banner
พุธ ที่ 27 เดือน เมษายน พ.ศ.2559 แก้ไข admin

โรงเรียนไม่มีห้องเรียน……เด็กนานาชาติ

นางสางทองพูล  บัวศรี

ที่ปรึกษาโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

                ด้วยประเทศไทยกำลังมีการก่อสร้างผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดจำนวนมาก จึงมีเด็กที่ติดตามพ่อแม่มาอยู่ในแหล่งก่อสร้างกันจำนวนมาก  ซึ่งบ้านพักกรรมกรก่อสร้างเหล่านี้ไม่ใช่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก .การสร้างบ้านพักก็สร้างกันง่าย ง่าย เพราะเสร็จงานเดี๋ยวก็รื้อ ย้ายไปทำที่อื่นต่อ โอกาสทางการศึกษาหมดหวังไปเลยคะ  รวมถึงอาหารการกินในช่วงกลางวันพ่อแม่ออกไปทำงานหมด ไม่ทำอาหารไว้ให้ลูกเห็นได้ชัดจากที่ครูลงไปทำงานกับแหล่งก่อสร้าง ความอบอุ่นในครอบครัวมีน้อยลง หรือบางครอบครัวไม่มีเลย  บางครอบครัวพ่อทำงานแต่ลูกอยู่แม่ก็ติดกับการเล่นไพ่  อาหารการกินของลูกปล่อยไปตามมีตามเกิด


                ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ทางโครงการศูนย์เด็กก่อสร้าง  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก  โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์(ครูหยุย) ได้ริเริ่มโครงการศุนย์เด็ก่อสร้างไปสอนเด็กลูกกรรมกรก่อสร้าง ตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา ได้เปิดการเรียนการสอนมากกว่า 47 แห่ง ทั่วกรุงเทพมหานคร เด็กผ่านโรงเรียนไม่น้อยกว่า 15,000 คน ทางโครงการหยุดการจัดการเรียนสอนในแหล่งก่อสร้างในปี พ.ศ. 2540 เพราะภาวะเศรษฐกิจ (ปีแห่งฟองสบู่แตก) มาเริ่มโรงเรียนเด็กก่อสร้างอีกครั้งในปี 2550 เป็นต้นมา โดยบริษัทนารายณ์พร๊อพเพอร์ตี  จนมาถึงปลายปี 2553 ที่ทางบริษัท ที ที เอส ให้ใช้ตู้คอนเนอร์เนอร์เป็นโรงเรียน ทางโครงการจึงใช้ตู้คอนเทอร์เนอร์เป็นโรงเรียน พร้อมกับมีข่าวสารเผยแพร่งาน  หลายบริษัทอยากให้เปิดโรงเรียน  แต่ทางโครงการศุนย์เด็กก่อสร้างไม่สามารถดำเนินการได้  ด้วยปัจจัยหลายประการด้วยกัน  ตั้งแต่เรื่องค่าใช้จ่าย บุคคลากรที่จะลงทำงาน เป็นต้น


                ทางโครงการจึงปรับมาใช้รถตู้ของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็กเคลื่อนที่ลงไปในบ้านพักกรรมกรก่อสร้างหลายแหล่งด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2558 ลงไปถึง 11 แห่งด้วย ในปี พ.ศ. 2559 จึงได้วางแผนที่จะดำเนินการ 10 แห่งด้วยกัน แต่สิ่งที่ทางโครงการดำเนินการอยูที่บ้านพักแหล่งก่อสร้างซอยสามัคคี บริษัท 33  และบ้านพักแหล่งก่อสร้าง วีคอนโด ในหมู่บ้านสวัสดิการกรุงเทพมหานคร ซอย ปากเกร็ด 28  ซึ่งทั้งสองแห่งก่อสร้างมีเด็กที่ลงไปสอนกว่า 50-70 คน

