banner
พุธ ที่ 10 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2558 แก้ไข admin

ขอพื้นที่ให้เด็กเร่ร่อนได้มีที่ยืน...ในสังคม

 


นมัสการพระคุณเจ้า สวัสดีท่านผู้เกียรติทุกท่าน

            ข้าพเจ้า นางสาวทองพูล บัวศรี  ทำงานที่มูลนิธิสร้างสรรค์เด็กกว่า ๓๐ ปี ในการทำงานภาคสนาม ทั้งครูศูนย์เด็กก่อสร้าง ผู้จัดการโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง และผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  และเป็นนักวิจัยอิสระในประเด็นเด็กและครอบครัว

                   เมื่อเอ่ยถึงเด็กเร่ร่อน....ทุกคนก็จะถามว่าเด็กเร่ร่อนคือใคร...ใครคือเด็กเร่ร่อน..มาเกี่ยวอะไรกับสุขภาวะสุขภาพของคนในสังคม เด็กเร่ร่อนก็คือเด็กอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเหมือนกับเด็กกลุ่มอื่นเพียงแต่เขาจำเป็นต้องออกจากบ้านมาอาศัยถนนอยู่ชั่วคราว หรือบางคนก็ออกมาบ้านอย่างถาวร ซึ่งบ้านเหล่านี้ร้อนเหมือนกำลังจะระเบิดตลอดเวลา  แล้วเด็กบางคนก็มาอาศัยเป็นที่ทำมาหากิน ตั้งขายสินค้า ขายซีดีเมื่อถูกจับก็รับจ้างติดคุกแทนเจ้าของซีดี โตขึ้นมาเป็นวัยรุ่นก็ขายบริการทางเพศ  กลายเป็นผู้แพร่เชื้อโรคเอดส์ วัญโรค ซึ่งในอนาคตอันใกล้คนเหล่านี้ตายเหมือนสุนัขข้างถนน เมื่อไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  จะทำอย่างไรให้เขาเหล่านี้ตายอย่างมีความสุข พร้อมมีวัดให้คนเหล่านี้ได้เผาร่างกายของเขา เด็กเร่ร่อนบางคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งเป็นผู้เสพ แล้วตกเป็นเหยือกับกลุ่มที่แสวงหาประโยชน์กับเด็ก บางคนก็เป็นผู้ก่ออาชญากรรมตั้งปล้น วิ่งราว รุนแรงถึงการทำลายกันระหว่างกลุ่ม/ระหว่างพื้นที่ เข้าสถานพินิจเด็กและเยาวชน จนไปสู่ประตูของเรือนจำ เมื่อพ้นโทษออกมาก็สายเกินไปกลายเป็นคนไร้บ้าน ไร้ครอบครัว ใช้ชีวิตที่จบถนน   แล้วอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นปัญหาสังคม...

                   แล้วครูข้างถนน คือใคร  แล้วไปทำอะไรให้กับเด็กเร่ร่อน...

ห้องเรียนห้องใหญ่ของเหล่าครูข้างถนน  คือ ถนนทุกแห่งในเมืองใหญ่ บางครั้งใช้ริมถนนเป็นสถานที่คุยกับเด็กกับครอบครัวหรือแม่ของเด็ก ใช้สถานีรถไฟ ป้ายรถเมล์ หรือหน้าห้างระหว่างทางเดิน ทุกที่คือห้องเรียนของเรา เรียนการใช้ชีวิตร่วมกันบนท้องถนน  คนหนึ่งใช้เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด อีกคนใช้ชีวิตแสวงหาทางออกเพื่อให้เขาเหล่านี้ออกจากถนน ด้วยความหลากหลายวิธีการ

                   งานของพวกเราครูข้างถนน...ทำอะไร..

