banner
พุธ ที่ 14 เดือน เมษายน พ.ศ.2564 แก้ไข admin

โควิด-19 เด็กเร่ร่อน ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง (ตอนที่ 4 คนไร้บ้าน สีลม-เจริญกรุง)


 นางสาวทองพูล   บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          เมื่อวางแผนในการเดินสายไปพบกลุ่มเด็กเร่ร่อน/แม่และเด็กเร่ร่อน/คนไร้บ้าน  ตามสายถนน เน้นพื้นที่ ที่ไม่มีหน่วยงานไหนลงพื้นที่  ทางโครงการครูข้างถนน/โรงเรียนเด็กก่อสร้างเคลื่อนที่ ปรับมาใช้รถกระบะ  เมื่อว่าการกระโดดลงไปพบกรณีศึกษา และกระขึ้นรถเพื่อเคลื่อนไปต่อในแต่ละพื้นที่  กำลังขาจะต้องดี

          สำหรับคนขับ คือ ครูซิ้ม  จะต้องใช้พลังขาที่แข็งแร่งมาก  เพราะแต่ละสัปดาห์  ครูจะเน้นหนักไปสามวัน  ออกตั้งแต่เจ็ดโมง จนถึง สี่-ห้า โมงเย็น ตากแดด กรำแดด  รถติด ใช้พลังอย่างมาก  บางครั้งครูใช้กระบวนการให้ผู้มีจิตศรัทธาในการทำงานใส่ถุงมาให้ครูเลย  หรือบาครั้งในช่วงกลางคืนครูต้องมาจัดการถุงยังชีพของการลงพื้นที่  เพราะการแบ่งปันของครูส่วนมากเชื่อมั่นในการทำงานของครูอย่างชัดเจน 

          มาถึงวันนี้ครูต้องขอบคุณที่เชื่อมั่นว่าของทุกชิ้นไปถึงมือคนที่ต้องการจริงๆ

 

          พื้นที่ ถนนสีลม-เจริญกรุง  วิ่งจำนวนกว่า 12 ครั้ง  และมีทีมงานหน่วยงานอื่นที่แบ่งปันเป็นข้าวกล่องให้ในแต่ละวัน

          -กลุ่มแม่และเด็ก จำนวน 5 ครอบครัว ที่ครูพบเจอ มีเพียง 1 ครอบครัวเท่านั้นที่รู้จักครูมาก่อน  คือ ครอบครัว น้องเจมส์ เป็นกรณีศึกษาที่ครูเคยช่วย รักษาเรื่องการรักษาปอดติดเชื้ออย่างรุนแรง  ใช้เงินกว่าห้าหมื่น ในขณะนั้นตั้งเป็น “กองทุนรักษาพยาบาลเด็กต่างด้าว”  ใช้เงินไปส่วนหนึ่ง

          สำหรับอีก 4 ครอบครัวเป็นครอบครัวที่ครูเองก็เพิ่งเจอในช่วงโควิด-19 ต้นเดือนเมษายน  2563 เป็นกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าว 2 ครอบครัวเป็นชาวกัมพูชา  อีกหนึ่งครอบครัวเป็นชาวโรฮิงยา ที่อยู่ในประเทศไทยมานานแล้ว  และไม่มีเอกสารใดใด ทั้งสิ้น  มีแม่กับเด็กที่เป็นชาวเวียดนาม อีกหนึ่งครอบครัว  ที่มีหน้าตาดีมากน่ารักน่าช่าง เด็กน้อยเป็นผู้หญิงที่ยิ้มง่าย หน้ากลมผมม้า  ช่างพูด  พูดบ่อยมากคือ “หนูหิวแล้ว” อาหาร ข้าวถุงกับข้าว ขนมชนิดต่างๆสาวน้อยร้อยช่าง จึงขนกลับบ้านเป็นอาหารมื้อต่อไป

