สถานการณ์การคุ้มครองเด็กต่างด้าวที่เดินทางเข้าประเทศไทยโดยลำพังหรือแยกจากผู้ปกครอง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยกรุงเทพมหานคร เป็นหลวง ที่มีผู้คนหลายกลุ่มที่ต้องการเข้ามาอยู่พร้อมที่จะมาทำมากินใน หรือาอาศัยอยู่ ตั้งแต่กลุ่มแรงงานข้ามชาติ แม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวที่พาลูกเข้ามาขอทาน หรือกลุ่มบุคคลที่ถูกบังคับให้มาขอทานหรือขายดอกไม้ ตามซอยนานา สุขุมวิท เด็กที่ติดตามพ่อแม่มาเป็นกรรมกรก่อสร้างที่มีการเคลื่อนย้ายกันตลอดเวลา ผู้ลี้ภัยภัยสงคราม เด็กที่ต้องการเข้ามาทำงานมาเป็นแรงงานเด็กตั้งแต่เยาว์วัย
กลุ่มที่เป็นแรงงานข้ามชาติหรือแรงงานต่างด้าว ที่เข้ามาทำงานที่เข้าเมืองมาทั้งถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย และจะมีแรงงานบางส่วนได้รับบัตรอนุญาตทำงานชั่วคราว ในปี พ.ศ.2553[1]จำนวน 955,595 คน โดยแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายได้รับใบอนุญาตในกรุงเทพมหานคร 168,442 คน และมีข้อมูลจากสำนักบริหารการทะเบียน(2553) ณ เดือนมิถุนายน มีจำนวนแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมายที่มาขึ้นทะเบียนรายงานตัวต่อกระทรวงมหาดไทย และได้รับหมายเลข 13 หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข “00” ซึ่งทางการหมายถึง แรงงามข้ามชาติขึ้นทะเบียนจากประเทศพม่า ลาว กัมพูชา จำนวนทั้งสิ้น 2,487,045 คน แต่แรงงานเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครถึง 434,612 คน จะเห็นได้ว่าแรงงามข้ามชาติเหล่านี้เข้ามาทำงานที่ถนัดคือแรงงานกรรมกรก่อสร้าง สภาพการณืส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เข้าเมืองผิดกฎหมายและกลุ่มที่ทำงานโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ซึ่งกระจายตัวอยู่ในแหล่งก่อสร้างต่างๆไม่น้อยกว่า 10,000 แหล่งก่อสร้างทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งแรงงามข้ามชาติเหล่านี้ จะมีผู้ติดตามมาทั้งครอบครัว หรือลูกที่ต้องมาด้วยพร้อมกับเด็กที่เกิดในประเทศไทยแต่เป็นลูกหลานแรงงานข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดฏำหมายยังไม่มีสถานะใดๆๆทั้งสิ้น แต่มีตัวตนอยู่ในประเทศไทย
กลุ่มแรงงานเด็กต่างชาติ[2] เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากเพราะหลายหน่วยงานคากการณืว่าปัญหานี้ลดลง แต่กลับพบว่า เมื่อ 15 กันยายน 2551 มีแรงงานเด็กต่างชาติจำนวน 12,900 คน จากประเทศกัมพูชา ลาว พม่า อายุระหว่าง 15-18 ปี ได้รับในอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย เนื่องจากแรงงานเด็กต่างชาติกลุ่มนี้มีเอกสารของทางการจึ่งเข้าใจว่า พวกเขาน่าจะทำงานในสภาพเงื่อนที่ดีกว่าแรงงานต่างชาติที่ไม่ได้มีเอกสาร แต่ยังมีงานวิจัยหลายเรื่องของสถาบันการศึกษาและองค์กรชุมชน[3] คาดประมาณว่า มีแรงงานเด็กต่างชาติอย่างน้อย 100,000 คน ทำงานในประเทศไทย ซึ่งเด็กเหล่านี้ไม่เข้าถึงในการบริการศาธารณสุข บริการทางการศึกษา ตลอดจนแรงงานต่างชาติเป็นกลุ่มเด็กที่เสี่ยงต่อการถูกเอารัดเอาเปรียบ ทำงานหนักเกินเวลาที่กำหนด และได้ค่าจ้างที่ต่ำกว่า ขาดที่พักอาศัยอย่างปลอดภัย ตลอดจนการเสี่ยงต่อการถูกบังคับล่วงละเมิดทางเพศทั้งหญิงและชาย
กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวขอทาน[4] มีการเคลื่อนย้ายกันมาเป็นจำนวนมาก ด้วยมีความเชื่อมั่นว่าในเขตกรุงเทพมหานครเป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก และเป็นแหล่งที่มีรายได้จากการขอทานเป็นจำนวนมาก ปัจจัยที่เอี้อต่อการดำรงอยู่และการเติบโตขอทานต่างชาติ ที่พบว่าความต้องการเด็กต่างชาติให้มาช่วยขอทานของผู้ใหญ่ ทำให้มีรายได้มากขึ้น จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก แม่และเด็กชาวกัมพูชาเป็นกลุ่มที่มาขอทานมากที่สุดในจำนวนชาวต่างชาติที่เร่ร่อนเข้ามาในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มนี้เข้ามาโดยสมัครใจ และมีบางรายที่มีนายหน้าพามา การอาศัยอยู่จะอยู่ในชุมชย หรืออยู่กับเพื่อนบ้านเพื่อคอยช่วยเหลือกันเวลาที่ถูกจับ สามารถฝากดูแลเรื่องลูกๆได้ ชาวกัมพูชาเห็นว่าทำงานอาชีพขอทานเป็นงานสุจริตเป็นการหารายได้เพื่อช่วยเหลือครอบครัวให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ความเป็นอยู่ของแม่เด็กเร่ร่อนต่างด้าวขอทานกลุ่มนี้ โดยจะอยู่เป็นครอบครัวกับพ่อแม่พี่น้อง หากเป็นเด็กก็จะอยู่กับแม่เป็นส่วนใหญ่ หรือเมื่อเด็กโตขึ้นมาหน่อยแม่ก็ให้ลูกออกไปขอทานตามลำพัง หรือเด็กบางคนก็จะเริ่มสร้างปัญหาให้เช่นเมื่อได้เงินมาจะเอาเงินไปเล่นเกมส์ ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น หรือบางรายก็เริ่มลักขโมยสิ่งของของชาวบ้าน แต่จะมีแม่และเด็กบางคนอยู่กับญาติที่เคยมากรุงเทพมหานครก่อน เด็กบางคนที่ไม่มีผู้ปกครองมาก็จะไปอยู่กับญาต เมื่อมีอายุมากขึ้นเด็กเหล่านี้จะออกไปใช้ชีวิตเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้จะไปอาศัยอยู่กับกลุ่มเพื่อนเพื่อความสะดวกในการช่วยเหลือหรือติดต่อสื่อสารกัน หากกลายเป็นเด็กเร่ร่อนวัยรุ่นจะอยู่กับเพื่อนมากกว่า โดยกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวขอทานกัมพูชาไม่ค่อยได้เรียนหนังสือหรือได้เรียนหนังสือน้อยมาก จึงทำให้กลุ่มนี้อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ทั้งภาษากัมพูชาและภาษาไทย กลุ่มขอทานชาวกัมพูชาเหล่านี้จะมีสัญลักษณ์คือจะใช้ภาชนะเป็นแก้วน้ำของร้านสะดวกซื้อเพื่อใสเงินตอนที่มีผู้ให้เงิน เพื่อสะดวกกับการพกพาไปในที่ต่างๆ หรือบางครั้งผู้ที่ให้เงินก็ซื้อน้ำดื่มหรือขนมให้เด็กแทนการให้เงิน แม่และเด็กเหล่านี้ที่มาขอทานเคยถูกจับหรือควบคุมตัวที่สถานแรกรับคนไร้ที่พึ่งนนทบุรี ถ้าเป็นกรณีของเด็กที่ถูกจับตามลำพังเด็กเหล่านี้จะถูกส่งไปยังสถานแรกรับเด็กชายบ้านปากเกร็ด(บ้านภูมิเวท) การดูแลหรือกระบวนการส่งกลับใช้การทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ บางครั้งเด็กเหล่านี้ไม่ได้พบหน้าผู้ปกครองหรือญาตในกรณีที่ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเป็นลูก และในกรณีที่แม่และเด็กเล็กถูกจับโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแม่และเด็กเหล่านี้จะถูกส่งตัวกลับไปที่ประเทศต้นทาง ก่อนที่จะถูกส่งตัวกลับจะต้องถูกอยู่ให้ห้องกันตั้ง 7-45 วัน แล้วแต่แม่และเด็กเหล่านั้นถูกจับครั้งที่เท่าใด สำหรับอาหารทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองมีให้ แต่แม่และเด็กเหล่านี้บอกว่าอาหารไม่เพียงพอ จะต้องจัดหาเองเป็นครั้งคราวโดยเฉพาะเรื่องนมเด็ก
เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 อย่างเคร่งครัด กระบวนการขอทานหรือการบังคับเด็กให้มาขอทานมีการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับงานวิจัยขององค์กรเฟรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล ในปี 2549 การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวที่เข้ามาโดยการหลบหนีเข้าเมืองด้วยครอบครัวเองเป็นส่วนใหญ่ และเริ่มมาเป็นแรงงานข้ามชาติ ในรูปแบบของกรรมกรก่อสร้าง พนักงานรักษาความปลอดภัย แล้วมีแม่และเด็กก็ขอทานบ้างเป็นครั้งคราว
กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรอิงญา[5] ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ชาวโรฮิงญาจากทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ประมาณ 250,000 คน ได้หลบหนีการกวาดล้างต่อต้านรัฐบาลและชนกลุ่มน้อยที่ตั้งตนเป็นปฏิรักษ์กับรัฐบาลทหารพม่าเข้าไปในประเทศบังคลาเทศ แต่ทางประเทศบังคลาเทศก็ไม่ยอมรับคนกลุ่มนี้ แต่ก็มีชาวโรฮิงญาจำนวนหนึ่งที่ลี้ภัยทางเรือเข้ามาอาอยู่ในประเทศไทย อินโดนิเซีย และออสเตลีย แต่สำหรับประเทศไทยมีชาวโรฮิงญากลุ่มแรกที่เข้าอยู่ในประเทศไทยทางด่านแม่สอด จังหวัดตาก แล้วกระจายตัวกันไปอยู่ทั่วประเทศโดยคนเหล่านี้จะไปอาศัยในชุมชนมุสลิม สำหรับประเทศไทยมีการรู้จักชาวโรฮิญา เมื่อปี 2548 เมื่อหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ[6] ฉบับ วันที่ 20 ธันวาคม 2548 ลงข่าว เรื่อง “สตม.รวบจอบแสบมือปลอมพาสปอร์ตให้ฮับบาลี” จึงได้กล่าวถึงกลุ่มโรฮิงญาทะลักเข้าไทย จนกระทั่งผู้บัญชาการทหาญสูงสุด พร้อมผู้แทนกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการต่างประเทศ และสภาความั่นคงแห่งชาติ มาพบคณะกรรมการอิสลามมัสยิดอัลซอร์ เขตเทศบาลเมืองแม่สอด จังหวัดตาก โดยได้สนทนากับคณะกรรมการมัศยิด เรื่องชาวโรฮิงญา ที่ถูกทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองผลักดันไปฝั่งพม่า ด้านอกเภอแม่สอดกว่า 100 คน แต่ทางการประเทศพม่าไม่ยอมรับพร้อมกับกดดันกลับมายังฝั่งประเทศไทย และขออาศัยในชุมชนอิสลาม บางส่วนไปอาศัยในสุเหร่า และสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ เนื่องจากเกรงว่าหากปล่อยไว้เช่นนี้จะกลายเป็นปัญหาในอนาคต และเริ่มมีข่าวครึกโครมเมื่อวันที่[7] 25 มกราคม 2556 เรื่องการกักขังชาวโรฮิงญาไว้ กว่า 800 คน ไว้ในสวนยางพารา จึงเป็นที่สนใจอีกครั้ง และก็มีสถิติที่ชาวโรฮิงญา เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ตั้งแต่ ปี 2549 มีจำนวน 1,225 คน ปี 2550 จำนวน 2,763 คน ปี 2551 จำนวน 4,886 คน ปี 2552 จำนวน 93 คน ปี 2553 จำนวน 2,351 คน ปี 2554 จำนวน 2,552 คน ในปี 2554 ไม่มีระบุ แต่ใน ปี 2556 จำนวนไม่น้อยกว่า 1,300 คน ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับประเทศไทยในการดูแลกลุ่มชาวโรฮิงญาอย่างไรในหลักของสิทธิมนุษยชน สิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตตนเองในดินแดนที่อาศัยหรือในหลักดินแดนดั้งเดิมของชาวโรฮิงญา หรือความเป็นพลเมือง
จากกลุ่มต่างๆที่มีการเคลื่อนย้ายมาสู่ยังกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทุกกลุ่มนั้นจะมีเด็กเข้ามาด้วย ซึ่งทั้งเป็นกลุ่มเด็กที่เดินทางมาเองตามลำพัง หรือบางกลุ่มมาแยกจากครอบครัวเมื่อเด็กเหล่านั้นเติบโตจนพึ่งพาตนเอง จากข้อมูลภาคสนามได้พบเด็กเหล่านี้บางคนติดตามพ่อแม่ผู้ปกครองมาประเทศไทย แต่บางคนก็เดินทางเดียวมาเอง โดยมาหาความอยู่ดีกินดี ตามที่เด็กๆเหล่านั้นคาดหวังจะเกิดขึ้น สาเหตุมาจากความยากจน มาสิ่งที่ดีกว่าในประเทศต้นทางของตนเอง ไม่มีครอบครัว หรือบางคนก็ไม่สามารถที่จะเข้ากับญาตพี่น้องที่ประเทศต้นทางได้ ไม่มีโอกาสที่เรียนหนังสือ ครอบครัวมีการย้ายถิ่น เป็นต้น ขอแยกออกเป็น
1.เด็กที่เดินทางมาเอง หรือบางกับครอบครัวเข้ามาทำงานเป็นแรงงานกรรมกรในงานต่างๆ จากการที่ได้ลงพื้นที่ เด็กส่วนหนึ่งที่เข้าประเทศไทย มีรายละเอียด
-แรงงานของกรรมกรก่อสร้าง ซึ่งส่วนมากมากับครอบครัวตั้งแต่เล็ก หรือเป็นเด็กเล็กที่เคยเรียนที่ศูนย์เด็กก่อสร้าง ของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เมื่ออายุประมาณ 13 ปีขึ้นไป เด็กเหล่านี้จะเข้าไปทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง แล้วแยกออกจากครอบครัว ซึ่งมีทั้งเด็กพม่า ลาว กัมพูชา ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้ แต่คาดประมาณว่าไม่น้อยกว่า 5,000-10,000 คน ที่กระจายกันอยู่ทุกแหล่งก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร สิ่งที่พบกับกรรมกรเหล่านี้ คือเข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นแรงงานเถื่อนไม่มีการพาเด็กไปขึ้นทะเบียนแรงงาน และมีการถูกจับเมื่ออกจากบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง และรวมถึงการการถูกโกงค่าแรงที่ทำงาน เมื่อเจ็บป่วยไม่มีค่ารักษาพยาบาลส่วนมากต้องซื้อยากินเอง โอกาสในการเดินทางไม่มีเพราะออกจากพื้นที่ เด็กเหล่านี้จะถูกจับ ซึ่งมีทั้งแรงงานเด็กที่เป็นชาวกัมพูชาและพม่า เพราะการทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้างแค่ใช้แรงงานอย่างเดียว ไม่ต้องวุฒิทางการศึกษาใดๆ จึงเป็นที่นิยมของแรงงานเด็ก แต่ทั้งหมดถือว่าเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมาย สวัสดิการประเด็นสังคม เด็กกลุ่มนี้ไม่มีโอกาสได้รับปัจจัยขั้นพื้นฐาน
