banner
พุธ ที่ 24 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 แก้ไข admin

ขอทานเพื่อเลี้ยงชีวิต...ตอนที่หนึ่ง..

นางสาวทองพูล บัวศรี

ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน  มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก



 

เมื่อต้องมารับผิดชอบงานของโครงการครูข้างถนน ของมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา    สิ่งที่ต้องทำคือการสำรวจความเปลี่ยนแปลงบนถนนก่อนเป็นอันดับแรก สิ่งที่ช่วงนั้นเดินไปทางไหน ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน  ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะบอกกับครูว่าเด็กกัมพูชาเหล่านี้ที่มาขอทานเป็นพวกค้ามนุษย์   ในใจของคนทำงานชัดเจนมาตลอดว่า กลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ไม่ใช่ค้ามนุษย์  แล้วจะหาเหตุผลอะไรมาย้อนแย้งกับผู้ให้คำจำกัดความแต่เริ่มแรกเดิมทีเหล่า... 
                  จึงเริ่มต้นว่าต้องลงพื้นที่ด้วยตัวเองเริ่มตั้งแต่การเดินบนถนนกรุงเทพมหานครก่อน เป็นใจกลางเมืองที่มีผู้คนจำนวนมาก มีทั้งนักท่องเที่ยว คนไทย ที่มาซื้อของ ตั้งแต่พื้นที่ประตูน้ำ หน้าห้างพันธุ์ทิพย์พล่าซ่า หน้าถนนเซ็นทรัสเวริด  ถนนหน้าสยาม มาบุญครอง เดินต่อไปซอยนานา สุขุมวิท 11 อโศก พระโขนง จนถึง แบริ่ง ส่วนใหญ่ที่พบคือกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนขอทานพาลูกมาขอทานด้วยกัน  แต่กลุ่มที่สัมผัสกลุ่มขอเงินมาได้เท่าไรก็จะเอามาเลี้ยงลูก เสียค่าเช่าบ้าน เวลาลูกป่วยก็จะพาไปหาหมอหรือซื้อยากิน
  เมื่อลงพื้นที่ครั้งแรกจะถูกกล่าวหาจากแม่และเด็กกลุ่มนี้ว่าเป็น “ป้ามหาภัย”  เมื่อลงไปพูดคุยกับกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อน คนเหล่านี้บนถนนครูก็จะถูกกล่าวหาว่าเป็นคนของประชาสงเคราะห์ เมื่อครูเดินพ้นไปสักชั่วโมง สองชั่วโมง ตำรวจหรือเทศกิจ หรือตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจกองกำกับการเด็กและสตรี ก็จะลงมาจับกลุ่มแม่และเด็ก หรือบางครั้งก็ถูกรีดไถ่เงินจากที่กลุ่มนี้  เป็นเสียงที่ได้ยินมาตลอดในการทำงาน  ครูจึงตั้งต้นว่าต้องเดินทางไปประเทศต้นทางของกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนเหล่านี้ให้ได้  สิ่งที่ถูกสื่อโฆษณา และหน่วยงานต่างๆที่กรอกหูคือ กลุ่มพวกนี้ทำผิดกฎหมายไทย  แต่เมื่อมีโอกาสพูดคุยกับกลุ่มแม่เด็กเร่ร่อนต่างด้าวกลับรับรู้ว่า ครูพวกฉันเป็นคนยากจน  ที่ดินที่อยู่อาศัยก็ไม่มี บางคนมีแต่แห้งแล้งมา อยู่บ้านอยู่เมืองก็อดตายกันทั้งหมด หอบลูกจูงสามีมาตายเอาดาบหน้า ทำไมฉันจะไม่รักประเทศของตัวเอง  แต่อยู่ไปก็ตายอยู่ดีเพราะไม่มีอะไรจะกิน   ฉันจึงต้องหาคำตอบว่ามันจริงหรือเปล่า...หรือคนเหล่านี้เขาหลอกครูเพราะอยากให้ครูเห็นใจ....


