การพัฒนาศักยภาพเด็กด้อยโอกาส เด็กชายขอบ เพื่อเตรียมสู่ประชาคมอาเซียน
ด้วยประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคจะมีการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นอาเซียน โดยมีมติที่จะรวมความเป็นอาเซียนอย่างรูปธรรมในปี 2558 โดยเน้นทั้ง 3 เสาหลัก ได้แก่การเมือง เศรษฐกิจ และประชาสังคมและวัฒนธรรม(Socio-Cultural Community) เป็นสังคมที่สมาชิกมีความเอื้ออาทรต่อกัน ประชากรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน และมีความั่นคงทางสังคม ส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น พัฒนาสังคม พัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่า การสร้างงาน และการคุ้มครองทางสังคม การสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ส่งเสริม “อัตลักษณ์”ของอาเซียนโดยการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันและระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียน
แผนงานการจัดตั้งประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน(ในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์) ด้วย (1) การเสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรีและเยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ (2) เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบของการรวมตัวในอาเซียนและโลกาภิวัฒน์ (3) การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับสตรี เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ (4) การส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (5) การมีส่วนร่วมของชุมชน
มีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมเพื่อการพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคมจากระดับประเทศสู่อาเซียน ด้วยกระทรวงการพัฒนสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)ได้ประกาศเจตนารมณ์เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 จะร่วมกับภาคีภาครัฐและเอกชนในอันที่จะ (1) บูรณาการความร่วมมือเพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการยกระดับคุณภาพของสังคมไทยให้สูงขึ้น ด้วยกระบวนการและแนวทางรับผิดชอบต่อสังคมของทุกภาคส่วน (2) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ควบคู่ไปกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (3) ร่วมกันสร้างการรับรู้ต่อประชาชนทั้งประเทศ และขับเคลื่อนกระบวนการความรับผิดชอบต่อสังคมให้เข็มแข็ง (4) ร่วมกันสนับสนุนและผลักดันกระบวนการความรับผิดชอบต่อสังคมของประเทศไทย สร้างให้เป็นประเทศผู้นำความรับผิดชอบต่อสังคมในภูมิภาคอาเซียน
ด้วยประเทศไทยได้มีการเตรียมการหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังเป็นกังวลในประเด็นเรื่องการคุ้มครองสิทธิเด็กในอาเซียน จากผลการประชุม[1] รับทราบ สถานการณ์และแนวโน้มการละเมิดสิทธิเด็ก ที่ในปัจจุบันการละเมิดสิทธิเด็กยังมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นมาก ขณะที่การให้ความช่วยเหลือแก่เด็กและครอบครัวก็ยังไม่ทั่วถึงไม่ครอบคลุมยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นทางได้ ด้วยสาเหตุมาจากการไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ในการประสานงาน ในการสร้างกลไก การบริหารจัดการ การกระจายภารกิจไปยังหน่วยงานระดับท้องถิ่น การส่งต่อความรับผิดชอบ รวมทั้งติดตามตรวจสอบการให้บริการของหน่วยงานและกลไกการห้บริการ
กังวล เมื่อรวมกลุ่มประเทศอาเซียน อาจก่อให้เกิดการอพยพย้ายถิ่นและมีผลกระทบต่อเด็กทั้งเด็กที่เป็นพลเมืองของประเทศนั้นๆและเด็กต่างด้าว ทั้งนี้เด็กที่ย้ายถิ่นไปด้วยตนเองหรือตามผู้ปกครองไปก็ตาม จะมีโอกาสเข้าถึงบริการต่างๆจากรัฐน้อยลง หรือไม่มีโอกาสเข้าถึงได้เลย รวมทั้งจะถูกใช้แรงงานเป็นเครื่องมือในการขอทาน หรืออาจถูกแสวงประโยชน์ทางเพศได้โดยง่าย หรือถูกนำไปค้าเพื่อเป็นบุตรบุญธรรมโดยผิดกฎหมาย
ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยยังขาดความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ ที่มีการย้ายถิ่นของประชากร ทั้งย้ายถิ่นภายในประเทศ ย้ายถิ่นไปต่างประเทศ และย้ายถิ่นจากประเทศอื่นๆเข้ามายังประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศไทยในกลุ่มอาเซียนยังไม่มีนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานที่จะปกป้องคุ้มครองดูแลเด็กๆที่เป็นสมาชิดครอบครัวของผู้ย้ายถิ่นทุกประเภท พร้อมทั้งการขาดฐานข้อมูลเกี่ยวกับเด็กที่ต้องการรับบริการทางสังคม ความช่วยเหลือ การคุ้มครอง ว่ามีจำนวนเท่าใด เด็กเหล่านี้อยู่ที่ใดจะเข้าถึงกลุ่มเด็กเหล่านี้ได้อย่างไร ซึ่งเป็นทั้งกลุ่มเด็กด้อยโอกาสทางสังคม และกลุ่มเด็กชายขอบที่เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งเปรียบเสมือนประเทศไทยเป็นแอ่งกระทะที่เด็กต่างชาติต้องการมาแสวงสิ่งที่ดีกว่า หรือหนีจากความยากจน เป็นต้น
เด็กด้อยโอกาสทางสังคมมติสังคมไทย