                   ๑.ลงไปพบเด็กเร่ร่อน แม่และเด็กเร่ร่อน ครอบครัวเร่ร่อน  เพื่อการสร้างความไว้วาง โดยมีสื่อการเข้าหาเด็กด้วยกระเป๋าสองใบ ลงพื้นที่ให้บ่อย ให้มากใช้เวลากับกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนด้วยใจถึงใจกัน  เด็กเหล่านั้นถึงจะเริ่มเปิดใจให้ครูเข้าถึง หรือแค่ครูนั่งลงกับเขาด้วยความเท่าเทียมกันบนถนน ก็เป็นสิ่งสำคัญ เรากับเขาเท่ากัน...เมื่อไรที่เด็กเร่ร่อนสามารถเปิดกระเป่าครูได้หานมกับ ขนม ได้นั้นสิ่งที่จะได้พูดคุยกับแม่สำเร็จแล้ว...หลังจากนั้นก็จะต่อด้วยการถามสารทุกข์สุขดิบ  แล้วประโยคทองก็จะหลุดออกมา “กินข้าวแล้วหรือยัง มาจากไหน อยากให้ช่วยอะไรไหม”  เมื่อเด็กเร่ร่อนเปิดรับครู การทำงานก็จะเริ่มต้นด้วย  การสร้างความไว้วางใจบางครั้งอาจจะใช้เวลา หนึ่งเดือน บางคนอาจจะใช้เวลาเป็นปี สองปีก็มี กว่าพวกเขาจะเปิดใจกับครู

อุปกรณ์ที่สำคัญในการเข้าหาเด็ก คือ กระเป๋า ๒ ใบ

กระเป่าใบที่หนึ่งของครูจะเต็มไปด้วยขนม นม อาหาร โดยการเน้นไปที่ เมื่อเด็กเห็นหน้าครู “ต้องอิ่มท้อง” ด้วยเหตุผล ที่ว่าบางเคสที่เราพบเด็กไม่ได้กินอะไรมาเลยตั้งแต่เช้ามาเจอครูเวลาบ่ายสามในตอนเย็น เป็นอาหารมื้อแรกของเด็กก็คือนมกับขนมของครู  แล้วจะกินให้เห็นทันที  บางครั้งใครที่อยากทำบุญไม่ต้องที่ไหนหลอกแค่นมกับขนมก็ช่วยเด็กเร่ร่อนได้..หรือบางครั้งครูข้างถนนก็หิ้วข้าว กับข้าว ที่เหลือจากการประชุมนำมากินร่วมกัน  มื้อนั้นจะเป็นวิ่งวิเศษสุดของเด็กเร่ร่อน

 อีกใบหนึ่งจะมีอุปกรณ์การเรียนการสอน สี สมุด สมุดระบายสี หรือแม้แต่ยารักษาโรคขั้นพื้นฐาน เช่น ยาพารา ยาแก้ไอ ยาแก้แพ้ ยาหม่อง เป็นต้น  เวลาที่เด็กเร่ร่อนป่วยการที่จะพาไปหาหมอเป็นสิ่งที่ทำยากมากเพราะพวกเขาไม่มีเงิน ไม่มีเอกสารใดๆ ทำให้เวลาถูกซักประวัติ คนเหล่านี้ก็ไม่อยากเสียแล้ว