ครูถามต่อว่า ช่วงนี้มีการไล่จับบ้างไหม เสียงพูดพร้อมกัน ขอทานได้เท่าไร  ก็มีผู้บังคับใช้กฎหมายไถเอาไปหมด  เพียงแต่พูดว่า “ค่าอยู่ในประเทศไทย”


 

-กลุ่มผู้ป่วยจิตเภท ส่วนมากที่พบกว่า 15 คน เป็นผู้ชาย พูดคนเดียว เดินปะปนอยู่กับ คนทำงานในออฟฟิศ  ที่ต่างกันตรง เครื่องตัว ด้วยคนเหล่านี้จะใช้เสื้อที่เขาหามาได้ กางเกงตัวเดียวที่เปอะเปื้อนด้วยดิน กลิ่นของคนใส่ที่เป็นกลิ่นเหม็นเปรี้ยว  รองเท้าไม่ใส่ร้อนแค่ไหนก็ไม่ใส่   บอกว่าชอบเดินตีนเท้าได้สัมผัสกับจักรวาลของโลก  สื่อสารถึงกัน   สายตาที่เหม่อลอย  มองแต่ท้องฟ้า  จะบอกว่ามองที่ดินไม่ได้ เทวดาจะไม่รักษา

มีบางคนที่หยิบถุงยังชีพ แล้วเลือกน้ำเปล่าขวดเดียว  บอกว่าแค่อิ่ม  ฝากเอาสิ่งของที่เหลืออยู่ในถุงยังชีพไปให้คนอื่นที่ยังไม่ได้กิน

บางคนก็เดินมาจากสวนลุมพินี  ไปรอข้าวใส่กล่องเอามาแจก หิวจนตาลายไปหมดแล้ว  รับถุงยังชีพของครูไหม  เขาเหล่านั้นไม่ได้มองหน้าครู ทั้งสายตาและมือเปิดถุงยังชีพทันที  ที่เลือกก่อนคือนมจืดขอกินก่อน ตามด้วยขนม  แล้วหันมายกมือไหว้ครูบอกด้วยว่า “รอดตายแล้วสำหรับวันนี้”  ขอให้เจริญ  เจริญ นะ 

มีบางคนใช้วิธีการเดินไปเรื่อยๆ  ด้วยเพราะว่าผู้บังคับใช้กฎหมาย ห้ามนอน/นั่ง  ถนนที่ติดกับถนนใหญ่  ตอนกลางคืนทหารจะให้เข้าไปนอนตามซอย  เหตุผลเพราะอยู่ในภาวะสถานการณ์ฉุกเฉิน  ห้าการเดินทางอย่างเด็ดขาด  คนไร้บ้านที่มีภาวะสุขภาพจิตจึ่งใช้วิธีการนอนหลบในซอย   และที่สำคัญก็ตื่นสายได้ ด้วยทุกคนห้ามออกจากบ้าน ทำงานที่บ้าน “อยู่รอดปลอดภัย   ช่วยชาติ”

มีผู้ชายคนหนึ่งถอดเสื้อ กางเกงหลุดก้น  เอาเสื้อไปให้เปลี่ยน บอกกับครูว่า เสื้อผ้าดีเกินไป เดี๋ยวคนอื่นเขาจะหาว่าผมแก้บ้า   อย่าเอามาเลย ผมเป็นของอย่างนี้ดีแล้ว ไม่ต้องคิดมาก  อยากนอนที่ไหนก็ได้นอน  ผมเลือกนอนใต้ทางด่วน ตรงถนนเจริญกรุง 47  ลมมันเย็นพัดมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา  เมื่อหิว  ผมจะอาศัยถังขยะ  มีอะไรที่พอกินได้ ผมก็แค่กิน  แค่อิ่มเท่านั้น  แค่นี้ก็สบายใจ   หันมายกมือไหว้ คว้าถุงยังชีพ หันมายิ้ม ผมอยู่ได้สามวันครับ........