ในสังคมไทยได้มีการให้ความหมายกับกลุ่มเป้าหมายเด็กที่หลากหลาย ของของใช้กลุ่มเด็กที่ได้รับการสงเคราะห์[2] ในมาตรา 32 เด็กที่พึ่งได้รัยการสงเคราะห์ ได้แก่ (1) เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า (2) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง (3)เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใดๆเช่นจำคุก กักขัง พิการ ทุพลพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท (4)เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล (5)เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่องเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ (6)เด็กพิการ (7)เด็กที่อยู่ในภาวะยากลำบาก (8)เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ซึ่งกลุ่มเด็กเหล่านี้ต้องได้รับการสงเคราะห์จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความั่นคงของมนุษย์ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินการช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ในรูปแบบของโครงการครูข้างถนน โครงการเชิงรุกในประเด็นต่างๆจนกระทั่งการมีบ้านแรกรับสำหรับเด็กหรือบ้านพัฒนาเด็กสำหรับเด็กเร่ร่อน[3] และเด็กด้อยโอกาสทางสังคม เริ่มตั้งการการพัฒนาตัวเด็ก (1)กิจกรรมการเสริมทักษะวิถีชีวิต เช่น การรับรู้ข้อมูล การวิเคราะห์ การวิพากษ์ การปฏิเสธ การตัดสินใจอย่างถูกต้อง โดยต้องมีความหลากหลาย เน้นการพึ่งตนเองในอนาคตให้ได้ พัฒนาเด็ดภายในบ้านเพื่อสร้างความพร้อมในการเรียนรู้และให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้ (2)ให้เด็กมีทางเลือกและทางออกเวลาที่เด็กมีปัญหา เช่น ความพร้อมในการเรียน การหนีเรียน หรืออยู่ในระบบการศึกษา การปฏิบัติตัวของวัยรุ่น โดยเด็กไม่สามารถอยู่ในระบบในโรงเรียนได้ ทีทางเลือกในการประกอบอาชีพอิสระ โดยให้เด็กรักงานทุกชนิดที่ทำพร้อมที่จะทำงานและเรียนรู้ไปด้วยกัน (3)กิจกรรมฝึกฝนทักษะในการดำเนินชีวิต เช่น การทำความสะอาดบ้าน ซักเสื้อผ้า หุงข้าว ทำกับข้าว ซึ่งต้องเตรียมเด็กให้ได้ไม่อย่างนั้นเมื่อเด็กออกไปใช้ชีวิตภายนอกไม่ได้ ทำอะไรไม่เป็น เพราะไม่ถูกฝึกฝนมาก่อน (4)กิจกรรมด้านเกษตร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรัยเด็กเร่ร่อนผู้ชาย เด็กด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ เป็นการวางรากฐานในงานอิสระอีกงานหนึ่ง ซึ่งในบ้านแต่ละหลังได้เน้นรากฐานของเด็กกับการรักงานเกษตรอยู่แล้ว จำเป็นต้องศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนการใช้วิถีชีวิตเด็กแต่ละบ้านให้มาก (5) การอยู่ร่วมกันอย่างฉันท์มิตรกับเด็กต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในบ้าน ตลอดจนการทำกิจกรรมร่วมกันเรียนรู้ความเป็นวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของเด็กแต่ละชาติ แต่ศาสนา ข้อเสนอแนะต่อคุณครูและเจ้าหน้าที่ประจำบ้านเพื่อจะทำกิจกรรมให้เด็กและเยาวชนมีทักษะ(1)ควรมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน ระหว่างเจ้าหน้าที่สถานแรกรับ พ่อบ้านแม่บ้านของสถานสงเคราะห์ ครูประจำบ้านขององค์กรเอกชน ในเรื่องแนวทางการดูแลเด็กในบ้าน ควรจัดให้มีการพบปะกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และวิธีการดูแลเด็ก ตลอดจนการเสริมกำลังใจซึ่งกันและกัน (2) ควรมีการเสริมทักษะและศักยภาพในองค์ความรู้การทำงาน ในเรื่องการจัดกระบวนทางความคิด องค์ความรู้เรื่องเด็กมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ของเด็ก(IQ) จิตวิทยาเด็กและเด็กวัยรุ่น เรื่องเพศศึกษา ยาเสพติด โรคเอดส์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก รวมถึงเรื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (3) การพัฒนาองค์ความรู้ให้กับคุณครูและเจ้าหน้าที่ตามมาตรฐานขั้นต่ำ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งมีระเบียบการปฏิบัติที่ต้องป่านมาตรฐานทั้ง 5 ด้าน เพื่อมีแนวปฏิบัติต่อเด็กไปในทิศทางเดียวกัน (4) การเสริมทักษะการเก็บข้อมูล การเก็บประวัติเด็ก (5) การเสริมกระบวนการทำงานกับเด็กอย่างมีส่วนร่วมในบ้าน ซึ่งเจ้าหน้าที่/ครู ประจำบ้านจำเป็นในการใช้กระบวนการตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยเฉพาะการกระตุ้นในเด็กร่วมรับผิดชอบงานในบ้านตลอดจนพี่ดูแลน้อง ทุกคนมีความรักความอบอุ่นในบ้าน ภายในบรรยากาศ เจ้าหน้าที่/ครู มีบทบาทเป็น พ่อ แม่ พี่ น้องในครอบครัวเดียวกัน (6) การเสริมทักษะในเรื่องการทำเอกสารทางทะเบียนราษฎร์ การทำประวัติรับเข้าของเด็กแต่ละบ้าน เช็คเอกสารของเด็กและครอบครัวการแจ้งเกิดย้อนหลัง การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านของเด็ก การทำบัตรประชาชน การขึ้นทะเบียนทหาร การทำบัตรเลขศูนย์ในกรณีที่เด็กไม่มีเอกสารใดๆหรือบุคคลไร้รากเหง้า เป็นต้น เพราะเด็กแต่ละคนต้องอยู่ในระยะยาว เพื่อการศึกษาของเด็ก ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ซึ่งเด็กทุกคนควรที่จะได้รับสิทธิเหล่านี้เสมือนเด็กทุกคนของเด็กของประเทศ (1)หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ไปในทิศทางเดียวกัน ในการดูแลเด็กปกติทั่วไป เด็กด้อยโอกาสทางสังคม เด็กเร่ร่อน เพื่อเป็นองค์รวมและการดำเนินการพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน (2) รูปแบบการส่งเด็ก และ/หรือการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระหว่างหน่วยงานภาครัฐส่วนกลางและส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนที่อยู่ในสถานแรกรับ/สถานสงเคราะห์ และบ้านในหน่วยงานขององค์กรพัฒนาเอกชน (3)หน่วยงานต้นสังกัดที่มีสถานแรกรับ/สถานสงเคราะห์/ครูประจำบ้าน และครูข้างถนน ควรที่ต้องมีนโยบายในการบรรจุ ฐานเงินเดือน สวัสดิการให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติอย่างชัดเจน (4) ภาครัฐควรมีการสนับสนุนหน่วยงานและองค์กรที่ดูแลเด็กอย่างเหมาะสม เช่น การจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชนในหน่วยงานที่มีบ้านรองรับเด็กเร่ร่อนเด็กด้อยโอกาส ซึ่งจัดสรรงบประมาณให้ครอบคลุมทั้งเรื่องอาหารของเด็ก เสื้อผ้า การศึกษา ค่าพาหนะเดินทางไปโรงเรียน ค่าที่อยู่อาศัย และค่ารักษาพยาบาล เป็นต้น