-เป็นแรงงานแบกข้าวสาร แรงงานล้างรถ แรงงานตัดแผ่นเหล็ก อาศัยเช่าบ้านอยู่ในซอยมหาวงศ์ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นพื้นที่การทำงานของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กลุ่มนี้เด็กมาอยู่ตามลำพัง พ่อของเด็กตาย แม่ไม่ทราบอยู่ที่ไหนแต่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยอยู่ในกลุ่มของชาวกัมพูชาด้วยกัน ในพื้นที่นี้ ทางผู้วิจัยได้พบ จำนวน 2 คน แต่คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนมากที่ยังเข้าไม่ถึง และเข้าเมืองผิดกฎหมาย ซึ่งคนเหล่านี้จะมีการหลบหนีตำรวจ หรือไม่สามารถออกจากพื้นที่ของตนเอง เพราะจะมีการจับกุม ขาดโอกาสในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย จะหาซื้อยากินกันเองเป็นส่วนใหญ่ เด็กบางคนเคยเรียนหนังสือที่ประเทศกัมพูชาจบในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วไม่ได้เรียนอีกเลย การทำงานของเด็กเหล่านี้จะใช้แรงงานแลกกับค่าจ้าง เรื่องการถูกโกงค่าแรงของเด็กเหล่านี้ก็มีปัญหา เมื่อเกิดปัญหาไม่สามารถฟ้องร้องได้เพราะเป็นแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย
-แรงงานเข็นผัก หรือขายของตามตลาดพระโขนง ปากคลองตลาด ตลาดรังสิต จะมีแรงงานเด็กเหล่านี้มาเข็นผัก โดยใช้เช่าบ้านอยู่ในชุมชน ค่าจ้างที่ได้ คันละ 20 บาท จำนวนไม่ทราบที่แน่นอน แรงงานเหล่านี้ส่วนหนึ่งเป็นทั้งเด็กชาวกัมพูช และเด็กพม่า รายได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับจำนวนรถขนผักเข้ามาในตลาด แต่จะมีเศษผัก ผลไม้ ไปเป็นอาหารได้ ซึ่งไม่ต้องซื้อกำกับ ซื้อแต่ข้าว แต่สวัสดิการด้านอื่นๆ เด็กเหล่านี้จะไม่ได้รับ แม้กระทั่งการเดินทางไปสถานที่ต่างๆเด็กเหล่านี้จะกลัว การถูกจับ เป็นประการสำคัญ
2.เด็กที่มาขอทานกับแม่ตั้งแต่เล็ก แต่เมื่อเติบโตมาจะมีการแยกกับแม่ด้วยหลายสาเหตุด้วยกัน เด็กบางคนยังใช้ชีวิตอยู่บนถนนโดยการขอทาน หรือบางคนก็เริ่มไปรับจ้างทำงานอย่างอื่นๆ แต่เด็กจะบอกว่าการขอทานเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด ได้เงินเร็ว แต่ก็อายคนที่เดินผ่านไป เดินผ่านมา มีเด็กบางคนที่ใช้บ้านร้างเป็นที่อยู่อาศัย หรืออยู่กับเพื่อน แต่มีเด็กเร่ร่อนหญิงที่อาศัยเช่าบ้านอยู่กับคนที่รู้จักโดยไม่ใช้แม่ หริอญาติ เงินที่หาได้เด็กเหล่านี้ส่งไปให้ยายที่อยู่กัมพูชา ซึ่งตรงกับผลงานวิจัยขององค์การเฟรดอินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย[8] พบว่าเด็กที่เดินทางมาคนเดียวทั้งที่อรัญประเทศและกรุงเทพมหานคร คิดเป็นร้อยละ 2%(จำนวนที่สัมภาษณ์ 170 คน มีเด็กที่เดินทางมาคนเดียวจำนวน 4 คน) ซึ่งตรงกับข้อมูลภาคสนามของ โครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก (กุมภาพันธ์ 2555 ถึง ธันวาคม 2555) ได้พบครอบครัวแม่และเด็กที่มาขอทานจำนวน 103 ครอบครัว จำนวนเด็กทั้งหมด 258 คน พบเด็กเร่ร่อนตามลำพัง 9 คน โดยเด็กเหล่านี้ที่มีสาเหตุที่ต้องแยกจากครอบครัว
-เด็กบางคนแม่มีครอบครัวใหม่ ทำให้เด็กขอทานชาวกัมพูชาทะเลาะกับสามีใหม่ของแม่ เด็กเองก็รู้สึกว่าตัวเองโต ที่จะพึ่งพาได้ จึงออกมาใช้ชีวิตตามลำพัง บางรายก็ถูกสามีใหม่ของแม่ทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกาย โดยเตะ ตี บ้าง
-แม่ของเด็กถูกจับ แล้วเด็กไม่ได้ถูกจับไปด้วย เด็กจึงใช้ชีวิตบนถนนแทน เมื่อแม่กลับมาอีกครั้งเด็กก็ปฏิเสธในการจะอยู่กับแม่ จึงใช้ชีวิตเร่ร่อนขอทานของตนเอง เด็กบางคนที่ได้พบในพื้นที่บอกว่าไม่ต้องการรับภาระของครอบครัว แต่สิ่งที่พบกับเด็กกลุ่มนี้คือการรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มเพื่อน
3.เด็กบางคนถูกจับ ทั้งหน่วยงานของศูนย์ประชาบดี1300 ตำรวจสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยเฉพาะเด็กที่ตกเป็นเหยือการค้ามนุษย์เด็กจะถูกส่งไปที่ สถานแรกรับเด็กชายบ้านปากเกร็ด[9] (บ้านภูมิเวท) ในปี 2553 มีเด็กชาวกัมพูชาที่อยู่ในสถานสงเคาระห์ของรัฐบาลไทย จำนวน 59 คน (ทางองค์การ ได้ส่งล่ามและนักสังคมสงเคราะห์ไปดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน การปรับพฤติกรรม ตลอดจนการซักถามประวัติร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สถานแรกรับเด็กชายบ้านปากเกร็ด(บ้านภูมิเวท) สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ และสถานแรกรับคนไร้ที่พึ่ง นนทบุรี) กว่ากระบวนการจะเสร็จ ครอบครัวก็หายไปแล้ว หรือเด็กเหล่านั้นมีการส่งกลับประเทศไปฝึกอาชีพตามข้อตกลงระหว่างประเทศ (บันทึกความเข้าใจระหว่างระฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่อง ความร่วมมือทวิภาคี ว่าด้วยการขจัดการค้าเด็กและหญิงและการช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์) ซึ่งเด็กเหล่านี้บางคนก็ไปพบครอบครัวเลย เมื่อพ้นจากการฝึกอาชีพเมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทยเพื่อตามหาครอบครัวเด็กก็ไม่กับครอบครัวอีกเลย หรือบางรายก็บอกว่าของใช้ชีวิตคนเดียว ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะถูกพรากจากครอบครัวของเด็กด้วยตัวกฎหมาย พระราชบัญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ซึ่งถือว่ากลุ่มขอทานเหล่านี้เป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ซึ่งต้องใช้กระบวนการการแสวงหาข้อเท็จจริงจนเด็กเองขาดโอกาสที่จะพบกับครอบครัวดังเดิมของตนเอง หรือเด็กบางคนเมื่อไม่มีเอกสารทางแม่มายืนยันเด็กเหล่านี้จะถูกส่งไปยังสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานภาครัฐทำให้เกิดการพลัดพลาดจากครอบครัวโดยสิ้นเชิง
-เด็กบางคนที่ถูกจับโดยตำรวจสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เด็กเหล่านี้ก็จะถูกกักกันไว้ที่สถานกักกันที่สวนพลู บางครั้งถูกกักถึง 45 วัน แล้วมีการส่งไปที่จังหวัด บันเตียเมียนเจย(ปอยเปต) ก็ต้องใช้ชีวิตที่นั้นก่อนทั้งเร่ร่อนขอทาน เก็บขยะ หรือรับจ้าง เพื่อหาเงินเป็นค่ารถเดินทางมาหาครอบครัวในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่พบครอบครัวเด็กเหล่านี้จึงตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกับเพื่อนหรือบางคนก็อาศัยอยู่กับคนรู้จัก บางคนก็เร่ร่อนไปตามที่ต่างๆ