 

-กลุ่มผู้สูงอายุ  พบมากคือ ผู้สูงอายุที่เป็นผู้หญิง มีมากกว่า 15 คน  ลงพื้นที่แต่ละครั้งช่วงอายุ 65-80 ปี   เมื่อได้พูดคุยส่วนมากจะมีหลานอยู่ 5-11 ปี ที่ต้องเลี้ยงดูบางครอบครัว 2 หรือ 3 คน  เพราะพ่อ/แม่ ของเด็กเหล่านี้หายออกไปจากครอบครัวส่วนมากอยู่ในเรือนจำ  คนวัยกลางคนที่ทำงานได้หายจากไปทำให้ผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องกลายมาผู้รับเลี้ยงดูแลครอบครัวแทน 

บางคนออกมาเพื่ออาหารกลางวันสำหรับหลาน  ครูค่ะ มีเพียงอาหารวันละมื้อก็ยังมี  บางวันเดินไปเพื่อไปรับข้าวกล่อง สามคน  ต้องเข้าแถวรับทีละกล่อง  ไม่กล้าเอาหลานออกมา  เพรากำลังอยู่ในวัยซน  เดินเร็ว หรือวิ่งหนีหาย   ฉับบอกครูแบบตรงไป-ตรงมา คือ  เอาเชือกผู้ขาหลานไว้ที่ห้องพัก  เมื่อได้สิ่งของหรืออาหารการกิน  จะรีบกลับไปบ้านโดยเร็วที่สุด    เดิมเด็กเหล่านี้อาหารเช้า/อาหารกลางวันกินที่โรงเรียน ซึ่งฉันก็สบายใจเป็นอย่างมากว่ามีอาหารการกินแน่นอน  เด็ก 2 คน อิ่มท้องแน่นอน   เหลือเฉพาะช่วงเสาร์-อาทิตย์  ที่ต้องออกหากัน


ตรงทางข้ามถนนสีลม ตัดกับเจริญกรุง  มีคุณยายคนสวยนั่งอยู่  ครูเองรีบลงจากรถ เดินตรงฝั่งตรงข้ามที่คุณยายนั่งอยู่   เพราะมันน่ากลัว กลัวรถเฉี่ยวอย่างมาก  คุณยายจ๋า มานั่งตรงนี้มันอันตรายเวลาที่รถออกจากซอย อันตรายสุดสุดเลยนะ   จำเป็นต้องนั่งตรงนี้อีหนูเพราะคนที่เดินข้ามมา บางคนก็หยอดเหรียญที่ขึ้นค่าเรือ  บาท-สองบาท   หลายคนก็ได้หลายสิบบาท  ฉันแค่เอาไปซื้ออาหารเพราะทิ้งหลานกับตา ไว้ที่บ้าน  รีบหารีบกลับบ้านเป็นห่วงคนที่บ้าน   ไม่ออกมาก็อดตายกันทั้งครอบครัว   ของที่ครูให้ก็แค่สองวัน  แต่ยังดีที่ยังมีอาหารตุนไว้ก่อน

ผู้หญิงอีกคน แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีฉูดฉาดเป็นอย่างมาก บอกกับครูว่าชอบเสื้อตัวนี้มาก เวลาที่ข้ามถนน คนขับรถทุกคนจะเห็นมาแต่ไกลเลย ทำให้ไม่เคยถูกรถชนเลย  ฉันใช้ชีวิตบนท้องถนนมา 10 ปีแล้ว  ด้วยอาศัยอาหาร กับข้าวของผู้คนที่มีจิตเมตตาปราณี  ให้หลานคนเล็กรอดตาย  แต่โควิด-19 ครั้งที่ 1,2  ที่ผ่านมา แทบเอาชีวิตทั้งหมดในครอบครัว เอาชีวิตไม้รอด 

 