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาส จะต้องทำอย่างไรให้เด็กกลุ่มเข้าถึงบริการของรัฐที่มีอยู่ โดยไม่ต้องถูกปฏิเสธ และเพิ่มทักษะกระบวนการเพื่อให้เด็กได้มีมี่ยืนในสังคม และการเตรียมรับความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน
เด็กชายขอบในมติของสังคมไทย
ในมติของสังคมไทยได้มีการให้ความหมายที่หลากหลาย ขอเริ่มตั้งแต่ “กลุ่มชายขอบ”(marginal group)[4] หมายถึง กลุ่มที่ยังไปถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มใหญ่อย่างสมบูรณ์ กลุ่มที่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิมของตนไปบางส่วน และยังไม่ได้เป็นที่ยอมรับอย่างสมบูรณ์ในวัฒนธรรมใหม่ที่กลายเป็นวิถีชีวิตของตน คำนี้มักจะนพมาใช้กับกลุ่มคนที่อพพยเข้ามาอยู่ใหม่ ในกลุ่มคนนี้จะมีวัฒนธรรมต่างๆผสมกันมากมาย ดังนั้นทัศนคติ คุณค่า และแบบอย่างพฤติกรรมที่แสดงออกจึงมิได้มีลักษณะเป็นของวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง
แต่สำหรับเด็กชายขอบ ได้มีผู้ให้ความหมายในการทำงานที่หลากหลายกลุ่ม ตั้งแต่เด็กต่างชาติ แรงงานต่างชาติ เด็กเคลื่อนย้าย(Children on the Move) หรือมีบางคน เด็กข้ามชาติที่เดินทางเข้าประเทศโดยลำพังหรือแยกจากผู้ปกครอง(Unaccompanied and Separated Children) แต่สำหรับเด็กชายขอบในบทความนี้ คือกลุ่มเด็กที่ยังเข้าไม่ถึงบริการของรัฐหรือเป็นเด็กต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งได้แก่
กลุ่มที่เป็นแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานที่เข้าเมืองมาทั้งถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย และจะมีแรงงานบางส่วนได้รับบัตรอนุญาตทำงานชั่วคราว ในปี พ.ศ.2553[5]จำนวน 955,595 คน โดยแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายได้รับใบอนุญาตในกรุงเทพมหานคร 168,442 คน และมีข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน(2553) ณ เดือนมิถุนายน มีจำนวนแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายที่มาขึ้นทะเบียนรายงานตัวต่อกระทรวงมหาดไทย และได้รับหมายเลข 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข “00” ซึ่งทางการหมายถึง แรงงามข้ามชาติขึ้นทะเบียนจากประเทศพม่า ลาว กัมพูชา จำนวนทั้งสิ้น 2,487,045 คน แต่แรงงานเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครถึง 434,612 คน จะเห็นได้ว่าแรงงามข้ามชาติเหล่านี้เข้ามาทำงานที่ถนัดคือแรงงานกรรมกรก่อสร้าง สภาพการณืส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและกลุ่มที่ทำงานโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ซึ่งกระจายตัวอยู่ในแหล่งก่อสร้างต่างๆไม่น้อยกว่า 10,000 แหล่งก่อสร้างทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งแรงงามข้ามชาติเหล่านี้ จะมีผู้ติดตามมาทั้งครอบครัว หรือลูกที่ต้องมาด้วยพร้อมกับเด็กที่เกิดในประเทศไทยแต่เป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดฏำหมายยังไม่มีสถานะใดๆๆทั้งสิ้น แต่มีตัวตนอยู่ในประเทศไทย
กลุ่มแรงงานเด็กต่างชาติ[6] เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากเพราะหลายหน่วยงานคาดการณ์ว่าปัญหานี้ลดลง แต่กลับพบว่า เมื่อ 15 กันยายน 2551 มีแรงงานเด็กต่างชาติจำนวน 12,900 คน จากประเทศกัมพูชา ลาว พม่า อายุระหว่าง 15-18 ปี ได้รับในอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย เนื่องจากแรงงานเด็กต่างชาติกลุ่มนี้มีเอกสารของทางการจึ่งเข้าใจว่า พวกเขาน่าจะทำงานในสภาพเงื่อนที่ดีกว่าแรงงานต่างชาติที่ไม่ได้มีเอกสาร แต่ยังมีงานวิจัยหลายเรื่องของสถาบันการศึกษาและองค์กรชุมชน[7] คาดประมาณว่า มีแรงงานเด็กต่างชาติอย่างน้อย 100,000 คน ทำงานในประเทศไทย ซึ่งเด็กเหล่านี้ไม่เข้าถึงในการบริการศาธารณสุข บริการทางการศึกษา ตลอดจนแรงงานต่างชาติเป็นกลุ่มเด็กที่เสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ ทำงานหนักเกินเวลาที่กำหนด และได้ค่าจ้างที่ต่ำกว่า ขาดที่พักอาศัยอย่างปลอดภัย ตลอดจนการเสี่ยงต่อการถูกบังคับล่วงละเมิดทางเพศทั้งหญิงและชาย
กลุ่มเด็กผู้ลี้ภัย[8] ที่อาศัยอยู่ในค่ายทั้งหมด 9 แห่งทั่วประเทศไทย ที่รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นแหล่งพักพิง มีเด็กประมาณ 54,021 คนเด็กส่วนหนึ่งได้เกิดในค่ายผู้อพพยพ แม้จะได้รัยความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ และองค์กรระหว่างประเทศ UNHCR แต่สภาพความเป็นอยู่ของเด็กในแคมป์ยังถูกกำหนดไม่ให้ออกนอกจากแคมป์ เรื่องการศึกษา การรักษาพยาบาล เป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กจากออกมานอกศูนย์อพพยทั้งด้านการศึกษา การหางานประกอบอาชีพเพื่อให้เด็กได้มีรายได้เลี้ยงครอบครัว จึ่งเป็นความเสี่ยงให้เด็กกลุ่มนี้ถูกล่อลวงได้ง่ายและการถูกเอารัดเอาเปรียบจากนักค้าแรงงานเด็ก หรือบางคนก็ตกไปอยู่ในระดับการค้ามนุษย์
เด็กถูกนำมาแสวงหาประโยชน์ทางเพศ[9] ปัญหาเด็กถูกนำมาแสวงหาประโยชน์ทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กลาว ซึ่งจากการสำรวจงานวิจัยเรื่องเด็กเร่ร่อน สิ่งที่พบ คือไม่เคยพบเด็กหญิงลาวหรือเด็กลาวเร่ร่อน แต่กลับไปพบที่ทำงานตามบ้านและร้านอาหารที่ อำเภอสะเดา จังหวัดสขลา หรือมีบางกลุ่มที่ถูกลวงให้มาทำงานร้านอาหารแล้วบังคับให้ค้าประเวณี ที่จังหวัดลพบุรี และมีเด็กพม่าที่ถูกลวงให้มาทำงานที่อำเภอแม่สายแล้วถูกส่งมาบังคับให้ค้าประเวณีที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการช่วยเหลือและส่งเด็กไปดูแลยังสถานสงเคราะห์ของรัฐ ที่จังหวัดพิษณุโลก และมีการประสานงานของเจ้าหน้าที่จากรัฐฉานว่ามีเด็กหญิงของรัฐฉานว่ามีเด็กจำนวน 15 คนถูกส่งตัวมาให้มาทำงานที่ร้านอาหารจังหวัดสุพรรณบุรี เด็กเหล่านี้ถูกบังคับให้ค้าประเวณี ทางตำรวจได้มีประสานงานและช่วยเหลือเด็กหญิงเหล่านี้ แต่มีข้อติดขัดที่ข้อกฎหมาย เด็กยังไม่สามารถกลับประเทศได้
กลุ่มเร่ร่อนขอทานและติดยาเสพติด ตะเข็บชายแดนแม่สาย[10]กลุ่มเด็กเหล่านี้มีการอพพยย้ายถิ่นมาจากประเทศพม่า
หรือบางส่วนมาจากชนกลุ่มน้อยของประเทศไทย ส่วนมากแม่จะพามาขอทานที่ตลาดแม่สาย บางเด็กเหล่านี้ก็หนีออกจากพ่อแม่มาใช้ชีวิตเป็นเด็กเร่ร่อนที่แม่สาย เด็กบางคนที่พบครูข้างถนนก็สามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาของประเทศไทยได้ แต่ประสบปัญหาเรื่องเอกสารของเด็ก เพราะเป็นเด็กไร้รากเหง้า แม่เด็กส่วนหนึ่งติดยาเสพติดจำนวนมากและเสียชีวิตทำให้เด็กเหล่านี้กลับประเทศดั่งเดิมไม่ได้เพราะไม่รู้จักญาติหรือขาดรากเหง้าของเด็กเอง เด็กเร่ร่อนผู้ชายบางคนที่ถูกล่อลวงให้ไปทำงานเป็นแรงงานประมงก็มีจำนวนไม่น้อย บางส่วนก็เข้าไปสู่การขายซีดีหรือการทำงานผิดฏำหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวขอทาน[11] มีการเคลื่อนย้ายกันมาเป็นจำนวนมาก ด้วยมีความเชื่อมั่นว่าในเขตกรุงเทพมหานครเป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก และเป็นแหล่งที่มีรายได้จากการขอทานเป็นจำนวนมาก ปัจจัยที่เอี้อต่อการดำรงอยู่และการเติบโตขอทานต่างชาติ ที่พบว่าความต้องการเด็กต่างชาติให้มาช่วยขอทานของผู้ใหญ่ ทำให้มีรายได้มากขึ้น จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก แม่และเด็กชาวกัมพูชาเป็นกลุ่มที่มาขอทานมากที่สุดในจำนวนชาวต่างชาติที่เร่ร่อนเข้ามาในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มนี้เข้ามาโดยสมัครใจ และมีบางรายที่มีนายหน้าพามา การอาศัยอยู่จะอยู่ในชุมชย หรืออยู่กับเพื่อนบ้านเพื่อคอยช่วยเหลือกันเวลาที่ถูกจับ สามารถฝากดูแลเรื่องลูกๆได้ ชาวกัมพูชาเห็นว่าทำงานอาชีพขอทานเป็นงานสุจริตเป็นการหารายได้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความเป็นอยู่ของแม่เด็กเร่ร่อนต่างด้าวขอทานกลุ่มนี้ โดยจะอยู่เป็นครอบครัวกับพ่อแม่พี่น้อง หากเป็นเด็กก็จะอยู่กับแม่เป็นส่วนใหญ่ หรือเมื่อเด็กโตขึ้นมาหน่อยแม่ก็ให้ลูกออกไปขอทานตามลำพัง หรือเด็กบางคนก็จะเริ่มสร้างปัญหาให้เช่นเมื่อได้เงินมาจะเอาเงินไปเล่นเกมส์ ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น หรือบางรายก็เริ่มลักขโมยสิ่งของของชาวบ้าน แต่จะมีแม่และเด็กบางคนอยู่กับญาติที่เคยมากรุงเทพมหานครก่อน เด็กบางคนที่ไม่มีผู้ปกครองมาก็จะไปอยู่กับญาต เมื่อมีอายุมากขึ้นเด็กเหล่านี้จะออกไปใช้ชีวิตเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้จะไปอาศัยอยู่กับกลุ่มเพื่อนเพื่อความสะดวกในการช่วยเหลือหรือติดต่อสื่อสารกัน หากกลายเป็นเด็กเร่ร่อนวัยรุ่นจะอยู่กับเพื่อนมากกว่า โดยกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวขอทานกัมพูชาไม่ค่อยได้เรียนหนังสือหรือได้เรียนหนังสือน้อยมาก จึงทำให้กลุ่มนี้อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ทั้งภาษากัมพูชาและภาษาไทย กลุ่มขอทานชาวกัมพูชาเหล่านี้จะมีสัญลักษณ์คือจะใช้ภาชนะเป็นแก้วน้ำของร้านสะดวกซื้อเพื่อใสเงินตอนที่มีผู้ให้เงิน เพื่อสะดวกกับการพกพาไปในที่ต่างๆ หรือบางครั้งผู้ที่ให้เงินก็ซื้อน้ำดื่มหรือขนมให้เด็กแทนการให้เงิน แม่และเด็กเหล่านี้ที่มาขอทานเคยถูกจับหรือควบคุมตัวที่สถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ถ้าเป็นกรณีของเด็กที่ถูกจับตามลำพังเด็กเหล่านี้จะถูกส่งไปยังสถานแรกรับเด็กชายบ้านปากเกร็ด(บ้านภูมิเวท) การดูแลหรือกระบวนการส่งกลับใช้การทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ บางครั้งเด็กเหล่านี้ไม่ได้พบหน้าผู้ปกครองหรือญาตในกรณีที่ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเป็นลูก และในกรณีที่แม่และเด็กเล็กถูกจับโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแม่และเด็กเหล่านี้จะถูกส่งตัวกลับไปที่ประเทศต้นทาง ก่อนที่จะถูกส่งตัวกลับจะต้องถูกอยู่ให้ห้องกันตั้ง 7-45 วัน แล้วแต่แม่และเด็กเหล่านั้นถูกจับครั้งที่เท่าใด สำหรับอาหารทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีให้ แต่แม่และเด็กเหล่านี้บอกว่าอาหารไม่เพียงพอ จะต้องจัดหาเองเป็นครั้งคราวโดยเฉพาะเรื่องนมเด็ก