๒.เมื่อเด็กเร่ร่อนเข้าไว้วางใจครูข้างถนน แล้ว ทั้งเด็กเร่ร่อน แม่และเด็กเร่ร่อน ครู ก็ร่วมกันแสวงทางออกจากถนนให้ได้ ครูใช้กันว่า “ทางเลือก ทางรอด ของเด็กเร่ร่อน”  บางเคสอาจจะอยากกลับบ้านหาครอบครัวเดิม บางเคสอยากทำงาน บางเคสอยากเรียนหนังสือ บางเคสอยากบวชเรียน บางเคสหาใครไม่เจอก็ต้องส่งเข้าบ้านขององค์กรพัฒนาเอกชนหรือของรัฐ เท่าที่เด็กจะเลือก โดยครูจะทำหน้าที่เป็นนักระดมทรัพยากรพร้อมทั้งบอกข้อดี ข้อเสียร่วมกันในทาเดินของเด็กเร่ร่อนอีกครั้ง  เด็กจะเป็นคนเลือกค่ะ. มีบางเคสที่ครูต้องเลือกค่ะ  ขอยกตัวอย่าง มีครูที่โรงเรียนบางขุนเทียนโทรมาประสานกับมูลนิธิฯว่ามีเด็กเร่ร่อนที่เป็นผู้ชายเคยออกไปขอทานกับแม่  แต่วันหนึ่งที่เด็กไม่ได้ออกไปด้วยแม่และน้องถูกจับกว่าสิบห้าวันเลย เด็กเลยอดข้าวอดน้ำอยู่ในบ้านเช่าคนเดียว จึงขอให้ทางมูลนิธิฯไปช่วย ทางครูก็ส่งครูพงษ์(นายธนะรัตน์ ธาราภรณ์)ไปดูเด็กในขณะเดียวกันก็ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สองขสามแห่ง ต่างปฏิเสธว่าไม่ใช่กรณีค้ามนุษย์รับไม่ได้  จึงต้องนำเด็กมาไว้ที่บ้านสร้างสรรค์เด็กก่อน...ปัจจุบันได้เรียนหนังสือ แล้วได้นำน้องสาวเข้ามาอยู่ในบ้านอุปถัมภ์เด็ก เพื่อให้ยุติการขอทาน แม่ของเด็กก็เปลี่ยนอาชีพ มาเป็นแม่ค้าขายเสื้อผ้ามือสอง

๓.การลงเยียมเยียมเด็กเร่ร่อนเมื่อเวลาถูกจับ การทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนก็จำเป็นเพื่อให้เด็กเร่ร่อนได้รับโอกาส ทางเลือกที่ดี  บางครั้งก็ของครูก็หมดกำลังใจระหว่างทางเดินทั้งการศึกษา การทำงาน อยากกลับไปใช้ชีวิตบนถนนอีกครั้ง ครูก็ให้ครูทุกคนที่เด็กรู้จักดึงกันไว้ให้นานที่สุดในแต่ละบ้าน  ครูทำงานคนเดียวไม่ได้ต้องช่วยกันครั้ง  มีบางครั้งที่ครูเองก็หมดกำลังใจเหมือนกันก็ต้องหมั่นเติมให้กันอยู่เสมอ เช่น กรณีที่เด็กเร่ร่อนตายจากอุบัติเหตุ ตายจากโรคเอดส์  บางครั้งบางวัดก็ไม่เผาศพเด็กให้ เพราะไม่มีเอกสาร ครูก็หาวัดที่ยอมให้เผาได้  ครูข้างถนจำต้องเป็นสัปเหร่อไปในตัวด้วย เพื่อส่งวิญานของเด็กเร่ร่อนไปสู่สุขคติ ชาติหน้าเกิดมาขอให้มีครอบครัวที่พร้อม พร้อมทั้งความรัก ความอบอุ่น จะได้ไม่ตายอย่างโดดเดี่ยวแบบนี้

 

 

ครูมีตัวอย่างที่อยากเล่า

เรื่องการศึกษาสำหรับเด็กเร่ร่อนต่างด้าว

สำหรับการทำงานครูข้างถนนกว่าจะเด็กพ้นถนนแต่ละเคส ต้อใช้เวลาอย่างมากค่ะ  พื้นที่ที่ครูลงส่วนมากจะเป็นเคสแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวพาลูกมาขอทาน เช่น ประตูน้ำ หน้าห้างพันธุ์ทิพย์ หน้าสยามซ็นทรัสเวริด หน้าสยาม ถนนสุขิมวิท ซอยนานา อโศก  สถานีรถไฟฟ้าสาทร พื้นรังสิต เป็นต้น บางเคสทำงานด้วย สองปีเต็มถึงทำให้เด็กได้ไปโรงเรียน แล้วแม่ก็ยุติการพาลูกออกมาถนน ถึงแม้จะมี มติ ครม.ปี พ.ศ.๒๕๔๘  ให้รับเด็กทุกคนเข้าเรียนแม้ไม่มีเอกสาร แต่ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผู้อำนวยการโรงเรียน  แม้แต่เรื่องการจดทะเบียนการเกิดมีกฎหมายชัดเจน แต่ขาดการบังคับใช้ ในขณะนี้มีเด็กเร่ร่อนได้เข้าเรียนโรงเรียนวัดมหาวงษ์  จำนวนกว่า ๒๖ คน และโรงเรียนวัดหลักสี่จำนวนกว่า ๑๒ คน ที่ได้รับโอกาสทางการศึกษา  ยังมีปัญหาอุปสรรคระหว่างอีกหลายเรื่อง

