนื่องมาจาการติดยาตั้งแต่วัยรุ่น ประธานชุมชนสร้างบ้านให้ลูกชายอยู่ต่างหาก ซึ่งแม่จะเป็นภาระเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นให้ แต่เมื่อชายมีอาการป่วยก็จะต้องส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งก็จะเป็นช่วงๆ หรือบางครั้งลูกชายก็จะหายจากบ้านออกไปเป็นอาทิตย์แล้วก็จะกลับไปเดินไปเรื่อยๆซึ่งคุณยายก็จะห่วงมาก มีหลายหน่วยงานที่อยากช่วยเหลือยายให้ไปอยู่ที่เหมาะสม ยายก็จะบอกทุกครั้งว่าไม่ไปไหนทั้งนั้น และยังพึ่งตนเองได้ ทั้งเรื่องอาหารหรือยาที่ต้องรับรับประทาน โดยเฉลี่ยสัปดาห์คุณยายจะออกมาบนถนน 2-3 วันเท่านั้น เพราะการเดินทางลำบากมากและเดินทางไกลโดยใช้รถเมล์ การประเมินเคสแล้ว คือที่จะต้องให้ความช่วยเหลือระยะยาว และทำความเข้าใจกับคุณยายทองย้อย อย่างต่อเนื่อง และใช้ความจริงใจในการทำงาน
-การทำเอกสารเริ่มต้น โดยทางครูบุ๋มและครูพงษ์ พร้อมด้วยนักเรียนนายร้อยสัมผัสปัญหาชุมชน จำนวน 4 ท่าน ได้เรียนรู้การทำงานเรื่องเอกสาร คือการพาคุณยายไปที่บ้านเกิดจังหวัดเพชรบุรี เริ่มด้วยไปค้นชื่อคุณยายทองย้อยที่โรงเรียนเคยเรียนมา เพื่อนๆคุณยายยืนยันและทักทายเพราะคุณยายทองย้อยออกจากบ้านมานานมากแล้วไม่เคยกลับไปที่จังหวัดเพชรบุรีอีกเลย ไม่พบชื่อในทะเบียนที่โรงเรียน แต่ทราบว่ายังมีพี่ชายอยู่ อีกอำเภอหนึ่ง ก็ไปค้นชื่อที่อำเภอ ชื่อคุณยายทองย้อยไม่มี เพราะออกจากพื้นที่ก่อนที่จะมีการสำรวจ คณะจึ่งพากันไปที่บ้านพี่ชาย ความผูกพันระหว่างพี่กับน้องแทบจะไม่มี แต่พี่ชายบอกว่ายังมีพี่สาวที่คอยทำเอกสารให้กับทุก อยู่ในกรุงเทพมหานคร แถวบางกะปิ อย่างน้อยก็ได้เบาะแสในการจะสืบค้นต่อ
-ครูบุ๋มกับครูพงษ์ ได้ประสานงานกับพี่สาวของคุณยายทองย้อย ในเรื่องการับรองว่าเป็นพี่น้องกันจริง ได้มีการพบกันระหว่างพี่สาวกับน้องสาว ทางคณะครูก็พยายามที่จะพูดคุยและดูแลซึ่งกันและกัน แต่ลึกๆๆถ้าจะมีปัญหาระหว่างกันอยู่ระหว่างเครือญาติ ทางครูจึงเพียงแต่ให้มีการตรวจ DNA ส่วนเรื่องระหว่างครอบครัวให้ทั้งสองไปดำเนินการกันเอง ระยะเวลาการตรวจ DNA และรอการยืนยันใช้เวลากว่า 3 เดือน ผลตรวจออกมาว่าเป็นพี่น้องกัน
-หลังจากผลตรวจออกมาก็นำไปดำเนินการยังสำนักงานเขตห้วยขวาง ในการทำบัตรประชาชน และเข้าทะเบียนของเจ้าของบ้านเช่าในชุมชนก่อน คุณยายทองย้อย อินทบุตร ได้บัตรประชาชนเป็นคนไทย ที่เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์แบบ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556 สำหรับการขึ้นทะเบียนเบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ เพียงแค่ขึ้นทะเบียนไว้ก่อน จะต้องรองบประมาณปี 2557 (ตุลาคม 2556) ในระหว่างเดือนมกราคม เป็นต้นมา คุณยายทองย้ายก็ยังต้องมาหาเลี้ยงชีพที่ถนนเหมือนเดิมก่อน