สถานการณ์ของคนบนถนนในเมืองใหญ่และกรุงเทพมหานคร
ด้วยการด้วยการพัฒนาประเทศ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ผลการพัฒนาเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนที่สูงขึ้น จนทำให้มีกลุ่มคนอีกจำนวนหนึ่งที่อาศัยบนถนนเป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว กลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มเปราะบางทางสังคมที่ทุกหน่วยงานต้องเข้ามาหาหนทางในการช่วยเหลือ ซึ่งได้แก่
1.กลุ่มคนพิการ ที่ออกมาร้องเพลงขอทาน ซึ่งมีทั้งการเดินขอเงิน พร้อมตั้งเป็นวงตามฟุตบาธข้างทาง ซึ่งจะมีบางคนที่มีบัตรชัดเจนในการประกอบอาชีพวนิพก ตามพระราชบัญญัติควบคุมคนขอทาน พ.ศ. 2484 แต่ก็ยังมีกลุ่มคนพิการอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับโอกาสขึ้นทะเบียนเป็นคนพิการ ได้รับเบี้ยยังชีพ เดือนละ 500 บาท แต่ความรับผิดชอบครอบครัว ที่ต้องออกมาหารายได้ ส่วนมากจะเป็นค่าใช้จ่ายส่งเสียให้ลูกเรียน และมีคนพิการบางกลุ่มที่มาจากสถานฝึกอบรม แล้วมาหารายได้โดยการร้องเพลงแลกเงิน มีคนพิการที่เป็นโรคเรื้อนออกมาจากสถานสงเคราะห์ที่จังหวัดสมุทรปราการจำนวนมาก
2.กลุ่มผู้สูงอายุ ที่ใช้ถนนเป็นการดำเนินชีวิต ในขณะนี้มีจำนวนมากและมีความหลากหลายของกลุ่มผู้สูงอายุ ขอแยกออกเป็น 3 กลุ่ม
-ผู้สูงอายุทีมีการเจ็บป่วย แต่ใช้ถนนเป็นที่หลับนอนและหาเลี้ยงตนเอง โดยเฉพาะกลุ่มที่ป่วยทางสุขภาพจิต กลุ่มที่ป่วยเรื้อรัง กลุ่มเหล่านี้จะมีการติดพื้นที่ จะปฏิเสธในการที่ต้องไปรักษาพยาบาลหรือการเข้าไปอยู่ยังสถานคนไร้ที่พึ่งของรัฐ และมีบางคนที่เจ็บป่วยแต่ต้องออกมาขอทานเพื่อนำเงินเหล่านี้มาเลี้ยงลูกหลาน ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณยายทองใบ(นามสมมุติ) ที่มาใช้ชีวิตที่ทางขึ้นสถานรถไฟฟ้า โดยคุณยายจะนั่ง มีคนที่เดิน-พาไปพามาให้เงิน แต่เงินเหล่านั้นจะไปเป็นค่าเช่าบ้าน นมหลานบ้าง แต่คุณยายป่วยซึ่งจะมีการแพ้แสงแดดเพราะผิวหนังจะเรื้อรังค่ะ แม่ค้าที่ขายสินค้าบริเวณนั้นเคยเราให้พวกเราฟังว่า ลูกหลานไม่สนใจเลย ชอบเอาคุยายมานั่งตรงนี้แล้วถึงเวลาก็จะมารับกลับไป ซึ่งควรจะมีการจัดการลูกหลานที่ใช้คุณยาย
-ผู้สูงอายุที่นำสินค้ามาขาย ซึ่งได้มีโอกาสพูดคุยคนเหล่านี้ มาจากอำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งจะมีผลิตภัณฑ์สินค้าของชาวบ้านมาขาย ได้แก่ รองเท้า ตระกร้า กระจาด ตัวกวาง ช้าง พัด เป็นต้น โดยส่วนมากจะมาเดือนละ 2 อาทิตย์ติดกันหรือเมื่อขายสินค้าหมดก็จะกลับ การเดินทางใช้การเดินทางโดยทางรถไฟ(รถไฟฟรี ตามนโยบายของรัฐบาล) ส่วนการพักในกรุงเทพจะพักที่วัด แถวๆบางซื่อ โดยมีศาลาที่พักและห้องน้ำ โดยผู้สูงอายุแต่ละท่านจะจ่ายเป็นการสนับสนุนช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ ส่วนการเดินทางทุกคนตอนเช้าจะออกจากวัดโดยกระจายตัวไปขายสินค้าของตนตามสถานที่ต่างๆ เช่น พื้นที่ตลาดนัดจตุจักร คลองหลอด พัฒนพงษ์ สยาม หน้าประตูน้ำ อนุสาวรีย์ แล้วแต่ละที่ที่เคยไปขายได้ โดยส่วนมากจะเน้นขนของขึ้นเมล์ฟรีเป็นส่วนใหญ่ จะเน้นการประหยัดเพราะเงินที่ขายได้จะนำกลับไปซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่จะทำสินค้า บางครั้งก็จะมีลูกหลานตามมาด้วย แต่โอกาสที่จะเป็นคนเร่ร่อนเป็นถนนก็มีสูง เพราะบางคนก็จะไม่กลับบ้านที่ชนบทโดยการใช้ชีวิตขอทานเป็นหลัก
-ผู้สูงอายุที่ขายท๊อฟฟี่ ขายดอกไม้ หรือตาชั่งชั่งน้ำหนัก หรือมาร้องเพลงข้างถนน(สิลปินข้างถนน) ส่วนมากผู้สูงอายุเหล่านี้จะพักในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะออกมาเป็นครั้งคราว โดยส่วนมากผู้สูงอายุเหล่านี้บางคนก็อยู่ตามลำพัง โดยการหาเลี้ยงตนเองหรือบางครอบครัวก็มีลูกหลานที่เจ็บป่วย ป่วยเป็นโรคทางสุขภาพจิตเป็นหลัก บางรายไม่มีเอกสารทางทะเบียน กรณีของคุณยายทองย้อย ซึ่งอาศัยที่ชุมชน โรงปูน โดยเช่าบ้านเดือนละ 500 บาท โดยมีผู้ที่ออกค่าใช้จ่ายให้ คุณยายทองย้อยป่วยเป็นโรคกระดูก โรคไต ซึ่งต้องมีการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ที่โรงพยาบาลราชวิถี (ไม่มีเอกสารแสดงตัวตนใช้ชื่อนางปราณี อุตตะยะ เป็นการรักษาตามหลักของการสงเคราะห์) มีลูกชายที่ป่วยเป็นสุขภาพจิต เนื่องมาจาการติดยาตั้งแต่วัยรุ่น ประธานชุมชนสร้างบ้านให้ลูกชายอยู่ต่างหาก ซึ่งแม่จะเป็นภาระเอาอาหารและสิ่งของจำเป็นให้ แต่เมื่อชายมีอาการป่วยก็จะต้องส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีธัญญา ซึ่งก็จะเป็นช่วงๆ หรือบางครั้งลูกชายก็จะหายจากบ้านออกไปเป็นอาทิตย์แล้วก็จะกลับไปเดินไปเรื่อยๆซึ่งคุณยายก็จะห่วงมาก มีหลายหน่วยงานที่อยากช่วยเหลือยายให้ไปอยู่ที่เหมาะสม ยายก็จะบอกทุกครั้งว่าไม่ไปไหนทั้งนั้น และยังพึ่งตนเองได้ ทั้งเรื่องอาหารหรือยาที่ต้องรับรับประทาน โดยเฉลี่ยสัปดาห์คุณยายจะออกมาบนถนน 2-3 วันเท่านั้น เพราะการเดินทางลำบากมากและเดินทางไกลโดยใช้รถเมล์ ซึ่งทางมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กกำลังดำเนินการช่วยเหลือเรื่องเอกสารทางสถานะของ คุณยายทองย้อย อุตตะยะ ได้บัตรประชาชน เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2556 ซึ่งใช้กระบวนการสืบค้น หารากเหง้า การสอบถามเข้าไปในชุมชน พร้อมทั้งการตรวจ DNA ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 13 เดือน ซึ่งครูข้างถนนที่ลงไปทำงานเรายังเชื่อมั่นว่ายังมีคนเหล่านี้อยู่อีกจำนวนมากที่ยังไม่มีเอกสารแสดงสถานะตัวตน