กรณีตัวอย่างที่ทางโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กลงไปทำงานด้วย ได้ลงพื้นที่ประตูน้ำ หน้าห้างพันธุ์ทิพ ห้างเซ็นทรัลเวิรด์ หน้าสยามพารากอน สี่แยกอโศก ซอยนานา เป็นต้น ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ จนถึง 30 พฤศจิกายน 2555 ได้พบครอบครัวแม่และเด็ก 107 ครอบครัว และเด็กที่ติดตามแม่มาจำนวน 263 คน จำนวนร้อยละ 90% ที่แม่และเด็กเหล่านั้นบอกว่าเดินทางมาด้วยความสมัครใจ พร้อมกับสามีที่มาทำงานเป็นยาม เป็นกรรมกรก่อสร้าง มีเด็กอีกส่วนหนึ่งที่มากับญาติซึ่งเป็นลุง ป้า น้า อา แต่ส่วนใหญ่เป็นญาติฝ่ายหญิง ซึ่งจะมาขอทานเป็นส่วนใหญ่ ขอยกตัวอย่าง เพื่อให้เห็นสถานการณ์ที่ชัดเจนจากงานภาคสนาม
ดังตัวอย่าง นางลี (นามสมมุติ)ซึ่งเป็นชาวกัมพูชา พาลูกอายุ 10 ปี เป็นเด็กพิการปากแหว่งเพดานโหว่ง ซึ่งครูข้างถนนลงไปพบที่ซอยนานา และมีการพูดคุยที่ต้องมีการรักษาพยาบาลผ่าตัด ซึ่งต้องใช้เวลาในการดูแลไม่น้อยกว่า 2 เดือน ซึ่งได้ประสานงานกับโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มีที่พัก พยายามประสานหาที่พักในเรื่องการที่ต้องอยู่ในประเทศไทย ถึงปัจจุบันนี้ยังหาตัวแม่และเด็กไม่พบ ห่วงว่าเมื่อมีการรักษาพยาบาลแล้วกลัวถูกจับ ส่งสำนักตรวจคนเข้าเมือง เพราะทั้งคู่เข้าเมืองผิดกฎหมาย จึงกลัวมากในการที่จะรับบริการใดๆ แต่ลูกต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วนไม่อย่างนั้นเด็กเมื่อเติบโตขึ้นจะผ่าตัดลำบากมาก และเป็นปมด้อยติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
กรณี นางไห(นามสมมุติ) พาลูกเข้ามาขอทานในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 7 ปี โดน จับประมาณ 9 ครั้ง โดยมีลูก 3 คน ลูกคนโตอายุ 12 ปี เป็นเด็กผู้ชายซึ่งปัจจุบันเร่ร่อนตามลำพังกับกลุ่มเพื่อนซึ่งไม่ม่อยู่กับแม่ ตอนนี้แม่พาลูก 2 คน น้องผู้หญิงอายุ 7 ปี ซึ่งแม่อยากให้มาอยู่บ้านพัฒนาเด็กขององค์กรพัฒนาเอกชน ปัญหาคือองค์กรพัฒนาเอกชนก็ยังไม่กล้าที่จะรับเด็กไว้ในการดูแล เพราะต้องเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่หน่วยงานใดให้ที่พักพิงกับคนต่างด้าวมีความผิดทางกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังไม่มีแนวการปฏิบัติงานที่ชัดเจนในการช่วยเหลือกับแม่และเด็กกลุ่มนี้ ซึ่งปัจจุบันแม่ก็พาลูกตระเวรไปตามที่ต่างๆ ถึงจะมีการผลักดัน แต่ยังขาดการประสานงานส่งกลับอย่างมีคุณภาพ และการประสานงานที่ประเทศต้นทางในการรับแม่และเด็กเหล่านี้ไปฝึกอบรมหรือพัฒนาอย่างมีคุณภาพชีวิต ประเทศต้นทางเองต้องมีแผนการพัฒนาแม่และเด็กอย่างเป็นระบบ และมีการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อไม่ให้คนเหล่านี้กลับเข้ามาขอทานในประเทศอื่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะมีการทำงานข้อตกลงร่วมกันในการดูแลแม่และเด็กต่างด้าว
กรณี นางใจ (นามสมมุติ) เป็นแม่ที่อายุเพียง 19 ปี ที่เคยเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ เมื่อ 4 ปีที่แล้ว นางใจได้รับการช่วยเหลือและการประสานงานจากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ส่งต่อไปที่หน่วยงานภาครัฐของประเทศกัมพูชา ที่พนมเปญ มีการฝึกอาชีพ 1 ปี แม่ของนางใจได้มารับนางใจกลับไปที่บ้าน ต่อมาแม่เสียชีวิต นางใจได้แต่งงานกับคนในหมู่บ้านเดียวกัน แล้วพาครอบครัวมาทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้างที่คลองเตย สามีมีภรรยาใหม่เป็นสาวไทย สามีไม่ได้ดูแลครอบครัว แต่นางใจยังอาศัยที่อยู่บ้านพักกรรมกรก่อสร้างเป็นที่หลับนอน แต่กลางวันจะพาลูกอายุ 2 ปี ออกมาขอเงินเป็นครั้งคราว เป็นค่านม ค่าอาหาร เคยถูกจับมาแล้ว 2 ครั้ง แต่ครั้งจะอยู่ในสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่สวนพลู ครั้งแรก 10 วัน ครั้งที่ 2 อยู่ประมาณ 5 วัน ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จะส่งตัวไปที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา นางใจกับลูกก็พากันเข้ามาอีก เมื่อมีการสอบถามถึงหน่วยงานของประเทศต้นทาง นางใจบอกว่าไม่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพราะว่า หน่วยงานเหล่านี้ไม่ได้ไปสัมภาษณ์หรือเก็บข้อมูลในพื้นที่หรือบ้านของแต่ละคน และอีกเหตุผลหนึ่งโดยทั่วไปชาวกัมพูชามีฐานะยากจนมาก ทุกคนจำเป็นต้องดิ้นร้นเพื่อให้เด็กและคนในครอบครัวอยู่รอด เรื่องการศึกษารัฐบาลในเรียนฟรี แต่ไม่ได้บังคับให้เด็กทุกคนต้องเข้าเรียน เด็กที่เรียนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนสูงมาก ถามถึงเหตุผลที่นางใจ เข้ามาในกรุงเทพมหานคร เคยมาตั้งแต่เด็กอายุ 7 ปี ตามคนข้างบ้านมาขอทาน และมาทำงานเป็นพนักงานคาราโอเกะมาก่อน จึงรู้ว่าจะเดินทางมาอย่างไร อยากให้ลูกได้เรียนหนังสือแต่ไม่มีญาติที่จะดูแลลูกในประเทศกัมพูชา ตัวนางใจเองอยากที่จะทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้างเพราะมีที่พักแน่นอนแต่ขาดคนเลี้ยงลูก