ก่อนที่จะได้เบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาท ซึ่งทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ได้ดำเนินการช่วยเหลือเรื่องเอกสารทางสถานะของ คุณยายทองย้อย อินทบุตร ได้บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน ซึ่งใช้กระบวนการสืบค้น หารากเหง้า การสอบถามเข้าไปในชุมชน พร้อมทั้งการตรวจ DNA ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 13 เดือน ซึ่งครูข้างถนนกับโครงการสถานีสัญชาติร่วมกันทำงานเรายังเชื่อมั่นว่ายังมีคนเหล่านี้อยู่อีกจำนวนมากที่ยังไม่มีเอกสารแสดงสถานะตัวตน
4.การทำงานกับคุณยายทองย้อย อินทบุตร ทางโครงการครูข้างถนน มีเป้าหมายที่ต้องการให้คุณยายอยู่ในสถานที่ปลอดภัย ดูแลสุขภาพตนเอง และไม่ต้องมาขอทานบนถนนอีก เป็นสิ่งที่ทางโครงการฯและอาสาสมัครต้อง แต่ในขณะระยะเวลา นั้นความต้องการของคุณยาย ยังต้องการอยู่ในชุมชนเหมือนเดิม ผนวกกับลูกชายของคุณยายกำลังอาวาดหนัก จึงมีการส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญาอีกครั้งหนึ่ง จนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 คุณยายทองย้อย ถูกจับไป แต่ไม่ทราบว่าหน่วยงานไหน ทางอาสาสมัคร(คุณโอ๋) โทรประสานงานกับทางครูจิ๋ว ,ครูพงษ์,ครูบุ๋ม ซึ่งในขณะนั้นทุกคนอยู่ต่างจังหวัดกันหมด จนประสานว่าคุณยายทองย้อย ถูกส่งไปที่สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่งปทุมธานี ทางโครงการฯก็ดำเนินการจะลงไปเยี่ยม ทางคุณลุงรัตน์(เป็นชาวบ้านในชุมชนโรงปูน) ที่ดูแลคุณยายอยู่ห่างๆโทรมาบอกเราว่า คุณยายถูกปล่อยออกมาแล้ว แต่ดูเหมือนคุณยายจำอะไรไม่ค่อยได้ ทางโครงการฯจึงมอบให้ครูพงษ์ลงไปเยี่ยม และพูดคุยกันอีกเรื่องการหาที่อยู่ คุณยายก็ฟังเฉยๆยังไม่มีการตัดสินแต่อย่างไร
5.เมื่อเดือนมิถุนายน 2556 ที่ผ่านมาครูจิ๋วลงไปพบคุณยายเองที่หน้าห้างพันธุ์ทิพพล่าซ่า แต่การพบครั้งนี้คุณยายทองย้อยมีสภาพร่างกายที่อ่อนอแป็นอย่างมาก มีอาการผ่ายผอมมาก แค่เดินลงสะพาน-ขึ้นสะพานต้องมีคนพยุงแล้ว จึงมีการโทรนัดหมายกับคุณโอ๋ เรื่องมาช่วยกันคุย หาทางเลือกให้คุณยาย พาคุณยายไปดูสถานที่ต่างๆก่อน แล้วค่อยมาตัดสินใจอีกครั้ง แต่ในระหว่างมีการลงเยี่ยมที่บ้านพักของคุณยายเป็นครั้งคราว เพื่อสงเคราะห์ให้อยู่ได้ก่อน
6.จนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556 คุณยายทองย้อยได้ตัดสินใจที่จะไปอยู่ในสถานที่ไหนก็ได้ จึงต้องเป็นภาระหน้าที่ของคณะครูโครงการครูข้างถนนที่ต้องหาสถานที่โดยด่วน เริ่มต้นครูพงษ์ประสานสถานสงเคราะห์แห่งหนึ่งที่เป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยมีขั้นตอนว่าต้องย้ายทะเบียนมาอยู่ในเขตปทุมธานี ทางโครงการฯประสานงานกับบ้านสร้างสรรค์เด็ก ขอย้ายทะเบียนบ้านคุณยายทองย้อย มาอยู่ในเขตบริการ ทางโครงการฯทำหนังสือประสานงานไปยังหน่วยงานสถานสงเคราะห์โดยตรง คำตอบคือ โดยปกติต้องใช้การขึ้นทะเบียนไว้สองปี ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังหาทางออกให้คุณยายไม่ได้ และให้ทำประวัติคุณยาย ต้องส่งไปให้คณะกรรมการพิจารณาว่าเข้าหลักเกณฑ์หรือไม่ ยังไม่มีคำตอบออกมา