3.กลุ่มชาวเขาขายสินค้า เป็นกลุ่มชาวเขาเปาอาข่า กะเหรี่ยง ที่นำสินค้าที่ผลิตเองหรือบางอย่างก็หาซื้อจากตลาดเยาวราช พาหุรัด ซึ่งเป็นของเล่นของ หรือสินค้าจากประเทศจีน จะตระเวณขายให้กับนักนักท่องเที่ยวที่ พัฒนพงษ์ ซอยนานา อโศก (ส่วนมากจะเป็นปากีสถาน บังคลาเทศ ที่ขายดอกไม้ให้กับนักท่องเที่ยว ส่วนมากจะเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 2 ทุ่มจนถึง ตีสอง ซึ่งส่วนมากก็จะพักกันที่คลองตัน ซึ่งจะมีมอเตอร์ไซด์มารับ-ส่ง บางครอบครัวก็มีพ่อมาดูแลด้วย เป็นเฉพาะบางครอบครัว) สำหรับกลุ่มที่ขายสินค้าพัฒนพงษ์ และถนนข้าวสาร ส่วนมากจะเป็นชนกลุ่มน้อย ซึ่งมาเช่าบ้านแถวๆสามย่าน เมื่อถึงเวลาตอนกลางคืนออกจะเดินออกจากบ้านเช่าไปขายสินค้า ส่วนตอนกลางวันจะออกไปซื้อสินค้า หรือบางคนก็ปัก/ถัก หรือสาน สินค้าของตนเอง ที่จะนำไปขาย ส่วนมากจะเช่าบ้านอยู่กันเป็นกลุ่ม หรือบางครอบครัวก็มาทั้งครอบครัว มีลูกกลางวันไปเรียนหนังสือ ตอนเย็นก็จะมาช่วยครอบครัวขายสินค้า
4.กลุ่มเด็กนักเรียนที่มาหารายได้ในช่วงปิดเทอมหรือเสาร์ขอาทิตย์ ในขณะที่ความยากจนกับคนมีในสังคมไทยยิ่งห่างกันขึ้นทุกวัน ถึงแม้รัฐบาลชุดต่างๆพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาไม่ให้ช่องว่างทางรายได้ห่างกันมากนัก แต่เป็นไปไม่ได้เลย ครูข้างถนนยังพบเด็กที่มาหารายได้ในช่วงปิดเทอมมากมาย หรือบางคนมาในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ด้วยซ้ำ สิ่งที่เด็กหารายได้..เด็กเหล่านี้มีการเดินทางมาพร้อมกับคนในครอบครัว เช่น ตา ยาย ปู่ ย่า หรือ ป้า ของเด็กๆๆเหล่านี้ แต่บางรายก็จะมีแม่เด็กมานั่งอยู่ด้วย
(1) การยืนขอเงินโดยการใช้กล่องบริจาคที่เป็นกล่องกระดาษทั่วไปเจาะรูตรงกลาง แล้วแต่งชุดนักเรียนยืนตามทางขึ้นสะพานลอย หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส จะเห็นมากที่สถานีรถไฟฟ้าสยาม และที่หมอชิต บางครั้งครูข้างถนนหรือมีอาสาสมัครแจ้งพวกเรามาว่าพบเด็กเหล่านี้ที่สะพานลอยต่างๆในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง และบางกะปิ ซึ่งมีทั้งเด็กไทยและเด็กชาวกัมพูชา เป็นต้น
(2) กลุ่มที่เป่าแคนแลกกับเงิน ในปัจจุบันนี้เด็กกลุ่มนี้ที่สวนจตุจักรไม่ให้เข้าแล้ว เด็กจะอยู่บริเวณเชียรรังสิต หน้าห้างฟิวเจอร์พาร์ครังสิต เป็นต้น เริ่มมีเด็กต่างชาติที่เริ่มใช้กระบวนการเหล่านี้หาเงิน ซึ่งมีการจับกลุ่มเด็กและคนที่ซื้อเด็กมาจากตลาดโรงเกลือที่ลาดพร้าว 106 เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2555 จะเห็นได้ว่าคนต่างชาติ(โดยเฉพาะชาวกัมพูชา) กำลังเลียนแบบในการหาเงินเหมือนเด็กไทย
(3)กลุ่มที่เป่าขลุ่ย ส่วนมากใส่ชุดนักเรียน เป็นทั้งเด็กหญิงและเด็กชายส่วนมาก นั่งตากแดดบริเวณทางเดินเชื่อมระหว่างประตูน้ำ หน้าเซ็นทรัสเวริด์ ส่วนมากตามตายาย หรือปู่ย่า ที่มาขายสินค้าเด็กเหล่านี้จะทำงานโดยแลกกับเศษเงินของนักท่องเที่ยว และเป็นเด็กไทยด้วย เคยคุยกันถึงเรื่องทุนการศึกษา และการเรียนฟรีของเด็กหลายครั้งแล้ว แต่สิ่งที่เด็กตอบครูมาคือ พวกหนูต้องดูแลน้อง ดูแลครอบครัวด้วยค่ะ. อย่างน้อยคนในบ้านต้องอิ่มค่ะ..
