นักดนตรี ข้างถนน
ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก
ผู้ชายที่เข้าวัยชราด้วยอายุที่กว่า 80 ปี ใบหน้าที่มีร่องรอยเหี่ยวย่น ดวงตาเป็นบุคคลที่มีความเมตตา คิ้วบนใบหน้าโค้งโก้งบ่งบอกว่าตอนเป็นหนุ่ม ต้องหล่อมาก หน้าผากที่กว้าง เห็นริ้วรอยบนหน้าผากอย่างชัดเจน ศีรษะของคุณลุงล้านไปเกือบครึ่งศีรษะ ผมขาวเส้นเล็กสะอาดเรียบ น่ามองเหมือนการเรียงของเส้นเชือกเล็กที่เป็นสีขาว
แก้มที่ห้อยย้อยลงมาบ่งบอกว่าตอนที่เป็นหนุ่มแก้มเต็มเต่งน่าจับเป็นอย่างมาก คงสร้างความหลงใหลให้กับสาวๆ อย่างมาก จมูกที่แบนใหญ่รองรับแก้มพอดี เป็นเสน่ห์ของผู้สูงอายุอีกแบบหนึ่งทำให้คนที่ชอบพินิจใบหน้าจะเห็นว่ารอยหยัก รอยร่องแก้มผ่านประสบการณ์มาอย่างโชกโชน
ริมฝีปากที่รองรับริ้วรอย พอดี กลายเป็นเวลาที่คุณลุงยิ้ม เหมือนการเม้นปาก มองที่ไรก็รู้สึกถึงความชรา ที่เต็มไปด้วยความสุข สนุกกับการได้เล่นไวโอลิน
เมื่อที่จับไม้สี เสียงกระทบกับสายไวโอลิน แต่ละเสียงช่างไพเราะ เห็นความชำนาญที่คุฯลุงสีแต่ละเพลง ให้เครียดแค่ไหน ก็บรรเทาด้วยเสียงของไวโอลิน
เสียงไวโอลิน ของคุณลุงมักจะเรียกให้ผู้คนที่เดินผ่านต้องหยุดยืนฟัง พร้อมหย่อนเงินลงไปบนกล่องไวโอลิน มีทั้งเหรียญบาท เหรียญห้า เหรียญสิบ แบงก์ยี่สิบ แบงก์ร้อย แบงก์ห้าร้อย จนถึงแบงก์พันก็มี จนถึงเงินของต่างประเทศ
กว่าสิบกว่าปีที่เดินสยามทุกวันอาทิตย์ เพราะต้องเรียนภาษาอังกฤษ ที่สถาบันแห่งหนึ่งในบริเวณสยามสแควร์ ทุกครั้งที่ผ่านก็จะยืนฟังอย่างมีความสุข มีบางครั้งที่ต้องรีบไปทำงานหรือเข้าเรียนก็ไม่ได้ฟัง
จนครูเองต้องมารับงานโครงการครูข้างถนน ก็เริ่มสนใจในการแบ่งกลุ่มคนบนถนน ตลอดจนการหาแนวทางช่วยเหลือ ที่ละกลุ่ม สารภาพเลยว่า ภาพของคุณลุงที่ยืนสีไวโอลิน ไม่ใช่เป้าหมายที่จะช่วยเหลือเพราะคุณลุงเป็นนักดนตรีที่ยืนเล่นข้างถนน ใช้ความสามารถในการแลกเงินที่มีคนมายืนฟัง ให้ความสุขและความสำราญแก่ผู้คนที่อยากฟัง
เดินผ่านก็ใช้วิธีการทักทาย แบ่งปันนม ขนม ส่วนมากจะฝากไปให้หลานชายมากกว่า เป็นนมเปรี้ยวสักเป็นส่วนใหญ่ และรู้จักมักคุ้นกับคนที่ดูแลคุณลุง
บางครั้งก็นั่งคุยกันเป็นเวลานาน ส่วนมากคือครูจะเน้นไปเรื่องเสียงเพลงมากกว่า เพราะเพลงของลุงทำให้คนที่เดินผ่านใจเย็นเป็นอย่างมาก พร้อมกับยืนฟังก้าวเท้าหยิบสตางค์ลงมาใส่ในกล่องไวโอลิน จะมีเงินอยู่ในกล่องเสมอ
คุณลุงมีคนดูแลอยู่หนึ่งคน คือคุณป้าจงกลมณี ซึ่งมีบ้านพักอาศัยอยู่ที่แถวมีนบุรี โดยทุกเช้าคุณลุงกับคุณป้า จะขึ้นรถพร้อมอุปกรณ์ที่ประกอบไปเวน ลำโพงขนาดกลางหนึ่ง แอมป์ที่ต่อเข้ากับลำโพง แล้วไวโอลินคู่ชีพของคุณลุง ซึ่งดูแลแล้วคงใช้มานานแล้ว ขัดเงาแวววับ
เก้าอี้ ที่ใช้ให้คุณลุงนั่งพักเหนื่อยเมื่อเวลาต้องสีไวโอลินนานเป็นชั่วโมง บางครั้งคุณป้าก็จะเข้ามาสีแทนเป็นบางเพลง แต่ด้วยคุณป้าไม่มีความรู้ทางด้านไวโอลิน เพลงะจึงไม่เพาะเท่ากับคุณลุงสี
ชีวิตของคุณลุงเป็นเหมือนตำรา เพราะส่งให้นักศึกษาที่สนใจในงานดนตรีมาสอบถาม มาเรียนรู้ เป็นวิทยาทาน พร้อมกับส่งให้นักศึกษาเอาชีวิตไปสู่บทความ ข่าว หรือสื่อสิ่งพิมพ์ รายการโทรทัศน์หลายรายการ จบระดับการศึกษาไปหลายสิบคน