นางผวน(นามสมมุติ) อายุ 41 ปี พร้อมลูกอีก 3 คน ซึ่งสามีทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง มีการทำหนังสืออนุญาติทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อมีการจับกุมที่แหล่งก่อสร้างที่สุขุมวิท 62 สามีถูกจับกุมด้วย และต้องอยู่ในสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง 45 วัน ทำให้ไม่มีรายได้เลี้ยงลูกอีก 3 คน นางผวนจึงพาลูกมาขอทานที่หน้าเซ็นทรัลเวิลด์ รอสามีในการที่จะส่งกลับไปที่ประเทศกัมพูชา แล้วเดินทางมาพบกับครอบครัวใหม่อีกครั้ง หวังว่าจะได้กัน ในขณะนี้ก็อาศัยพักที่บ้านพักกรรมก่อสร้างขอร้องที่จะพักรอสามี ผู้รับเหมาก็พยายามที่จะให้ออกไปเพราะเมื่อมีตำรวจมาตรวจที่บ้านพักกรรมกรก่อสร้างผู้รับเหมาที่เป็นคนไทยจะเดือดร้อน นางผวนได้เล่าอีกว่าสามีโดนจับเรื่องการเข้าทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง 3 ครั้งแล้ว ครั้งที่ทำงานแล้วประมาณ 2 gดือน วันที่จ่ายค่าแรง สามีโดนจับเลยไม่ได้ทั้งค่าแรงและสามีเองต้องไปอยู่ในสำนักตรวจคนเข้าเมือง 15 วัน ครั้งที่ 2 ก็โดนเรื่องค่าแรงเหมือนกัน คนงานที่เป็นกรรมกรก่อสร้างจะโดนจับกันบ่อย แต่ก็ต้องทำเพราะยังดีกว่าที่จะอยู่ในประเทศกัมพูชาที่ไม่มีงานทำ อดตายกันทั้งครอบครัว แต่พวกเราก็ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องการทำงาน แต่ก็จะถูกจับกันเสมอ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่ากลุ่มเด็กด้อยโอกาส และกลุ่มเด็กชายขอบ จะต้องทำอย่างไรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบหันมาใส่ใจให้เด็กกลุ่มนี้ได้รับบริการของรัฐถึงแม้จะเป็นเด็กชายขอบก็ตาม ซึ่งต่อไปจะไม่เป็นเด็กของประเทศใด แต่เป็นเด็กทุกคนที่ต้องได้รับสิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กลุ่มเด็กที่น่าเป็นห่วงคือ
1.แรงงานของกรรมกรก่อสร้าง ซึ่งส่วนมากมากับครอบครัวตั้งแต่เล็ก หรือเป็นเด็กเล็กที่เคยเรียนที่ศูนย์เด็กก่อสร้าง ของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เมื่ออายุประมาณ 13 ปีขึ้นไป เด็กเหล่านี้จะเข้าไปทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง แล้วแยกออกจากครอบครัว ซึ่งมีทั้งเด็กพม่า ลาว กัมพูชา ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้ แต่คาดประมาณว่าไม่น้อยกว่า 200 คน ที่กระจายกันอยู่ทุกแหล่งก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร สิ่งที่พบกับกรรมกรเหล่านี้ คือเข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นแรงงานเถื่อนไม่มีการพาเด็กไปขึ้นทะเบียนแรงงาน และมีการถูกจับเมื่ออกจากบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง และรวมถึงการการถูกโกงค่าแรงที่ทำงาน เมื่อเจ็บป่วยไม่มีค่ารักษาพยาบาลส่วนมากต้องซื้อยากินเอง โอกาสในการเดินทางไม่มีเพราะออกจากพื้นที่ เด็กเหล่านี้จะถูกจับ ซึ่งมีทั้งแรงงานเด็กที่เป็นชาวกัมพูชาและพม่า เพราะการทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้างแค่ใช้แรงงานอย่างเดียว ไม่ต้องวุฒิทางการศึกษาใดๆ จึงเป็นที่นิยมของแรงงานเด็ก แต่ทั้งหมดถือว่าเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมาย
-เป็นแรงงานแบกข้าวสาร แรงงานล้างรถ แรงงานตัดแผ่นเหล็ก อาศัยเช่าบ้านอยู่ในซอยมหาวงศ์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นพื้นที่การทำงานของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กลุ่มนี้เด็กมาอยู่ตามลำพัง พ่อของเด็กตาย แม่ไม่ทราบอยู่ที่ไหนแต่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยอยู่ในกลุ่มของชาวกัมพูชาด้วยกัน ในพื้นที่นี้ ทางผู้วิจัยได้พบ จำนวน 2 คน แต่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึง และเข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งคนเหล่านี้จะมีการหลบหนีตำรวจ หรือไม่สามารถออกจากพื้นที่ของตนเอง เพราะจะมีการจับกุม ขาดโอกาสในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย จะหาซื้อยากินกันเองเป็นส่วนใหญ่ เด็กบางคนเคยเรียนหนังสือที่ประเทศกัมพูชาจบในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วไม่ได้เรียนอีกเลย การทำงานของเด็กเหล่านี้จะใช้แรงงานแลกกับค่าจ้าง
-แรงงานเข็นผัก หรือขายของตามตลาดพระโขนง ปากคลองตลาด ตลาดรังสิต จะมีแรงงานเด็กเหล่านี้มาเข็นผัก โดยใช้เช่าบ้านอยู่ในชุมชน ค่าจ้างที่ได้ คันละ 20 บาท จำนวนไม่ทราบที่แน่นอน แรงงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นทั้งเด็กชาวกัมพูช และเด็กพม่า รายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับจำนวนรถขนผักเข้ามาในตลาด แต่ จะมีเศษผัก ผลไม้ ไปเป็นอาหารได้ ซึ่งไม่ต้องซื้อกำกับ ซื้อแต่ข้าว
2.เด็กที่มาขอทานกับแม่ตั้งแต่เล็ก แต่เมื่อเติบโตมาจะมีการแยกกับแม่ด้วยหลายสาเหตุด้วยกัน เด็กบางคนยังใช้ชีวิตอยู่บนถนนโดยการขอทาน หรือบางคนก็เริ่มไปรับจ้างทำงานอย่างอื่นๆ แต่เด็กจะบอกว่าการขอทานเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด ได้เงินเร็ว แต่ก็อายคนที่เดินผ่านไป เดินผ่านมา มีเด็กบางคนที่ใช้บ้านร้างเป็นที่อยู่อาศัย หรืออยู่กับเพื่อน แต่มีเด็กเร่ร่อนหญิงที่อาศัยเช่าบ้านอยู่กับคนที่รู้จักโดยไม่ใช้แม่ หริอญาติ เงินที่หาได้เด็กเหล่านี้ส่งไปให้ยายที่อยู่กัมพูชา ซึ่งตรงกับผลงานวิจัยขององค์การเฟรดอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย[12] พบว่าเด็กที่เดินทางมาคนเดียวทั้งที่อรัญประเทศและกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 2%(จำนวนที่สัมภาษณ์ 170 คน มีเด็กที่เดินทางมาคนเดียวจำนวน 4 คน) ซึ่งตรงกับข้อมูลภาคสนามของ โครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก (กุมภาพันธ์ 2555 ถึง ธันวาคม 2555) ได้พบครอบครัวแม่และเด็กที่มาขอทานจำนวน 103 ครอบครัว จำนวนเด็กทั้งหมด 258 คน พบเด็กเร่ร่อนตามลำพัง 9 คน โดยเด็กเหล่านี้ที่มีสาเหตุที่ต้องแยกจากครอบครัว