5.กลุ่มครอบครัวเร่ร่อน คือกลุ่มที่เด็กเร่ร่อนอยู่กินกับเด็กเร่ร่อนกันเอง จนกลายเป็นครอบครัว มีลูกที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่ให้ลูกไปรับบริการ โดยครอบครัวของเด็กเร่ร่อนเหล่านี้เชื่อมั่นว่าจะเลี้ยงลูกได้ โดยไม่พึ่งพาหน่วยงานใดๆๆของรัฐ อย่างเช่นกรณี ของครอบครัวน้องฟ้า (นามสมุติ) มีลูกด้วยกัน 3 คน ซึ่งมีสามีที่เป็นตัวตนอยู่ประมาณ 3 คน แต่สามีที่เป็นเด็กเร่ร่อนอีกจำนวนหนึ่ง ในครั้งแรกน้องฟ้ามีลูกคนแรก สามีเป็นเด็กเร่ร่อนเหมือนกันมีลูกด้วยกันหนึ่งคน โดยกลางวันจะมาอยู่ที่ศุนย์สร้างโอกาสสวนลุมพินี ส่วนตอนบ่ายสามีจะเริ่มอาบน้ำแต่งตัวไปทำงาน ในช่วงหลังเวลากว่า 6 โมงเย็นเป็นต้นไปแม่ก็พาลูกลูกออกมาพร้อมข้างของที่นอน ที่หน้าสวนลุมพินีหน้าพระบรมรูป โดยครอบครัวน้องฟ้าจะนอนกับลูกที่หัวมุมมืดที่หน้าสวนลุมพินีจนกลายเป็นภาพชินตา ที่ยังใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ โดยบางครั้งในช่วงกลางคืนจะพาครอบครัวมานอนที่หน้าสวนลุมพินี หรือสะพานพุทธ มีเด็กมาด้วย
ในปัจจุบันมีครอบครัวเหล่านี้อาศัยตามพื้นที่ต่างๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 15 ครอบครัว ซึ่งในอนาคตพวกเขาเหล่านี้ก็จะกลายเป็นบุคคลไร้บ้านโดยสิ้นเชิง แล้วไม่พยายามที่จะปรับชีวิตและพฤติกรรมให้เหมือนคนใช้ชีวิตปกติทั่วไป แต่ที่สำคัญคือลูกหลานของคนเหล่านี้ที่จะไม่เข้ารับบริการใดๆที่รัฐมีให้ ปฏิเสธที่จะใช้ชีวิตบนถนน ซึ่งมองเรื่องเสรีภาพก็อาจะจะตอบว่าใช่ แต่ถ้ามามองประเด็กสิทธิของเด็ก เด็กเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเช่นกัน
6.เด็กเร่ร่อนวัยรุ่น ซึ่งมีทั้งเยาวชนหญิงและเยาวชนชาย ซึ่งยังใช้ชีวิตเร่ร่อนอยู่ตามที่ต่างๆ เช่น สะพานพุทธ หัวลำโพง จตุจักร ซึ่งยังไม่มีบ้านใดๆที่รับเด็กเหล่านี้ หรือเด็กและเยาวชนบางคนเคยอยู่ในหน่วยงานต่างๆมาแล้ว แต่ปัจจุบันอยากใช้ชีวิตที่เป็นอิสระ เด็กเหล่านี้บางคนเติบโตมาจากเด็กที่เคยเช็ดกระจกที่สี่แยก อ.ส.ม.ท. และแยกอโศก แต่ปัจจุบันกลายเป็นกลุ่มเร่ร่อนถาวร รวมตัวกันอยู่เป็นแก๊งค์ ซึ่งใช้อาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงตนเอง หลายวิธีการด้วยกัน
-ด้วยการก่ออาชญากรรม เช่น ลักขโมยสิ่งของ ปล้น หรือวิ่งราว มีเด็กเร่ร่อนบางส่วนที่ต้องเข้าสู่กระบวนการทางสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เมื่อพ้นการฝึกอบรมเยาวชนเหล่านี้ก็ไม่รู้จักทำอะไรก็ยังคงมาใช้ชีวิตบนถนนเหมือนเคย ชีวิตที่หลักลอย ไม่มีที่อยู่อาศัย และที่สำคัญคือไม่ต้องการที่จะปรับตัวด้วย
-กลุ่มที่เต็มใจในการขายบริการทางเพศ ซึ่งมีเกือบทุกพื้นโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครและพื้นที่พัฒนพงษ์ พัทยา ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย อุดรธานี เป็น เยาวชนเร่ร่อนหลายคนที่ตายเพราะโรคเอดส์ ซึ่งมีให้เห็นเป็นรายวันในแต่ละพื้นที่