 

                   สิ่งที่ทำคือการเดินทางไปชายแดน อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว  ด้วยการเดินทางไปตลาดโรงเกลือ ซึ่งการเดินทางก็ใช้รถตู้ในช่วงแรกๆเดินทางเกือบทุกอาทิตย์  บางครั้งก็กลับรถบ่อนบ้าง  เดินทางด้วยรถไฟบ้างแล้วแต่โอกาส  เพื่อไปเห็นสภาพที่เป็นจริง ว่ากลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนเหล่านี้เอาลูกคนอื่นมานั่งขอทาน เป็นกลุ่มค้ามนุษย์ทั้งหมด จริงหรือ..!!!!  ใช่ที่หลายหน่วยงานพูดกันตลอด เริ่มต้น  นั่งดูกลุ่มชาวกัมพูชา-เข้า-ออกที่ด่านคลองลึก  (ตลาดโรงเกลือ)  มีกลุ่มเด็กที่เข้า-ออก มาหางานทำ มาเก็บขยะ มาเป็นแรงงานกับแม่ทำปลา ทำกบ ทำจิ้งหรีด ตลาดปลาจึงเป็นสิ่งที่ผู้เขียนสนใจเป็นอย่างมาก  ขายของกับแม่ที่ตลาดตอนเย็น  เดินขายแว่นตา ขายปลาแห้ง  มาซักรองเท้ามือสองพร้อมทั้งตกแต่งใหม่ ตาก ซัก ล้าง เดินกางร่มให้นักท่องเที่ยว มีบ้างที่ที่ขอทานรบกวนนักท่อง  ซึ่งในช่วงตอนเย็นที่ทุกคนที่เข้ามาทำงานจะซื้ออาหารติดมือกลับเข้าไปที่ปอยเปต  ในช่วงเช้าชาวกัมพูชาที่เข้ามาหางานทำจะมาออกันที่หน้าด่านกันแต่เช้า  พอประตูด่านเปิดก็จะวิ่งบ้าง เดินบ้าง ให้เร็วที่สุด  สิ่งที่ติดตัวมาจะเห็นแต่เด็กที่เข้ากับพ่อหรือแม่ และจะมีของที่เทิดหัวมาขายส่วนมากเป็นอาหารกัมพูชา ขายกันที่หน้าด่าน

                   ครั้งแรกที่เข้าไปยังด่านของปอยเปต เห็นเด็กสามคนพี่น้องนั่งขอทานอยู่มุมถนน ที่เดินไป ซึ่งเด็กกำลังแบ่งกันกินมาม่า นั่งคุยด้วย ซึ่งเขาก็ไม่ไว้ใจครูหรอกจนเรายื่นขนมกับนม แล้วนั่งคุยกันจนรู้ว่าแม่ให้นั่งคอยตรงนี้ แม่ข้ามมาฝั่งตลาดโรงเกลือตั้งแต่เช้ามารับจ้างเด็ดพริก ถ้าเอาลูกมาด้วยเจ้าของจะไม่ให้ทำงาน จะเอาลูกไว้ที่บ้านบินก็ไม่ได้ไม่ไหวใจ  (บ้านบินเป็นบ้านที่ปลูกให้เช่าเป็นรายวัน รายสามวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน) ที่มีมาเช่าก็มีเฉพาะที่ซุกหัวนอนเท่านนั้น น้ำไฟ ต้องหาเอง ถ้าใครอยู่เป็นรายเดือนก็ใช้วิธีต่อน้ำต่อไฟเอาเอง  บางคนก็ซื้อถังละสิบบาทเป็นน้ำใช้  ชาวกัมพูชาบางคนใช้มาอาบน้ำที่ห้องน้ำฝั่งตลาดโรงเกลือเพราะซื้อน้ำมันแพง) ครูนั่งคุยได้ประมาณสักสิบห้านาทีได้ จนเด็กกินข้าวและมาม่าในถ้วยจนหมด จึงเห็นแม่หิ้วข้าวกับขนมมา  แม่มาอุ้มลูกคนเล็กให้กินนมส่งถุงข้าวและขนมให้ลูกอีกสองคน เด็กทั้งสองนั่งมองหน้ากันแล้วบอกแม่ว่าอิ่มแล้ว   จึงได้คุยกับแม่ว่าถ้าเอาลูกมานั่งตรงนี้ยังมีทหารทั้งสองฝั่งช่วยดูให้  เอาเข้ามาฝั่งไทยเจ้าของเขาสั่งเด็ดขาดห้ามเอาลกมาวุ่นวายต้องใช้วิธีนี้  ครูรู้ว่าฝั่งปอยเปตที่มีสถานที่ฝากเด็กให้เรียนหนังสือ เรียนช่วงกลางวันปล่อยตอนเที่ยงฉันมารับไม่ได้ข้ามฝั่งมาอีกครั้งต้องเสียอีกสิบบาท ที่ชายแดนนี้มันเป็นเงินเป็นทองไปหมด  สู้ฉันสู้ให้ลูกสามคนรออยู่ตรงนี้ บางครั้งก็มีคนให้เงินบ้างเป็นค่ากับข้าวในแต่ละมื้อแต่ละวัน ฉันมันคนจนเลี้ยงลูกสามคนก็ปากกัดตีนถีบ  สามคนนี้ก็สามพ่อ  ผู้ชายกัมพูชาใช้ว่าจะรับผิดชอบนะ  พ่อเด็กหนีหายไปหมด เสร็จแล้วสามแม่ลูกก็เดินหนีข้าฝั่ง ครูได้แต่ชะเง้อมองตามหลังทั้งสามแม่ลูกไป คำถามมากมายจริงๆในคืนนี้ ส่วนมากครูจะเดินทางพักกับเพื่อนที่สระแก้ว  เดินทางแบบนี้กว่าสิบครั้ง  และความอยากที่จะไปไปเยี่ยมในเมืองต่างๆของกัมพูชาก็เกิดขึ้น