จนเมื่อกลางปี 2559 คุณลุงป่วยต้องนอนโรงพยาบาล เป็นโรคถุงลมโปร่ง (ปอด) ลุงไปนอนโรงพยาบาลหลายเดือนมาก ทุกอาทิตย์ที่ครูเดินสยามไม่เห็นคุณลุง ไม่ได้ฟังเพลง ซึ่งก็เหมือนกับคนแถวนั้นต่างก็ถามไถ่ถึงคุณลุงเสมอ
กว่าเจ็ดเดือนคุณลุงกลับมายืนที่เดิมอีกครั้ง ท่านขึ้นลิฟท์รถไฟฟ้าสถานีสยาม พร้อมผู้สูงอายุยืนสีไวโอลิน แต่ครั้งนี้คุณลุงไม่มีเรียวแรงที่จะสี แต่คุณป้าใช้เสียงเทปเพลงต่างๆเปิดคลอเป็นการเรียกบรรยากาศ คุณลุงยืนทำท่าประกอบเท่านั้น
เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 เริ่มบังคับใช้ คุณลุงกลายเป็นผู้แสดงความสามารถ คุณป้าได้รับคำแนะนำให้พาคุณลุงไปที่บ้านมิตรไมตรี เมื่อแสดงให้คณะกรรมการผู้แสดงความสามารถ แต่ด้วยร่างกายที่ไม่พร้อมจึงไม่สามารถสีไวโอลินได้ครบเพลง คณะกรรมการจึงไม่สามารถที่จะออกใบผู้แสดงความสามารถให้คุณลุงได้
แต่คุณลุงก็ยังใช้พื้นที่เดิมที่สยามทำงานเลี้ยงชีพ แต่สุดท้ายตำรวจท้องทีไม่ยอม เพราะต้องการจัดระเบียบที่พื้นที่สยาม คุณลุงจึงต้องเจอการปฏิบัติของผู้บังคับใช้กฎหมาย
ครั้งนี้ความอ่อนล้า ทำให้คุณลุงหมดกำลังใจ แต่คุณหมอที่รักษาพยายามให้คุณป้า พาคุณลุงออกมาข้างนอกบ้าง เพียงแค่วันละ 2-3 ชั่วโมง ก็เป็นสร้างกำลังใจ เพื่อไม่ให้คุณลุงกลายเป็นคนติดเตียง
เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น ครูจึงมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่ออย่างน้อยมีเอกสารบ่งบอกความสามมารถของคุณลุงสักชิ้น เพื่อให้คุณลุงได้ทำในสิ่งที่รัก ถึงจะไม่สามารถสีไวโอลินได้หลายสิบเพลง แต่การที่คุณลุงได้สีบ้างก็เป็นการให้โอกาส ถึงคนที่เดินผ่านไปมา จะให้หรือไม่ให้ แต่การให้ผู้สูงอายุทำตามฝันก็เป็นสิทธิเหมือนกัน
สุดท้ายคุณป้า เลยต้องกลายเป็นผู้แสดงความสามารถเอง โดยการร้องเพลงประกอบ ในขณะนี้ต้องใช้วิธีการ พาคุณลุงมาประมาณบ่ายสองหรือบ่ายสามโมงเย็น ตั้งเครื่องขยายเสียง สีไวโอลินก็ใช้เวลากว่าชั่วโมง แล้วให้คุณลุงสีสักครึ่งชั่วโมงแล้วให้นั่ง คุณป้าต้องมาร้องคั่นประมาณสักสาม-สี่ เพลง สลับกัน ว่าทั้งคู่แสดงความสามารถด้วยกัน
การสร้างพื้นที่การแสดงความสามารถ เป็นการส่งเสริม และพัฒนาคนให้ขึ้นมาขายความสามารถที่ติดตัวกลุ่มผู้แสดงความสามารถโดยตรง และตรงกับคณะกรรมการที่ตั้งเป้าหมายและตัวยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการควบคุมการขอทาน แต่ในทางปฏิบัติที่จะให้สองคนคุณลุงกับคุณป้า ได้แสดงความสามารถอย่างไร ให้ทั้งคู่อยู่คู่กับสยาม ซึ่งเป็นตำนานการขับกล่อมด้วยสีไวโอลินที่อยู่มาอย่างยาวนาน
กระบวนการทำงานในเรื่องเหล่านี้เจ้าหน้าที่ตามกฎหมายควรที่ต้องใส่ใจในความรู้สึก ของคนที่เคยทำได้ แต่ปัจจุบันเป็นผู้ป่วย ที่พร้อมที่จะใช้ความสามารถแต่เพียงว่าความสามารถเหล่านี้ลดน้อยลง ความเป็นคนจะเพิ่มอย่างไร ซึ่งต้องค้นหา ค้นคว้ารูปแบบ
สำหรับครูที่ลงงานภาคสนามทุกสัปดาห์ ขอเพียงให้เขาเหล่านี้ได้ทำความฝันอย่างเต็มที่ จนกว่าจะหมดลมหายใจกันไป สร้างโอกาสให้คนรักดนตรีได้ทำ