-กลุ่มที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศแบบไม่เต็มใจเป็นชาวต่างชาติ ที่มีการอัดวีดีโอ หรือการขายแผ่นซีดี เรื่องการร่วมเพศขาย ในขณะนี้มีจำนวนมากขึ้น ในปัจจุบันมีชายไทยจำนวนหนึ่งที่มาใช้บริการเด็กผู้ขายในเรื่องเพศด้วย
เป็นกลุ่มปัญหาที่น่าห่วงมากที่สุดและต้องหากระบวนการแก้ไขโดยด่วน ทุกหน่วยงานต้องเข้ามาช่วยเหลือและดำเนินการในเรื่อง บ้านของเด็กเร่ร่อนวัยรุ่น อาชีพที่หลากหลายและเหมาะสม สำหรับเด็ก
7.กลุ่มเด็กเร่ร่อน ที่อายุต่ำกว่า 13 ปี ที่ยังออกมาใช้ชีวิตบนถนนบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ครูข้างถนนจะพบได้เร็วขึ้น และมีการช่วยเหลือได้ทันท่วงที หรือบางครั้งก็มีการประสานงานส่งต่อเพื่อให้เด็กได้รับโอกาสที่ดีที่สุด เด็กกลุ่มนี้ยังต้องใช้กระบวนการสร้างความไว้วางใจ แล้วรีบพาเด็กออกจากถนนให้เร็วที่สุด แต่เด็กกลุ่มนี้ประสบปัญหาอะไรบ้าง
-การไร้ที่พึ่งพาอาศัยอย่างเป็นสุข นับแต่ภายในครอบครัวที่ไร้สุขจนอยู่ไม่ได้กระทั้งต้องหนีออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อน อาศัยหลับนอนตามพื้นที่สาธารณะต่างๆ เช่นสถานีรถไฟ สะพานลอย ป้ายรถเมล์ โป๊ะเรือ เป็นต้น
-ขาดสิ่งที่จำเป็นพื้นฐาน เช่นอาหาร เสื้อผ้า การรักษาพยาบาล สิ่งที่จะช่วยบรรเทาการหิวของเด็กได้คือการขอทาน นำเงินมาซื้ออาหาร หรือการเก็บขยะขาย เพื่อนำเงินมาดูแลตนเอง เสื้อผ้าของเด็กจะมอมแมมเป็นอย่างมากด้วยเสื้อผ้าชุดเดิม
-การอยู่ในสังคมอย่างไรสวัสดิการ โดยเฉพาะโอกาสทางการศึกษา เด๋กเหล่านี้ไม่มีโอกาสได้รับทักษะอะไรเลย บางคนก็จากโรงเรียนกลางคันมา เพื่อมาขายของ ขายพวงมาลัย เด็กบางคนไม่มีเอกสารทะเบียนแสดงตัวตนของตนเองด้วยซ้ำ
-เด็กๆๆเหล่านี้เสี่ยงต่อการถูกต้องเป็นเครื่องมือทางเพศ และก่ออาชญากรรม จากกลุ่มเด็กเร่ร่อนวัยรุ่น หรือแก๊งค์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้มาก่อน
8.กลุ่มแม่และเด็กเขมรขอทาน ซึ่งมีจำนวนมาก ซึ่งพาลูกมาขอทาน อยู่ในแหล่งกลางใจเมือง หรือตามมุมเมืองใหญ่ของจังหวัดต่างๆ แม่และเด็กเหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้มีการบังคับ จะเดินทางกันมาเอง หรือมากับครอบครัวโดยสามีเป็นย่ามหรือเป็นกรรมกรก่อสร้างอาศัยอยู่ตามบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง แม่และเด็กออกมาหารายได้เพิ่มเติม
ในช่วง 2-3 ปี มานี้กลุ่มแม่และเด็กเขมรขอทาน เข้ามาในกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ เป็นจำนวนมาก จากการลงพื้นที่ของครูข้างถนน ในช่วงปี 2555 ได้พบแม่และเด็กเหล่านี้ จำนวน 107 ครอบครัว และมีกลุ่มเด็กที่ติดตามแม่มาถึง 268 คน เห็นได้ว่า มีจำนวนมากขึ้น และต้องมีกระบวนการดูแลอย่างเป็นระบบมากขึ้น พร้อมทั้งวาทกรรมในการพัฒนากลุ่มนี้ คือ ต้องให้เขาได้สิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน
จะเห็นได้ว่าคนบนถนนมีความหลากหลาย ครูข้างถนนที่ลงไปททำงานช่วยเหลือก็ต้องปรับรูปแบบในการทำงาน เพื่อให้ทุกคนได้รับโอกาสที่ดี
..................................................................................................................