 

ได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศกัมพูชาที่เหยียบแผ่นดินที่สหประชาชาติว่าเป็นประเทศที่มีความยากนที่สุดในโลก ครั้งนี้ไปเพราะเพื่อนอยากไปนครวัด นครธม ครูเองก็อยากไปมากจริงๆ เพราะต้องการเห็นสภาพความเป็นอยู่ดั่งที่ชาวกัมพูชาที่มาขอทานกับมาทำงานก่อสร้างบอกเล่าเก้าสิบกับครูแค่ไหน  ระหว่างทางการเดินทางจากปอยเปต ถึงจังหวัดเสียมราฐ  แต่เมื่อก้าวเท้าลงจากรถที่เป็นรุเช่าแบบรถเก่งเข้าสู่ร้านอาหารในแต่ละแห่ง สิ่งที่พบเรื่องแรก คือ แม่อุ้มเด็กมาขอทาน...จำนวนกว่า 6 คนที่อุ้มลูก  ครูเองก็ยืนถ่ายรูปเขานั่ง  คนที่เป็นล่ามให้แค่มาบอกว่าอย่าให้เงินเขานะ แต่ในใจมีคำถามมากมาย  ไม่ได้มีแค่ที่ชายแดน ในเมืองเสียมราฐยังมีมากขนาดนี้  เมืองอื่นๆจะมีไหน เป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบจากใคร...จะบอกความจริงกับครู โดยที่ไม่ปิดปังกันนะ  ใช้ความจริงใจเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน...คืนนั้นของนั่งคุยกับล่ามถามเรื่องการศึกษาในประเทศนี้   คำตอบของล่ามทำให้ครูอึ้งคะ   ที่ประเทศนี้ให้เด็กเรียนทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นนโยบายของรัฐบาล   แต่ขึ้นอยู่กับครอบครัวของเด็กว่าจะให้เรียนไหม  ที่คนกับกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนขอทาน กับกลุ่มที่ผู้ปกครองเอาเด็กติดตามพ่อแม่มาทำงานในแหล่งก่อสร้าง  รัฐให้เด็กเรียนหนังสือ แต่เวลาไปโรงเรียนต้องจ่ายค่าครูสอน ค่าสมุด ค่าดินสอ ค่าสี อย่างน้อยวันละสิบบาท  ที่จะเรียนฟรีอย่าได้หวัง และการเรียนก็เรียนแค่ครึ่งวันเท่านั้น  ครูก็บอกดีไม่ใช่หรือ  แต่กลุ่มบอกว่าอีกครึ่งวันลูกฉันจะอยู่ที่ไหน  เรียนอ่านหรือฝึกเขียนไม่ได้กี่ตัวก็หมดเวลาแล้ว  แล้ววันละสิบบาทฉันเอาที่ไหนไปให้ครู  พวกฉันจึงต้องเร่ร่อนพเนจรกันไปเรื่อยๆๆ แต่ลึกฉันก็อยากให้ลูกเรียนนะ  เด็กที่ครูเห็นว่าไปโรงเรียนนั้นเป็นกลุ่มพ่อแม่มีฐานะ พอที่จะส่งเรียนได้แต่อย่างพวกฉันได้แค่ฝันที่ไม่เคยเป็นจริง...  เรื่องการติดตามเด็กว่าจะเรียนต่อไหม  ไม่มครูคนนั้นตามหรอกเพราะแค่เงินเดือนครูเองก็ไม่พอที่เลี้ยงชีวิตครู   เสียงสะท้อนมันลำบากจริงๆ ที่พวกเรามาหากินในเมืองไทยได้บ้างติดคุกบ้างก็ยังดีกว่าอยู่ในเมืองของพวกฉัน  แต่ก็มีนะพวกหาประโยชน์กับพวกฉัน  บางคนก็เคยข่มขู่จะเอาชีวิต  ถ้าไม่ให้เงินเป็นการเก็บค่ารถที่เดินทางมากรุงเทพมหานครในราคาแพง การเดินทางแต่ละครั้งต้องกู้เป็นเงินค่ารถมาก่อน มีแล้วค่อยคืนให้เจ้าของรถตู้...
 