-คุณยายเองก็เก็บข้าวของไว้หมดแล้วพร้อมที่จะย้ายออกจากชุมชนทันที คุณยายโทรหาครูพงษ์ทุกวัน วันละหลายครั้ง คนทำงานเองเครียดกันมากว่าจะหาทางออกอย่างไร ทางครูจิ๋วเองก็พยายามทุกวิถีทางในการประสานงานไปยังสำนักงานส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ หาคำตอบ คำตอบที่ได้มาว่า ทางสำนักงานมีหน้าที่ที่ทำเสนอนโยบาย ส่วนสถานสงเคราะห์จะมีอยู่ในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการและองค์การบริหารส่วนจังหวัดและท้องถิ่นต่างๆ ถ้าเป็นอย่างนี้ผู้สูงอายุที่อยู่ในหลักเกณฑ์ในการรับการสงเคราะห์ ตามระเบียบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ว่าด้วยการให้บริการผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 โดยคุณสมบัติผู้สูงอายุที่มีความประสงค์จะสมัครเข้าอยู่ในสถานสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1)เป็นบุคคลสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้น เกณฑ์ข้อนี้ชัดเจนมาคุณยายทองย้อย อินทบุตร ผ่านเกณฑ์นี้ เพราะตอนนี้อายุ 73 ปีแล้วและมีเอกสารแสดงตัวตนทั้งบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
(2) ต้องมีความสมัครใจ ข้อนี้ก็ผ่าน เพราะช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมาคุณยายทองย้อย เก็บเสื้อใส่กระเป๋าคอยอยู่แล้ว และโทรถามครูพงษ์ทุกวัน เป็นการยืนยันได้ว่า คุณยายทองย้อย สมัครใจแน่นอน
(3) ต้องไม่อยู่ในระหว่างต้องหาว่ากระทำผิดอาญา หรืออยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือถูกดำเนินคดีอาญา ข้อนี้ก็ผ่านเหมือนกันถ้ากลับไปดูมาตรา 11 ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ กรณีของคุณยายทองย้อย ต้องได้รับการสงเคราะห์ทันที เพราะที่อยู่ไม่เหมาะสม
(4)ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง คุณยายเป็นโรคกระดูกพรุน กับโรคไต(ระยะเริ่มแรก) ซึ่งก็ไม่ใช่โรคติดต่อ และคุณยายเองก็ยังช่วยเหลือตนเองในเรื่องส่วนตัว หรือช่วยงานสถานสงเคราะห์ได้เกณฑ์ข้อนี้ก็ผ่าน
(5) ต้องเป็นผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
ก.มีฐานะยากจน ข้อนี้ผ่านชัดเจนถ้าคุณยายไม่ขอทานก็ไม่มีเงินแน่นอน
ข.ไม่มีที่อยู่อาศัย บ้านเช่าที่ต้องจ่ายเดือนละ 500 บาท แต่สภาพแทบไม่ใช่บ้านเลย ไม่มีความั่นคง ปลอดภัยก็ไม่มี แถบด้วยน้ำเน่าส่งกลิ่นผู้สูงอายุอยู่มีแต่ไม่สบายแน่นอน
ค.ขาดผู้ดูแลและให้ความช่วยเหลือ ลูกไม่สามารถดูแลได้เพราะมีปัญหาเรื่องสุขภาพจิต ส่วนลูกอีกคนก็หาไม่เจอ