เรื่องการรักษาพยาบาล  วันหนึ่งที่ลงพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว เด็กน้อยเกิดชักขึ้นมา ครูก็พาขึ้นรถมอเตอร์ไซด์ไปโรงพยาบาลตำรวจ ทางพยาบาลก็ขอใบเกิด  ถ้าเราไม่มี เลยต้องใช้เส้นค่ะ โทรศัพท์ถึงท่านรองผู้อำนวยโรงพยาบาล ท่านจึงให้ความอนุเคราะห์ในการรักษาพยาบาล  ครั้งนี้ได้ใจแม่เด็กหลายคน 

อีกเคสเพิ่งเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2557 โดยครูลงพื้นที่ร่วมกับนักศึกษาในการติดตามการทำงานครูข้างถนน  เราได้พบเคสน้องเจมกับแม่ ซึ่งน้องเจมน้องป่วยมาแล้วประมาณ หนึ่งสัปดาห์ โดนคนเมาเหยียบที่เท้าอักเสบ  แม่ได้แค่พาลูกไปซื้อยาแก้ไขกับแก้อักเสบ แต่วันนั้ครูไปจับหัวเด็กหัวร้อนมาก แล้วเด็กมีการตัวเหลือง หายใจติดขัดตลอดเวลา หันมาถามแม่เด็กไว้วางใจป้าไหม ไปโรงพยาบาลด้วยกันเอาไหม  แม่เด็กบอกว่าไป พวกเรารอรถแท๊กซี่กันครึ่งชั่วโมงกว่า สุดท้ายตัดสินใจขึ้นรถไฟฟ้า มาลงที่อนุสาวรีย์พากันวิ่ง ขณะที่เด็กน้อยก็อุจาระไหลตลอดเวลา เมื่อมาถึงโรงพยาบาลราชวิถีทางฝ่ายคัดกรองบอกว่าไม่มียาสำหรับเด็ก ให้เราไปต่อที่โรงพยาบาลเด็กก็พากันวิ่งลัดเลาะทางลัดไปถึงโรงพยาบาลเด็ก ฝ่ายคัดกรองบอกว่าให้พาขึ้นไปชั้นสองเลย เมื่อพยาบาลเห็น คุณหมอเห็นก็ใหใส่เครื่องพ่นยาทันที ทำต่อเนื่องถึงสามครั้งแล้วไม้ไหวแล้ว  ในขณะนั้น คุณหมอก็เดินมาบอกว่าต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแล้วน่ะ..คุณครูคิดอย่างไร  ตอนนี้คิดถึงค่ารักษาแล้ว แล้วเราจะเอาที่ไหนจ่าย  รีบโทรหาเพื่อนอีกท่านคุณพิณประภา ธันวุธ ที่ระดมเงินมาช่วยงานครูข้างถนน ห้าหมื่นบาทขออนุญาตมาใช้ก่อน แล้วบอกคุณหมอใช้ได้เลย แล้วโทรหาครูหยุย (นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์  เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กและเป็นสภานิติบัญญัติในปัจจุบัน)ท่านระดมทุนอีก ห้าหมื่น เป็นกองกลางในการช่วยเหลือชีวิตเด็กหนึ่ง ซึ่งเด็กชายเจม...ปอดติดเชื้อขั้นรุนแรง โอกาสเสียชีวิตสูงมาก ทุกคนบอกว่าครูต้องทำใจหน่อยนะ  จนกระทั่งอุปกรณ์พร้อมสภาพทุกอย่างคุณพยาบาลและคุณหมอที่เข็นเตียงขึ้นไปส่งบอกว่าครูได้ช่วยชีวิตหนึ่งเลยน่ะ..ปัจจุบันน้องเจม หายดีแล้ว นอนในโรงพยาบาล กว่า 12 วัน หมดค่ารักษาพยาบาลไปจำนวน 52,236 บาท  ทางครูเองก็พยายามจะซื้อบัตรประกันสุขภาพของเด็ก ในราคา 365 บาท แต่ซื้อไม่ได้เพราะทั้งพ่อและแม่ก็ไม่มีเอกสารและไม่ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานด้วย  ตัวน้องเจมเองก็เพิ่งได้ใบรับรองการเกิด  ตามสิทธิของเด็กที่คลอดในโรงพยาบาล