4.กลุ่มเด็กชาวโรฮิงยา ซึ่งได้สัมภาษณ์ นายอับดุล การัม รองประธานสมาคมพม่าโรอิงยา ประเทศไทย ซึ่งถามถึงประเด็นเรื่องเด็กเดินทางมาคนเดียวหรือไม่มีผู้ปกครองมาด้วย ว่าในขณะนี้ไม่มีจะมีก็คือกรณีที่เป็นผู้ชายชาวโรฮิงยา แต่งงานกับหญิงมุสลิมที่เป็นคนไทย หรือเป็นชาวโรฮิงยาด้วยกันเอง ซึ่งปัจจุบันมีอยู้ประมาณ 9,000 คน ที่กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย โดยประกอบอาชีพขายโรตี เป็นส่วนใหญ่ มีจำนวนหนึ่งที่เดินทางมาใหม่จะเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์(โดยเฉพาะให้ทำงานเป็นแรงงานประมง แรงงานในสวนยางพารา เป็นต้น ) ซึ่งในปัจจุบันมีเด็กและหญิงอพยพเข้ามาด้วย ในปัจจุบันนี้มีเด็กที่เป็นลุกหลานชาวโรฮิงยา ที่เข้าไม่ถึงการศึกษาและไม่ได้เรียน ที่ออกไปเป็นเด็กเร่ร่อน หรือเด็กขายดอกไม้ ในซอยนานา
แต่สิ่ง ที่เป็นข้อเรียกร้องเพื่อให้เด็กเหล่านี้เข้าถึงสิทธิ ได้แก่
-ต้องการให้ลูกหลานชาวโรฮิงยา ได้รับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542(แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545) และมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยในการรับเด็กนักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 เพราะในขณะนี้มีเด็กบางส่วนเท่านั้นที่ได้เข้าเรียน ขึ้นอยู่กับการค่าใช้จ่าย ถึงแม้เด็กบางคนเข้าเรียนแล้วก็ยังไม่มีการสำรวจชื่อเด็กในโรงเรียน
-ในเรื่องการรักษาพยาบาล ในปัจจุบันนี้เด็กที่เป็นลูกหลานชาวโรฮิงยา ไม่สามารถเข้าถึงบริการเรื่องสาธารณะสุขได้ เวลาไปโรงพยาบาลต้องมีเงินจ่ายเต็มทุกประการ ทำให้เด็กเหล่าขาดสิทธิในด้านนี้
-การเดินทางที่ไม่สามารถออกเดินทางไปที่ไหนได้ เหตุมาจากไม่มีเอกสารแสดงตัวตน ทำให้ถูกจับเป็นประจำ จึงอยู่เฉพาะในชุมชนเท่านั้น
-ที่พักอาศัยในปัจจุบันไม่มีหลักแหล่ง รวมถึงเวลาที่ตายในปัจจุบันนี้ไม่มีสถานที่รับฝังศพ เหตุมาจากการไม่มีเอกสารแสดงตน มัศยิดต่างๆจึ่งไม่ทำพิธีให้ และที่สำคัญไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามภาระกิจของศาสนาได้ และที่อยู่ในปัจจุบันก็ไม่ปลอดภัยมั่นคง ลูกหลานชาวโรฮิงยาต้องมีการอพยพย้ายกันบ่อยมากในเรื่องของค่าเช่าบ้าน
จากที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นกลุ่มต่างชาติที่มาอยู่ในประเทศไทยตามลำพัง ซึ่งต้องได้รับการดูแลเสมือนเป็นเด็กในประเทศนั้นๆตามหลักของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แต่มีกฎหมายบางฉบับที่มีแนวปฏิบีติต่อเด็กไม่เหมือนกัน และรวมถึงควรที่จะมีแนวนโยบายที่ดูแลเด็กเหล่านี้เหมือนกันในแถบประเทศอาเซียน
การเดินทางของเด็กข้ามชาติเหล่านี้
การเดินทางของเด็กข้ามชาติที่เข้ามาเป็นแรงงานและ กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวขอทานเป็นชาวกัมพูชา
การเดินทางของกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ชาวพม่าที่เข้ามาทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง
กรณีตัวอย่างของเด็กที่เคยเดินทางมากลับครอบครัวปัจจุบันต้องอยู่กับกลุ่มเพื่อน
กรณีที่หนึ่ง นายเหน่ง(นามสมุติ) อายุ 17 ปี เกิดที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า ครอบครัวอพยพมากว่ายี่สิบปีที่มาอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพ จังหวัดกาญจนบุรี สมุทรสาคร
สภาพที่อยู่อาศัย/การอยู่อาศัย/การดำเนินชีวิตในบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง
-อาศัยอยู่ที่บ้านพักกรรมกรก่อสร้างที่งามวงศ์วาน เป็นสถานที่ผู้รับเหมาก่อสร้างจัดหาที่พักให้ ซึ่งผู้รับเหมาเป็นคนไทย มีชาวพม่าที่อยู่ในความดูแลของผู้รับเหมาจำนวน 16 คน มีครอบครัวจำนวน 3 ครอบครัว นอกจากนั้นเป็นกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่เป็นชายและหญิง อีก จำนวน 8 คน
-สภาพของบ้านพักกรรมก่อสร้างที่เป็นที่อยู่ปัจจุบันเป็นตู้คอนเทรนเนอร์ กว้างประมาณ
1.2 เมตร ยาว 12 เมตร แล้วกั้นเป็นห้องพักตู้ละ 4 ห้อง ในแต่ละแถวจะมีตู้คอนเทรนเนอร์ วาง 3 ตู้ต่อกัน เวลาที่ว่างแต่ละแถว จะทำเป็นแถวคู่ ซึ่งจะเรียกว่าเป็น 1 หลัง ในแต่ละหลังจะมีห้องพักจำนวน 24 ห้อง มีทางเดินช่องกว้างประมาณ 50 เซ็นติเมตร ช่วงที่เป็นแต่ละชั้นจะมีบันไดเหล็กขึ้นเป็นช่วงๆ เวลาเดินต้องระมัดระวังในการที่จะตกจากที่สูงลงมา
-ในขณะนี้มีการเคลื่อนย้ายที่พักกรรมกรก่อสร้างบ่อยมาก กว่า 15 แห่งแล้ว ในการย้ายแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาได้งานบริษัทก่อสร้างไหน ย้ายที่ประชาชื่น 21 สุดท้ายอยู่บ้านพักกรรมกรก่อสร้าง บริษัท ที ที เอส (2004) เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
-พวกผมเองเป็นหนุ่ม จึ่งอยู่ด้วยกัน 5 คน ทั้ง 5 คน ก็แยกออกจากพ่อแม่ หมด บางคนก็พ่อแม่เสียชีวิต สำหรับผมแต่ก่อนอาศัยอยู่กับทั้พ่อและแม่ แต่ตอนนี้พ่อเสียชีวิตจากโรคหัวใจ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ส่วนแม่ไปอยู่กับพี่สาว ที่ทำงานเป็นคนรับใช้ตามบ้าน ที่จังหวัดสมุทรสงคราม แม่เลยต้องไปดูแล
-เป็นบ้านพักของกรรมกรก่อสร้างที่ทางผู้รับเหมาก่อสร้างได้สร้างให้ โดยมีเจ้าของบริษัทรับเหมาก่อสร้าง โดยผู้รับเหมาก่อสร้างแต่ละคนต้องจ่ายหรือรับผิดชอบในแต่ละหลัง มีการกำหนดหลังไม่ให้มีการอยู่แบบปละปนกันในแต่ละผู้รับเหมา กลัวการทะเลาะกันระหว่างคนงานด้วยกัน
-การใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม เป็นแบบรวม โดยจะมีการแยกเพียงของชายและหญิงเท่านั้น บ่อน้ำจะเป็นบ่อใหญ่ ซึ่งจะมีการขัดบ่อน้ำ หรือล้างบ่อน้ำ 3 เดือนต่อครั้ง
-การใช้ห้องส้วม ใช้ห้องรวมกันทั้งในตอนเช้าและตอนเย็น ซึ่งคนในบ้านพักกรรมกรก่อสร้างจะแย่งกันใช้ เพราะต้องรีบเร่งในการลงไปทำงานตอนเช้า
-สภาพแวดล้อมของบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง บางครั้งเต็มไปด้วยขยะ และน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะโรคอย่างมาก ส่วนมากในห้องบ้านพักกรรมกรก่อสร้างแต่ละห้องใช้มุ้ง หรือบางครั้งก็ใช้พัดลมเป็นตัวตั้งต้นในการพัดไม่ให้ยุงกัด ส่วนมากพวกผมจะนอนแบบไม่กางมุ้งเพราะมันร้อน จึงใช้พัดลม ซึ่งถ้าเปิดมากก็จะมีการเก็บเงินเพิ่มจากผู้รับเหมาเหมือนกัน.