                ในแต่ละอาทิตย์ ครูใช้โครงการรถเคลื่อนทีสัญจร  จะออกมาพร้อมกับอุปกรณ์การเรียนการสอน นม ขนม โดยเริ่มดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ 9.30-15.00 น. ของวันจันทร์  วันพุธ วันศุกร์  กิจกรรมที่เริ่มตั้งแต่เช้า 

(1)        การเลือกที่จะปูเสื่อ เป็นสถานที่การเรียน  ในขณะที่ทำกิจกรรม เลือกที่จะใช้ช่องลมเป็นช่วงระหว่างทางเดิน  เป็นหน้าห้องที่เคยที่ร้านค้าขายของ  และมีห้องชาวกัมพูชาเป็นครอบครัวที่เพิ่งแต่งงานกัน อยู่กันสองคนสามีภรรยา  เป็นหัวมุมเชิงบันไดขึ้นระหว่างชั้นที่สอง ที่เลือกที่ตรงนี้เพราะช่วงเช้าแดดกส่องลงมาไม่ถึง มีลมโชยบ้าง ซึ่งเป็นช่องลมพอดี  บางครั้งก็ใช้มุมที่โล่งระหว่างตึก หรือแถวของบ้านพัก บางครั้งก็ใช้ลานหน้าห้องน้ำ  บางสถานที่ที่มีต้นไม้ใหญ่ ก็ใช้ลานต้นไม่เหล่านั้นเป็นที่สอน ในขณะที่เรียนหนังสือก็ไม่ร้อนมาก


 ฝากระดานดำก็ใช้สังกะสีระหว่างห้องพักเป็นกระดานดำ ในการเขียนด้วยอักษร หรือการเล่านิทาน หรือการฝึกเขียน ฟัง พูด ได้ด้วย  ห้องเรียนของลูกกรรมก่อสร้างจึงมีการเคลื่อนที่ในแต่ละวันไม่เหมือนกัน  บางวันก็ได้กลิ่นห้องน้ำโชยไปด้วยอุดจาระ  ปัสสาวะ ซึ่งบางทีคนงานใช้แล้วก็ไม่ล้างไม่ทำกัน  บางวันแดดร้อนจัดมากกลิ่นน้ำคล้ำที่คละคลุ้ง เหม็นอย่างมาก  บางวันอาศัยหน้าคนของกรรมกรก็ได้กลิ่นเสื้อผ้าที่ซัก  มีผ้าถุงของสตรีทั้งชาวพม่า โรฮิงยา กัมพูชา เป็นผ้าม่านที่ฉากหลังอย่างสวยงาม  แต่เด็กก็มาสนใจในสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ สนใจคือการเรียน และการรอคอยครูมาสอน


โต๊ะเรียนของเด็กไม่มีแต่ใช้เสื่อหรือพลาสติคสีต่างๆ ว่าง  เด็กก็ใช้วิธีการก้มตัวเขียน  หรือบางครั้งก็ใช้แผ่นกระดาษหน้าห้องพักคนงานเป็นโต๊ะเขียน บางทีก็ใช้กระป๋องสีที่เป็นกระป๋องตักน้ำคล่ำลงเป็นที่รองเขียน  เด็ก เด็ก ไม่บ่นว่าเหนื่อยหรือไม่อยากทำ  บางวันที่เราทำงานกับนักศึกษาสถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่ลงมาทำกิจกรรม 30 ชั่วโมงอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง เด็ก เด็ก ไม่ยอมไปกินข้าวกลางวันที่ห้องพัก เรียนกันแบบสุดตัว ทำกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง คุณมีอะไรสอนตักตวงกอบโกยความรู้อย่างเป็นจริงเป็นจังกันจริงๆ  นักศึกษาบอกว่าไปทำจิตอาสามาหลายแห่ง เด็กกลุ่มนี้น่ารักมาก เรียบร้อยถึงแม้จะมีทโมนอยู่สองคน  ก่อกวนแบบน่ารัก ทำให้มีเสียงร้องไห้ตกจากที่สูงบ้าง  ทะเลาะกันเอง ก็เรียกเสียงหัวเราะจากพวกเราทุกคน บางรั้งก็วิ่งไปจูงมือแม่มาเรียนด้วย  จูงแม่ให้มาประดิษฐ์ของเล่นให้ตัวเด็กเอง 