-เด็กบางคนแม่มีครอบครัวใหม่ ทำให้เด็กขอทานชาวกัมพูชาทะเลาะกับสามีใหม่ของแม่ เด็กเองก็รู้สึกว่าตัวเองโต ที่จะพึ่งพาได้ จึงออกมาใช้ชีวิตตามลำพัง บางรายก็ถูกสามีใหม่ของแม่ทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกาย โดยเตะ ตี บ้าง
-แม่ของเด็กถูกจับ แล้วเด็กไม่ได้ถูกจับไปด้วย เด็กจึงใช้ชีวิตบนถนนแทน เมื่อแม่กลับมาอีกครั้งเด็กก็ปฏิเสธในการจะอยู่กับแม่ จึงใช้ชีวิตเร่ร่อนขอทานของตนเอง เด็กบางคนที่ได้พบในพื้นที่บอกว่าไม่ต้องการรับภาระของครอบครัว แต่สิ่งที่พบกับเด็กกลุ่มนี้คือการรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มเพื่อน
3.เด็กบางคนถูกจับ ทั้งหน่วยงานของศูนย์ประชาบดี1300 ตำรวจสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยเฉพาะเด็กที่ตกเป็นเหยือการค้ามนุษย์เด็กจะถูกส่งไปที่ สถานแรกรับเด็กชายบ้านปากเกร็ด[13] (บ้านภูมิเวท) ในปี 2553 มีเด็กชาวกัมพูชาที่อยู่ในสถานสงเคาระห์ของรัฐบาลไทย จำนวน 59 คน (ทางองค์การ ได้ส่งล่ามและนักสังคมสงเคราะห์ไปดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน การปรับพฤติกรรม ตลอดจนการซักถามประวัติร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สถานแรกรับเด็กชายบ้านปากเกร็ด(บ้านภูมิเวท) สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ และสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง นนทบุรี) กว่ากระบวนการจะเสร็จ ครอบครัวก็หายไปแล้ว หรือเด็กเหล่านั้นมีการส่งกลับประเทศไปฝึกอาชีพตามข้อตกลงระหว่างประเทศ (บันทึกความเข้าใจระหว่างระฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่อง ความร่วมมือทวิภาคี ว่าด้วยการขจัดการค้าเด็กและหญิงและการช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์) ซึ่งเด็กเหล่านี้บางคนก็ไปพบครอบครัวเลย เมื่อพ้นจากการฝึกอาชีพเมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทยเพื่อตามหาครอบครัวเด็กก็ไม่กับครอบครัวอีกเลย หรือบางรายก็บอกว่าของใช้ชีวิตคนเดียว ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะถูกพรากจากครอบครัวของเด็กด้วยตัวกฎหมาย พระราชบัญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ซึ่งถือว่ากลุ่มขอทานเหล่านี้เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ซึ่งต้องใช้กระบวนการการแสวงหาข้อเท็จจริงจนเด็กเองขาดโอกาสที่จะพบกับครอบครัวดังเดิมของตนเอง หรือเด็กบางคนเมื่อไม่มีเอกสารทางแม่มายืนยันเด็กเหล่านี้จะถูกส่งไปยังสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานภาครัฐทำให้เกิดการพลัดพลาดจากครอบครัวโดยสิ้นเชิง
-เด็กบางคนที่ถูกจับโดยตำรวจสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เด็กเหล่านี้ก็จะถูกกักกันไว้ที่สถานกักกันที่สวนพลู บางครั้งถูกกักถึง 45 วัน แล้วมีการส่งไปที่จังหวัด บันเตียเมียนเจย(ปอยเปต) ก็ต้องใช้ชีวิตที่นั้นก่อนทั้งเร่ร่อนขอทาน เก็บขยะ หรือรับจ้าง เพื่อหาเงินเป็นค่ารถเดินทางมาหาครอบครัวในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่พบครอบครัวเด็กเหล่านี้จึงตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนหรือบางคนก็อาศัยอยู่กับคนรู้จัก บางคนก็เร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ
ความห่วงใยของเด็กชายขอบกับความเป็นอาเซียน
1.เด็กเองต้องดำรงชีวิตในประเทศไทย ที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ไม่สามารถวางแผนในการดำเนินชีวิตได้ ไม่ว่าเด็กทำงานของเด็กที่เร่ร่อนขอทาน เพราะการไม่มีตัวตนอยู่ในประเทศไทย ไม่มีทั้งเอกสาร และที่ประเทศต้นทางของเด็กเองก็ไม่มีเอกสารแสดงตัวตนด้วยกลายเป็นบุคคลที่ทั้งสองประเทศไม่ใช่ประชากรของตนเอง เด็กทุกคนเหล่านี้กังวลในความเป็นอยู่ของตัวเด็ก ในการเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการถูกจับในแต่ละครั้งเด็กจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ซึ้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
2.ในเรื่องการศึกษาของเด็กเหล่านี้ ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาทั้งสองประเทศ เป็นเด็กที่ใช้ว่าขาดการศึกษาเชิงระบบอย่างชัดเจน และตัวเองเด็กบางครั้งก็ปฏิเสธในการเรียนด้วย เพราะอายุโตกว่าที่จะได้เรียน และที่สำคัญคือการสื่อสารภาษาไทยไม่ได้ทั้งการอ่านและการเขียน
3.ระบบสาธารณะสุข เด็กเองเมื่อมีการเจ็บป่วยจะมีการพึ่งพาร้านยาเป็นส่วนใหญ่ การจะเข้าสู่ระบบสาธารณะสุขทั่วหน้าทั้ง 2 ประเทศ เด็กเหล่านี้ไม่มีโอกาสที่จะได้รับ