-อาหารการกิน ส่วนมากคนงานกรรมกรก่อสร้างที่เป็นโสด และอยู่กัน ส่วนมากพวก “ผม” จะสั่งอาหารที่ร้านค้าของผู้รับเหมากินเป็นอาหารตามสั่ง การกินราคา สั่งกินก่อน เวลาที่เงินออก ทางผู้รับเหมาก็จะหักเงินไป บางวิน (เงินเดือนจะออกทุก 15 วัน) จะเหลือเป็นเงินสดไม่กี่บาท
-น้ำดื่ม ส่วนมากจะดื่มน้ำกรองที่เป็น ทางผู้ดูแลบ้านพักกรรมกรก่อสร้างจัดไว้ให้ ซึ่งต้องมีการเอาขวดมารองไว้เอง หรือมีบางครั้งที่ซื้อน้ำขวดกิน สำหรับที่ทำงานทางผู้รับเหมาจะเป็นฝ่ายจัดงานให้โดยใช้เป็นกระติกน้ำขนาดใหญ่ ใช้ใส่น้ำกรองขวดใหญ่ พร้อมใส่น้ำแข็งในคนงานเป็นกรรมกรก่อสร้างได้ดื่มกัน บางครั้งพวกผมก็เอาขวดมาใส่ไว้ไปดื่มที่บ้านพักในช่วงตอนเย็น
-การอำนวยความสะดวก บ้านพักกรรมกรก่อสร้างในเรื่องความสะดวกสบาย ก็มีกติกาเพิ่มมากขึ้นในการเข้า-ออก ของกรรมกรก่อสร้าง เพราะมีกรรมกรก่อสร้างจำนวนมาก จึงต้องมีระเบียบและกติการ่วมกัน เช่น ห้ามส่งเสียงดังหลังเวลา 20.00 น. ห้ามกินเหล้าในบ้านพัก ห้ามสูบบุหรี่ในบ้านพัก(ข้อนี้มีการละเมิดสูงสุด) ห้ามเล่นการพนัน (แต่มีกลุ่มแม่บ้านที่เล่นในช่วงกลางวัน) ห้ามบุคคลภายนอกเข้ามายังบ้านพักกรรมกรก่อสร้าง หรือให้บุคคลอื่นเข้ามาพักอาศัย
-ในช่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคม ซึ่งมีอากาศร้อนมาก บางครั้งก็มานอนที่ ช่องระบายลม (คือช่องทางเดินระหว่างบ้านพัก) ซึ่งจะมีลมพัดผ่านมา เป็นการนอนเป็นครั้งคราว เพราะในห้องพักจะเป็นเหล็กหมดในช่วงกลางวันจะรับความร้อนมาเต็มที ซึ่งในช่วงกลางคืนจึงคายความร้อนและอบตลอดเวลา พร้อมกับจำนวนของคนที่อยู่ในห้องนอนแออัดกันถึง 4-5 คน
การศึกษาของเด็ก
-ผมเคยเรียนที่ศูนย์อพยพ อำเภอสังขะบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งถ้าเทียบกับการเรียนก็คืออยู่ในระดับชั้นประถทศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนของประเทศไทย ผมไม่เคยเรียนภาษพม่า แค่พูดได้แต่เขียนไม่ได้เลย สำหรับภาษาไทย พูดได้ เขียนได้เฉพาะชื่อ เพราะมาหัดเขียนที่ตอนที่เข้ามาเรียนศูนย์เด็กก่อสร้างเดอะพาค์แลนด์ ศรีนครินทร์ มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก เมื่อปี 2551-2552 เท่านั้น อ่านภาษาไทยเป็นบางคำ ส่วนหนึ่งการเรียนรู้มาจากการ้องเพลงคาราโอเกะ และดูหนังไทย และดูทีวีทุกคืน แล้วหัดพูดตามแบบในละคร การเรียนเรียนได้ประมาณ 1 ปี พอโตขึ้นมาแม่ก็เอาไปที่ทำงานก่อสร้างด้วย โดยการให้หิ้วถังปูน แบกปูน เพราะไม่อย่างนั้นผมชอบหนีเที่ยวในตอนกลางวัน โดนจับมาแล้ว 2 ครั้ง คุณครูไปรับกลับจากโรงพักว่าเรียนหนังสือที่ศูนย์เด็กก่อสร้าง
ชีวิตการทำงาน
-งานที่ทำเป็นอาชีพรับจ้าง กรรมกรก่อสร้าง ช่วงปูน รายได้วันละ 210 บาท หรือบางครั้งก็ทำงานทุกอย่างตามที่ผู้รับเหมา ตั้งแต่แบกปูน ผสมปูน ขนของ
-ระยะเวลางานในการทำงานเป็นกรรมกรก่อสร้าง เริ่มงานตั้งแต่เวลา 7.30-17.30 น.
มีเวลาพักกลางวันในการรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง เวลา 12.00-13.00 น. เวลาในการทำงาน วันละ 9 ชั่วโมง
-การจ่ายเงินค่าตอบแทน จ่ายเป็นแบบ 15 วัน (จ่ายครั้งหนึ่ง) โดยปกติกลุ่มกรรมกรก่อสร้าง จะเรียกการจ่ายเงินแบบนี้ว่าเป็น “วิค” เป็นการตกลงกันระหว่างผู้รับเหมากับกรรมกรก่อสร้าง ส่วนมากเงินสดที่เหลือแต่ละวิคไม่มาก เพราะเชื่ออาหารกินก่อนที่จะถึงเวลาจ่ายเงิน หรือบางครั้งก็เบิกเงินล่วงหน้ามาใช้ก่อน วันนั้นที่กรรมกรก่อสร้างไม่ได้ทำงานก็จะไม่มีรายได้ ใน 1 สัปดาห์จะหยุด 1 วัน คือ วันอาทิตย์ หรือตามที่ตกลงกับผู้รับเหมา
- เมื่อทำงานเต็มเวลาก็จะได้รับเงินเต็มตามจำนวนวันที่ทำงาน สำหรับงานล่วงเวลา(โอ-ที) แล้วแต่การตกลงกับผู้รับเหมาก่อสร้าง แต่ถ้ามีงานเร่งมาก ก็จะขอให้ทุกคนทำ คิดเป็นรายชั่วโมงให้ ชั่วโมงละ 27 บาท ซึ่งทางมีโอที ทุกวันก็พอจะอยู่ได้ เพื่อชดเชยกับวันที่ไม่ได้ทำงาน เช่น วันฝนตก ของไม่เข้า หรืองานที่รับเหมาหมด งานก็ต้องหยุด
-เมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น กรรมกรก่อสร้างเหล่านี้จะดูแลตนเอง ยกเว้นการเจ็บป่วยจากการทำงานหรือบางคน เกิดจากอุบัติเหตุ เรื่องการรักษาพยาบาลขึ้นอยู่กับผู้รับเหมาของแต่ละคนว่าจะดูแลอย่างไร ยกเว้นในกรณีที่มีบัตรทอง (กรรมกรก่อสร้างแต่ละคนจะซื้อประกันชีวิตต่างหาก แล้วแต่ละบุคคล ผมไม่ได้ซื้อเพราะคิดว่าร่างกายแข็งแรงอยู่) ผมเคยได้รับอุบัติเหตุที่หนัก คือการตกนั่งร้าน ขาผมหัก ต้องรักษาตัวเป็นเดือน แต่ปัจจุบัน ก็ยังมีอาการปวดขาอยู่เป็นครั้งคราว
กรณีศึกษาที่ 2 นายชัย (นามสมมุติ) อายุ 16 ปี จังหวัดกัมปงธม ประเทศกัมพูชา
สัญชาติ กัมพูชา มีแค่ใบรับรองการเกิด (แต่ได้สูญหายไปกับแม่หลายปีแล้ว) ผมเองก็ไม่เคยเห็น แทบไม่ได้อยู่ในประเทศกัมพูชาเลย ไปๆๆกลับๆ แม่จะพาผมมาอาศัยที่บ้านเช่าในกรุงเทพเสียเป็นส่วนใหญ่ อีกแห่งหนึ่งที่มเข้าไปบ่อยมาก คือห้องกักที่สวนพลู เวลาที่แม่ถูกจำ ก็ต้องไปอยู่กับแม่ด้วย
ความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ผมมาอาศัยอยู่เองที่บ้านร้าง แถวคลองตัน แล้วก็ย้ายไปเรื่อยๆ ผมมาอาศัยแบบนี้ได้ ประมาณ ปีกว่าแล้ว คือแม่ผมกับน้อง 2 คน ถูกจับไป เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ถูกจับบ่อยมากทิ้งให้ผมอยู่กับพ่อเลี้ยงที่เป็นชาวกัมพูชาเหมือนกัน แต่ไม่ทำงานอะไร เมื่อแม่ถูกจับผมจึ่งมาอาศัยอยู่กับเพื่อนแล้วชวนกันไปอาศัยบ้านร้างอยู่เป็นครั้งคราว เมื่อแม่ออกมาแม่ก็ตามหาผมแต่ผมไม่ ต้องการไปอยู่กับแม่แล้ว ผมจึ่งมาใช้ชีวิตอยู่ตามลำพัง เริ่มขอทานน้อยลง ไปรับจ้างเข็นผักบ้าง
รับจ้างทั่วไปบ้าง ได้เงินมาเป็นค่าข้าว ค่าเล่นเกมส์ในร้านเกมส์ไปวันๆเท่านั้น
-สภาพที่พักอาศัย เป็นบ้านร้างอยู่ที่คลองตัน กำลังมีการทุบทิ้ง ปกคลุมไปด้วยต้นไม้จำนวนมาก ไม่มีไฟฟ้า อาศัยเทียน ไม่มีน้ำดื่ม ใช้วิธีซื้อน้ำเป็นขวดดื่ม หรือบางครั้งก็กดน้ำมาจากตู้สาธารณะ สำหรับห้องส้วม ห้องอาบน้ำ เขาทุบทิ้งหมดแล้วก็ใช้วิธีการอาบที่วัดมาก่อน เช่น ที่วัดธาตุทอง หรือห้างบิ๊กซี เป็นต้น
-การเคลื่อนย้ายของผมเป็นเรื่องปกติ บางครั้งก็ไปนอนที่สี่แยกบางนา หรือในตลาดพระโขนงเป็นบางครั้ง แล้วแต่วันนั้นสถานที่ไหนเหมาะ
การศึกษาผมไม่เคยเรียนหนังสือมาเลย จำได้ว่าตั้งแต่อายุ 5 ปี แม่ก็พาผมมาประเทศไทยแล้ว ผมไม่ได้เรียนหนังสือเลย พูดไทยได้นิดหน่อย เขียนภาษาไทยหรืออ่านไม่ได้เลย ภาษากัมพูชาพูดได้อย่างเดียวเหมือนกันแต่เขียนไม่ได้เลย
ครอบครัวของผมเมื่อผมมาอยู่กับเพื่อนที่บ้านร้าง พบไม่ได้พบแม่ของผมเลย เพราะผมไม่ต้องการพบมากกว่า ถามกับคนชาวกัมพูชาว่าแม่เป็นอย่างไรบ้าง แม่กับน้อง 2 คนแม่พาตระเวณขอทานอยู่มีการเคลื่อนย้ายไปเรื่อยๆ ชาวกัมพูชาเหล่านั้นก็บอกให้ผมกบับไปหาแม่บ้าง แต่ผมคิดว่าผมโตแล้ว ดูแลตนเองได้
-การทีผมย้ายไปเรื่อยๆขอทานบ้างเป็นครั้งคราวเวลาที่ไม่มีเงิน แต่ผมก็อยากมีงานทำ แต่โรงงานหรือแหล่งก่อสร้างไหนเขายังไม่รับผม เพราะผมตัวเล็กและอายุยังน้อย
-ส่งที่ผมเคลื่อนย้ายไปแบบนี้ ดีอย่างหนึ่ง คือ ผมไม่ต้องห่วง กังวลกับใคร แล้วก็ไม่ต้องมีญาติ ผมเองก็กลัวการถูกจับเหมือนกัน ตั้งแต่ผมออกมาจากแม่ยังไม่เคยถูกจับเลย เพื่อนผมไปอยู่ที่บ้านของประชาสงเคราะห์ (สถานแรกรับบ้านปากเกร็ด(บ้านภูมิเวท)) ผมไม่รู้จักหลอกมีเพื่อนผมคนหนึ่งมาเล่าให้ฟัง
-ผมมีพี่น้อง 3 คน เป็นลูกคนละพ่อหมดเลย ผมสนิทกับน้องคนกลางเป็นพิเศษ เพราะช่วงที่น้องยังเล็ก ผมกับน้องจะออกขอทานด้วยกัน ปัจจุบันน้องนกลางอายุได้ 7 ปี คนเล็กประมาณ 2 ปี แม่ก็หอบหิ้วน้องไปตามที่ต่างๆผมอยากให้น้องเรียนหนังสือค่ะ
ชีวิตการทำงานของผมการทำงานของผม คือการขอทาน ในปัจจุบันนี้ผมขอทานเป็นครั้งคราวเท่าที่จำเป็น เพราะผมโตมากแล้ว คนไม่ให้ ชีวิตผมมาขอทานกับแม่ตั้งแต่เล็กๆ ถูกจับกว่า 10 ครั้ง พร้อมแม่พร้อมน้อง บางครั้งแม่ถูกจับกับน้อง ผมวิ่งหนีทันก็ไม่ถูกจับ การจับแต่ละครั้งก็ถูกเข้าห้องกักหรืออยู่ที่สวนพลูก็ไม่เท่ากัน
-การอยู่ที่สวนพลู มีอาหารให้กิน มีกับข้าวให้ด้วย แต่อาหารจืดมาก บางครั้งผมกับแม่ต้องหาซื้อกินเพื่อให้มีรสชาติบ้าง การโดดจับแต่ละครั้งเงินที่หามาได้ก็หมดไป ไม่มีเงินเลย ยิ่งเวลาที่ต้องเดินทางกลับมาใหม่ต้องหาค่ารถก่อน
-สำหรับผมตอนนี้เงินที่หามาได้ผมหมดไปกับค่ากิน ค่าเล่นเกมส์ แต่หาไม่ได้มากเท่ากับตอนเป็นเด็กๆ แต่ก่อนผมหาได้ประมาณ 500-700 บาท มีครั้งเดียวทที่ฝรั่งให้ผม โดยให้แบงค์พันเลย แต่ก่อนแม่จะส่งไปให้ยายที่กัมพูชา ปลูกบ้าน ตอนนี้บ้านปลูกบนที่ของยายเป็นบ้านแม่ผม แต่ผมไม่เคยได้อยู่เลย ผมเองก็คิดว่าจะอยู่ในเมืองไทยหางานทำไปเรื่อยๆเพื่อเลี้ยงตนเอง คงไม่กลับไปกัมพูชาแล้ว ถึงไปอยู่ก็อยู่ไม่ได้พราะไม่มีงานให้ทำกับตายายผมก็ไม่สนิทด้วย ญาติพี่น้องก็ดูถูก
-ในช่วงนี้ผมเจอคนไทยที่หากินกับชาวกัมพูชา ผมเองก็เคยถูกรีดไถ ไป 2 ครั้ง ขณะที่ขอทานอยู่หน้าห้างเซ็นทรัลเวริลด์ โดยมีผู้ชายแต่งตัวคล้ายตำรวจมาก บอกว่ามาจากศูนย์ประชาบดี ถ่ายรูปแล้วก็จับขึ้นรถตู้ ถ้าไม่ต้องการให้ส่งตำรวจให้ เงินมาจำนวน พัน หรือสองพัน แล้วแต่การต่อรองบางครั้งก็ 500 บาท ผมคิดว่าไม่น่าใช้ตำรวจ พวกกลุ่มที่เป็นแม่และเด็กที่มาขอทานจะกลัวกันมาก เพราะเวลาที่ถูกจับหรือถูกรีดไถ เด็กๆก็จะอดอาหารไปด้วย พวกผมเองก็ต้องวิ่งหนี ทั้งตำรวจ เทศกิจ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ประชาบดี แล้วกลุ่มคนที่รีดไถด้วย
-การเดินทางขอผมในกรุงเทพมหานครนั้นผมใช้วีการเดินไปตามที่ต่างๆจะปลอดภัยกว่าขึ้นรถ บางครั้งการเดินไปตามที่ต่างๆก็จะสังเกตสถานที่ต่างๆไปด้วย ตอนเจอตำรวจหรือศูนย์ประชาบดี ผมก็หลบได้ แต่นั่งบนรถเมล์เห็นแม่และเด็กหลบหนีกันไม่ทัน ไปทางไหนก็ไม่ถูก เวลาตอนกลางคืนเป็นเวลาที่ปลอดภัยที่สุด เพราะคนที่จะมาจับเขาเลิกงานกันหมดแล้ว บางครั้งก็มีการทะเลาะกันเองของชาวกัมพูชา จึงเป็นเหตุให้ตำรวจเข้ามาในซอยหรือบ้านพักที่เขาเช่ากันอยู่..