(2)        กระบวนการจัดการเรียนการสอน  เริ่มต้นด้วย การฝึกเขียน ก-ฮ (สำหรับเด็กไทยที่เรียนหนังสือมาบ้างแล้ว ฝึกการเขียนเรียงความ  สำหรับเด็กกัมพูชา จะเน้นไปที่การฝึกเขียน  วันละ 5-10 ตัว แล้วแต่เวลาอำนวย  สำหรับกลุ่มเด็กโต สนใจการผสมคำที่จะใช้  ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเด็ก  แต่กลุ่มเด็กโตอยากอ่านอยากเขียนเป็นอย่างมาก  และการฝึกการอ่านผสมคำที่ละคำ  พร้อมทั้งฝึกเขียนชื่อตัวเอง  ครูเองก็ใช้การกระตุ้นเด็กในเรื่องว่า  “ชีวิตทั้งชีวิตจะใช้การปั้มหัวแม่มือตลอดไปหรือ!!! เอาแค่เขียนชื่อตนเองได้ ก็แสดงว่าเรามีตัวตนอยู่ในประเทศใด ประเทศหนึ่ง แม้แต่การอ่านได้”

ทางโครงการรถเคลื่อนที่สัญจร พยายามการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่แต่ละแห่ง ถึงแม้จะยึดหลักสูตร “ สำหรับลูกกรรมกรก่อสร้างก่อนวัยเรียน อายุ 3-6 ปี ระยาเวลาการสอน 2 เดือน” สิ่งที่ปรับเปลี่ยนคือการเพิ่มภาษาประเทศของเขาสอดแทรกในกิจกรรมที่เราสอน  เป็นการเรียนรู้ด้วยกันในเนื้อหาภาษาของเขาและของเรา ต่างคนต่างเป็นครูในการเรียนด้วยกันทำให้สนุกมากในแต่ละครั้ง  เด็กก็สนุก ครูก็สนุก...


การเรียนคือการปรับตัวเองให้สามารถอยู่ในบ้านพักของกรรมก่อสร้างให้ได้ พลัดบ้านบ้านเมืองมาอยู่ในบ้านพักเป็นที่คุ้มกะลาหัว( เสียงประชดในโชคชะตาของกรรมกรก่อสร้าง ชาวกัมพูชาเอง)  ตั้งแต่การนอนที่แบ่งเป็นห้อง บางแห่งก็เป็นสังกะสี เป็นไม้อัด จนถึงเป็นตู้คอนเทอร์เนอร์ นอนยัดกันตั้งแต่สามขึ้นจนถึง 6 คนบางห้องก็ต้องอดทน  พ่อแม่บอกว่ามีที่นอน มีแรงที่จะทำงานได้ มีเงินมาซื้ออาหารกิน ไม่ต้องอดยากเหมือนประเทศต้นทาง บางครอบครัวก็บอกว่าอดทนที่จะอยู่ให้รอด ขยันทำงาน ขยันเรียน เพราะลูกไม่มีโอกาสได้เรียนที่ต้นทาง เขียนได้ อ่านได้  ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ ถ้ามีโอกาสเข้าเรียนในระบบได้เรียนเลยลูก  อย่างน้อยในครอบครัวมีใครอ่านได้ เขียนได้ พูดได้ ฟังภาษาไทยสักคนก็เป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่


    

ทุกคนที่มาเรียนไม่เกี่ยงงอนเลยว่าจะมีห้องเรียนไหม มีโต๊ะเก้าอี้ไหม  ขอเพียงแค่ว่าให้ได้เรียนอย่างเดียว  การรอครูเข้าไปสอนจึงเป็นความฝันของเด็กทุกคน....