banner
จันทร์ ที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2562 แก้ไข admin

การรอคอยของน้องเดฟ อดีตเด็กเร่ร่อน (ตอนที่ 2 สมบัติที่มีชีวิตของ...ชุมชน)





 นางทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          การรอคอยคือการทรมาน  สำหรับน้องเดฟเอง ครูขอร้องว่าให้ น้องเดฟอยู่กับที่ คือใต้ทางด่วนตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 จนถึงเดือนมิถุนายน 2562  ห้ามเคลื่อนย้ายไปตามเพื่อนโดยเด็ดขาด  เพราะวิถีของเด็กเร่ร่อนจะเทกันไปตามเพื่อน  เช่น พากันไปเก็บขยะที่สีลม พัฒนพงษ์   ไปหาผู้หญิงที่สะพานพุทธ   เป็นต้น

          สำหรับครูการรอคอยจังหวะที่จะพาทีมงานขึ้นไปตามแหล่งที่อยู่ของน้องเดฟที่บุรีรัมย์  และที่สำคัญเวลาของครูเองที่หมดไปอย่างรวดเร็ว  ในช่วงเวลาที่เด็กเร่ร่อนเข้าเรียนและเปิดเทอมการศึกษา แล้ว  จะวุ่นวายอยู่กับการพาเด็กเข้าเรียน

          เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2562  พร้อมทีมงานต้องไปจัดกิจกรรมโครงการด้วยรักและห่วงใยจากคุณยายสู่หลานๆ  ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กบุรีรัมย์  ในช่วงเช้า  ช่วงบ่ายโมงจนถึงช่วงเย็น

          ทีมงานประกอบไปด้วยครู พร้อมทีมงานครูซิ้ม ครูจอย  และพี่ป้อม พี่แขก  พี่ทั้งสองต้องไปด้วย  และเราได้คนในพื้นที่ คือ นายกำลา  สาลี เป็นอดีตผู้อำนวยการโรงเรียนคูเมืองวิทยาคม   ที่เชียวชาญในหมู่บ้านหลักเขต  ท่านบอกว่าคนบริเวณเป็นกลุ่มคนที่พูดกัมพูชา  เพราะอยู่ห่างแค่ 5 กิโลเมตรเท่านั้น จากชายแดน  แต่ห่างจากเมืองบุรีรัมย์ประมาณ 27 กิโลเมตร

          หมู่บ้านนี้ เดิมเป็นนักเลงกันมาก  มีการลักควายลักวัว ใช้ความรุนแรง และเกี่ยวข้องกับยาเสพติด  ครูที่จะย้ายมาโรงเรียนตำบลแห่งนี้ส่วนมากไม่มีใครย้ายมา    ส่วนมากเป็นกลุ่มคนที่ไม่เรียนหนังสือ บางครอบครัวก็อพยพไปทำงานต่างถิ่น   มีบางคนที่กลับมาเป็นครั้งคราว

          ครูเล่าเรื่องของน้องเดฟให้ฟัง  ทุกคนที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะท่านผู้อำนวยการขันรับอาสา ที่จะเข้าไปหมู่บ้านทันที

          ทุกอย่างจึงเริ่มต้นหลังจากรับประทานอาหารกลางวัน

          1.การเดินทางโดยการใช้รถตู้ ที่มีสัญลักษณ์ ของ “มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก”  มีความน่าเชื่อถือ และสามารถติดตามได้ว่าเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง  สำหรับการเดินห่างไกลพอสมควร ที่สำคัญต้องรู้ว่าคณะของพวกเรา เป็นใคร มาจากไหน

          2.เมื่อถึงเทศบาลหลักเขต ไปพบกับท่านปลัดเทศบาล  และแนะนำว่าพวกเราจำนวน 7 คน มาจากที่ไหน  แล้วจะมาทำอะไร  ขอข้อมูลอะไร  เป็นที่แตกต่างของเจ้าหน้าที่เทศบาลหลักเขตเป็นอย่างมาก  แต่ทุกคนก็ใคร่รู้ว่า จะมาทำอะไรกันในเทศบาลแห่งนี้

          -คุยรายละเอียดกับท่านปลัดเทศบาลถึงน้องเดฟที่อยู่ในหมู่บ้านไผ่สีทอง   ปลัดโทรหาท่านประธานสภาชุมชน  ที่มีบ้านอยู่ในหมู่บ้าน 

          -เชิญเด็กหนุ่มที่มาเป็นเขยที่หมู่บ้านไผ่สีทอง   บอกว่าจะขับรถมอเตอร์ไซด์ไปยังหมู่บ้านแห่งนี้

          3.เมื่อไปถึงบ้านไม่พบประธานสภาชุมชน  พบแต่ลูกสาว ที่อยู่กับหลานในบ้าน  ลูกสาวบอกให้คอยกันก่อน  เดี๋ยวก็มาเพราะไปดูลูกจ้างใส่ปุ๋ยนาข้าว 

          -สำหรับลูกเขยของคนในหมู่บ้านพอเอ่ยชื่อใคร ก็เอามอเตอร์ไซด์วิ่งไปรับหมู่ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 13 มาก่อน   จนประธานสภาชุมชนมา   ท่านเป็นคนอัธยาศัยดี   พอเห็นเอกสาร บัตรประชาชนของแม่น้องเดฟ  ทุกคนส่งเสียงว่า  อยู่ที่หมู่บ้านนี้เขาเรียกกันว่า “ไอซ์” ตาพิการ มองเห็นแบบริบรี  แต่เป็นคนที่จำสถานที่แม่นมาก  แม่มีสามีหลายคน   น้องเดฟ มีพี่น้องอยู่ 2 คน  บ้านหลังนี้เคยให้อาหาร ให้ข้าว ให้น้ำ  แล้วแกก็บอกว่าให้ไปรับ ยายจิต, ยายสำรวย  มาให้ครบ  แล้วมาดูรายละเอียด

          -เมื่อทุกคนมากันครบ  ก็เริ่มพูดภาษาถิ่นเฉพาะกัมพูชากัน   สำหรับครูฟังออกบ้างไม่ออกบ้าน  แต่พี่ป้อมชัดเจนว่าอย่าพูดเสียงในฟิลม์กันเฉพาะกลุ่มให้พวกเรารู้ด้วย

          4. เมื่อยายจิตมาถึง  ครูก็เขาไปอธิบาย ที่ไปที่มาของน้องเดฟ  ทุกคนยืนยันว่าน้องเดฟอยู่ที่ในหมู่บ้าน  เห็นและเลี้ยงกันมาตั้งแต่เล็ก   แม่กับพ่อย้ายออกจากหมู่บ้านนี้ประมาณ 9-10 ปี ที่ไม่เคยเจอกันเลย  ครอบครัวของน้องเดฟออกจากหมู่บ้านไปนั้น มีเพียงแม่มาเยี่ยมที่หมู่บ้านนี้เพียงครั้งเดียว  แต่แม่มาคนเดียว  ถามหาผัว-ถามหาลูก   แม่ก็ยืนยันว่าลูกสบายดี เขามีลูกใหม่แล้วอีกหนึ่งคนเป็นเด็กผู้หญิง ที่อยู่ภาคใต้ เด็กโตสักประมาณ 3-4 ปี เท่านั้น

          ยายจิตเองได้แต่มองหน้าครู  แล้วก็บอกว่า ขอบใจหลายเด้อ...อีครู  ถามหากันอย่างไร  แล้วดึงรูปจากมือครูไป  บอกว่าอยากเห็นชัดๆ รูปหลานชาย

          ครูทำประวัติน้องเดฟ พร้อมรูปถ่ายในท่าทาง จำนวน 5 รูป  ตั้งแต่เจอครั้งแรกในช่วงปี 2560  แล้วมีนักศึกษา มาสัมภาษณ์  พร้อมเริ่มเปิดเผยข้อมูล จนรูปสุดท้ายที่ถ่ายคือเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562  เป็นรูปปัจจุบันที่สุด

          ยายสำรวย เป็นคนที่ให้ข้าวปั้นที่ ปั้นเป็นท่อนๆ แล้วใช้วิธีการหักออกเป็นท่อน ส่งให้กินเป็นประจำ  จนกว่าแม่หรือยายเด็กจะมารับ  บางวันก็นอนค้างที่บ้านยายสำรวย   ยายสำรวยบอกว่ารักเหมือนลูก  เจ้าเดฟกับเจ้าตั้มนะ  คนอื่นไม่เอา

          ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 13 เป็นผู้ใหญ่บ้านได้เพียง 3 เดือน เท่านั้น แต่คนในหมู่บ้านรักแกมาก  แกเป็นลูกหลานของคนในหมู่บ้านแห่งนี้  เห็นเด็กสองคนมาตั้งแต่เกิด   เคยชอบแม่เด็กด้วยใช่ไหม เสียงกระเซ้า เล่นเอาเสียงหัวเราะกันลั่นหมู่บ้านไปเลย  ใครไป-ใครมา ก็แวะมาดูภาพเจ้าเดฟ

          น้องเดฟเหมือนสมบัติของคนในหมู่บ้านที่มีชีวิต  แต่หายไปจากหมู่บ้าน  เมื่อจะมีคนมาส่งคืนให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน  ทุกคนในชุมชนจึงพากันตื่นเต้น...ยินดีปรีดาที่จะได้กลับมา

          มาถึงท่านประธานสภาชุมชน  คนนี้เป็นคนโสดอายุประมาณสักหกสิบกว่าปี   บอกว่าครูจะให้พวกผมชวยอะไรก็บอกมาเลยครับ   น้องเดฟเป็นเด็กในชุมชนนี้  มันวิ่งเล่นอยู่หรือนั่งที่บ้านผมนี่แหละ  มันกิน-มันนอน

          5.เมื่อทุกคนยืนยันว่าน้องเดฟอยู่ที่ชุมชนแห่งนี้ คำถามสำหรับวันนี้ ถ้าครูมาน้องเดฟกลับมาในชุมชน เพื่อมาทำบัตรประชาชน  เพราะน้องเดฟมีเอกสารทุกอย่างแล้ว มีใบเกิด มีชื่อในทะเบียนบ้าน  มีเอกสารตัวตนที่ยังไม่ได้ทำบัตรประชาชนทั้งหมดแล้ว  ในขั้นตอนต่อไป คือทุกคนที่อยู่ตรงนี้ต้องไปที่อำเภอให้ปากคำหลักฐานว่าน้องเดฟ  อยู่ในชุมชนแห่งนี้

          ซึ่งต้องมีทั้งผู้ใหญ่บ้าน 2 หมู่บ้าน  คือ  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3, และผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 13, ยายจิต (ยายที่เป็นยายที่เลี้ยงแม่มา),ยายสำรวย  ที่ให้ข้าวให้น้ำ ดูแล ตอนเล็กๆๆทั้งหมด ,คุณลุงประธานสภาชุมชน   ทุกคนตอบตกลงกันหมดทุกคน  ขอให้ครูโทรนัดล่วงหน้ามา

          ครูเองตื่นเต้นค่ะ  ไม่คิดว่ามาถึงหมู่บ้านแล้วทุกคนให้ความร่วมมือ เป็นอย่างดี  และมีเสียงของท่านผู้อำนวยการ ว่าขอบคุณหลายๆเด้อพี่น้อง  ให้โอกาสน้องเดฟเป็นคนไทยเพิ่มอีก 1 คน  เป็นการทำกุศลร่วมกัน  ทุกคนหัวเราะ น้องเดฟคือสมบัติของชุมชน....

          เมื่อกลับเข้าตัวเมือง ครูจึงขอประชุมในการทำงานบ่ายนี้  ท่านผู้อำนวยการสรุปอย่างชัดเจน คือ

          1.ความน่าเชื่อถือของคณะครู  โดยเฉพาะเรื่องพาหนะในการเข้าถึงหมู่บ้าน  แสดงความชัดเจนว่า มาจากหน่วยงานไหน  มาทำอะไร  หน่วยงานราชการที่เขาเห็นก็มีความน่าเชื่อถือเป็นประการแรก  และเป็นด่านแรกที่หน่วยงานในจังหวัดต้องให้ความร่วมมือ

          2.เอกสารทุกอย่างที่ครูไปขอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมประวัติที่พบน้องเดฟ  พอชาวบ้านเขาเห็น เขายืนยันความเป็นตัวตนของเด็กได้   การทำอย่างนี้รู้ว่าต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก  แล้วชาวบ้านเองก็ดีใจ  มีคนมาเยี่ยมในหมู่บ้านของเขา

          3.น้องเดฟคือสมบัติของชุมชน  การคืนเด็กกลับมาชุมชน  ที่สำคัญจดจำน้องเดฟ  น้องเดฟเองเขาก็มีบุญอย่างมาก ที่คนในชุมชนรับมาเป็นสมาชิก

          งานนี้ต้องขอบคุณ นายกำคา  สาลี  อดีตผู้อำนวยการเป็นอย่างมากเป็นใบเปิดทางให้กรณีศึกษาของน้องเดฟ สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี    ขอบพระคุณด้วยใจจริงๆ  ทุกท่าน