-การเดินทางกลับประเทศกัมพูชา ผมคงไม่กลับไป คงอาศัยอยู่ในเมืองไทย รอให้อายุถึง 18 ปี ผมจะเข้าไปทำงานตามแหล่งก่อสร้าง เพราะอย่างน้อยก็มีที่พักแน่นอน ขยันทำงานก็คงพอมีรายได้เลี้ยงตนเองได้บ้าง อีกเหตุผลหนึ่งมีญาติพี่น้องเหมือนกับไม่มีญาติ เพราะผมไม่เคยอยู่กับพวกเขาเลย หรือแม้แต่แม่ตนเอง รักครับแต่ผมไม่ต้องการภาระที่เกิดขึ้น.
กรณีศึกษาที่ 3 นายเซียน (นามสมมุติ)อายุ 16 ปี เกิดที่ จังหวัดบันเตียเมียนเจย ประเทศกัมพูชา สัญชาติกัมพูชา มีเอกสารที่แสดงตัวว่าเป็นชาวกัมพูชา ได้เรียน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ของประเทศกัมพูชา พอแค่อ่านออกเขียนได้เท่านั้น สำหรับภาษาไทยพูดได้นิดหน่อย อ่าน เขียนไม่ได้เลย ปัญหาของผมเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่มีเอกสารใดๆแสดงตัวตนอย่างถูกต้อง
ที่อยู่ปัจจุบัน ผมมาอาศัยอยู่ที่บ้านเช่า ซอยมหาวงศ์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยเสียค่าเช่าเดือนละ 1,800 บาท อยู่คนเดียว เพราะห้องแคบมากแต่ก็ยังดีกว่าที่ไม่มีที่พัก
-สภาพที่อยู่เป็นห้องเล็กที่มาขนาดกว้างประมาณ 1.2 เมตร ยาวประมาณ 1.5 เมตร
เท่านั้น ใช้เป็นเพียงแค่ที่หลับนอนเท่านั้น ค่าน้ำ ค่าไฟ เจ้าของบ้านเช่าคิดเพิ่มอีก ต่างหาก ในกรณีที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งพัดลม โทรทัศน์ หรือ เครื่องเสียง แต่ในปัจจุบันนี้ผมไม่มีเครื่องไฟฟ้า
-สำหรับห้องน้ำ/ห้องส้วม ต้องใช้รวมกันเป็นห้องรวม ทุกคนต้องรับผิดชอบค่าน้ำ
ส่วนกลางเวลาไว้อาบ และซักผ้า
-สภาพห้องนอนเป็น ห้องนอนว่างเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ใดๆๆให้ ผมต้องเตรียมที่นอนเอง
พร้อมมุ้ง เพราะยุงชุมมาก
-การทะเลาะกันระหว่างชาวกัมพูชาด้วยกันเอง ทำให้ต้องมีตำรวจเข้ามาในชุมชนเป็น
ประจำ แล้วก็จะเกิดการรีดไถ่ หรือบางครั้งก็โดนจำกันจำนวนมาก เพราะที่มาอยู่ในซอยแห่งนี้เป็นหลายพันคน เข้าเมืองถูกกฎหมายไม่กี่คน
-ในขณะนี้ในชุมชนที่อยู่ เริ่มมีปัญหาการพนัน และยาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมีเด็ก
วัยรุ่นที่ทำงานได้เข้าไปเกี่ยวข้อง หรือบางครั้งก็มีการส่งเสียงดัง ทำให้ชุมชนข้างเคียง รำคาญ ก็จะมีการโทรบอกตำรวจให้เข้ามากวาดล้างเป็นครั้งคราว
ครอบครัวของผมสาเหตุที่พบต้องออกมาจากครอบครัวแล้วเขามาหางานทำในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากพ่อกับแม่เลิกกัน ส่วนผมอยู่พ่อกับปู่ย่า แต่เมื่อ 3 เดือนที่แล้วพ่อเสียชีวิต ทำให้ครอบครัวของผมไม่มีรายได้ที่แน่นอนเข้ามาเลี้ยงครอบครัว แม่ของผมหายมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่ผมยังเล็ก ไม่รู้จักแม่ด้วยซ้ำว่าหน้าตาเป็นอย่างอย่างไร
-ภาระที่ต้องดูแลปู่กับย่าจึงต้องตกลงมาที่ผม จึงต้องหาเงินเลี้ยง พร้อมที่จะต้องเก็บเงินไว้เป็นค่าบวชเรียนและค่าใช้จ่ายในครอบครัว ในอนาคต
ชีวิตการทำงานของผม การเดินทางของผมมาจากตลาดโรงเกลือโดยนั่งรถตู้จากอรัญประเทศมาลงที่สมุทรปราการ แล้วมีกลุ่มชาวกัมพูชาด้วยกันไปรับมาที่บ้านเช่า ในช่วงเดือนแรกก็เดินตระเวณหางานที่จะทำงานที่เหมาะกับผมในช่วงอายุนี้ถ้าบริษัทต่างๆก็ยังไม่ให้ผมทำงานเป็นเรื่องราวเพราะกลัวเรื่องกฎหมายแรงงาน
-งานที่ทำปัจจุบันเป็นงานแบกกระสอบข้าวสารลงเรือ ของโกดังเก็บสินค้า การทำงานจะเริ่มงานตั้งแต่ 7.30-17.30 น. มีเวลาพักกลางวัน 1 ชั่วโมง รายได้วันละ ประมาณ 180-210 บาท แล้วแต่จำนวนข้าวสารที่ต้องลงเรือในแต่วัน
-เรื่องการรักษาพยาบาลในกรณีที่เจ็บป่วยจากการทำงานยังไม่มี แต่มีอาการไข้ปวดหัวบ้างเป็นครั้งคราวที่ซื้อยากินเอง แต่พวกผมเองก็ไม่ได้เดินทางไปข้างนอกจากชุมชนที่อยู่เพราะกลัวการถูกจับ เพราะผมเข้าเมืองผิดกฎหมาย
-ในที่ทำงานก็มีปัญหาบ้างเรื่องการเกี่ยงงานกันทำ โดยเฉพาะเด็กใหม่อย่างผม ต้องทำงานหนักกว่าคนเก่า และที่สำคัญคือจำนวนเที่ยวในการแบกข้าวสาร ของผมต้องมากกว่าคนเก่าที่เคยมาอยู่แล้ว แต่ผมก็ต้องทำ เพราะงานหายากมากสำหรับเด็กอย่างผม
-เรื่องการทะเลาะกันในที่ทำงาน มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมทำงาน มีการทะเลาะกันเกิดขึ้น แต่วันนั้นผมลา 1 วัน จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตำรวจจับไปส่ง ตม.กันอยู่ประมาณ 10 วัน แล้วถึงได้ออกกลับมาทำงานที่เดิม
-สิ่งที่เป็นกังวลกับผม คือผมอยากมีงานทำเป็นหลักแหล่ง โดยเฉพาะงานก่อสร้างเพราะมีที่พัก และขึ้นอยู่กับเราขยันในการทำงาน แต่ผมต้องอายุ 18 ปี บริบูรณ์ บริษัทถึงให้ผมทำ
บทสรุปจากการสัมภาษณ์กรณีศึกษา
1.เด็กทุกคนเหล่านี้กังวลในความเป็นอยู่ของตัวเด็ก ในการเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการถูกจับในแต่ละครั้งเด็กจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ ซึ้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต
2.เด็กเองก็อยากอยู่กับครอบครัว แต่เด็กเหล่านี้บางคนผู้ปกครองเสียชีวิต ขาดโอกาสในการอยู่กบครอบครัวตลอดจนการเรียนรู้ความเป็นครอบครัวในเรื่องบทบาทของการเป็นพ่อ แม่ หรือลูก เฉกเช่นครอบครัวทั่วไป