4.เด็กเหล่านี้สับสนในตนเองว่าจะเป็นพลเมืองในประเทศชัดเจน เพราะหลายกรณีถึงจะกลับไปอยู่ที่ประเทศต้นทางแต่ก็ขาดทั้งญาตพี่น้อง จะอยู่ในปรระเทศที่อาศัยในปัจจุบันจะอยู่ในฐานะไหนของพลเมืองประเทศนั้น จะมีสิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราว หรืออยู่ในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมือง เด็กเองก็สับสนในฐานนะของตนเอง การขาดที่พักอาศัยอย่างปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันเด็กเหล่านี้ต้องอยู่ตามที่จะจัดหาได้ทั้งของผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือการเช่าบ้านของตนเอง ตลอดจนเรื่องการทะเลาะกันของแรงงานและที่พักอาศัยมียาเสพติด ทำให้ตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้องจึงกลัวการถูกจับ
5.การไม่เปิดเผยที่อยู่ของเด็กข้ามชาติเหล่านี้ หรือการไม่เปิดเผยประวัติ ทำให้ครูและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าถึงเด็กได้ยากมาก ต้องใช้เวลาในการทำความรู้จักเด็ก โดยการผ่านหน่วยงานที่ทำงานอยู่แล้วในภารสนาม ตลอดจนการลงพื้นที่หลายๆครั้งเด็กเองก็อยากอยู่กับครอบครัว แต่เด็กเหล่านี้บางคนผู้ปกครองเสียชีวิต ขาดโอกาสในการอยู่กบครอบครัวตลอดจนการเรียนรู้ความเป็นครอบครัวในเรื่องบทบาทของการเป็นพ่อ แม่ หรือลูก เฉกเช่นครอบครัวทั่วไป
6.ความกังวลของเด็กในกรณีศึกษา กลัวนำประวัติไปแจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนต้องมีการอธิบายว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนยุทธศาตร์ในการทำงานช่วยเหลือพวกเขา และขาดการวางแผนการดำเนินชีวิตของเด็กเหล่านี้ยังไม่มีการกำหนดที่ชัดเจน แต่สิ่งที่เด็กต้องการ คือการอยู่ในประเทศไทย เพื่อหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว และมีเด็กที่บอกว่าไม่ต้องการกลับที่ประเทศต้นทางเพราะไม่มีความผูกพันกับญาติพี่น้อง
ข้อเสนอแนะในการดูแลเด็กด้อยโอกาสและเด็กอาเซียนร่วมกัน
1.ปัญหาของเด็กข้ามชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศโดยลำพังหรือแยกจากครอบครัว ควรที่จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่กลุ่มที่ไม่สามารถกลับประเทศต้นทางได้ จะมีการดูแลอย่างไรที่จะคุ้มครองสิทธิของเด็กตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยเด็กเหล่านี้จะอยู่ในประเทศไทยในฐานะอะไร มีสิทธิมากน้อยแค่ไหน ซึ่งต้องมีการกำหนดหรือร่วมกันหาแนวทางออกร่วมกันทุกหน่วยงาน เพราะในขณะนี้มีเด็กเหล่านี้แต่ไม่ใช่เด็กของประเทศไหนเลย.
2.ในกระบวนการส่งกลับประเทศ ต้องมีการความร่วมมือกันอย่างจริงจัง แต่อย่าเพียงแค่บันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ (MOU) ซึ่งไม่ได้ผลหลายบันทึกด้วยกัน โดยขาดการใส่ใจในการปฏิบัติต่อเด็กหรือกลุ่มแม่และเด็กอย่างจริงจัง
3.ประเทศต้นทางของพลเมืองเด็กเหล่านี้ ต้องมีการพัฒนาทางด้านการศึกษา การสาธารณะสุข การมีรายได้อย่างเท่าเทียม ให้คนของประเทศได้สิทธิต่างๆในประเทศที่เข้าเป็นพลเมืองอย่างเต็มที่ และแต่ละประเทศต้องมีแผนปฏิบัติการของตนในเรื่องการดูแลเด็กและสตรีทุกประเทศในอาเซียนร่วมกัน
นางสาวทองพูล บัวศรี
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
.....................................................................................................
[1] ผลการประชุมสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2555 เรื่อง “ร่วมสร้างคนรุ่นใหม่ ร่วมในอาเซียน” ณ โรงแรมปริ้นพาเลช เมื่อ วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2555
[2] หมวด 3 การสงเคราะห์เด็ก ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546
[3] นางสาวทองพูล บัวศรีและ นางแววรุ้ง สุบงกฎ ข้อเสนอนโยบายในการพัฒนาเด็กและเยาวชนของครูข้างถนน ปี 2553 และข้อเสนอนโยบายในการพัฒนาเด็กเร่ร่อนของบ้านพัฒนาเด็ก ปี 2555
[4] สุรชัย หวันแก้ว คนชายขอบจากความคิดสู่ความจริง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2550
[5] กาญจนา เทียนลาย และคณะ เอกสารประกอบการ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ “ประชากรและสังคม” เรื่อง ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย เมื่อ ปี 2555
[6] Aree Jampaklay ,”Migration and Children”, Thailand Migration Report, International Office for Migration,2011
[7] เอกสาร เรื่อง เด็กเคลื่อนย้าย มุมมองใหม่ในการทำงานคุ้มครองเด็ก ของภาคีสมาชิกเด็กเคลื่อนย้าย( ProCom Thailand)
[8] Aree Jampaklay ,”Migration and Children”, Thailand Migration Report, International Office for Migration,2011
[9] เอกสาร เรื่อง เด็กเคลื่อนย้าย มุมมองใหม่ในการทำงานคุ้มครองเด็ก ของภาคีสมาชิกเด็กเคลื่อนย้าย( ProCom Thailand)
[10] มูลนิธิอาสาพัฒนาเด็ก โครงการศึกษาภูมหลังขอกลุ่มเปราะบางแถบตะเข็บชายแดนแม่สาย จังหวัดเชียงราย และกรณีศึกษาการดำเนินงานขององค์กรรัฐและเอกชนด้านเด็กและสตรี ปี 2555
[11] เสาวรักษ์ วรายุ,2548. คนข้ามแดน:ชีวิตและชุมชนของขอทานเขมรในกรุงเทพมหานคร
[12] องค์การเฟรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) คุณลักษณะและขอบเขตของปัญหาครอบครัวขอทานต่างชาติในประเทศไทย(โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวขอทานชาวกัมพูชา) เดือนธันวาคม 2554
[13] องค์การเฟรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) คุณลักษณะและขอบเขตของปัญหาครอบครัวขอทานต่างชาติในประเทศไทย(โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวขอทานชาวกัมพูชา) เดือนธันวาคม 2554