ตัวอย่างเรื่องการมีสูจิบัตรสำหรับเด็กที่คลอดในประเทศไทย

ทางครูข้างถนนได้ดำเนินการ  พระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. 2551 มาตรา ๒๐ แต่ในทางปฏิบัติที่ครูข้างถนนลงไปทำงานด้วย สิ่งที่ได้พบคือ ทางโรงพยาบาลจะไม่ออกใบรับรองการหลังสมุสีชมพูให้ เพราะแม่และเด็กเร่ร่อนที่ไปคลอดลูกที่โรงพยาบาลส่วนมากค้างค่ารักษาพยาบาล จึงทำให้เด็กที่ออกมา  แม่ไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่สำนักงานเทศบาล/สำนักงานเขต/อำเภอได้  สิ่งที่ได้มีคือใบชำระหนี้สินแทน  สิ่งที่เล่าคือของจริงที่ครูข้างถนนได้เจอ ได้แก้ไขกันที่ละเคส  ถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปเพื่อแสวงหาทางเลือกร่วมกัน ..เพื่อให้เด็กเร่ร่อนทุกคนได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน

บทบาทของครูข้างถนน

ครูข้างถนน ตัวเล็กๆๆอย่างพวกเราที่มีเพียงประมาณ ๑๘๐ คนที่กระจายตัวกันอยู่ทั่วประเทศ สังกัดทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นครูตัวเล็กๆๆที่ต้องการนำเด็กเร่ร่อนที่ปฏิเสธทั้งครอบครัว ทั้งโรงเรียน กลับมาพัฒนาอีกครั้ง จากที่ครูทำงานเด็กที่เคยออกมาเร่ร่อน ใช้ชีวิต อยู่บนถนนแล้วใช้เวลากว่า ๖ ปี กว่าจะปรับตัวให้เป็นเด็กปกติได้  ระหว่างทางใน ๖ ปีนั้นมีตัวแปรอยู่เสมอในการที่จะพาเด็กคนอื่นไปเผชิญหาความต้องการของเด็กๆบนถนน ตลอดเวลา ครูจึงต้องมีกิจกรรมที่ดึงดูดเด็ก

ใช้ใจกับใจในการให้เขายุติ ตลอดจนการต้องสานพลังช่วยเหลืออีกหลายเรื่องในตัวเอง  หรือบางครั้งบางเคสขอขอแยกเด็กออกจากครอบครัว  คำผสุสวาทจึงสาดมาที่ครูอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงพ่อแม่ครูตายไปแล้วก็ไม่เว้นที่จะถูกด่าไปด้วย  ครูก็ต้องยอมเพื่อแลกกับการศึกษาของเด็กหนึ่งคน

หลายคนชอบถามแล้วครูมาทำงานเหล่านี้ทำไม...