ครูจึงมีคำถามต่อว่า มีบางหน่วยบอกว่าเฉพาะแม่และเด็กเร่ร่อนที่มีอาชีพขอทานในกัมพูชาไม่น้อยกว่า หนึ่งแสนห้าหมื่นคน  เป็นอะไรที่มากกว่าขนาดนี้ คาดเดาจากองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ในเมืองต่างๆของกัมพูชา ที่เมืองเสียมราฐ  ล่ามจึงบอกว่าครูมันมีมากกว่านี้อีก  เพราะคนในชนบทที่อยู่ตัวเมืองต่างๆ ยากจนมาก จึงอพยพกันมากอยู่ในเมืองท่องเที่ยว ในเมืองเสียมราฐคุณเดินไปจะมีทุกแห่งทุกหนที่เป็นเมืองท่องเที่ยว  ถ้าคุณจะทำบุญที่กัมพูชาคุณมีเท่าไรก็ไม่พอหรอก   ยิ่งพูดยิ่งคุยก็มีคำถามมากมายจริงๆ  แล้วก็เป็นจริงทุกแห่งที่เราเดินทางไหน เที่ยวที่ไหน ก็พบแม่อุ้มลูกมาขอทาน  ไม่อย่างนั้นก็เด็กผู้ชายใส่กางเกงตัวเดียวเดินขอขนม ขออาหารบ้าง  มีครั้งหนึ่งที่สะเทือนใจครูเป็นอย่างมาก ล่ามพาพวกเรามากินข้าว  ครูตั้งใจมากินข้าวที่หน้านครวัดและก็เกือบบ่ายสองแล้ว  ที่โต๊ะของครูสั่งอาหารเนไก่สองตัว ปลาหายชนิดมาก ปลาเนื้ออ่อน  ปลาหรด  ปลาดุก ปลากช่อนย่าง  ยังมีข้าวเหนียว ข้าวสวย ต้มยำปลากรดอีก  มีคนเพียงแค่ห้าคน กินอย่างไรก็ไม่หมดแน่นอน  จนทุกคนกินกันอิ่มแล้ว ครูจึงนำของที่เหลือไปให้เด็กที่ยืนมองตั้งแต่พวกครูกินอาหารกลางวันกันอยู่  มีเพื่อนครูที่เป็นชาวกัมพูชา ตระโกนว่าให้พวกมันกินทำไม  พวกรกบ้านรกเมือง   หัวใจของครชาด้านเลยคะ  เพื่อนครูอีกคนต้องไปคุยกับชาวกัมพูชาว่าครูทำงานด้านนี้อาหารเหลือแบบนี้  ครูเขาทนไม่ได้ที่ต้องทิ้ง ยังมีคนยากจนอีกมากที่ต้องกินแค่ปะทะชีวิต  ของเหล่านี้ให้คนที่ขาดกินได้   ตอนเย็นต้องมานั่งถาทล่ามว่าครูผิดมากหรือที่แบ่งอาหารเหล่านี้ให้คนในชาติของล่ามกิน  คำตอบคือการแบ่งชั้นของคนกัมพูชามีสูงมาก  กลุ่มที่ไปค้าขายแล้วร่ำรวยที่ตลาดโรงเกลือ คนกลุ่มนี้คิดว่าทุกคนลำบาก พวกเขาเองก็ลำบากอย่างนั้นทุกคนต้องทำงาน อย่าเกียจคร้านเป็นเด็ดขาด  กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นคนที่เสียมราฐไปทำงาน  แล้วก็เอาพี่เอาน้องไปทำงานด้วย   อีกกลุ่มคือกลุ่มคนที่ไปอยู่ประเทศที่สามมากลับมาเยี่ยมครอบครัว