3.เด็กเองขาดโอกาสทางการศึกษา ทั้งในประเทศต้นทางของเด็กเอง และการศึกษาในประเทศที่อาศัยในปัจจุบัน เพราะทั้งอายุมากกว่าที่จะเรียนในระดับต้น และที่สำคัญคือการสื่อสารภาษาไทยไม่ได้ทั้งการอ่านและการเขียน
4.การขาดที่พักอาศัยอย่างปลอดภัย ซึ่งในปัจจุบันเด็กเหล่านี้ต้องอยู่ตามที่จะจัดหาได้ทั้งของผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือการเช่าบ้านของตนเอง ตลอดจนเรื่องการทะเลาะกันของแรงงานและที่พักอาศัยมียาเสพติด ทำให้ตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้องจึงกลัวการถูกจับ
5.การวางแผนการดำเนินชีวิตของเด็กเหล่านี้ยังไม่มีการกำหนดที่ชัดเจน แต่สิ่งที่เด็กต้องการ คือการอยู่ในประเทศไทย เพื่อหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว และมีเด็กที่บอกว่าไม่ต้องการกลับที่ประเทศต้นทางเพราะไม่มีความผูกพันกับญาตพี่น้อง
ประเด็นที่ห่วงใยต่อเด็กเดินทางเข้ามาในประเทศโดยลำพังหรือแยกจากผู้ปกครอง
1.เด็กเองต้องดำรงชีวิตในประเทศไทย ที่ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ไม่สามารถวางแผนในการดำเนินชีวิตได้ ไม่ว่าเด็กทำงานของเด็กที่เร่ร่อนขอทาน เพราะการไม่มีตัวตนอยู่ในประเทศไทย ไม่มีทั้งเอกสาร และที่ประเทศต้นทางของเด็กเองก็ไม่มีเอกสารแสดงตัวตนด้วยกลายเป็นบุคคลที่ทั้งสองประเทศไม่ใช่ประชากรของตนเอง
2.ในเรื่องการศึกษาของเด็กเหล่านี้ ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาทั้งสองประเทศ เป็นเด็กที่ใช้ว่าขาดการศึกษาเชิงระบบอย่างชัดเจน และตัวเองเด็กบางครั้งก็ปฏิเสธในการเรียนด้วย เพราะอายุโตกว่าที่จะได้เรียน
3.ระบบสาธารณะสุข เด็กเองเมื่อมีการเจ็บป่วยจะมีการพึ่งพาร้านยาเป็นส่วนใหญ่ การจะเข้าสู่ระบบสาธารณะสุขทั่วหน้าทั้ง 2 ประเทศ เด็กเหล่านี้ไม่มีโอกาสที่จะได้รับ
4.เด็กเหล่านี้สับสนในตนเองว่าจะเป็นพลเมืองในประเทศชัดเจน เพราะหลายกรณีถึงจะกลับไปอยู่ที่ประเทศต้นทางแต่ก็ขาดทั้งญาตพี่น้อง จะอยู่ในปรระเทศที่อาศัยในปัจจุบันจะอยู่ในฐานะไหนของพลเมืองประเทศนั้น จะมีสิทธิอาศัยอยู่ชั่วคราว หรืออยู่ในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมือง เด็กเองก็สับสนในฐานนะของตนเอง
5.ความกังวลของเด็กในกรณีศึกษา กลัวนำประวัติไปแจ้งตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนต้องมีการอธิบายว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนยุทธศาตร์ในการทำงานช่วยเหลือพวกเขา
ความคิดเห็นของนักวิจัยภาคสนาม
1.ปัญหาของเด็กข้ามชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศโดยลำพังหรือแกจากครอบครัว ควรที่จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่กลุ่มที่ไม่สามารถกลับประเทศต้นทางได้ จะมีการดูแลอย่างไรที่จะคุ้มครองสิทธิของเด็กตามหลักอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
2.ในกระบวนการส่งกลับประเทศ ต้องมีการความร่วมมือกันอย่างจริงจัง แต่อย่าเพียงแค่บันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศ (MOU) ซึ่งไม่ได้ผลหลายบันทึกด้วยกัน โดยขาดการใส่ใจในการปฏิบัติต่อเด็กหรือกลุ่มแม่และเด็กอย่างจริงจัง
3.ประเทศต้นทางของพลเมืองเด็กเหล่านี้ ต้องมีการพัฒนาทางด้านการศึกษา การสาธารณะสุข การมีรายได้อย่างเท่าเทียม ให้คนของประเทศได้สิทธิต่างๆในประเทศที่เข้าเป็นพลเมืองอย่างเต็มที่
.....................................................................................................
[1] กาญจนา เทียนลาย และคณะ เอกสารประกอบการ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติ “ประชากรและสังคม” เรื่อง ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย เมื่อ ปี 2555
[2] Aree Jampaklay ,”Migration and Children”, Thailand Migration Report, International Office for Migration,2011
[3] เอกสาร เรื่อง เด็กเคลื่อนย้าย มุมมองใหม่ในการทำงานคุ้มครองเด็ก ของภาคีสมาชิกเด็กเคลื่อนย้าย( ProCom Thailand)
[4] เสาวรักษ์ วรายุ,2548. คนข้ามแดน:ชีวิตและชุมชนของขอทานเขมรในกรุงเทพมหานคร
[5] สักรินทร์ นิยมศิลป์ เอกสารประกอบการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ “ประชากรและสังคม” เรื่อง ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย เมื่อ ปี 2555
[6] หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 20 ธันวามคม 2548
[7] หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556
[8] องค์การเฟรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) คุณลักษณะและขอบเขตของปัญหาครอบครัวขอทานต่างชาติในประเทศไทย(โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวขอทานชาวกัมพูชา) เดือนธันวาคม 2554
[9] องค์การเฟรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) คุณลักษณะและขอบเขตของปัญหาครอบครัวขอทานต่างชาติในประเทศไทย(โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวขอทานชาวกัมพูชา) เดือนธันวาคม 2554