กลุ่มคนไร้บ้าน-ใต้สะพานตากสิน ชายหนุ่มคนหนึ่งบอกเล่าอย่างไม่อายเลยว่า  มีกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกัน 15-30 คน แต่ละวันไม่ซ้ำหน้ากันอยู่  เพราะพื้นที่นี้ เป็นพื้นที่คนสัญจร มักจะหลบเข้ามาพักอาศัย ทำเลดีมากด้วย  ประกอบไปด้วยมีศาลาที่พัก ทีหลังคา ม้าหินเอาแผ่นไม้อัดมารองต่อกันสองตัวเป็นที่นอนอย่างสบาย  มีลมเย็นที่พัดมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วยพัดพายุงออกไปได้  ต่อมาที่ใต้บนรถไฟฟ้าสถานีสาทร  บางคนหลบไปนอนที่ใต้คาน มีที่นอนหลบภัย เวลามีหน่วยงานมาตรวจตรา

หน่วยงานมากันทุกอาทิตย์ มาแต่ครั้งก็หนีกันกระจัดกระจาย  แตกกันเหมือนรังผึ้งที่ถูกตี  วิ่งกันสุดชีวิต  ข้าวของวางระเกระกะ  ถ้าไม่ถูกจับก็มาเก็บข้าวของที่เหลืออยู่เอามาใช้   ของอะไรที่เสียหายก็ทิ้ง  เหมือนคนอย่างพวกฉันถูกทิ้ง  เขาทำเหมือนพวกเราเหมือนหมาจรจัดกันทีเดียว กว่ากวาดจับกันแต่ละครั้งเริ่มหนักขึ้นทุกวัน (ในช่วงนี้ สอง-สาม เดือนจะมีครั้งหนึ่ง  แต่ไล่ลับหนักมาก มีการต้อนหน้า-ต้อนหลัง  เหมือนต้อนหมูเข้าโรงเชือด)


 

ครูถามต่อว่า  เขานำไปคัดกรองตามที่หน่วยงาน ไม่ดีหรือ 

ครูครับ  มันดีมีอยู่ มีกิน  แต่อยู่กันเยอะ   อยู่กันเยอะก็เรื่องเยอะ  เพราะแต่ละคนเยอะกันอยู่แล้ว มีปัญหาร้อยแปดเรื่อง   คนไร้บ้านบางคนเยอะครับ  สำหรับก็เยอะ  คนเดียวเยอะมาก  สารพัดปัญหา ตั้งแต่ตื่นนอน  ผมอยากตื่นเมื่อไรก็ตื่น   แต่อยู่ในสถานทุกคนต้องตื่นพร้อมกันหมด

แย่งกันเข้าห้องน้ำ อาบน้ำ  พวกผมอยากเข้าห้องน้ำก็ถ่ายได้ทันที  เมื่อไม่มีคนมองเห็น

ครูถามต่อ   มีเสียงบ่นจากเทศกิจ   พวกเธอทำให้พื้นที่สาธารณะสกปรก  ทั้งกลิ่นปัสสาวะ กลิ่นอุจจาระ  คนกวาดถนนเขาเล่าให้ครูฟังเกือบทุกถนน   ผมยอมรับครับครู

ขยะ/ถุงที่ใส่อาหารทิ้งเต็มไปหมด  เป็นบางคนครับครู  บางคนกินเสร็จก็ไปลงถังขยะ  บางคนก็ขว้างปาให้พ้นตนเอง   คนกวาดขยะที่รำคาญ บ่นว่าคนไร้บ้านทำให้สกปรก  

สำหรับผม ผมยอมรับสิ่งเหล่านี้  เขามีสิทธิบ่น  แต่เขาต้องทำเพราะพวกเราบางคน ทำสกปรกจริงๆ  เป็นการเพิ่มงานให้เขา  ถ้าทุกคนกินแล้วลงถังขยะ ช่วยกันทุกคนก็อยู่กันสมานฉันท์  ไม่ต้องสร้างศัตรูกัน  แค่นี้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แห่งความเมตตา กรุณา

เพราะทุกคนคือ ครอบครัวเดียวกัน คือเป็นคนเหมือนกัน  เป็นคนไทยด้วย