 

ในความคิดเห็นของคนในฐานะที่มีการศึกษาถึงจะสอบเป็นล่ามที่พูดภาษาไทยได้นั้น คุณคิดว่าสิ่งที่ต้องให้คนกัมพูชาก่อนเป็นอันดับแรกคืออะไร  คุณล่ามรีบอกทันทีคือ

(1)ความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา ต้องเท่าเทียมกันอย่าให้แต่เฉพาะกลุ่มที่มีเงินเท่านั้น   ควรให้ทุกคนได้รับการอ่สน ออกเขียน พูด สื่อสารได้ดี  จึ่งย้อนไปว่าแล้วมีเด็กกัมพูชาเรียนภาษาไทย  คุณล่ามบอกว่ายิ่งดีใหญ่เลยเขาจะอ่านเขียนได้หลายภาษา  จึงบอกว่าเด็กกัมพูชาที่เรียนในเมืองไทยนั้นตั้งใจเรียนมาก

(2) เรื่องการรักษาพยาบาลเวลาที่เด็กเจ็บป่วย  ควรได้รับการรักษาพยาบาล  คุณล่ามบอกว่าจริงคนรวยกัมพูชาชอบบินมารักษาตัวที่เมืองไทย  คนจนแม้ยาพาราจะกินยังไม่มีเลย  จึงถามต่อว่าเวลาคนงานก่อสร้างไม่สบายเขาเอาช้อนมาขูดตามตัว เป็นแค่การรักษาอาการให้อาการปวดระบายออกทางผิวหนัง ไม่ใช่การรักษาที่ถูกต้อง  และบางคนก็เป็นโรคผิวหนังผุพองรักษาเท่าไรก็ไม่หาย  นี่ไงเรื่องรักษาพยาบาลต้องดูแลทุกคน  ไม่ใช่ปล่อยให้ไปตายที่บ้าน  แบบตามมีตามเกิด

 

(3) เรื่องที่อยู่อาศัย ระบบชลประทาน  ในการส่งน้ำไปให้ชาวไร่ ชาวนา ทำนา  พื้นที่ในกัมพูชาที่พวกคุณเห็นเป็นของชาวต่างชาติที่มาเช่าราคาถูกระยะยาว  ตอนนี้เรื่องที่ทำกินเป็นปัญหาใหญ่ของชาวบ้านทุกพื้นที่เลยนะคุณ

แค่สามเรื่องนี้เป็นขั้นแค่พื้นฐาน  ที่ทำงานกลุ่มแม่และเด็กเร่ร่อนขอทาน  กลุ่มลูกที่ติดตามพ่อแม่ไปทำงานก่อสร้างในเมืองไทย  ยังมีอีกมากครูมาหลายๆๆพื้นที่  ในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน เช่นเมืองพนมเปญก็อีกปัญหา  กลุ่มชาวโตเลสาปก็มีปัญหา  กลุ่มเมืองชายแดนเวียดนามก็อีกปัญหาหนึ่ง  สุดท้ายเขาเหล่านี้มาเมืองไทย