ง.ไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้ปกติสุข ในเมื่อไม่มีครอบครัวและคุณยายก็อยู่คนเดียวมาตลอด
จากเกณฑ์ที่พิจารณาทีละข้อคุณยายทองย้อย อินทบุตร ต้องได้รับการดูแลให้อยู่ในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุแห่งใดแห่งหนึ่งของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์
7.วันนี้ คือวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ครูจิ๋วก็เริ่มปฏิบัติการหาเครือข่ายที่จะเจาะไปยังผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงกับ สถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ในกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จึงใคร่หาผู้ที่ครูจิ๋วติดต่อและคุ้นเคย
-จึงเลือกที่จะประสานงานกับท่านรองอธิบดี นายวิทัศน์ เตชะบุตร ด้วยเหตุผลสองสามประการด้วยกันคือ ประการแรก ท่านเคยมาเป็นวิทยากรให้งานเรื่องเด็กเร่ร่อนของครูจิ๋ว ประการที่สอง ท่านเป็นกัลยาณมิตรในกับ โครงการผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รุ่นที่สอง ที่ครูจิ๋วเป็นผู้เข้าอบรมอยู่ และกำลังอยู่ในช่วงการทำโครงการพิเศษกับเพื่อนในกลุ่มหกคนด้วยกัน และรู้จักการทำงานที่ครูจิ๋วรับผิดชอบอยู่ ประการที่สามท่านสามารถประสานงานเครือข่ายได้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด จึงโทรศัพท์ขอความอนุเคราะห์และเล่ารายละเอียดให้ท่านฟัง
-เสร็จแล้วก็แจ้งความประสงค์ที่จะขอส่งผู้สูงอายุไปยังสถานสงเคราะห์ที่จังหวัดปทุมธานี ประมาณครึ่งชั่วโมง ก็ได้มีโอกาสคุยกับท่านผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ และเล่ารายละเอียดกรณีของคุณยายทองย้อย อินทบุตร พร้อมทั้งในช่วงบ่ายวันนี้ นักสังคมสงเคราะห์ลงไปที่ชุมชนโรงปูนที่คุณยายอยู่ พอเห็นสภาพบ้าน ทางนักสังคมสงเคราะห์ก็รับตัวมาทันที คุณยายทองย้อย อินทบุตร ได้เข้าไปอยู่ที่ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี สิ่งที่พวกเราต้องต่อคือการลงไปเยียมเยียนคุณยายและสมาชิกท่านอื่นด้วย และคงต้องทำโครงการอื่นต่อเนื่อง เพราะยังมีผู้สูงอายุอีกจำนวนมากที่อยู่บนถนน ยังไม่มีโอกาสได้รับสวัสดิการเหล่านี้
จากการทำงานของโครงการครูข้างถนน ในการช่วยเหลือผู้สูงอายุสักรายหนึ่งต้องใช้องค์ความรู้ ทำการทำงานทั้งตัวกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายการทำงานที่แต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ ความจริงจังจริงใจในการทำงาน แล้วก็กัดไม่ปล่อยในแต่ละกรณีที่ต้องให้ความช่วยเหลือ การทำงานครั้งนี้ใช้เวลาเกือบสองปีที่ทำให้ผู้สูงอายุหนึ่งคนได้รับโอกาส ถืออย่างเป็นกระบวนการทำงานของโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก