banner
อังคาร ที่ 20 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2559 แก้ไข admin

น้ำตาของแม่….ในห้องกัก



นางสาวทองพูล  บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก

 

          ครูฉันไม่มีเห็นค่าเช่าห้อง

          ออกมาทำไม ตอนนี้เขากำลังใช้กฎหมายฉบับใหม่

          ครู ฉันไม่มีจะกินให้ลูกกิน คนโตไปโรงเรียน  คนเล็กมันไม่สบายมาสามคนแล้ว  กินแต่พาราแบบน้ำ สามีก็ไม่มีงานทำอีก   ไปขอข้าวสาร ขออาหารจนฉันอายครูแล้ว

          ครั้งนี้พวกฉันสองครอบครัวอดกันจริงๆ

          แล้วโดนจับกันตั้งแต่เมื่อไร

          เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559  ครั้งนี้ฉันสองคน เป็นตำรวจสังกัดสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ส่งตัวเข้า สำนักงานกักกันตรวจคนเข้าเมืองสวนพลู  แล้วส่งลูกเข้าสถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด

          แม่คนแรกชื่อ  นางแท  อายุ 41 ปี  ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง  มีลูกเล็กชื่อเด็กหญิงยังเออ  อายุ 4 ปี  ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงเท่าที่ควร  เป็นสามีใหม่ชาวกัมพูชาดูแลเพราะสงสาร

          แม่คนที่สองชื่อ  นางจะหรับ  อายุ  43 ปี  สามีเป็นคนไทย  มีลูกสองคน  คนโตชื่อเรียว  ลูกคนเล็กเด็กหญิงริน อายุ 7 เดือน แต่น้องรินไม่มีเอกสารใด ใด ทั้งสิ้น  สิ่งที่เด็กทั้งสองคนจะได้ก็คือ เด็กมีสิทธิเป็นคนไทยเพราะพ่อเป็นคนไทย  ต้องใช้วิธีการตรวจเลือด  คงต้องหลังจากที่ออกมาสถานกักกันก่อน

          ทางสามีของนางแท โทรมาหาครู ช่วยผมช่วย ช่วยเมียผมหน่อยนะครู

          ผมจ่ายเงินให้ตำรวจไปแล้ว คนละ 5,000 บาท แล้วทำไมยังไม่ได้เด็กไปอยู่กับแม่

          ผมไปจ่ายที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง  โดนสามข้อหาด้วยกันทั้งสองคน  พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 , พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  และพระราชบัญญัติขอทาน พ.ศ. 2559  เมียผมมันไม่ได้กินยามากว่า สามอาทิตย์แล้ว  แม่มันร้องไห้ทั้งวันและคืน มันปวดหัวอย่างมาก

          ได้ข้อมูลแบบ ซวยแล้ว  คิดในใจแบบอยากพูดดัง  โดนหลอกเอาเงินหรือเปล่า

          ครูจึงตัดสินใจโทรหา ผู้กองที่ดูแลคดี ทั้งสองคน

          พอโทรไปหา ได้ปรึกษาหารือ  พร้อมบอกว่าเคสทั้งสองคน  ลูกได้เรียนหนังสืออยู่ 

แต่ความจำเป็นของครอบครัว เรื่องค่าเช่าบ้านถึงเดือนต้องจ่าย  ต้องหาไปจ่ายเขาไม่อย่างนั้น เขาไล่ไปนอนข้างถนน  พวกฉันเคยนอนที่อโศกกันหลายครั้ง  บางครั้งพาลูกออกมาเป็นอาทิตย์กว่าสามีจะหาเงินได้

ผู้กองเองก็ตกใจเหมือนกัน เมื่อบอกว่าเคสไม่สบาย  อาการค่อนข้างหนักนะ

ผู้กองก็คุยกับครูว่า เป็นสัปดาห์หน้า จะไปรับเด็กมาให้แต่ขอแรงครูไปช่วยอุ้มเด็กด้วยได้ไหม 

ครูตอบว่าได้  อยากรู้จัก อยากมีเครือข่ายในการทำงาน

แต่ขอไปเยี่ยมแม่ของเด็กทั้งสองคนก่อนได้ไหม

ครูจึงโทรประสานงานกับครูอีกท่านที่อยู่ในชุมชน

นัดกันเป็นตอนเช้าของวันที่ 14 ธันวาคม 2559  เวลา แปดโมงเช้าพบกัน เพราะต้องทำเรื่อง กรอกแบบฟอร์ม ใช้บัตรประชาชน และการถ่ายเอกสาร มีขั้นตอนหลายขั้นตอน


ยื่นเรื่องขอเข้าเยี่ยม ตั้งแต่เวลาแปดโมง แต่จะได้เยี่ยมก็ สิบโมงครึ่ง 

ครูทั้งสองคนก็นั่งคุยกันไปเรื่องเด็กทั้งนั้น พร้อมประเมินครอบครัวของเด็ก ทั้งหมดที่ส่งเข้าเรียน มีเพียงสามครอบครัวที่ต้องออกมาขอเงินเป็นถนน  เพราะลูกหลายคน  หนักสุดคือค่าเช่าบ้านนี้แหละที่สำคัญ  เคสบอกว่าไม่มีกินยังอดได้ ไปขอครูมุ้ยก็ยังพอให้ลูกกิน 

ยิ่งใกล้เวลาเข้าเยี่ยมคนยิ่งเยอะเป็นชาวต่างชาติ เป็นทั้งฝรั่ง กลุ่มปากีสถาน  มีคนไทยเพียงครูสองคนเท่านั้น  แล้วเยี่ยมกัมพูชาอีก

เริ่มจากการยื่นเข้าแถว แยกหญิงและชาย 

พอประตูเปิดออกมา ก็มีตำรวจหญิงยืนตัวตามตัว  สิ่งของที่จะฝากให้ผู้ต้องกักต้องถูกตรวจออกหมด แล้วใส่ตระกร้าเอาไว้ แยกเป็นรายชื่อ ของทุกชิ้นต้องเขียนชื่อหมด

เห็นตั้งแต่เช้าคนที่จะมาเยี่ยม เอากระดาษกาวมาติดของทุกชิ้น คนมาเยี่ยมก็เขียนชื่อบนสิ่งของเหล่านั้น

ครูสองคนยืนให้ตรวจ ตำรวจหญิงจับทุกส่วนของร่างกาย

เมื่อตรวจเสร็จแล้ว  ให้เอากระเป๋าไปใส่ไว้ในล๊อคเกอร์  โดยต้องเอาบัตรประชาชนไปแลกไว้ ครูได้หยิบแค่สมุดตั้งใจไปจดรายละเอียดในการคุย

พอเดินผ่านประตูเข้าไปตกใจคะ  มีเหล็กกั้นระหว่างคนเยี่ยมกับผู้ต้องกัก  ห่างกันประมาณหนึ่งเมตร 

เห็นแล้วนี้ห้องเยี่ยมหรือ...สถานกักกันหรือ...เคยแต่เยี่ยมได้พูดคุยกัน ได้กอดแม่ปลอบใจ ได้เจอแม่กับลูกพร้อมกัน เห็นแล้วน้ำตาครูจะร่วงให้ได้ คลอเบ้าตลอดเหมือนกัน

ผู้ต้องกัก ยืนเรียงกันประมาณกว่า100 คน มีหลากเชื้อชาติมาก  แม่สองคนยืนเป็นคนที่สี่และห้า เรียงจากคนแรก   เรียงติดติดกัน แบบไม่มีช่องว่าง เหมือนนักเรียนเข้าแถวเรียงหนึ่ง

ช่วงแรกที่เข้าไปครูสองคนก็รีบเดินเข้าคุยกันได้ไม่อีกประโยค เพราะทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมก็ตระโกนแข่งกัน เสียงดัง ฟังไม่รู้เรื่อง งง และปวดหัวอย่างมาก

สิ่งที่แม่สองคนยืนเกาะตระแกรงที่กั้นอีกฝั่ง ถามอะไรไปก็ตอบประโยคสั้น เสียงก็เบามาก ได้แต่อ่านปากเอา แต่น้ำตาหลั่งไหลตลอดเวลา 

แม่สองคน จะเน้นประโยค “พูดแต่ว่าเมื่อไรจะเจอลูก”  ครูเองก็ตอบไม่ได้เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่เจ้าของคดี

เพราะเคสแบบนี้  ไม่ได้มีการตรวจ DNA ก่อนที่จะแยกแม่ลูก  เมื่อมีการแยกแม่มาขังที่ สถานกักแล้ว   เมื่อแม่ถูกส่งกลับออกประเทศไปก่อนแล้ว จะกลับมาขอรับลูกคืนจะยากลำบากมาก  ยิ่งสองเคสนี้แถบจะหมดหวังเลย  เพราะไม่มีใบเกิดลูก  เด็กทั้งสองไม่มีเอกสารใดใด ที่แสดงว่าเป็นแม่ลูกกันจริง  มีเพียงแค่เห็นว่าแม่ลูกรักกัน  

แม่คนที่สอง  น้องรินแค่เจ็ดเดือน ยังกินนมแม่อยู่  เท่านี้แหละต้องหาหลักฐานอะไรกันอีกในเชิงประจักษ์  การจะได้ใบเกิดสักใบใช้คำว่า “โคตรยากเลย”

ยังทำอย่างไร เมื่อเคสเสียเงิน ที่สามีไปกู้เงินนอกระบบมาแล้ว อยากได้ลูกเร็วที่สุด  หน่วยงานก็ไม่สะดวกในการรับเด็กมาส่งแม่

แม่ก็ป่วย  จนมีจุดขึ้นที่หน้าผาก คือคนกัมพูชารักษาด้วยการครบแก้วดูดพิษออก  แต่ปัญหามันคือยาที่ต้องกลับไปเอาที่กัมพูชา  ขาดยามาแล้ว สามอาทิตย์ ขึ้นอาทิตย์ที่สี่

บอกกับหมอที่สถานกักกันก็ได้แต่ยาพารา  กินหมดไม่รู้จะกินไปทำไมเพราะรักษาอาการไม่ได้  ตอนนี้ แม่คนแรกที่ป่วย ผอมมาก ตาเหลือง หน้าซีด เวลาเดินแทบจะล้ม ยืนคุยกับครูมือทั้งสองต้องเกาะตระแกรงไว้ก่อนกั้นล้ม  ไม่มีแรงอะไรเลย


ครูทั้งสองเห็นแล้วนำตาซึม  สำหรับครูเองปวดหัว ปวดเบ้าตาทันที รู้ว่าความเครียดมันขึ้น ไม่ยอมลดลง

คุยกันไปได้ไม่อีกประโยคต้องหยุดเพราะตระโกนแข่งกับภาษาที่หลายภาษา  บางคนก็พูดภาษาอังกฤษ  ภาษาสเปน  ภาษาปากีสถาน  ภาษาอินเดีย ภาษาอื่นที่ไม่ได้ยิน ได้ยินหมด แต่พยายามตั้งใจฟังก็ไม่รู้เลย  แม้แต่สองแม่นั้นก็ต้องใช้วิธีอ่านปากเอา

แม่ก็ตอบไม่มีเสียงทั้งสองคน แต่แม่ก็ไม่ยอมที่จะเสียสิทธิยืนเกาะตระแกรงจนหมดเวลา 

ในขณะที่ครูสองคนถอยออกมานั่งที่เก้าอี้ ที่ว่างไว้ ฝรั่งหลายคนเดินมาทักทาย แล้วถามทุกคนว่าทำไม ผู้หญิงสองคนต้องยืนร้องไห้ตลอดเวลา

ครูได้แต่ตอบว่ามีการแยกแม่ แยกลูก แม่สองคนลูกยังเล็กอยู่   เขาก็กลับไปยืนคุยกันระหว่างกลุ่มของเขาเอง

ก็นั่งสังเกตการณ์ จะเห็นน้องผู้ชายร่างกายแข็งแรง เป็นชาวกัมพูชา ที่ คอยเป็นผู้ช่วยผู้คุมอีก เวลาดุหรือตอบอะไรเสียงจะดังพูดไทยไม่ชัด  ครูได้แต่นั่งมองว่าแค่อำนาจแค่นี้ยังต้องใช้อำนาจกันอีกนะ ก็เป็นผู้ต้องกักเหมือนกัน

ครูเองเคยเข้ามาเยี่ยมที่สถานกักสอง-สามครั้ง เวลาที่ต้อนบุคคลที่มาศึกษาดูงานกับของจริงที่มาเยี่ยมผู้ต้องกัก  คนละเรื่อง  เวลาที่หน่วยงานบอกว่าทุกอย่างดีหมด ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนทุกประการ

ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมห้องกักผู้หญิงกลุ่มต่างด้าวในอาเซียน  ห้องหนึ่งเป็นโถงกว่า จะอยู่ได้กันประมาณสัก 50 คน น่าจะไม่เกินแต่ ความเป็นจริงอยู่กันเป็นร้อยคน แออัดยัดเหยียดกันไปหมดกว่าจะส่งกลับประเทศต้นทาง

มีบางคน บางประเทศไม่ยอมรับกลับ ต้องอยู่ในสถานกักกันจนลูกโต

เมื่อใกล้จะหมดเวลาเยี่ยมให้ครั้งละ 30 นาที  ครูก็กลับไปตระโกนว่าเดี๋ยวครูจะประสานงานให้เร็วที่สุดที่จะเอาลูกคืนแม่

รอครูหน่อยนะ  ครูทำได้แค่นี้

แต่น้ำตาเจ้ากรรมของครูมันไหลหยดลงมา  สำหรับแม่เด็กไม่ต้องบอกเลยไหลเป็นทางยาวเลย มีสะสะอื้นหนักด้วย  แต่แม่ทั้งสองก็ยังยกมือไหว้ครู

 

ส่งครูด้วยสายตาระห้อย เมื่อครูทั้งสองคนก้าวเท้าออกจากห้องกัก

รับกระเป๋า รับบัตรประชาชนคืน

ครูสองคนมานั่งปรับทุกข์กัน  ครูไม่ได้มีอาการแบบนี้มานานแล้วนะ แบบช่วยอะไรไม่ได้ มันมีอาการหดหู่ จิตตก เครียด กังวล  อาการแบบนี้ปล่อยไว้นานจะกลายเป็นอาการหมดแรง หมดกำลังใจ เบื่อ ไม่อยากทำ

ต้องกำจัดความเครียด ตัดออกให้หมด  อย่างนั้นเดินต่อไม่ได้

ครูเดินทางกลับจากสถานกักกัน

แล้วประสานงานกับผู้กองเจ้าของคดี  เรื่องการรับเด็กส่งคืนแม่

วันอังคารครูจะลงไปรับเด็กด้วยกัน  กว่าจะคุยกันรู้เรื่องต้องใช้เวลา

แต่พอถึงวันจริงจะ ได้แค่ไหน ค่อยว่ากันในรายละเอียดคะ

ในขณะที่สถานการมีการเปลี่ยนแปลง  กระบวนการยุติธรรมของกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนต่างด้าวก็ต้องเผชิญ กับกฎหมายไทยหลายฉบับ  ตอนนี้ทุกฉบับมีโทษหมดจะมากน้อยต่างกัน ผลกรรมกับคนจนกับคนด้อยโอกาสก็ตกอยู่กับเคส

เหมือนนโยบายดี  ยกเว้นแนวการปฏิบัติที่ยังไม่เปลี่ยน

กรรมของคนจน ที่ถูก ไถ่ ถูกรีด ถูกกฎหมายเอาเปรียบ  เพราะเขากลุ่มคนที่ไม่มีทางเลือก