ถ้าจะตอบให้สวยหรูก็ตอบได้ แต่ขอตามแบบตรงว่าครูเลือกที่จะทำงานด้านนี้ เพราะเป็นนักพัฒนาเด็กและเยาชน เป็นอาชีพหนึ่ง ที่เงินเดือนไม่มาก แต่เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ แล้วงานนี้เป็นงานที่มีจริยธรรมและคุณธรรมในการกำกับ  เพราะครูทำงานด้วยเงินบริจาค ที่ทุกคนบริจาคมาเขาสาธุมาแล้ว เราต้องซื่อสัตย์ต่อการทำงานของตนเองคือเวลาการทำงานที่ไม่มีมิติเวลา ซื่อสัตย์ที่งานที่ทำและเงินที่บริจาคการใช้ให้มีคุ้มค่ามากที่สุด เงินลงไปที่เคสที่ต้องช่วยเหลือ พร้อมทั้งหาเพื่อนร่วมทางในการทำงาน

ครูเชื่อมั่นในตัวเด็กเร่ร่อนของครูที่ช่วยเหลือมีศักยภาพทุกคน ขอเพียงโอกาสให้เด็กเหล่านั้นได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน ยอมรับในตัวของเขา ครูมีตัวอย่างที่ดี เด็กเร่ร่อนจบการศึกษาที่สูงมีหลายคน หลายคนเข้ามาทำงานช่วยเหลือน้องๆที่เป็นเด็กเร่ร่อนในหน่วยงานและองค์กรต่างๆ  หลายคนมีครอบครัว มีหน้าทีการงานเลี้ยงตนเองและครอบครัว...เพราะคำว่า “การให้โอกาส และที่ยืนแก่เด็กเร่ร่อนเหล่านั้น”

สิ่งเหล่านี้เป็นเสียงเล็กที่อยากบอกว่าให้โอกาสกับเด็กเหล่านี้  กลุ่มครูข้างถนนก็จะหน้าที่ของครูต่อไปและต้องถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ต่อไป เมื่อสังคมจะมีเด็กเร่ร่อน คนเร่ร่อน เพื่อให้สานงานต่อ ลงไปหาเด็กเร่ร่อน เพื่อให้เขาค้นหาศัยกภาพของเขาให้เจอ แล้วคืนเด็กเร่ร่อนอย่างปราณีตให้กับสังคม เป็นคนที่มีคุณภาพต่อประเทศชาติต่อไป

งานที่ครูข้างถนนเหมือนการขุดเคสที่ติดลบในชีวิต ให้กลับมาเป็นเด็กปกติที่เข้าสู่สังคมอีกครั้ง แต่งานครูข้างถนนช่างต้องผ่านปัญหาอุปสรรคมากมาย จำเป็นที่ต้องมาเรียนรู้แลกเปลี่ยนการทำงาน พร้อมกับการสนับสนุนทุกหน่วยงาน ฝากเรื่องเหล่านี้ทุกท่านที่มีเกี่ยวข้อง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และหน่วยงานภาครัฐตั้งแต่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาสังคมทุกภาคส่วน ตัวเด็กเร่ร่อนเองที่มีส่วนได้เสีย ด้วยการแสวงหาแนวทางสมานฉันท์ในการทำงานเพื่อให้เด็กต้องรับประโยชน์สูงสุด  พร้อมทั้งจำเป็นต้องมีการปฏิรูปการดูแลเด็กเร่ร่อนทั้งระบบที่เกี่ยว เรื่องการศึกษา การรักษาพยาบาล สิทธิในการมีสถานะ ตลอดจนเรื่องการเดินทางในการทำงานในอนาคต  เพื่อสังคมสุขภาวะอย่างมีคุณค่า และในขณะนี้ยังสอดคล้องการระเบียบวาระที่พิจารณา การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง และระเบียบวาระเรื่องการจัทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย ที่ต้องดูแลทุกคนในเรื่องการรักษาระบบสาธารณะสุขที่อยู่บนแผ่นดินไทย เหมือนคนไทยเช่นเดียวเพราะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอาเซียนและของโลก

ขอบคุณทุกท่านค่ะ